ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?! ตอนต่อมา

อ่าน: 4502

ต่อจากนี้ไป เราจะได้ยินคำเตือนเรื่องดินถล่ม ทุกครั้งที่คาดว่าจะมีฝนตกหนัก แล้วในที่สุดก็จะรู้สึกเฉยๆ ไปในที่สุด… ความรู้สึกแบบนี้อันตรายครับ ถึงเตือนแล้วไม่เกิด หรือว่าเตือนแล้วไม่มีทางออกให้ก็ตาม

บ้านเรือนที่ตั้งอยู่เชิงเขามีความเสี่ยงต่อดินถล่มเสมอ ไม่ว่าฝนจะตกหนักหรือไม่ และไม่ว่าจะมีใครเตือนภัยหรือไม่

FEMA อธิบายไว้ว่า

A landslide is defined as “the movement of a mass of rock, debris, or earth down a slope”. (Cruden, 1991). Landslides are a type of “mass wasting” which denotes any down slope movement of soil and rock under the direct influence of gravity. The term “landslide” encompasses events such as rock falls, topples, slides, spreads, and flows, such as debris flows commonly referred to as mudflows or mudslides (Varnes, 1996). Landslides can be initiated by rainfall, earthquakes, volcanic activity, changes in groundwater, disturbance and change of a slope by man-made construction activities, or any combination of these factors. Landslides can also occur underwater, causing tsunami waves and damage to coastal areas. These landslides are called submarine landslides.

Failure of a slope occurs when the force that is pulling the slope downward (gravity) exceeds the strength of the earth materials that compose the slope. They can move slowly, (millimeters per year) or can move quickly and disastrously, as is the case with debris-flows. Debris-flows can travel down a hillside of speeds up to 200 miles per hour (more commonly, 30 - 50 miles per hour), depending on the slope angle, water content, and type of earth and debris in the flow. These flows are initiated by heavy, usually sustained, periods of rainfall, but sometimes can happen as a result of short bursts of concentrated rainfall in susceptible areas. Burned areas charred by wildfires are particularly susceptible to debris flows, given certain soil characteristics and slope conditions.

อ่านต่อ »


แก้มลิงใต้ดิน

อ่าน: 4666

ผมเขียนที่บล็อกลานซักล้างนี้มาเกือบหนึ่งพันบันทึกแล้ว ย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ เจอเรื่องราวที่เอามาผูกกันเป็นเรื่องใหม่แล้วอาจจะเวิร์คครับ

  1. แก้มลิงต้องการพื้นที่แปลงใหญ่ แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่มีราคาแพงขึ้นมากเนื่องจากมีนายทุน(ไทยและต่างชาติ)กว้านซื้อ องค์กรจัดการภัยพิบัติสหรัฐ​ FEMA ซึ่งบังคับให้ทุกชุมชนทำแก้มลิง ได้กำหนดความหมายของแก้มลิง (floodway) ไว้ว่า A “Regulatory Floodway” means the channel of a river or other watercourse and the adjacent land areas that must be reserved in order to discharge the base flood without cumulatively increasing the water surface elevation more than a designated height. Communities must regulate development in these floodways to ensure that there are no increases in upstream flood elevations. For streams and other watercourses where FEMA has provided Base Flood Elevations (BFEs), but no floodway has been designated, the community must review floodplain development on a case-by-case basis to ensure that increases in water surface elevations do not occur, or identify the need to adopt a floodway if adequate information is available.
  2. ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้มีแล้งจัด ร้อนจัด จนน้ำเกือบหมดเขื่อน! จากนั้นต่อด้วยเปียกจัด เกิดอุทกภัยขึ้นใน 51 จังหวัด มีคนได้รับผลกระทบประมาณ 9 ล้านคน คิดเป็น 13.4% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าจะต่อด้วยหนาวจัดด้วย
  3. โดยสถิติ ถึงฝนจะมาไม่ตรงเวลา ปริมาณฝนเฉลี่ยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง — หมายความว่า เวลาฝนทิ้งช่วงจะเกิดการขาดแคลนน้ำ ส่วนเวลาฝนมาก็จะท่วม

อ่านต่อ »


มองระบบท่อระบายน้ำ

อ่าน: 4948

ท่อระบายไม่มีอะไรน่ามองหรอกครับ แต่มีแง่คิด

ท่อระบายน้ำซึ่งพบมากในเมือง เป็นท่อซึ่งลำเลียงน้ำจากที่สูงไปยังที่ต่ำ ทั้งน้ำฝนแลน้ำทิ้ง

