ความคิดเกี่ยวกับกรณีของหมู่บ้านเมืองเอก

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 November 2011 เวลา 0:58 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4744

หมู่บ้านเมืองเอก เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีพื้นที่ 6 ตร.กม. เป็นรอยต่อระหว่างปทุมธานีกับกรุงเทพ มีสนามกอล์ฟอยู่ข้างในสองสนาม

เมืองเอกได้สู้กับน้ำหลากมาถึงสองเดือน มีเขื่อน มีถนนโดยรอบ ก่อนจะแตกเพราะทำนบทางหลักหก (ตลาดรังสิต) แตก ทำให้น้ำทะลักเข้าทางด้านข้าง น้ำท่วมสูง บางที่แค่อก บางที่มิดหัว อยู่อาศัยไม่ได้จนต้องอพยพออกมา

ช่วงนี้ ผมทวิตเกี่ยวกับปัญหาของเมืองเอกมากหน่อย เพราะคิดว่าชุมชนเมืองเอกได้ทำคุณานุปการไว้กับคนกรุงเทพตอนเหนือมาก และในเวลาที่เขาลำบาก จะไม่คิดหาทางช่วยเหลือ ก็ดูจะใจดำไปหน่อย; ที่จริงบ้านผมทางนนทบุรีตอนเหนือ ไม่ได้รับอานิสงส์จากการต่อสู้ของชาวเมืองเอกเนื่องจากอยู่คนละฝั่งของคลองประปา (คนละจังหวัดด้วย)

เมื่อเมืองเอกแตกแล้ว ด้วยสภาพที่เป็นแอ่ง ไม่มีทางที่น้ำจะลดยกเว้นสูบออก พื้นที่ 6 ตร.กม. น้ำสูงเฉลี่ย 1.7 เมตร คิดเป็นปริมาตรน้ำ 10.2 ล้าน ลบ.ม.; แต่ก่อนจะตัดสินใจสูบออก ก็ต้องตอบให้ได้ว่าสูบไปทิ้งที่ไหนจึงจะไม่เป็นภาระกับคนอื่น คำตอบที่ดีที่สุด ก็คือทิ้งในแม่น้ำเจ้าพระยาครับ

ที่น่าฉงนสนเท่ห์คือระดับน้ำที่ท้ายประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ กับที่เครื่องวัด C.38 ที่ อ.เมือง ปทุมธานี ต่างกันถึง 1 เมตร สงสัยจริงๆ ว่าเกิดอะไรผิดปกติตั้งแต่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์จนถึงปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์หรือเปล่า อย่างนี้สูบน้ำไปเท่าไหร่ น้ำก็ลงแม่น้ำได้น้อย ระดับน้ำแถวรังสิตคลอง 1-4 จะลดได้ช้ามากเพราะระบายไม่ออก

การสูบน้ำจากเมืองเอก+ทุ่งสีกัน มีทางออกอยู่สามทาง

ทางตะวันออกผ่านคลองเปรมประชากร ซึ่งตื้น แคบ ไม่ได้ขุดลอก และมีขยะที่น้ำท่วมพัดมามาอัดกันเต็ม นอกจากรับปริมาณน้ำจากการเปิดเขื่อนกระสอบบิ๊กแบ็กแล้ว ยังมีระยะเดินทางอีกเกือบ 20 กม.กว่าจะถูกสูบออกสู่แม่น้ำ ทางเลือกทางนี้ ไม่ค่อยเข้าหูเลย

อ่านต่อ »


จับคู่ดูแลกัน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 November 2011 เวลา 2:00 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3108

ศปภ.เสนอให้จังหวัดที่ไม่ได้ประสบอุทกภัย จับคู่กับเขต (อำเภอ) ของกรุงเทพที่ประสบอุทกภัย มีครัวรัฐบาลอีกด้วย

เรื่องนี้ดีครับแต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการทำกันมาสักพักแล้ว เทศบาลต่างๆ ติดต่อประสานงานกันอยู่ อบจ. อบต. ก็มีช่องทางช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่แล้ว เมื่อปีที่แล้วมีการยกเว้นเขตอำนาจในกรณีที่ อปท.หนึ่งจะส่งกำลังไปช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยอื่นๆ ในกรณีของภัยพิบัติ (ก่อนหน้านั้น อปท.ออกนอกเขตของตนไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจะโดน ปปช.สอบ!)

