Biochar ปรับปรุงดินและลดโลกร้อน

อ่าน: 7194

Biochar เป็นถ่านที่เกิดจากการเผาไหม้แบบควบคุมปริมาณออกซิเจนที่อุณหภูมิต่ำ — แปลเป็นไทยก็คือถ่านไม้จาก [ไต้ไม่มีควัน] นั่นล่ะครับ — Biochar ต่างกับ Activated carbon (ถ่านกัมมันต์) ที่ activated carbon เผาที่อุณหภูมิสูง แต่ biochar เผาที่อุณหภูมิต่ำ

ถ่าน biochar เป็นถ่านที่เกิดจากกระบวนการ pyrolysis ของไฮโดรคาร์บอน เช่น ไม้ มูลสัตว์ หรือพลาสติก) แต่ถ่าน biochar ไม่ได้ใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง แต่ใช้ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

ทุกอะตอมของคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 มีออกซิเจนอยู่สองอะตอม เมื่อเกิดกระบวนการ pyrolysis อากาศปริมาณน้อยที่ผ่านเข้าไปในเตา มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในปริมาณเกือบ 390 ppm (ส่วนในล้านส่วน) เมื่อกระบวนการ pyrolysis ทำงาน เตาจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาประมาณ 66 ppm (เหลือแค่ 17% ของ 390 ppm) เทียบกับการเผาไหม้ในอากาศเช่นเผาไร่เผานา จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1000 ppm (เพิ่มเป็น 256% ของ 390 ppm)

กระบวนการ pyrolysis ใช้ความร้อนยิ่งยวด ทำลายพันธะทางเคมีของคาร์บอนไดออกไซด์ ปลดปล่อยอะตอมของออกซิเจนออกมาหล่อเลี้ยงไฟ ส่วนคาร์บอน ถูกไม้จับไว้ ถ่าน biochar จึง ดำ-เปราะ-เบา ซึ่งเป็นลักษณะของคาร์บอนที่มีความบริสุทธิ์สูง … คาร์บอนไดออกไซด์ จึงถูกดักจับจากอากาศมาเก็บไว้ในรูปคาร์บอนในถ่านด้วยวิธีการนี้ครับ เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์หายไปจากบรรยากาศ จึงเป็นการลดก๊าซเรือนกระจก

แต่ไม่ใช่แค่นั้นหรอก…

อ่านต่อ »


ไต้ไม่มีควัน

อ่าน: 8123

ไม่ได้เขียนเรื่องภาคใต้หรอกนะครับ เมื่อคืนไปดูคลิปใน Youtube อันหนึ่ง เพราะว่ากำลังหาวิธีสร้างความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ แล้่วไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็ควรจะใช้วิธี gasification แต่มันดูยุ่งยากจังเลย! ผมก็เลยลองทำดู จะพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ได้ยากหรอกครับ ใครๆ ก็ทำได้

บันทึกนี้เป็นเรื่องการทดลองทำแหล่งความร้อน ที่ใช้กิ่งไม้ห่อด้วยอะลูมินัมฟอยล์ (ที่ใช้ห่ออาหาร) งานนี้แม่ร่วมสนับสนุนการทดลอง โดยฉีกฟอยล์ให้สามฟุต (ฟอยล์เป็นของแม่ จึงยกให้แม่เป็นผู้อำนวยการสร้าง)

อุปกรณ์

  1. อะลูมินัมฟอยล์ กว้าง 1 ฟุต สองแผ่น ความยาวไม่ต้องยาวเท่านี้ก็ได้
  2. กระป๋องนั้นไม่ได้เกี่ยวเลยทีเดียว มีขนมที่อร่อยมาก ซึ่งหายหมดไปอย่างรวดเร็ว
  3. กิ่งไม้ขนาดน่าเอ็นดู เล็กกว่านิ้วก้อยอีก ยาวสามฟุต (แผ่นฟอยล์กว้าง 1 ฟุต)

ค่ นี๊ ! ? ! ?