เนื่องจากน้ำที่วิ่งผ่านเมือง จะนำความสกปรกของเมืองไปด้วย ดังนั้นระบบท่อระบายน้ำ ก็จะมีบ่อพักเป็นระยะ บ่อพักเป็นช่องเปิดให้คนลงไปบำรุงรักษาท่อได้ และเป็นบ่อดักตะกอนอีกถ่ายหนึ่ง

ดูเผินๆ ก็ดีนะครับ แต่มีสิ่งสำคัญอย่างน้องสองสิ่งที่ถูกมองข้ามไป

อย่างแรกคือท่อระบายน้ำ เคลื่อนย้ายน้ำออกไปจากพื้นที่ กลายเป็นปัญหาของพื้นที่ที่อยู่ต่ำลงไปทางปลายน้ำ เรื่องนี้เป็นการย้ายปัญหาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

อ่านต่อ »


วันยาวกับประชุมยาว ประชุมเครือข่ายอาสาฯ

อ่าน: 3760

เมื่อวาน ไปร่วมประชุมเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติครั้งที่ 4 ที่โรงแรมดุสิตธานี มีท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานในที่ประชุม

การประชุมครั้งนี้ สนุกดีครับ ผมไม่มีปัญหากับการประชุมยาวๆ แต่มีปัญหากับการประชุมที่ผมไม่ได้พูดไม่ว่าสั้นหรือยาว คราวนี้ได้พูด เลยไม่มีปัญหา ฮาาา

มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างกว้างขวาง โดย สสส. กรุงไทยอาสา ทีวีไทย อ.ไพบูลย์กล่าวเปิด @iwhale รายงานภาพรวมของเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างย่อ(โดยละเอียด!) มูลนิธิซิเมนต์ไทย มูลนิธิโอเพ่นแคร์ | อาสาดุสิต พอช. CSR โคราช มูลนิธิชุมชนไท ตามลำดับ พอคุณปรีดาพูดไปได้นิดหนึ่ง ผมก็ขอตัวกลับก่อนครับ คือว่าสไลด์ชุดนี้เคยฟังแล้ว

อ่านต่อ »


ความหนาแน่นของประชากรกับการจัดการภัยพิบัติ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 November 2010 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3898

ช่วงนี้กำลังอ่านหนังสือชื่อ “THE NEXT 100 YEARS จะเกิดอะไรขึ้นในรอบ 100 ปี : พยากรณ์โลกวันนี้ ถึงปี 2100” โดย George Friedman แปลโดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

หนังสือเขียนอธิบายในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ วางน้ำหนักไว้ที่สหรับอเมริกา ตั้งแต่ต้นเล่ม ก็พบประเด็นเรื่องความหนาแน่นของประชากร

…แม้ว่าขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะใหญ่โตมาก แต่น่าสนใจตรงที่ว่าสหรัฐฯ ยังมีจำนวนประชากรต่ำกว่ามาตรฐานโลก สัดส่วนความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตรของโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 49 คน ญี่ปุ่นอยู่ที่ 338 คนต่อตารางกิโลเมตร เยอรมันอยู่ที่ 230 คน ส่วนสหรัฐฯ มีเพียง 31 คนต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น แม้ไม่รวมอลาสกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ที่คนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ความหนาแน่นของประชากรสหรัฐฯ ก็จะมีเพียง 34 คนต่อตารางกิโลเมตร…

สำนักงานสถิติแห่งชาติ แจ้งผลสำรวจว่าเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ประเทศไทยมีประชากร 67 ล้่านคน ส่วนพื้นที่ที่เป็นแผ่นดินนั้นมีประมาณ 514,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 130 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนจังหวัดใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพมหานคร(ไม่รวมจังหวัดปริมณฑล) มีประชากร 6.87 ล้านคน แออัดอยู่ในพื้นที่ 1500 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นความหนาแน่น 4,580 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งตัวเลขความหนาแน่นที่สูงมากแบบนี้ ก็เป็นปกติของเมืองใหญ่ ซึ่งมีโอกาสสำหรับชีวิตให้ไขว่คว้าอยู่มาก มหานครทั่วโลกมีความหนาแน่นของประชากรมากกว่ากรุงเทพเสียอีก

แล้วความกระจุกตัว ก็เริ่มจากตรงนี้ล่ะครับ มีคนเยอะ มีธุรกิจเยอะ เก็บภาษีได้เยอะ ยิ่ง “สำคัญ” ยิ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ยิ่งดึงดูดคนให้เข้ามาแสวงหาโอกาสในชีวิต แล้วก็วนเวียนไปเป็นวงจร ยิ่งนาน แรงดึงดูดก็ยิ่งแรง