การเชื่อมต่อกันอย่างนี้ เกิดจากความเห็นใจกันและกัน เป็นไปโดยไม่ต้องสั่งการมาจากส่วนกลาง หน่วยงานที่มีทรัพยากรอยู่ว่างๆ ก็มีแนวโน้มว่าจะช่วยเหลือหน่วยงานอื่นตามธรรมชาติของจิตใจคนไทยอยู่แล้ว รัฐเพียงแต่ปลดล็อค ทำตัวเป็น enabler เท่านั้นก็พอ

ผมรู้ว่าเทศบาลขนาดใหญ่บางแห่ง ส่งทีมไปช่วยเทศบาลที่ประสบภัยโดยไม่มีการร้องขอ ด้วยงบประมาณของตนเอง ไม่ออกข่าวเอาหน้า และกำลังที่ส่งไปช่วย ดูแลตนเองทั้งหมด (โดยไม่ต้องมีเจ้าภาพมาคอยประคบประหงม เจ้าภาพควรจะไปช่วยประชาชนแทนที่จะเสียเวลามารับแขก) ยอดๆๆๆๆๆ

อบต. อาจจะช่วยเหลือ อบต.ที่ประสบภัยไม่ได้เหมือนเทศบาลขนาดใหญ่ เพราะว่ามีทรัพยากรน้อยกว่า แต่ก็ยังให้ยืมเครื่องไม้เครื่องมือ หรือเป็นศูนย์กลางรวบรวมความช่วยเหลือจากตำบลนั้นไปยังพื้นที่ประสบภัยได้

อ่านต่อ »


ซูชิจานเวียน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 November 2011 เวลา 1:10 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3025

เป็นความคิดพิสดารบ้าบอครับ

สำหรับชาวบ้านที่อยู่ในซอยลึกๆ จะเข้าจะออกบ้านกับถนนใหญ่ ต้องรอรถใหญ่หรือจ่ายค่าโดยสารเรือในราคาแพง

ผมคิดว่าทั้งชุมชน ช่วยกันเรี่ยรายหามอเตอร์เล็กๆ สักตัว หาล้อวงจักรยานสองอัน ติดไว้หัวกับท้ายซอย จากนั้นเอาเชือกขึงระหว้างล้อจักรยานเป็นวง เมื่อเอามอเตอร์​ (ที่ทดรอบลงให้ความเร็วต่ำ) หมุนล้อจักรยาน เชือกที่ขึงอยู่ ก็จะหมุนตามล้อไป ทำให้เชือกเคลื่อนที่ทั้งสองทาง ทั้งเข้า และออกจากซอย

ทีนี้ถ้าแต่ละคนเข้าไปนั่งในกาละมังพลาสติก แล้วเอามือไปจับเชือก เชือกก็จะพากาละมังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ถูกต้อง เป็นการจัดการจราจรไปในตัวว่า ไม่มีชนกัน ไม่มีแซงกัน

เช้าเมื่อไปถึงปากซอย ก็ฝากกาละมังไว้ ตอนเย็นกลับมา ก็มาเอากาละมังเข้าบ้าน น่าจะเร็วและปลอดภัยกว่าเดินลุยน้ำครับ

สว. จะไปไหนมาไหนก็ต้องพึ่งคนพายเรือให้ แต่ถ้าใช้มือจับได้ แค่จับเชือกไหว ก็เดินทางได้แล้ว — ทีแรกจะเสนอเชือกผูกเสาแล้วใช้แรงแขนลาก แต่ดูอาการว่าจะไม่รอดหรอกครับ

ส่วนเรือจ้าง ก็ยังทำอาชีพเดิมต่อไปได้สำหรับคนที่ต้องการความรีบด่วน หรือรับจ้างตามแยกต่างๆ แล้วถ้าจะให้ดี ใช้เรือลากกาละมังไปเป็นพรวน โดยคิดค่าลากให้ถูกลงจากค่าโดยสารรายหัวก็ดีนะครับ เช่นถ้านั่งเรือได้สามคน คิดคนละสิบบาท ได้เงินสามสิบ แต่ถ้าลากกาละมัง ลากได้แปดกาละมัง คิดกาละมังละห้าบาท ได้เงินสี่สิบบาทเป็นต้น


หักลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาคช่วยน้ำท่วม

อ่าน: 3680

เรื่องนี้เป็นมหากาพย์ ที่นานมาหลายเดือนแล้ว

เริ่มตั้งแต่ ครม.ที่ผ่านมา มีมติออกกระราชกฤษฎีกาแก้ไขประมวลรัษฎากร เกี่ยวกับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือภัยพิบัติหลายอย่าง เรื่องนี้ถ้าจำไม่ผิดก็ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2554 ครับ กว่า พรฎ.นี้จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็เป็นวันที่ 9 มิถุนายน เรื่องของภาษีเงินได้ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฏหมาย (ประมวลรัษฎากร) มติ.ครม.ก็ไม่มีผลอะไร จนกว่ากระทรวงการคลังจะไปออก พรฎ.แล้วประกาศในราชกิจจาฯ

ตาม พรฎ.ที่ประกาศนั้น มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น

  1. เป็นหลักการที่ใช้ย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
  2. ยอมให้ภาคประชาชนได้ช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัยบ้าง เรียกว่าตัวแทนรับบริจาค ทั้งนี้มีกฏเกณฑ์ความโปร่งใสกำกับอยู่ ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากร และต้องแยกการรับบริจาคออกจากกิจการปกติโดยเด็ดขาด — บัญชีรับบริจาคโดยบุคคลไม่เข้าเกณฑ์ เนื่องจากออกใบเสร็จไม่ได้ ถึงจะไปเอาใบเสร็จของนิติบุคคลอื่นมา ก็จะมีปัญหายุ่งยากตามมาเหมือนเป็นการอำพรางเนื่องจากเงินไม่เข้าที่นิติบุคคลผู้ออกใบเสร็จนั้น
  3. ประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรในเรื่องนี้ ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 แต่ประกาศบนเว็บของกรมช่วยปลายเดือนตุลาคม จึงเกิดความชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก
  4. ก่อนออก พรฎ.นี้ เคยมี พรฏ.ในลักษณะเดียวกันออกมาก่อนหน้า แต่กำหนดขอบเขตของการบริจาคไว้เพียง 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2553 เท่านั้น แต่ในครั้งนั้น อธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศให้ความชัดเจนไว้บนเว็บไซต์ของกรมตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2553 จึงปฏิบัติไปได้อย่างถูกต้อง

อนึ่ง นิติบุคคลใด ที่ “เงินบริจาค” สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ด้วยตัวของตัวเองนั้น จะต้องมีชื่อซึ่งค้นได้บนเว็บของกรมสรรพากร ดังนั้นไม่ใช่ว่าบริจาคให้มูลนิธิหรือสมาคมแล้วจะลดหย่อนภาษีได้ ถ้าบริจาคให้องค์กรใดที่ไม่มีชื่ออยู่ในนั้น แล้วเอาใบเสร็จรับเงินไปหักค่าใช้จ่ายตอนยื่นภาษี หากตรวจไม่พบในตอนที่ยื่นแบบแสดงรายการ ก็จะโดนปรับฐานที่ยื่นเท็จในภายหลัง แล้วถ้าผู้บริจาคเป็นนิติบุคคล เงินบริจาคจัดเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามอีกด้วย (แบบเดียวกับเงินสินบน) ดังนั้นโปรดตรวจสอบก่อนจะผิดพลาด

อ่านต่อ »


แผงตัดยอดคลื่น

อ่าน: 2714

ที่จริง วันนี้ค้นข้อมูลจะหาวิธีลดผลกระทบจากเรือหรือรถที่วิ่งด้วยความเร็วไปในน้ำแล้วก่อให้เกิดคลื่นเข้ากระแทกบ้านเรือนจนพัง

น้ำท่วมอาจทำให้บ้านพังได้ แต่คลื่นที่มาจากพาหนะที่เข้ามาช่วยเหลือ ทำให้บ้านพังนี่ มันปวดใจครับ

ค้นไปค้นมา ก็เจอการออกแบบง่ายๆ ใช้พลาสติก LDPE หล่อเป็นรูปสามเหลี่ยม (ลอยน้ำ) โยงกันไว้ด้วยเชือก ผูกโยงกันเป็นแนว สามารถใช้กันคลื่นได้

ระหว่าง LDPE รูปสามเหลี่ยม มีช่องว่างอยู่ ช่องนี้ดักคลื่นที่พยายามวิ่งข้ามแนวกั้น ส่วน LDPE ที่ตั้ง ก็ปะทะคลื่นโดยตรง น่าจะลดพลังงานจากคลื่นไปได้ครึ่งหนึ่ง