ที่จริงมีอย่างอื่นอีกครับ แต่แสวงเครื่องได้ง่ายๆ

ก่อนทดลอง ก็มีคำถามอันใหญ่เลยว่าไม้เห่ยๆ อันแค่นี้ จะไปได้สักกี่น้ำ แล้วเศษไม้ที่เก็บมานี่ ก็เป็นไม้สดด้วย ถ้าจะให้ถูกต้องตามประเพณีทฤษฎี ก็ควรจะใช้ไม้แห้ง… แต่ผมว่าอย่ามาลีลาเลยครับ ทฤษฎีก็เรื่องหนึ่ง ถ้าอยากจะรู้จริง ต้องลองทำซิ ไม่ต้องตั้งเงื่อนไขอะไร

อ่านต่อ »


อธิบายสังคมด้วยลักษณะของโฮลอน

อ่าน: 7163

วันนี้ได้คุยกับจอมป่วน ท่านพูดถึงโฮลอนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จำได้ว่าท่านพูดถึงครั้งแรกเมื่อปีหรือสองปีก่อน ซึ่งตอนนั้นองค์กรเคออดิกกำลังฮิต ผมก็ไปค้นแล้วครับแต่ไม่ได้เขียน วันนี้เจออีก เลยเอามาเขียนดีกว่า จะผิดหรือถูก เชิญพิจารณาเองครับ

โฮลอน (Holon) เป็นศัพท์ปรัชญาหมายถึงการเป็นทั้งหมดและเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดในขณะเดียวกัน อ.สุวินัย เรียกว่า “หน่วยองค์รวม” และได้อธิบายความไว้ที่นี่ (ข้ามส่วนอภิปรัชญาไปก็ได้นะครับหากว่าคิดว่าไม่เกี่ยว)

ในความเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดนั้น โฮลอนมีลักษณะที่เป็นเอกเทศ ไม่เหมือนใคร มีอิสระในตัวของตัวเอง และครบถ้วนบริบูรณ์ในตัวเอง

เช่นร่างกายก็มีอวัยวะต่างๆ แขน ขา ปาก จมูก สมอง ตา หู ตับ ไต ลำใส้ ม้าม ปอด หัวใจ หลอดเลือด กระดูก ฯลฯ ต่างก็มีหน้าที่ของตัวเอง อยู่ร่วมกันเป็นร่างกายโดยที่อวัยวะต่างๆ ไม่ได้เหมือนกันเลย และอวัยวะอื่นจะมาทำแทนก็ไม่ได้ แถมมีใส้ติ่งที่แม้ไม่ได้ทำหน้าที่อะไรเลย แต่ก็ไม่ทำให้ร่างกายเดือดร้อน ก็ยังแฝงอยู่ในร่างกายได้โดยร่างกายไม่ได้ขับออกไป (แต่เมื่อไรที่อักเสบ ต้องโดนเจี๋ยนทิ้งไป)

ไม่ว่าร่างกายจะขยับไปไหน อวัยวะต่างๆ ก็ขยับไปทางนั้นด้วย ประหนึ่งว่าการขยับนั้นเป็นการขยับของหน่วยเดียว — อวัยวะต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ในขณะเดียวกัน แต่ละอวัยวะก็เป็นทั้งหมดของหน้าที่ที่มันทำ ร่างกายเป็นโฮลอน อวัยวะก็เป็นโฮลอน อวัยวะประกอบด้วยเซล เซลประกอบด้วยโมเลกุล โมเลกุลประกอบด้วยธาตุ ธาตุประกอบด้วยอนุภาค อนุภาคประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐาน อนุภาคพื้นฐานเกิด-ดับอยู่ตลอด แล้วแต่ว่าเราจะสังเกตมันหรือไม่ แล้วก็ไม่สำคัญว่ามันอยู่ในอนุภาคใด ในธาตุใด ในโมเลกุลใด ในเซลใด ในอวัยวะใด

อ่านต่อ »


ปลูกต้นไม้เท่าไรจึงพอ

อ่าน: 4333

คำตอบแบบรวดเร็วฉาบฉวย คือปลูกไปเรื่อยๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ครับ ถ้าพอใจคำตอบนี้ ก็ไม่ต้องอ่านข้างล่างแล้ว บ๊าย บาย

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าระดับของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศขณะนี้ สูงกว่าระดับที่โลกเคยประสบมาตลอดประวัติศาสตร์ของโลก ตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นต้นมา

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นมากตามลำดับหลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ระดับคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศขณะที่เขียนนี้ อยู่ที่ 388.59 ส่วนในล้านส่วน ในขณะที่เมื่อยี่สิบสองปีก่อน อยู่ที่ 349.99 ส่วนในล้านส่วนเท่านั้น [รายละเอียด]

ตลอดยุค “ความก้าวหน้า” ของมนุษย์ เราขยันปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาอย่างต่อเนื่องและมากมาย ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าจะทำให้โลกต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เนื่องเพราะอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ความชื้นก็เพิ่มตาม ทำให้พายุมีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งละลาย ปริมาณน้ำจืดสำรองมีน้อยลง ในขณะที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นทุกวัน น้ำจะขาดแคลน อาหารจะไม่พอ (ไม่นับที่เสียหายจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ)