อ่านต่อ »


แก้หนาว

อ่าน: 3843

ตอนนี้ยังไม่หนาว แล้วมาเขียนเรื่องแก้หนาวทำไม — การเตือนก็ต้องเตือนล่วงหน้าซิครับ

ผมคิดว่าเรา “แก้ปัญหาเฉพาะหน้า” กันได้ดี แต่ไม่ได้ตระหนักกันเท่าไหร่ ว่าที่จริงแล้วไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอะไรเลย เราผ่านสถานการณ์ไปได้ บางทีทำได้ดี น่ายกย่อง บางทีก็ทุลักทุเลสะบักสะบอม สาเหตุยังมีอยู่เหมือนเดิม

ทั้งนี้ก็เพราะว่าเรามักใช้สูตรสำเร็จ ถึงเคยทำอย่างนี้มาแล้ว “สำเร็จ” ก็ไม่ได้หมายความว่าทำอย่างนี้อีก จะสำเร็จเหมือนที่ผ่านมา เพราะว่าเป็นคนละบริบทแล้ว สถานการณ์ต่างกัน มีทรัพยากรและข้อจำกัดต่างกัน

ก็ ชี วิ ต ไ ม่ มี สู ต ร นี่ ค รั บ  แ ต่ ว่ า ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ นั้ น เ ป็ น ข อ ง จ ริ ง (ชิมิ)

ผู้มีประสบการณ์ หากมีความรอบรู้และมีข้อมูลที่แท้จริง ก็อาจบอกแนวโน้มได้ — เรื่องแนวโน้มนี้ไม่ใช่การทำนายอย่างแม่นยำราวจับวาง เพียงแต่มีโอกาสถูกมากกว่า ต่างกับการเดาสุ่ม

อ่านต่อ »


ไร่นาหลังน้ำลด

อ่าน: 3315

น้ำท่วมนำความอุดมสมบูรณ์มา เมื่อน้ำลดแล้ว จะพบซากพืชเน่าอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นงานหนักในการปรับสภาพดินเพื่อเพาะปลูกในรอบใหม่ แต่…

อย่าเผานา เผาไร่

เช่นเดียวกับคนที่ต้องการอาหาร พืชก็เติบโตได้ด้วยสารอาหาร ที่หลักๆ ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม (N P และ K ตามสูตรปุ๋ยนั่นแหละครับ) แต่ว่าปุ๋ยไม่มีธาตุตัวที่สำคัญที่สุด คือคาร์บอน (C) รากพืชดูดสารอาหารจากดิน แล้วใช้สารอาหารเหล่านี้ไปสร้างเซล แต่ทุกเซลห่อหุ้มด้วยเซลลูโลส ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอน และแน่นอนว่าใช้ธาตุคาร์บอนเยอะมาก

เมื่อเผาพืชเซลลูโลสเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ปล่อยออกไปในอากาศ เหลือเป็นเถ้าถ่านคืนคาร์บอนคืนสู่ดิน เมื่อคาร์บอนมีน้อยลง พืชก็เติบโตได้ยากเพราะไม่รู้จะเอาคาร์บอนมาจากไหนไปสร้างเซลเพื่อเจริญเติบโต

พอชาวไร่ชาวนาเห็นพืชไม่โต ทีนี้ก็ไปซื้อปุ๋ยมาเติม ยิ่งทำ ยิ่งจน เอากำไรของตัวเองที่ควรจะได้ ไปจ่ายเป็นค่าปุ๋ย (ช่วยได้เหมือนกัน พืชโตขึ้น แต่คนปลูกจนลง)

[เผาอ้อย] [ดิน]

การกำจัดพืชที่เน่าควรจะไถกลบให้ไปย่อยสลายในดินครับ เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน เอาคาร์บอนกลับคืนสู่ดิน

อ่านต่อ »


รอดได้ ยิ่งกว่าซ่อมได้

อ่าน: 6112

ผมคิดว่าส่วนหนึ่งของคนไทย ไม่เข้าใจสเกลของตนครับ ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ใช้เงินเป็นใหญ่ มีเงินซื้ออะไรได้หมด (จริงหรือ?)

