ระดมเครื่องสูบน้ำ

อ่าน: 2551

เมื่อน้ำเหนือบ่ามาล้นกำแพงกั้นน้ำที่หลักหก ปทุมธานี เหมือนกรุงเทพมีรูรั่วอันใหญ่ เวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ ก็ยังเปิดบ้านรับให้น้ำเข้าไปสู่ตัวเมืองชั้นใน

เมื่อคราวประตูน้ำบางโฉมศรีแตก ใช้เวลาเกือบสามสัปดาห์จนน้ำทะลักเข้ามาเต็มทุ่งทางตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยา ทุกวินาทีที่ล่าช้าไป หมายถึงน้ำปริมาณมหาศาลทะลักเข้ามาเรื่อยๆ ประสบการณ์เลวร้ายผ่านไป ก็ยังไม่เข็ด พอน้ำลงมากรุงเทพ การติดตั้งบิ๊กแบ็ก ก็เถียงกันอยู่นั่นแหละว่าใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ข้อเท็จจริงก็คือน้ำยังเข้ามาเรื่อยๆ สูบยังไงก็ไม่หมดหรอกครับ

แต่ถึงสูบไม่หมด ก็ยังต้องสูบอยู่ดี เพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินกว่ารถยนต์จะวิ่งไม่ได้ หากการคมนาคมขนส่งหยุดลง แล้วทุกคนเดินทางไม่ได้ การที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ จะไม่ง่ายเหมือนมั่นใจแบบคิดเอาเอง

เมื่อวานนี้ ศปภ.ระดมความร่วมมือจากภาคเอกชนและประชาชน ขอเครื่องสูบน้ำที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว ใครจะค่อนแคะอย่างไร ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ คิดเสียวันนี้ ก็ยังดีกว่าไม่พยายามหาทางออกอะไรเลย

บ้านผมไม่มีปั๊มขนาด 6 นิ้ว และไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีบ้านใครที่มีปั๊มขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่บ้านเหมือนกัน

ปั๊มน้ำซึ่งอยู่ในเขตที่น้ำไม่ท่วม ศปภ.คงระดมมาหมดแล้ว (ถ้ายังก็ควรทำซะ) ศึกน้ำของจังหวัดในที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างยังอีกไกลครับ ไม่จบลงง่ายๆ อย่าหลอกตัวเองเลย

อ่านต่อ »


เตรียมการกู้ชาติ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 November 2011 เวลา 1:27 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 2849

ยังหรอกครับ น้ำเหนือยังมีอีกเยอะ ทั้งที่ท่วมพื้นที่ต่างๆ อยู่เป็นเดือนแล้ว และยังมีน้ำในเขื่อนซึ่งแทบจะล้นความจุอยู่แล้ว

พื้นที่ใดน้ำลด ก็อย่าเพิ่งดีใจ เพราะยังมีน้ำอยู่ทางเหนืออีกมากมาย น้ำเหล่านี้แผ่ลงมาตามความลาดเอียง ส่วนการป้องกันบ้านเรือนนั้น ผมคิดว่าเป็นสิทธิที่มีด้วยกันทุกคน จะเลือกป้องกันหรือไม่ป้องกันก็ได้

การป้องกันพื้นที่เอาไว้ ไม่ได้ทำให้น้ำไหลย้อนไปทางอื่น นอกจากไหลไปตามความลาดเอียง (ยกเว้นว่าสูบน้ำไปทิ้งทางช่องทางอื่น) เมื่อน้ำไหลมาเจอเขื่อน ก็ต้องสู้กันหน่อย ถ้าน้ำชนะ เขื่อนก็แตก แต่ถ้ารักษาเขื่อนไว้ได้ น้ำก็จะหาทางไปทางอื่นโดยไหลไปตามความลาดเอียง จากที่สูงลงที่ต่ำ

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม น้ำในที่ราบลุ่มภาคกลางนี้ ก็จะต้องไหลลงอ่าวไทยครับ จะขวางกางกั้นอะไรเอาไว้ ก็ต้องมีช่องให้น้ำไหลลงอ่าว โดยปกติก็เป็นแม่น้ำครับ คลองก็ใช้ได้เหมือนกันเพียงแต่คลองส่งน้ำลงทะเลได้น้อยกว่าแม่น้ำเท่านั้นเอง เพราะมีขนาดเล็กกว่า