เมืองไทยให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว แล้วว่ากันที่จริงก็มีความคืบหน้าที่น่ายินดีเหมือนกันครับ พิธีสารเกียวโตกำหนดขั้นตอนวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้หลายอย่าง เช่น JI ET และ CDM ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก./TGO อนุมัติโครงการ CDM 111 โครงการ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยได้ 6.95 ล้านตันต่อปี ทำให้เมืองไทยกระโดดขึ้นมาอยู่ใน Top 10 เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกผ่าน CDM [ข่าว] นานๆ ครั้ง จะเห็นหน่วยงานของรัฐทำอะไรที่ถูกใจนะครับ ขอปรบมือให้เลย

อ่านต่อ »


ไขความมหัศจรรย์ของต้นไม้กับน้ำและภาวะโลกร้อน

อ่าน: 5190

คงเคยได้ยินนะครับ ว่าใช้ช่วยกันปลูกต้นไม้ ลดโลกร้อน บรรเทาน้ำท่วม บรรเทาแล้ง — สิ่งเหล่านี้ เกี่ยวพันกันบ้าง แต่ไม่ใช่ผลโดยตรงของกันและกันหรอกนะครับ

Q: ปลูกต้นไม้ ป้องกันน้ำท่วมได้หรือไม่

A: หว่า คำถามนี้ ควรตั้งสติแล้วถามใหม่ครับ

น้ำท่วมจากแม่น้ำลำคลองเกิดขึ้นจากปริมาณน้ำที่ไหลมา มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านไปได้ ดทำให้น้ำเอ่อขึ้นมา เมื่อเอ่อขึ้นมาเกินระดับตลิ่ง ก็เรียกว่าน้ำท่วม เมื่อน้ำท่วมในลักษณะนี้ จะปลูกต้นไม้ตรงนั้นกี่ต้น จะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้เท่าไหร่หรอกครับ เป็นปลายเหตุแล้วครับ

Q: แม่น้ำลำคลองเอาน้ำมาจากไหนมากมาย

A: ก็ฝนตกจะเป็นกี่มิลลิเมตรก็ตาม คูณด้วยพื้นที่ที่ฝนตก ก็จะเป็นปริมาตรของน้ำฝนที่ตกลงมา; เมื่อฝนตกลงมาเป็นน้ำ น้ำก็ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเป็นธรรมดา ค่อยๆ รวมกันทีละเล็กทีละน้อย กลายเป็นลำธาร เป็นคลอง และเป็นแม่น้ำ ถ้าฝนตกเป็นปริมาตรเยอะๆ น้ำก็จะไหลมาลงแม่น้ำลำคลองอยู่ดี

Q: เขื่อนกันน้ำท่วมได้ไหม

A: กันได้ถ้าฝนตกเหนือเขื่อน และกันได้เท่ากับปริมาตรกักเก็บที่เหลืออยู่ ถ้าน้ำมาเกินปริมาตรกักเก็บ น้ำจะล้นออกมาเอง

อ่านต่อ »


ข้อมูล(ใหม่)ของระบบกระแสน้ำในมหาสมุทร

อ่าน: 8234

สภาวะอากาศของโลก ถูกโน้มน้าวโดยกระแสน้ำในมหาสมุทร ซึ่งเป็นข้อมูลในหลักสูตรว่าระบบกระแสน้ำในมหาสมุทร (Ocean Conveyor Belt) มีทั้งกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นให้จำชื่อไปสอบกัน(ทำไม)

กระแสน้ำอุ่น Gulf stream วิ่งจากฝั่งตะวันออกของสหรัฐ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติด นำความชื้นและอบอุ่นไปให้ยุโรปตะวันตก ทำให้อังกฤษฝนตกมาก ให้ให้กลาสโกวในเวลส์ซึ่งอยู่ที่เสร้นรุ้งที่ 55 เหนือ ไม่ได้หนาวทารุณเช่นเดียวกับมอสโควซึ่งอยู่บนเส้นรุ้งเดียวกัน — มอสโควหน้าหนาว อุณภูมิลงต่ำได้ถึง -40°C ถ้าอุณหภูมิ 20°C ผมเคยเห็นคนรัสเซียถอดเสื้อผ้ามาอาบแดดกันริมแม่น้ำแล้ว อุณหภูมิแค่ 32ºC กลับมีคนร้อนตาย แว๊ก