ฝรั่งใช้ LDPE แต่ในยามจำเป็น ไม่ต้องไปทำโมลเพื่อจะมาหล่อบล็อกก็ได้นะครับ ใช้กระดาษ ใช้โฟม หรือวัสดุเหลือใช้อื่นๆ ก็น่าจะไหว พอน้ำลดแล้ว เราก็ไม่ใช้อีก… ผมเชียร์ถุงพลาสติกเป่าลมห่อด้วยกระดาษแข็ง ซึ่งสามัญสำนึกจะบอกเราว่าเดี๋ยวกระดาษก็เปื่อย แต่เปื่อยก็เปื่อยไปสิครับ ดีกว่าบ้านพังเป็นไหนๆ


คนมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา

12 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 November 2011 เวลา 2:56 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4268

ไม่ใช่จะแก้ตัวอะไรให้ใครหรอกครับ ผมไม่ใช่พวกลัทธิแก้ หรือลัทธิแถ

เมื่อสามสัปดาห์ก่อน แก๊งค์ 206 อพยพมาหัวหิน แต่น้องๆ ทุกคนพร้อมทั้งครอบครัว อยู่บ้านกันหมด น้องสามคน สามครอบครัว อยู่กันสามบ้าน พ่อแม่อายุมากแล้ว ต่อให้ใครมั่นใจว่าบ้านจะไม่ท่วม ก็ไม่ควรเอาสว.ไปเสี่ยงหรอกครับ ผิด-ถูก-แม่น-ไม่แม่น เป็นเรื่องกระจอก สนองอัตตาทั้งนั้น เหตุผลก็ขึ้นกับมุมมอง เหมือนกับข้อเท็จจริงขึ้นกับการตีความ ประเด็นคือพ่อแม่สำคัญที่สุด อย่าเอาพ่อแม่ไปเสี่ยงกับความคิดของเราซึ่งวูบวาบได้เลย

แต่เพราะคืนวันที่อพยพมาไม่ได้นอนเลย (ตามฟอร์ม) ตามข่าวเรื่องอันธพาลมาพังเขื่อนห่างจากบ้านไม่กี่กิโล ตีสี่ลงมารองน้ำกินทิ้งไว้ให้น้องและหลานที่บ้าน รุ่งเช้าก็ไม่ได้ออก กว่าจะได้ออกจากบ้านก็เที่ยง แล้วยังแวะไปธุระอีก ได้ฤกษ์ออกเดินทางไปหัวหินจริงๆ ก็บ่ายสามโมงแล้ว ไม่ได้นอนมาทั้งคืน อย่างนี้จะเหลือหรือครับ ผลคือหลับใน

เผอิญหลับในแล้วเลี้ยวซ้าย ไปชนท้ายรถซึ่งเขาขับมาช้าๆ รู้สึกผิดมาก )-; โชคดีที่ไม่มีใครเป็นอะไร ถ้าหลับในแล้วเลี้ยวขวา ผมคงไม่สามารถมาเขียนอะไรอยู่ได้ในตอนนี้หรอกครับ จะชนเกาะกลางถนน เละแน่ครับ ดังนั้นต้องเปลี่ยนขีดจำกัดใหม่แล้ว เดิมผมจะหยุดพักทุก 200 กม. ทีนี้ถ้าจะขับเอง คงต้องเปลี่ยนหยุดพักทุกชั่วโมงแล้ว แต่พ่อแม่บอกว่าถ้าจะไปไหน ให้เอาคนขับรถไป จะกี่วันก็ได้ ก็เลยรู้สึกว่าคงไม่ต้องขับรถเองแล้ว

อยู่หัวหินสุขสบายดี มี 3G ใช้ด้วย ที่ล็อบบี้มี wifi ใช้ฟรี ก็เลยใช้เรื่อยมา ดึกดื่นทุกคืนเหมือนอยู่บ้านเลย

อ่านต่อ »


กระบวนทัศน์ใหม่: ประชาชนดูแลตนเอง

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 November 2011 เวลา 0:28 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2995

ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ตั้งแต่พายุและน้ำท่วมทางใต้สุดของประเทศปี น้ำท่วมครึ่งประเทศ ต่อด้วยภัยหนาวเมื่อปีที่แล้ว ตามด้วยอุทกภัยจากลานินญา น้ำท่วมตลอดแนวเหนือ-ใต้ และตะวันตก-ตะวันออก ไม่นับภัยจากกิจกรรมของมนุษย์เช่นภัยจากการสู้รบตามชายแดน และภัยจากแม่น้ำเน่าเสียด้วยเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลล่ม