รัฐบาลไม่ยอมประกาศวันหยุดยาวเพื่อให้ข้าราชการได้เตรียมตัวรับสถานการณ์ ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล… ขอเพียงอย่างเดียว ว่าอย่าคิดและสื่อสารกับประชาชนว่าน้ำลดแล้ว ปัญหาผ่านไปแล้ว คนเราควรจะเรียนรู้เป็นนะครับ ผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกมาเพราะไม่รู้จักพิจารณาความเป็นจริง

เมื่อเห็นระดับน้ำลดลง ก็เป็นจังหวะที่จะต้องเสริมความแข็งแรงของคันดิน กระสอบทรายต่างๆ ที่จมน้ำมานาน ถ้าบิ๊กแบ็กทางน้ำเหนือไว้ไม่ไหว ย้ายบิ๊กแบ็กมายันตามเขื่อนริมแม่น้ำลำคลองยังดีเสียกว่าปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ

แต่เรื่องที่ผ่านไปแล้ว ก็ผ่านไปแล้วครับ พูดไปก็เปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้

อ่านต่อ »


เบนน้ำได้ ง่ายนิดเดียว

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 November 2011 เวลา 0:47 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4955

บ้านผมอยู่ อ.ปากเกร็ด ตอนนี้น้ำยังไม่ท่วม แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่

ก็บ้านเรานี่ครับ ต้องสนใจหน่อย ความเสี่ยงอันใหญ่คือคลอดรังสิตประยูรศักดิ์​ (คลองรังสิตนั่นแหละครับ) ซึ่งมีประตูน้ำจุฬาลงกรณ์กั้นอยู่ ประตูน้ำนี้ สูบน้ำปริมาณมากมายที่ลงมาจาก อ.บางหลวงไปลงคลองรังสิต ก่อนจะไหลบ่าเข้ากรุงเทพตอนเหนือ ระดับน้ำในคลองรังสิตต่ำกว่าระดับน้ำส่วนที่ไหลออกแม่น้ำเจ้าพระยา จึงต้องสูบน้ำออกเพื่อลดภาระแก่แนวป้องกันกรุงเทพตอนเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปทุมธานี มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 200 เมตร สม่ำเสมอไปจนใกล้ปากน้ำ เรียกว่ามีขนาดกว้างกว่าคลองต่างๆ ที่ใช้ระบายน้ำมาก

จุดบรรจบของคลองรังสิตประยูรศักดิ์กับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นดังรูปข้างล่าง คลองรังสิตมาจากทางขวา และแม่น้ำก็ไหลจากมุมบนซ้ายลงมาข้างล่าง

อิทธิพลของน้ำทะเลหนุน ทำให้ระดับน้ำในคลองรังสิตหลังประตูน้ำยังสูงอยู่ แต่นั่นเป็นเหตุเดียวหรือเปล่า???

คิดไปคิดมา ผมคิดว่าอาจจะไม่ใช่ เพราะเมื่อของไหลจากคนละแนวมาเจอกัน ก็จะเกิดความปั่นป่วน เกิดแรงต้านทาน ทำให้น้ำไม่ไหลออกดีเท่าที่ควร จึงเสนอวิธีง่ายๆ ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


นาวาฝ่าวิกฤต: Mobility in the time of flood

อ่าน: 2872

เรื่องนี้รู้มาสักพักหนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้เขียนถึงแม้จะคิดว่าเป็นไอเดียที่ดีมากก็ตามครับ

https://www.facebook.com/groups/floodcontest/

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ “นาวาฝ่าวิกฤต: Mobility in the time of flood” เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ ประสบภัย ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน โดยกำหนดให้การพัฒนาต้นแบบต้องเสร็จสิ้น ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน เพื่อส่งเข้าในรอบชิงชนะเลิศวันที่ 11 พฤศจิกายน ศกนี้ ชิงเงินรางวัลและเงินทุนพัฒนาโครงการมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท โดยผลงานที่สำเร็จจะนำมาสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยต่อไป ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ e-mail: floo...@nectec.or.th หรือ Facebook: “Flood Mobile Contest Thailand”