กระแสน้ำอุ่นมักจะวิ่งอยู่ด้านบน ที่จริงเค้าก็ปล่อยความร้อนไปตลอดทางด้วยนะครับ แต่ก็รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้ามาเช่นกัน จึงรักษาความ “อุ่น” เอาไว้ได้

เมื่อแสงอาทิตย์อ่อนแรงลง กระแสน้ำอุ่นคายความชื้นและความร้อนออกมากกว่าที่รับเข้าไป ความเข้มข้น (ความเค็ม) สูงขึ้น และจมลงเบื้องลึก กลายเป็นกระแสน้ำเย็น วิ่งอยู่ที่ระดับลึกๆ

ในปี 2002 สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ​ (NAS — National Academy of Science) ออกรายงานหนา 244 หน้า เตือนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างไม่คาดฝัน เป็นผลของการที่ระบบกระแสน้ำของมหาสมุทรไหลช้าลง

อ่านต่อ »


รถสื่อสารฉุกเฉิน ไม่ได้กู้ภัยแต่จำเป็น!!!

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 December 2010 เวลา 0:32 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4150

ไม่ว่าจะเป็นภัยระดับไหน เป็นเรื่องยากที่จะมียานพาหนะที่พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ครับ แต่การเข้าพื้นที่ด้วยความไม่พร้อม นอกจากช่วยเหลือผู้ประสบภัยไม่ได้แล้ว ยังอาจทำให้ผู้ประสบภัยผิดหวังซ้ำสองก็ได้ รถกู้ภัยที่มีทุกอย่างพร้อม ก็จะมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก จะเข้าพื้นที่ประสบภัยได้ลำบาก

โดยทั่วไป จะเป็นการเหมาะสมกว่าหากส่งหน่วยตรวจการขนาดเล็กที่คล่องตัว เข้าไปในพื้นที่ประสบภัยพิบัติเพื่อเก็บข้อมูลเที่ยวหนึ่งก่อน เมื่อรู้ความต้องการตลอดจนข้อจำกัดต่างๆ ของพื้นที่ประสบภัยแล้ว จึงนำเอาความช่วยเหลือเข้าไป

หน่วยตรวจการขนาดเล็กแบบนี้ มีงานวิจัยของเนคเทคเคยทำไว้หลังเหตุการณ์สึนามิ เรียกว่ารถสื่อสารฉุกเฉิน (Emergency and Education Communications Vehicle - EECV) ซึ่งมีใช้อยู่ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสภากาชาดไทย ถ้าผมจำไม่ผิด รถ EECV เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์สึนามิเมื่อปลายปี 2547 ลงพื้นที่จริงเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ในปี 2549

อ่านต่อ »


เคารพความแตกต่าง

อ่าน: 5354

คำว่า เคารพความแตกต่าง นี้เป็นคำหรู ซึ่งเหมือนคำหรูทั่วๆ ไป คือจะมีการใช้ในความหมายที่แตกต่างผิดเพี้ยนออกไป หลายครั้งที่ความหมายเหล่านี้ขัดแย้งกันเอง แต่คงไม่บ่อยนักที่เราจะพบคำคำเดียวที่มีความหมายขัดแย้งกันเอง… เป็นไปได้หรือไม่ว่าเราใช้โดยไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำ

การเคารพความแตกต่าง ในเชิงวิชาการเลี้ยงเด็ก(ฝรั่ง) อธิบายไว้มากมาย [Respecting differences] ประเด็นที่ผมหยิบเอามาเขียนคือ

