ข้าวชื้น

อ่าน: 4461

ข้าวที่เร่งเก็บเกี่ยวหนีน้ำ มีปัญหาตามมามากมาย ทั้งเก็บเกี่ยวก่อนเวลา และความชื้นสูง

ตามนโยบายจำนำราคาข้าวของรัฐบาล ถ้าจะให้ได้ราคาตันละหมื่นห้า/ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่น ก็ต้องมีความชื้นไม่เกิน 15% ครับ ซึ่งแน่ล่ะ น้ำท่วมอย่างนี้ เก็บเกี่ยวและนวดข้าวทันก็ถือว่าโชคดีแล้ว แต่จะเอาพื้นที่ที่ไหนตากลดความชื้นในเมื่อน้ำท่วมสุดลูกหูลูกตา ยุ้งฉางจมน้ำ (ข่าว) แต่รัฐบาลทำตามสัญญาตอนหาเสียงก็ดีแล้วครับ

การลดความชื้นของข้าว จำเป็นต้องใช้ที่แห้งซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในภาวะอุทกภัย ใช้เครื่องอบลดความชื้นได้แต่มีค่าใช้จ่ายอีก แล้วชาวนาที่นาล่มจะเอาเงินมาจากไหน — อย่างไรก็ตาม เมืองไทยน้ำท่วมขนาดนี้ เวียดนามซึ่งรับพายุตรงๆ เสียหายหนักกว่าเรามากครับ ประเมินได้ว่าปริมาณข้าวในตลาดโลกจะลดลง ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกจะสูงขึ้น นโยบายประกันราคาข้าวในปีนี้ ถ้าไม่มีทุจริตก็คงจะไม่เสียหายอะไรเท่าไหร่

อ่านต่อ »


ปลูกพืชไม่กลัวน้ำท่วม

อ่าน: 5510

เมื่อตอนหัวค่ำ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล คนทุพพลภาพมืออาชีพ (ข้อมูลจาก google) โทรมาคุยเรื่องไผ่ คุณปรีดาประสบอุบัติเหตุทำให้ครึ่งตัวล่างขยับไม่ได้ มือก็ไม่สมบูรณ์ ถึงไม่ได้ประกอบอาชีพวิศวกรแล้ว ก็ยังไม่ยอมแพ้ ยังสร้างสรรค์งานศิลปะ ระดมเงินไปบริจาคช่วยเหลือผู้อื่น คนที่มีองคาพยพสมบูรณ์แต่ทำตัวเป็นกาฝาก ไม่ทำงานทำการ ควรดูไว้เป็นแบบอย่างนะครับ

ข้อมูลจากคุณปรีดาก็น่าสนใจ ผมไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ และจะไม่ดัดจริตแสร้งทำเป็นรู้หรอกครับ

  1. โอกาสที่ไผ่จะจมน้ำตายนั้น อาจจะไม่มากนัก เพราะลำต้นสูง โตเร็ว เมื่อน้ำท่วม ยังมีใบที่โผล่พ้นน้ำ ยังหายใจและสังเคราะห์แสงต่อไปได้ แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่นับหน่อไผ่ซึ่งอาจจะเน่าตายไปได้เหมือนกัน
  2. พืชเช่นข้าวที่จมน้ำ ถ้าน้ำไม่ขุ่นจนแสงแดดส่องไม่ถึงใบ ก็อาจทนอยู่ได้สักสองสามวัน (เกินนั้นก็ไม่รอดเหมือนกัน)

พูดเรื่องนี้แล้ว ยังมีพืชน้ำ พืชอาหารขนาดลำต้นไม่ใหญ่โต (รากไม่ลึก) ที่เราอาจเอาใส่กระถางลอยน้ำไว้เก็บกินในช่วยน้ำท่วมได้