…สำหรับโจทย์ของการประกวดในครั้งนี้ คือ เราจะช่วยผู้คนเดินทางสัญจรทางน้ำได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือใกล้ตัวที่เหลือใช้ หาได้ง่ายได้อย่างไร ผู้สนใจจะต้องพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในการเคลื่อนย้ายซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ที่ 160 กิโลกรัมในพื้นที่น้ำท่วมโดยสะดวกและปลอดภัย ซึ่งอาจจะเป็นแพและ/หรือใช้จักรยานที่สามารถขับเคลื่อนหรือปั่นในน้ำ แทนที่จะใช้การพาย มีความถ่วงสมดุลและสามารถลอยน้ำได้ โดยใช้วัสดุทั่วไปที่ต้นทุนต่ำ หาง่ายและมีอยู่ในท้องถิ่น สร้างขึ้นโดยง่ายเพื่อให้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานที่ใดก็ได้ในประเทศไทย ทั้งนี้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของผู้ประดิษฐ์ แต่ผลงานต้องเปิดเผยและเผยแพร่ให้เป็นสมบัติสาธารณะ และอนุญาตให้คนไทยใช้งานได้ทั่วไป และสามารถนำไปผลิตเพื่อใช้งานจริงได้…

กล่าวคือเป็นพาหนะลอยน้ำ น้ำหนักบรรทุก 160 กก. เสถียรภาพดี ไม่ใช้เครื่องยนต์ เป็นเทคโนโลยีชาวบ้านซึ่งใครๆ ที่ไม่งอมืองอเท้า สามารถสร้างได้เองโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือ — ความคิดอย่างนี้น่ายกย่องครับ

ขอแสดงความยินดีกับทีมที่ผ่านการคัดเลือกทุกทีม ท่านใช้รอยหยักในสมองให้เป็นประโยชน์แล้ว

อ่านต่อ »


มีดี…ก็งัดออกมาเลย

อ่าน: 2789

เมื่อวานเข้ากรุงเทพไปทำเรื่องบัญชีการรับบริจาคซึ่งติดขัดอยู่ แก้ไขจนเรียบร้อยแล้วครับ หมดเวลาไปทั้งวันทั้งคืนจนไม่ได้เขียนบันทึก

บ้านอยู่ปากเกร็ดฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางตะวันตกห่างเพียง 1 กม. ทางตะวันออกเป็นคลองประปา ทางเหนือเป็นแนวคันดินพระราชดำริ (ถนนประชาชื่นปากเกร็ดหรือศรีสมาน) น้ำยังไม่ท่วม ก็ต้องยกความดีให้กับเทศบาลนครปากเกร็ดและชาวบ้านปากเกร็ดที่ป้องกันเขื่อนอย่างเข้มแข็ง

เมื่อน้ำทะลักแนวป้องกันเข้ามา เป็นเรื่องใหญ่ เพราะว่าพื้นที่ไม่ได้ราบเรียบ น้ำที่ขังอยู่ในที่ต่ำจะไม่ระเหยไปเอง แต่จะต้องสูบออก สถานการณ์นี้ เจอกันมาทุกจังหวัดตามแนวการไหลของน้ำ การยกน้ำปริมาณ 1 ลิตร (ซึ่งหนัก 1 กก.) ขึ้นสูง 1 เมตร ใช้กำลัง 1 วัตต์ บกน้ำหนึ่งคิวขึ้นสูงหนึ่งเมตร ใช้กำลัง 1 กิโลวัตต์ แต่น้ำที่ทะลักเข้ากรุงร้อยล้านคิว ที่ต้องสูบออก ใช้พลังงานอีกมหาศาลครับ

บ้านเรือนริมคลองที่น้ำยังไม่ท่วม พยายามกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้หมด ผักตบชวา และกอหญ้าริมตลิ่ง เอาออกนะครับ จะช่วยให้น้ำผ่านไปเร็วที่สุด

อ่านต่อ »


เข้ากรุงเทพ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 November 2011 เวลา 16:43 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2880

อ้าว โพสต์ไปแล้ว เน็ตไม่ดี หายไปหมดเลย เขียนใหม่ก็ได้

พรุ่งนี้ผมตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพครับ เรื่องของเรื่องก็คือตั้งแต่อพยพมาอยู่หัวหินนี้ เกือบสองอาทิตย์แล้ว มีปัญหาการเบิกจ่ายเงินบริจาคที่เกิดติดขัด ได้พยายามหาทางออกที่โปร่งใสที่สุดแต่ก็ติดขัดไปหมด บัญชีของมูลนิธิที่เปิดไว้สำหรับรับบริจาค SCB 402-177853-3 เป็นบัญชีนิติบุคคลซึ่งจะต้องเบิกจ่ายจากสาขาที่เปิดบัญชีเอาไว้เท่านั้น ทีนี้สาขาที่เปิดบัญชีไว้ ก็อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง พ่อแม่ผมอายุมากแล้ว ไม่อยากให้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสูง ดังนั้นจึงอพยพพ่อแม่มาอยู่หัวหินเกือบสองอาทิตย์แล้ว