  • ฝรั่งถือว่าเรื่องนี้เป็นส่วนของ self-esteem “สอน” กันในระดับอนุบาลถึงเกรด 2 (ป.2) เกินกว่านั้น…อืม…สายไปเสียแล้ว
  • การเคารพความแตกต่าง เป็นการรู้เท่าทันอคติของตน ไม่รีบร้อนตัดสินผู้อื่น(ไว้ก่อนหรือโดยไม่รู้เรื่อง) ฟังความและพิจารณารอบด้าน อดทน อดกลั้น เคารพในอิสระของผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์ว่ามีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน และสามารถมีความเห็นของตนได้(แม้ไม่เหมือนกับความเห็นของเรา) ทั้งหมดนี้ประกอบกันเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกลักษณะของแต่ละคน
  • การเคารพความแตกต่างนั้น ใช้ความเคารพตัวเอง เคารพผู้อื่น ความกล้าหาญ และใช้ความเป็นตัวของตัวเองเป็นอย่างสูง ถ้าเคารพความแตกต่างจริง จะไม่เกิดความไม่พอใจ ก็แค่ความเห็นไม่ตรงกันเท่านั้นเอง; อันนี้ต่างกับคับข้องใจจนพยายามจะเปลี่ยนความเห็นของผู้อื่นให้เป็นเหมือนกับเรา ซึ่งใช้อัตตาเป็นอย่างสูง
  • เมื่อเราพบความแตกต่าง น้อยครั้งนักที่จะเข้าใจว่านั่นเป็นเพียง “ความเห็น” ที่แตกต่างต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง; ที่มักเป็นเรื่องขึ้นมา ก็เพราะเราดันไปยึดความเห็นของตัวเราเองว่าถูกต้อง (คนอื่นจึงผิด) แล้วแถมยังไม่สำเหนียกอีกว่าตัวเราเองนั่นแหละที่ไม่เคารพความแตกต่าง อัตตาใหญ่ จึงบังความเห็นอื่นที่แตกต่างจนมิด
  • คงไม่มีใครเคยพบคนที่ถูกต้องอยู่ตลอดเวลาหรอกนะครับ แล้วเคยย้อนคิดบ้างไหมว่าตัวเราถูกต้องตลอดเวลาหรือ ทำไมความเห็นของเราจึงถูกต้องตลอดเวลาในขณะที่ความเห็นที่แตกต่างจึงต้องผิดด้วยล่ะ
  • การเคารพความแตกต่าง ไม่ใช่การเห็นด้วยกับทุกคนเหมือนคนคิดไม่เป็น-ไม่มีกระดูก
  • การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น ไม่ได้ทำให้คุณค่าของตัวเราเพิ่มขึ้นหรือลดลง คุณค่าของตัวเราอยู่ที่เราทำอะไร เพื่ออะไร ได้ผลอย่างไรต่างหาก ไม่ได้อยู่ที่ว่าคนอื่นเห็น หรือว่าเห็นด้วยหรือไม่ ( โลกธรรม 8 )
  • การเป็นเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ทำให้ตัวเรามีคุณค่าเพิ่มขึ้น ผู้ที่มี self-esteem ต่ำจะ “รู้สึกไปเอง” ว่ามีคุณค่าสูงขึ้น เสียงส่วนใหญ่อาจผิดได้อย่างน่าสงสาร หากลากกันไป-ลากกันมา จนไม่มีใครรู้อะไรจริง; ในทำนองกลับกัน การเป็นเสียงส่วนน้อยก็ไม่ได้ทำให้คุณค่าของเราลดลง แต่ผู้ที่ self-esteem ต่ำจะรู้สึกไปเอง กลไกการปกป้องตัวเองมักทำให้แถเข้าไปสู่เสียงส่วนใหญ่หรือกระแส ด้วยความกลัวมากกว่าความรู้แจ้ง แล้วก็จะสร้าง “เหตุผล” ขึ้นมาปกป้อง “การตัดสินใจ” นั้นในภายหลัง ทั้งที่ไม่ได้พิจารณาตัดสินใจอะไรเลย (แล้วก็ไม่รู้ตัวด้วย)
  • สิทธิมนุษยชนสากล ข้อ 19: ทุกคนมีสิทธิที่จะมีความเห็นเป็นของตนเอง | สิทธินี้ไม่ได้รับรองการกระทำที่ผิดกฏหมายหรือกฏระเบียบของสังคม
  • To be one, to be united is a great thing. But to respect the right to be different is maybe even greater.” — ใครก็ไม่รู้กล่าวไว้

อ่านต่อ »


หลุมหลบภัยนิวเคลียร์

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 December 2010 เวลา 18:17 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 8108

ระหว่างที่ทำเรื่องน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มจะต่อด้วยภัยหนาวรุนแรง ผมค้นเน็ตไปเรื่อยๆ ก็ไปเจอเอาสารของสหรัฐเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เป็นมรดกของสงครามเย็น เขียนไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 โดย Oak Ridge National Laboratory เรื่อง Nuclear War Survival Skills (NWSS) เชิญคลิกอ่านเอาเองครับ

ปัจจุบันนี้สงครามเย็นเลิกไปแล้ว ถึงความเสี่ยงในสงครามนิวเคลียร์ล้างโลกจะลดลงมาก แต่ก็ไม่ได้หายไปทั้งหมดเพราะยังมีการก่อการร้ายอยู่ประปราย