ถ้ากระถางลอยน้ำได้ ก็เอามาปลูกข้าวได้ จะใช้โฟม จะใช้อิฐมวลเบา หรืออะไรก็แล้วแต่ หนึ่งกระถาง ปลูกข้าวหนึ่งกอ ใช้น้ำน้อยด้วย เพราะว่าไม่ต้องไขน้ำให้ท่วมนา คือให้ท่วมในกระถางก็พอ กระถางป้องกันวัชพืชได้ ถ้ากระถางมีรูปทรงเหมาะ อาจกันหอยเชอรี่ได้ อาจวางกระถางชิดกันได้มากขึ้น เนื่องจากรากของกอข้าว ไม่แย่งอาหารกันเองระหว่างกอ เป็นการเพิ่มผลผลิตไปในตัว และที่สำคัญคือกระถางลอยน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าวออกรวง ก็ไม่กลัวน้ำท่วม เวลาเก็บเกี่ยว ไขน้ำเข้านา แล้วเอาเชือกกวาดกระถางที่ลอยน้ำมารวมกัน เกี่ยวทีเดียวใกล้ๆ คันนา ไม่ต้องเอารถไถลงไปลุย คันนาจะได้ปลูกพืชอื่น บังลมไม่ให้ข้าวร่วงจากลมแรง — ทั้งหมดนี้ คิดเอาเองครับ ทำได้หรือไม่ได้ ต้องทดลองดู

อ่านต่อ »


ถ่านอัดแท่ง

อ่าน: 6754

ดูวิดีโอคลิปก่อนกันครับ

พ่ออยู่ แขมพลกรัง อยู่ที่ ต.ปรุใหญ่ อ.เมือง นครราชสีมา ประดิษฐ์แท่งเหล็กทรงกระบอก เอาไว้ใช้กระแทกลงไปบนเศษถ่าน (เดิมทีอาจจะเป็นเศษผงที่แตกหักจากการเผาถ่านขาย) จนกลายเป็นถ่านอัดแท่ง ซึ่งสูตรของพ่ออยู่นั้น ประกอบไปด้วย เศษถ่าน หรือถ่านป่นจากการเผาถ่านวัสดุเหลือใช้ 4 กก. แป้งมัน 2 ขีด กับน้ำ 4 ลิตร คลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาอัดด้วยกระบอก (หรือสกรูเพรสก็ได้) นำไปตากจนแห้งสนิท ก็จะได้ถ่านที่มีคุณภาพสูง ไร้ควัน

ถ่านอัดแท่งแบบนี้ ก็เป็นแนวทางที่ดีสำหรับการฟื้นฟูอาชีพสำหรับผู้ประสบภัย ชาวบ้านไม่ได้ปลื้มกับเงินชดเชยห้าพันบาท++ มันเทียบไม่ได้กับการหมดตัวหรอกครับ (ทำไมนักการเมืองถึงได้ภูมิใจเรื่องนี้กันนักนะ) ถ้าจะช่วยให้ชาวบ้านฟื้นตัวขึ้นมาได้ นอกจากวันนี้จะมีกินระหว่างรอน้ำลดแล้ว เมื่อน้ำลดก็จะต้องมีรายได้ พอที่จะปลดหนี้ปลดสิน หรืออย่างน้อยก็ไม่เป็นหนี้เพิ่ม

อ่านต่อ »


สวนครัวแนวตั้ง

อ่าน: 12411

… มีข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ ว่าแผลที่เกิดขึ้นตามมือและเท้านั้นยังไม่หาย จากกรณีดังกล่าว ได้ทำการปรึกษาคุณหมอแล้ว คุณหมอแจ้งว่าอาจมิได้เกิดจากน้ำกัดมือกัดเท้า แต่อาจเป็นแผลที่เกิดจาก สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร …

อืม…จริงหรือไม่ก็ไม่อาจตัดสินได้ครับ ไม่มีความรู้อย่าฟังธง ถึงมีความรู้มีประสบการณ์แต่ไม่ได้ตรวจก็อย่าฟันธง(จนกว่าจะเข้าใจบริบทก่อน) ข่าวคราวจะบอกต่อก็ไม่ต้องขยายความ — โมเดลการแก้น้ำท่วมก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปสำหรับทุกพื้นที่หรอกครับ ทุกพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน ตั้งโมเดลทำไม ก่อนจะทำอะไร ถาม+ขอความรู้จากชาวบ้านซะหน่อยดีไหมครับ