ระหว่างนี้ได้พยายามจะหาทางให้เบิกจ่ายจากหัวหินให้ได้ แต่ก็ดูจะไม่มีทางเสียเลย ครั้นจะขับรถลุยน้ำไปกลับห้าร้อยกิโลเพื่อไปทำธรุกรรมทางการเงิน 15 นาทีทุกครั้งที่มีการเบิกเงิน ก็ดูจะวิปลาสเกินไป

ลองมาหมดทุกทางที่นึกออกแล้วครับ

  • ให้สาขาหัวหินขอตัวอย่างลายเซ็นและเอกสารที่จำเป็นจากสาขาที่เปิดบัญชีไว้ — สาขาหัวหินไม่ทำให้
  • เปิดบัญชีสั่งจ่ายทางอินเทอร์เน็ต — เอกสารไม่ครบ แล้วในขณะที่บ้านกรรมการมูลนิธิน้ำท่วมนี่ จะไปตามตัวท่านมาเซ็นก็ดูจะเลือดเย็นไปหน่อยนะ

ดังนั้นเพื่อให้เบิกจ่ายเงินบริจาคได้ พรุ่งนี้ผมก็จะเข้าไปที่ธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ เพื่อเปิดบัญชีอีกอันหนึ่ง เป็น Petty Cash และเบิกจ่ายเงินบริจาคจากบัญชีใหม่นี้ทางอินเทอร์เน็ตแทนชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์อุทกภัยจะดีขึ้น การทำอย่างนี้เพิ่มงานเป็นสองเท่าแต่ก็ต้องทำ เพราะเงินบริจาคคือน้ำใจที่มอบให้แก่ผู้ประสบภัย ไม่มีเหตุผลที่จะเอามาถือไว้เฉยๆ มีเงินบริจาคมา ก็ต้องจ่ายออกไปเพื่อผู้ประสบภัย อย่างเหมาะสมและโปร่งใส

อ่านต่อ »


EM น้ำ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 November 2011 เวลา 21:26 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3454

ได้ยินแต่คนขอ EM Ball แต่ไม่ค่อยมีใครคิดทำหัวน้ำเชื้อ EM ขึ้นมา ทีอย่างนี้ละ ไม่รู้จัก viral จะซื้อแหลกเหมือนเดิม

คำว่า EM นั้นมีลิขสิทธิ์ ควรเลี่ยงไปใช้คำว่าน้ำหมักชีวภาพหรือคำอะไรก็แล้วแต่ผู้รู้จะบัญญัติขึ้นมาแทน

EM Ball เป็นการปั้นดินทรายที่ชโลมด้วยหัวน้ำเชื้อ EM จนเข้าเนื้อใน เมื่อโยนลงไปในแหล่งน้ำเสีย จุลินทรีย์ที่อยู่ใน EM Ball ก็จะค่อยๆ ละลายออกมา บำบัดสภาพน้ำเสียให้ทุเลาลงเยอะ แต่ EM Ball มีข้อเสียเหมือนกัน คือดินทรายที่ปั้นเป็นลูก พอละลายแล้ว ก็อาจจะไปขวางทางระบายน้ำ

สำหรับพื้นที่น้ำขังและเน่าเสีย แนะนำให้พิจารณา EM น้ำแทน เมื่อโรย EM น้ำลงไป จุลินทรีย์ทำงานทันที

สูตรและวิธีการทำ EM น้ำอยู่ตรงนี้ ที่จริงแล้วไม่ยาก ใช้น้ำสะอาด ผสมหัวเชื้อในสัดส่วน ผสมน้ำตาลทรายแดงในสัดส่วนที่เป็นครึ่งหนึ่งของกากน้ำตาลในสูตร(ซึ่งหาได้ยากกว่า) หมักไว้ในภาชนะปิดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์

อย่าบ่นเลยว่าทำไมต้องใช้เวลาตั้งหนึ่งสัปดาห์ น้ำเหนือมาครั้งนี้ มีสัญญาณเตือนมาล่วงหน้าเป็นเดือน เรายังไม่ทำอะไร ทำไมรอแค่ 7 วันจะรอไม่ได้!