ผมไม่ได้สนใจสงครามนิวเคลียร์หรอกครับ เพียงแต่สนใจเรื่องที่หลบภัยหนาว และข้อมูลเรื่องปริมาณน้ำ+อาหาร+survival kits ที่ต้องเตรียมไว้สำรองในกรณีที่โครงสร้างพื้นฐานถูกตัดขาดทั้งหมด ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีการติดต่อสื่อสาร (และเงินไม่มีความหมาย)

ว่ากันที่จริง ภัยหนาวเป็นเรื่องของการป้องกันผลของการลดอุณหูมิจากลม (wind chill) และการรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้; NWSS แนะนำให้ขุดหลุมหลบภัยเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทั้งนี้เพราะดินหนาสามฟุต สามารถลดทอนรังสีแกมมาจากระเบิดนิวเคลียร์ลงได้ 99%

อ่านต่อ »


บาดาลลอยฟ้า

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 December 2010 เวลา 19:39 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4537

วันนี้ได้พบครูบา คุยไปคุยมา เจอเรื่องน่าสนใจครับ

ปี 2523 สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA คุณมีชัย วีระไวทยะ) ทำโครงการบาดาลลอยฟ้า Sky Irrgation Project และโครงการธนาคารผัก Vegetable Banks ซึ่งอันหลังจะไม่กล่าวถึง

เมืองไทยมีปริมาณน้ำฝนเหลือเฟือ แต่จัดการน้ำได้อย่างน่าผิดหวัง เนื่องจากปล่อยน้ำฝนที่ตกลงมาทิ้งไปหมด ไม่มีการกักเก็บไว้ ทำให้น้ำขาดแคลนในภาวะแห้งแล้ง ต้องไปซื้อน้ำจากแหล่งไกลๆ ค่าน้ำแพง ค่าขนส่งก็แพง แถมถนนเสียด้วย ได้พืชผลอะไรมา กำไรก็หายไปกับค่าน้ำและปุ๋ยหมด ยิ่งทำยิ่งจน (แต่มีรัฐบาลประชานิยม แจกสะบัด หักจากเงินหล่น เงินทอน เหลือถึงชาวบ้านมือเท่าไหร่ก็ไม่รู้ แล้งก็ได้ ท่วมก็ได้ หนาวก็คงได้อีก)

โครงการบาดาลลอยฟ้า เป็นโครงการที่ทำง่าย แต่ใครไม่ทำก็จะไม่ได้อะไร

  1. PDA มีแบบหล่อถังซีเมนต์ นั่งร้าน ซีเมนต์ เอาไปลงพื้นที่
  2. PDA สอน ชาวบ้านลงแรง หล่อถังซีเมนต์เอาไว้เก็บน้ำฝน — เมืองไทยมีปริมาณฝนตก 1,500 มม./ปี หลังคาบ้านขนาด 25 ตารางเมตร (5 x 5 เมตร เป็นหลังคาขนาดเล็กมาก อยู่กันได้สองคน) มีน้ำฝนตกลงมาบนหลังคา 37.5 ลูกบาศก์เมตร หรือ 37,500 ลิตร — ข้อมูลจากการทดลองของกองทัพเรือสหรัฐ ที่จับทหารเรือ 99 คน ใส่หลุมหลบภัย เพื่อหาปริมาณความต้องการน้ำขั้นต่ำ พบว่าโดยเฉลี่ย แต่ละคนต้องการน้ำวันละ 2.4 ลิตร (บริโภคและทำอาหาร) — ดังนั้นน้ำฝนที่เก็บไว้ จึงเป็นหลักประกันว่าจะพอประทังชีวิตรอดไปได้ หากไฟฟ้า ประปา และชลประทานหยุดชะงัก
  3. PDA ไม่ทำให้ฟรีครับ ถ้าสิ่งนี้มีค่า ก็ต้องมีราคา และใช้อย่างรับผิดชอบ; PDA ตีราคาถังละ 6,000 บาท ให้ชาวบ้านผ่อนเดือนละ 500 หนึ่งปี ผ่อนเดือนละเงินห้าร้อยบาท อยู่ในวิสัยที่ผ่อนได้ ดีกว่าโครงการไทยค๊อกแค๊กตั้งเยอะ — หกพันบาทนี่ไม่มีกำไรหรอกครับ เป็นราคาที่มีการอุดหนุนแล้ว แต่เป็นการฝึกวินัยชาวบ้านด้วย

อ่านต่อ »



Main: 0.18087220191956 sec
Sidebar: 0.54190278053284 sec