สวนแนวตั้งเป็นความคิดของผู้ที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกตามห้องพักในมหานครที่อัดกันแน่น ที่จริงแล้วก็ไม่เชิงว่าคนที่อาศัยอยู่ตามมหานคร จะสิ้นไร้ไม้ตอกขนาดที่ไม่มีที่ทางปลูกอะไรหรอกครับ แต่เหตุผลเค้าเยอะไปเท่านั้นเอง ถ้าจะปลูกต้นไม้นั้น ปลูกได้เสมอ ไม่มีพื้นดิน->ปลูกในกระถางได้ ไม่มีที่วางกระถาง->แขวนก็ได้

ในกรณีอุทกภัยนั้น พื้นที่อยู่อาศัยลดลงมาก ที่ยังมีอยู่ ก็ไม่รู้จะรอดหรือไม่ เราลืมต้นไม้เล็กๆ กันไปหรือเปล่าครับ ต้นไม้เล็กพวกสวนครัวจมน้ำตายหมด ถ้าจะรอน้ำลดแล้วเริ่มปลูกใหม่ กว่าจะโตก็เสียเวลาไปเท่ากับระยะเวลาที่น้ำท่วมซึ่งคราวนี้สงสัยจะยาวครับ เป็นเดือนแน่เลย

อ่านต่อ »


สร้างแพกันเถอะ

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 September 2011 เวลา 3:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 14374

ยิ่งได้ข้อมูลน้ำท่วมก็ยิ่งรู้สึกถึงภาวะวิกฤตมากขึ้นเรื่อยๆ อย่ารอจนเห็นโลงศพก่อนเลยครับ ถ้ายังพอทำอะไรได้ ก็ทำอย่างที่ควรทำเถอะ

จนถึงปัจจุบัน ตามรายงานล่าสุดของ ปภ. มีชาวบ้านเดือดร้อน 4.2 ล้านคน (เทียบกับน้ำท่วมใหญ่ปลายปีที่แล้วประมาณ 9 ล้านคน — ถึงจะไม่เชื่อตัวเลข ก็คงใช้ประมาณได้ว่า อุทกภัยส่งผลกระทบประมาณครึ่งหนึ่งของอุทกภัยเมื่อปลายปีที่แล้ว นี่เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น)… แต่ว่าสัปดาห์นี้ฝนจะมาอีก น้ำเหนือซึ่งปัจจุบันลงมากองอยู่แถวนครสวรรค์และไหลลงมาเรื่อยๆ เมื่อน้ำเข้าสู่ที่ราบลุ่มภาคกลางซึ่งมีความลาดเอียงต่ำ ก็จะแผ่ออก จะทำให้มีชาวบ้านเดือดร้อนมากกว่านี้มากครับ

มีคอขวดอยู่ตรงโผงเผงเหนือบางบาล หากน้ำมาเกิน 1800-2000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที น้ำก็จะยกตัวขึ้นล้นตลิ่ง ไหลบ่าออกท่วมทุ่งทางตะวันตก ตอนนี้ก็เป็นอยู่ น้ำนี้จะไหลไปทางตะวันตกเฉียงใต้ตามความลาดเอียง ท่วมอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม จนไปลงทะเลทางแม่น้ำท่าจีน ชาวบ้านแถวนี้ก็อย่างนิ่งนอนใจล่ะครับ — ที่ไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าวคือมีน้ำท่วมแถบเพชรบูรณ์ จริงอยู่ที่เขื่อนป่าสักมีน้ำอยู่ที่ระดับ 55% ของความจุ เขื่อนป่าสักนั้นรับน้ำได้อีก 350 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ฝนกำลังจะตก เมื่อเขื่อนป่าสักต้องระบายน้ำ (วันนี้น้ำเข้า=น้ำออก) สระบุรี อยุธยา ก็จะเป็นเหมือนปีที่แล้วอีก น้ำจากแม่น้ำป่าสักจะมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกาะเมืองอยุธยา น่าจะเป็นปริมาณน้ำสูงสุดด้วยความจุของลำน้ำทั้งสอง ไม่เกิน 4,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งหากน้ำทะเลไม่หนุนสูง หรือฝนไม่ตกหนัก กรุงเทพก็ไม่น่าจะท่วม (แต่บ้านผมซึ่งไม่ได้อยู่กรุงเทพไม่แน่เหมือนกัน)

อ่านต่อ »


ขนของบนน้ำ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 September 2011 เวลา 1:58 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4841