โรงงานผลิตหัวน้ำเชื้อ EM ซึ่งมีห้องแล็ปควบคุมคุณภาพ คัดเลือกและผสมจุลินทรีย์ในสัดส่วนที่วิจัยแล้วว่าได้ผลดีที่สุด ตั้งอยู่ในจังหวัดอยุธยาซึ่งน้ำท่วมไปแล้ว ดังนั้นหัวน้ำเชื้อคุณภาพ จึงมีหมุนเวียนอยู่ในตลาดไม่มากนัก จำเป็นต้องหมักเพิ่มแทนที่จะรีบใช้ให้หมดนะครับ


ทำไมน้ำท่วมกรุงเทพแค่เข่า จึงวุ่นวายได้ขนาดนี้

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 November 2011 เวลา 18:41 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 6046

ตามข้อมูลของกรมการปกครองเมื่อสิ้นปี 2553 กรุงเทพและปริมณฑล มีประชากร 10.3 ล้านคน และจากรายงานประจำปีของกรมสรรพากร ทางกรมเก็บภาษีเงินได้จากกรุงเทพ (ไม่รวมจังหวัดปริมณฑล) ได้ 49.9% ของภาษีเงินได้ทั้งประเทศ

ผมไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพ แต่เข้าใจกรุงเทพดีพอ ระบบการขนส่งของกรุงเทพนั้น ใช้การขนส่งทางบกเป็นหลักไม่ว่าจะขนคนหรือขนของ เมื่อน้ำท่วม การขนส่งหยุดชะงัก ทำให้มีคนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ชานเมือง ห่างไกลจากที่ทำงาน ที่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเม้นท์หรือคอนโดมิเนียมในเมืองก็มีสภาพติดเกาะ

ภาพประกอบจากเฟสบุ๊คดังนั้นคนกรุงเทพถ้ามีกำลังพอก็จะใช้รถยนต์ ในเมื่อรถยนต์ใช้ไม่ได้จึงลำบาก ยิ่งกว่านั้นกรุงเทพเป็นเมืองที่ไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอ ตลาดใกล้บ้านก็พึ่งพาการขนส่งทางบกเช่นกัน ในเมื่อถนนหนทางถูกน้ำท่วม ขนส่งไม่ได้ ข้าวปลาอาหารจึงขาดแคลน การปล่อยให้กรุงเทพน้ำท่วมจึงเป็นฝันร้ายของผู้บริหาร เพราะการปล่อยให้ประชากรหนึ่งในหกของประเทศที่มีฐานภาษีเงินได้ครึ่งหนึ่งของประเทศเดือดร้อนนั้น เกินกำลังของมนุษย์ปกติที่จะจัดการได้

น้ำเหนือปริมาณมหาศาลหลากมา ยังไงน้ำก็ต้องไหลลงทะเลครับ และจะต้องผ่านกรุงเทพและปริมณฑลแน่นอน จะมาตีโพยตีพายร้องแรกแหกกะเชอไม่มีประโยชน์อะไร ต้องพยายามจำกัดปริมาณน้ำที่ทะลักเข้ามาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล คำว่าทะลักนี้ไม่ได้หมายความว่ากันไม่ให้เข้าเลย แต่ให้ไหลผ่านไปในปริมาณที่ควบคุมเอาไว้ไม่ให้ท่วมถนนหนทาง ไม่ท่วมจนรถวิ่งไม่ได้

การควบคุมก็ต้องซ่อมคันกั้นน้ำที่รั่วอยู่ ป้องกันคลองประปาเพื่อให้เป็นแหล่งจ่ายน้ำสะอาดให้คนหลายล้านคน จริงอยู่ที่น้ำท่วมทีไร ประปาเจ๊งทุกที แต่ประปาของกรุงเทพมีระบบป้องกันที่ดีพอสมควร แม้จะมีคนไม่มีความรู้และเห็นแก่ตัวไปทำลาย (ซึ่งไม่ได้ช่วยให้น้ำที่ท่วมอยู่ลดลงเลย แต่ทำให้คนอีกหลายล้านคนเดือดร้อน)

อ่านต่อ »



Main: 0.061286926269531 sec
Sidebar: 0.1820969581604 sec