เฉพาะหนึ่งปีกว่าๆ ที่ผ่านมา กระบวนการอาสาสมัครเข้มแข็งขึ้นมาก แต่กระบวนการแอ็บอาสาก็เช่นกัน

คำว่าอาสาสมัครนั้น อย่าได้เข้าใจว่าจะมาสั่งเค้าเลยครับ ควรจะต้องเคารพเขาต่างหาก พูดคุยและพยายามชี้เป้าที่ชัดเจน เพื่อที่จะมีทั้งการรวมพลัง (ให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน คือบรรเทาความทุกข์ยากของผู้ประสบภัย) และแบ่งสรรกำลังกันออกไปช่วยเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกระจุกตัว

ตามกฏหมายแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจ ผู้ว่าฯ ควรจะเป็นผู้ที่รู้ความเป็นไปของพื้นที่มากที่สุด แต่เครื่องมือของระบบราชการนั้น แทบไม่มีเลยนอกจากระบบรายงานของราชการ ซึ่งหนักไปทางตัวเลขเพื่อตั้งงบประมาณ แทนที่จะเป็นสถานการณ์จริงเกี่ยวกับชีวิตของชาวบ้าน

เครื่องมือที่รัฐน่าจะมี อยู่บน thaiflood.com นะครับ แต่เครื่องมือในลักษณะนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะคนที่ทำงานหน้างาน รู้เห็นความเป็นไป (และพบเจอความไม่ได้เรื่องทั้งหลาย) ทำขึ้นมาเพื่อช่วยให้การบริหารสถานการณ์ในยามวิกฤต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หากรัฐจะเอาไปทำ ก็กรุณาปรึกษาคนทำงานสักหน่อย จะได้ไม่ประมูลของเล่นมาใช้เหมือนที่ผ่านๆ มา

เครื่องมือในลักษณะนี้ ไม่มีการรวมศูนย์สั่งการหรอกครับ แผนที่แสดงสถานการณ์ขึ้นมา ใครช่วยตรงไหนได้ จองพื้นที่นั้นเอาไว้ก่อนเข้าไปช่วย เมื่อเข้าไปช่วยแล้ว กลับมาอัพเดตข้อมูลด้วย เผื่อว่ามีอะไรขาดไป หรือจะต้องเข้าไปอีกเมื่อไร — กระบวนการอย่างนี้ ไม่ใช่หาถุง หารถ หาเรือลุยไปแจกของ ซึ่งจะเกิดสถานการณ์ที่ไปซ้ำกัน คนที่ได้ ได้มากเกินไป คนที่ไม่ได้ ก็อดอยู่นั่นแหละ หรือว่าลงพื้นที่ซะลึกเชียว แต่เอาของไปไม่พอ จนเกิดความไม่เท่าเทียมกันหรือแตกแยกในชุมชน

อ่านต่อ »


ระดับความสูง

อ่าน: 3290

งงกันมานาน ว่าระดับความสูงของบ้านนั้น เท่าไรกันแน่

เมื่อสิบกว่าปีก่อน สหรัฐเริ่มวัดความสูงของพื้นที่และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาความหนาของน้ำแข็งในสภาวะโลกร้อยครับ โปรแกรมนั้นเรียกว่า STRM (Shuttle Radar Topography Mission) คือสำรวจความสูงของผิวโลกด้วยการจับสัญญาณสะท้อนจากเรดาร์ที่ยิงจากกระสวยอวกาศ ข้อมูลความสูงนั้น มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เหมือนกัน เมื่อทำการสำรวจเสร็จ เขาก็ปล่อยข้อมูลที่ได้จากการใช้เรดาร์ความถี่ C-band ออกมาเป็นข้อมูลสาธารณะ เรียกว่า ETOPO1 (ใช้เรดาร์แบบ C-band ความละเอียด 92.5m)

ETOPO1 นี้ เป็นข้อมูลสาธารณะที่บรรดาผุ้ให้บริการแผนที่นำไปใช้ (เพราะฟรี) แต่ไม่ละเอียดเลย การคำนวณอัตราการไหลของน้ำด้วย ETOPO1 จึงไม่แม่นยำ และมีปัญหาคาใจ 3 คำถามที่ตอบไม่มีใครตอบได้: น้ำจะท่วมเมื่อไร จะท่วมสูงเท่าใด และจะท่วมอยู่นานแค่ไหน ที่ตอบไม่ได้ก็เพราะแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ ETOPO1 นี้ ไม่แม่นยำพอ