การมีความรู้ ไม่ใช่ว่าจะหาทางออกของปัญหาเจอ แต่การใช้ความรู้นั้น จะทำให้มีทางเลือกของทางออกมากขึ้น ซึ่งถ้าอดทนพอก็คงจะหาทางออกจนได้เอง (หรือเรียนรู้ที่จะหาทางออกจนได้) ส่วนการไม่มีความรู้ พบเห็นได้ทั่วไปคือใช้เงินซื้อไงครับ คนไทยเก่งเรื่องใช้เงินแต่ไม่ใช้ความรู้อยู่แล้ว

น้ำท่วมคราวนี้ คงจะยาวนาน น้ำไม่ได้อยู่นิ่งๆ แต่ไหลไปเรื่อย จากที่สูงไปยังที่ต่ำ — น้ำท่วมทางเหนือ มาเร็ว ไปเร็ว ต้องการปฏิบัติการที่รวดเร็ว และเมื่อน้ำไปแล้ว งานก็ไม่จบเพราะน้ำมาแรง บ้านเรือนไร่นาเสียหาย ยังต้องฟื้นฟูกันอีกนาน

มื่อน้ำเริ่มไหลลงมาสู่ภาคกลางซึ่งมีความลาดเอียงต่ำกว่า น้ำจะแผ่ออกท่วมเป็นวงกว้าง และท่วมอยู่นาน หมายความว่ามีชาวบ้านติดเกาะ หรือต้องทิ้งถิ่นฐานเป็นเวลานาน จึงต้องหาทางออกเรื่องโลจิสติกส์ของการส่งกำลังบำรุงไว้ด้วย ไม่ใช่คิดแค่ของที่จะนำไปส่ง ไม่มีประโยชน์อะไรที่ส่งของไปกองไว้แล้วเอาไปส่งให้ชาวบ้านไม่ได้

ยิ่งกว่านั้น มวลน้ำจะเคลื่อนลงต่ำไปเรื่อยๆ เป็นวงกว้างด้วย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการขนของไปบนน้ำ ที่เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาถูก และประหยัดพลังงาน อย่าลืมว่าพื้นที่น้ำท่วมหาน้ำมันเติมได้ยาก

แรกทีเดียว ผมนึกถึงเรือ catamaran (เรือแบบหลายลำตัว) เหมือนรูปทางขวา มีเสถียรภาพสูง ไม่พลิกล่มง่าย ต้านน้ำน้อย

แต่ดูให้ละเอียดแล้ว แพ catamaran น่าจะ practical กว่าเยอะ เงินเท่ากันสร้างได้หลายลำมากกว่าเรือ เบา ถอด+ประกอบง่าย แข็งแรง สะดวกกับการขนย้ายมากกว่าเรือมาก เพียงแค่ยึดลำเรือ (hull) ไว้ด้วยท่อแข็ง น่าจะทำได้ง่ายๆ ครับ ส่วนพื้นที่บรรทุกนั้น ก็อยู่ด้านบนระหว่างท่อที่ยึดลำเรือ

อ่านต่อ »


ส่งน้ำดื่มจำนวนมาก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 September 2011 เวลา 4:45 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3409

ผมไม่อยากให้บันทึกในลานซักล้างนี้ ถูกใช้ในทางการเมืองนะครับ แต่สถานการณ์จากพื้นที่นั้น เห็นความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นจริง จะกี่โมเดล จะใช้ทฤษฎีไหน ข้อเท็จจริงก็คือความช่วยเหลือไปไม่ทั่วถึงครับ

น้ำดื่มสำคัญที่สุด

พื้นที่บางระกำ เจ้าหน้าปกครองติดประชุมกันเยอะ ทางท้องถิ่น+ภาคประชาชนก็ประสานช่วยเหลือกันอยู่ แต่เรื่องการขนน้ำเป็นเรื่องใหญ่มากครับ ทั้งหนัก ทั้งกินพื้นที่ขนส่ง พื้นที่ประสบภัยกว้างใหญ่ เรือไม่พออีก

ถ้าคนหนึ่งดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร บ้านหนึ่งมี 5 คน (ไม่ชอบตัวเลขก็เปลี่ยนเอา) ก็วันละ 10 ลิตร แต่เรือที่เข้าไปเยี่ยม ไม่สามารถจะแวะทุกบ้านทุกวันได้ ถ้าหากว่าไปเยี่ยมได้สามวันครั้ง แต่ละบ้านก็ต้องมีน้ำสำรองอยู่ 30 ลิตรนะครับ