คนมีเงินนั้นมีลักษณะที่อธิบายได้ง่ายๆ สองอย่างว่า (1) เป็นคนที่ไม่จ่าย+ไม่ซื้อในสิ่งไม่มีประโยชน์หรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ถ้าซื้อแล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ซื้อ และ (2) เป็นคนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย — แต่ไม่ได้แปลว่าว่ามีรายได้มากอย่างที่มักจะเข้าใจ (และอิจฉา) กันหรอกนะครับ เพราะว่าตัวเราเองนั่นล่ะครับที่เป็นคนกำหนดค่าใช้จ่าย ดังนั้นเราจะมีเงินเหลือเก็บก็ต่อเมื่อรู้จักประมาณกำลังของตน

ลองดูเศรษฐกิจในหมู่บ้าน จะซื้อผักซื้อเนื้อสัตว์จากรถขายผัก รถขายผักเองก็ต้องมีกำไรไปจ่ายค่าน้ำมันและเลี้ยงชีพตนเอง กลายเป็นการซื้อผักกลับต้องจ่ายเงินเลี้ยงคนขายผักด้วย รถขายผักมีอะไรให้เลือกมากหรือก็เปล่า ซื้อผักเดิมๆ หมู ไก่ ไข่เดิมๆ นั่นแหละครับ ในเมื่อซื้อของเดิมๆ อยู่ตลอดเวลา แล้วทำไมไม่ปลูกเอง เลี้ยงเอง? (ผมก็ไม่ทำครับ แต่ผมมีพอ)

เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่นะครับ ลองดูสินค้าที่ซื้อขายกันในชุมชนให้ดี มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตได้เองในชุมชน ผมคิดว่าว่าไม่เยอะนะ!! ถ้าการคมนาคมขนส่งถูกตัดขาด (น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำมันแพง ฯลฯ) แล้วชุมชนที่พึ่งสินค้าจากนอกพื้นที่ จะทำอย่างไร

อ่านต่อ »


กาลักน้ำ

อ่าน: 8159

น้ำท่วมมาเดือนกว่าแล้ว บางพื้นที่ของสุโขทัย+พิษณุโลกกว่าสองเดือนแล้ว แต่ยังมีพื้นที่ที่น้ำท่วมขังกระจายอยู่เป็นวงกว้าง

ความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การฟื้นฟูล่าช้า ตัวผู้ประสบภัยเองสภาพจิตใจยิ่งย่ำแย่ไปหมด น้ำไม่ลดเหมือนไม่มีความหวัง

เมื่อวานไปเปิดบัญชีตามบันทึก [วุ่นวายไปทำไม] เจอลุงเอก ประธานมูลนิธิ (ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า) ลุงเอกงานยุ่งมากแต่เล่าว่าเพิ่งไป อ.บางบาล อยุธยามา น้ำยังปริ่มถนนอยู่เลย

ผมก็ปากหนักไป ดันไม่ได้ถามว่าลุงเอกไปมาเมื่อไหร่ พอกลับมาบ้าน ก็มาเช็คดูระดับน้ำ ปรากฏว่ามาตรวัด C36 (คลองบางหลวง อ.บางบาล) อยู่ต่ำกว่าตลิ่งตั้งหลายเมตร

ถ้าตัวเลขนี้ถูกต้อง ลองนึกถึงใจชาวบ้านแถวนั้นดูนะครับ เห็นอยู่ว่าน้ำท่วมบ้าน ท่วมหนัก และท่วมมานานแล้ว แล้วก็ยังไม่ยอมลดลงเสียที ในขณะที่ระดับน้ำในคลอง ต่ำกว่าตลิ่งตั้งเยอะ ก็ยังทำอะไรไม่ได้ (ก็มันติดถนนนี่หว่า! แค่ข้ามถนนไปก็ไม่ท่วมแล้ว!!!) เวลาน้ำบ่าเข้ามา มันข้ามถนนมาได้ แต่พอข้ามถนนมาแล้ว น้ำไหลกลับไม่ได้ครับ เพราะว่าถนนเมืองไทยเป็นถนนที่ยกสูง เอาไว้ป้องกันน้ำท่วม

อ่านต่อ »


การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ

อ่าน: 3857

บ่ายวานนี้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นเจ้าภาพจัดงาน OPEN FORUM: Design for Disasters Relief  การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

เข้าใจว่างานนี้ ค่อนข้างฉุกละหุกครับ session นี้ ตั้งใจให้เป็น Open Forum แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด จากมีอีเมลแจ้งครั้งแรกจนงานเริ่ม มีเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเท่านั้นเอง แต่งานก็เรียบร้อยดี ขอบคุณ TCDC มากเลยครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.1451780796051 sec
Sidebar: 0.53838586807251 sec