ดูระดับในแผนที่ออนไลน์ บ้านผมสูง 7-8 เมตร แต่ดูแผนที่ทหารแล้ว เหลือนิดเดียว (แผนที่ทหารแม่นกว่าครับ แต่แผนที่ทหารไม่มีความสูงทุกจุดที่ต้องการรู้ ซึ่งคงต้องใช้วิธีเดิม คือประมาณเอาด้วยวิธี interpolation)

อ่านต่อ »


เรื่องของการสูบน้ำ รีบสูบเถอะ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 November 2011 เวลา 2:28 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2801

งาน w ที่ใช้ในการยกน้ำมวล m ขึ้นสูง h จะเท่ากับ mgh ในสภาพที่น้ำขังเป็นแอ่ง จึงต้อง “ทำงาน” จึงจะระบายน้ำออกไปได้ครับ

การทำงานนั้นมีสองอย่าง คือลงมือทำ จะตัก จะวิด จะผลัก จะสูบ ฯลฯ ก็เป็นการทำงาน; งานอีกอย่างหนึ่ง คือพูด บ่น ด่า กระแทก ฯลฯ และรอให้คนอื่นมาทำให้ โดยตัวเองก็ไม่ทำอะไร ฝากความหวังไว้กับคนอื่นซึ่งไม่มีปัญญาไปควบคุมเขา — จะทำอย่างไหน ก็แล้วแต่ครับ

ทีนี้ทำไมต้องสูบน้ำออก วิญญูชนก็คงตอบได้อย่างมีเหตุมีผลนะครับ ส่วนพวกตรรกะผิดเพี้ยนนั้น ตอบอะไรมา ส่วนใหญ่พิจารณาแล้ว ไม่เข้าท่าอยู่ดี

แต่ได้ยินเรื่องราวที่พิลึกพิลั่นมาเรื่องหนึ่ง

ตึกรามบ้านช่อง มีเสาเข็ม คำนวณตามมาตรฐานความปลอดภัย ตึกสูงตอกเสาเข็มลึกลงไปถึงชั้นหิน อย่างบ้านผม เสาเข็ม 24 เมตรเหมือนกัน น้ำหนักของบ้า่นก็ถ่ายผ่านเสาเข็มลงไปสู่ชั้นหิน แต่จะมีสักกี่บ้านที่ใช้เสาเข็มยาวเฟื้อยอย่างนั้น

บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ ใช้เสาเข็มสั้น เสาเข็มสั้นรับน้ำหนนักอยู่ได้ด้วยแรงเสียดทานระหว่างเสาเข็มกับดิน ซึ่งในสภาวะปกติ มันก็รับน้ำหนักอยู่ครับ

แต่พอน้ำท่วมนานๆ เข้า ดินก็เปียก แรงเสียดทานระหว่างเสากับดินน้อยลง แล้วเสาเข็มจะรับน้ำหนักอยู่หรือ?

อ่านต่อ »


ความมหัศจรรย์ของคลองลัดโพธิ์

อ่าน: 4706

สองสัปดาห์ก่อน (วันที่ 29 เดือนที่แล้ว) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ และคุณดาริน คล่องอักขระ ทำรายการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำทางสถานีไทยพีบีเอส

ตอนนั้นเป็นตอนที่ อ.เสรี วิเคราะห์ถึงความมหัศจรรย์ของคลองลัดโพธิ์ ซึ่งบานประตูน้ำ ยังเปิดอยู่แม้เป็นช่วงน้ำทะเลหนุน คลองลัดโพธิ์ยาวไม่กี่ร้อยเมตร เป็นทางลัดของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แทนที่จะต้องไปวิ่งอ้อมท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) อ้อมไป 17 กม. พอพระราชทานพระราชดำริขุดคลองลัดโพธิ์เท่านั้น น้ำจำนวนมากไหลผ่านทางลัดคลองลัดโพธิ์ไปลงปากอ่าวในเวลาอันรวดเร็ว

แต่ที่เหนือความคาดหมาย(ของผม) คือคลองลัดโพธิ์มีความแตกต่างระหว่างระดับน้ำที่ปากคลองทางเหนือและปากคลองทางใต้ ทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านคลองลัดโพธิ์ทางเดียว แม้ในเวลาที่น้ำทะเลหนุน!

อ่านต่อ »



Main: 0.048601865768433 sec
Sidebar: 0.046304225921631 sec