ชาวบ้านไม่มีน้ำกิน นอกจากน้ำซึ่งเริ่มเน่าที่ท่วมอยู่รอบๆ บ้าน — รองน้ำฝนก็ไม่เวิร์ค น้ำท่วมสูงระดับหลังคาแล้ว แจกเครื่องกรองน้ำก็ไม่ทั่วถึง ดูท่าว่าลำเลียงน้ำดื่มจากพิษณุโลกเป็นจำนวนมาก น่าจะเหมาะที่สุด เหมาะกว่าขนจากกรุงเทพแน่นอน

ขนน้ำปริมาณมากลงเรือไปแจก ใช้วิธีนี้ดีไหมครับ

อ่านต่อ »


แผลบ แผลบ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 September 2011 เวลา 20:30 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4536

ตอนแรกจะตั้งชื่อบันทึกว่า กระดึ๊บ กระดึ๊บ แต่คำว่ากระดื๊บไม่มีในพจนานุกรม มีแต่กระดืบ

บันทึกนี้ พูดถึงวิธีขับเคลื่อนเรือหรือแพ ที่ใช้กำลังคน (ใช้ในน้ำนิ่ง และไม่แนะนำสำหรับน้ำเชี่ยวเนื่องจากมีอันตรายครับ); เมื่อเราพูดถึงแรงคน สามัญสำนึกก็จะบอกว่า ใช้พาย หรือถ่อเอาซิ — ก็นั่นไงครับ ถึงมาเขียนบันทึกนี้ เพื่อเสนอทางเลือกใหม่

มีสินค้าตัวหนึ่ง ใช้ชื่อการค้าว่า Hobie MirageDrive เหมือนเป็นครีบปลาติดอยู่ใต้ท้องเรือ ครีบทั้งสองโบกไปมาสลับกัน; ตามคำโฆษณา ชี้จุดดีอยู่สองสามจุด

  1. ใช้ขาถีบ เป็นการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ให้แรงมากกว่าใช้แขน ความล้าน้อยกว่า
  2. หนึ่งรอบ แต่ละครีบพุ้ยน้ำสองครั้ง ในขณะที่ใบพายให้กำลังครั้งเดียว
  3. ครีบสลับไปมาสวนกัน จะช่วยเรื่องเสถียรภาพของลำเรือ (ถ้าไม่มีหางเสือและลมไม่แรง เรือก็จะพุ่งตรงไปข้างหน้า)

แล้วก็มีคลิปประลองกำลัง (ชักคะเย่อ) ระหว่างผู้ประดิษฐ์ MirageDrive และแชมป์โอลิมปิกสองสมัยของกิีฬาเรือแคนนูปั่น (Canoe Sprint) ทั้งคู่แก่พอกัน — เป็นการทดลองง่ายๆ ระหว่าง กำลังขา+MirageDrive มีสองครีบตามรูปข้างบน กับกำลังแขนกับพายสองด้าน

ผลก็แน่นอนครับ MirageDrive ชนะ ไม่อย่างนั้นเค้าจะเอาผลมาโฆษณาทำไม; แล้วมีของแถม คือเป็นการแข่งกันระหว่าง MirageDrive กับแชมป์เรือแคนนูคู่โอลิมปิก (สองคนสี่พาย) ผลก็สูสีกัน

อ่านต่อ »


อยู่กับน้ำ

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 September 2011 เวลา 21:43 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4902

ที่จริงไม่อยากเขียนเรื่องเฉพาะกาลเลย เพราะอยากให้บันทึกใช้ได้นานๆ แต่คงเลี่ยงไม่ได้ล่ะครับ มีเรื่องต้องเตือน

  • ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ มีระดับ 94% ของความจุของเขื่อน เขื่อนภูมิพลมีระดับ 78% ของความจุของเขื่อน (ความจุของเขื่อนอื่นๆ ดูได้โดยคลิกที่รูปแผนที่ประเทศไทยในบล็อกนี้)
  • สัปดาห์นี้ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ว่า “ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง” แปลว่าจะมีน้ำฝนมาเพิ่มอีก
  • ระบบประเมินสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ​ (สทอภ.) พัฒนาขึ้น ดูได้ที่ http://flood.gistda.or.th/
  • สำหรับภาพถ่ายจากดาวเทียมของวันนี้ (3 ก.ย. 54 — ดูด้วย Google Earth) เห็นน้ำท่วมในลุ่มน้ำยม ตั้งแต่ใต้ อ.เมือง สุโขทัย ยันนครสวรรค์ ส่วนลุ่มน้ำน่าน ก็ท่วมที่ อ.พรหมพิราม (พิษณุโลก) ข้าม อ.เมืองไป แล้วท่วมต่อไปยันบึงบอระเพ็ด
  • พิจิตรอาการหนัก เพราะน้ำท่วมทั้งสองลุ่มน้ำ (ยม น่าน) ตลอดแนวเหนือใต้ของจังหวัด
  • ดูแล้ว เห็นน้ำปริมาณมหาศาลมารออยู่แล้ว พื้นที่ใดอยู่ทางใต้น้ำแต่น้ำยังไม่ท่วม ก็อย่านิ่งนอนใจครับ
  • อ.ชาติตระการ อ.นครไทย (พิษณุโลก) พื้นที่เป็นภูเขา เมื่อฝนตก น้ำก็จะไหลลงมากองอยู่ในหุบเขา ไหลไปรวมกับแม่น้ำน่านเหนือ อ.เมืองพิษณุโลก น้ำส่วนนี้อยู่ใต้เขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม
  • ทุ่งแสลงหลวง (พิษณุโลก) อ.เขาค้อ (เพชรบูรณ์) เป็นพื้นที่รับน้ำฝน และไหลลงแม่น้ำเข็ก ไหลเรื่อยมาทางตะวันตก จนมาถึง อ.วังทอง (พิษณุโลก) ก็วกลงใต้อ้อม อ.เมืองพิษณุโลก ลงไปพิจิตรอีกเด้งหนึ่ง
  • หากจะแก้ปัญหาน้ำท่วม อย่าไปดูเฉพาะที่น้ำท่วมอย่างเดียวนะครับ มองหาสาเหตุให้เจอแล้วแก้ไขบรรเทาเสีย

อ่านต่อ »


น้ำท่วมขัง (2)

อ่าน: 5091

เรื่องเก่า ที่เขียนไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว [น้ำท่วมขัง (1)]

น้ำท่วมขังนำมาซึ่งความทุกข์ใจยิ่งกว่าน้ำท่วมทั่วไป เพราะน้ำลดยากกว่า น้ำท่วมขังเกิดได้ในสภาพพื้นที่เป็นแอ่ง เมื่อน้ำข้ามคันกั้นน้ำ (ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์สร้างขึ้นหรือเป็นสภาพตามธรรมชาติก็ตาม) น้ำก็จะไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ แต่เมื่อน้ำหลากผ่านไปแล้ว น้ำที่ข้ามคันกั้นน้ำเข้ามา กลับไม่มีทางออก ท่วมอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเวลานาน

น้ำท่วมไร่นา ชาวบ้านหมดเนื้อหมดตัว แต่น้ำท่วมขัง ชาวบ้านซึ่งหมดตัวไปแล้ว ยังถูกตอกย้ำด้วยภาพของน้ำท่วมโดยไม่ยอมลด มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำ เห็นอยู่ทุกเวลา เหมือนกับย้ำเตือนอยู่ตลอดเวลา ว่าหมดตัว หมดตัว หมดตัว

นอกจากความเครียดสะสมข้างบนแล้ว ยังมีโรคที่มากับน้ำอีก เมื่อน้ำลดแล้ว ก็มีความเสี่ยงจากการระบาดซ้ำของโรคไข้หวัดนก

ทางการเป็นห่วงไข้หวัดนก ระบาดหนักหลังน้ำลดในเดือนพฤศจิกายนนี้ ระบุพื้นที่น้ำท่วมเป็นพื้นที่เดียวกับหวัดนกระบาด และเป็นฤดูนกอพยพพอดี เตรียมพร้อมน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อโรคในทุกพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก แม้ว่าขณะนี้ยังมีรายงานเรื่องการเกิดโรคระบาดในสัตว์ แต่ต้องระวังการเกิดโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงหลังน้ำลด — http://www.bangkokhealth.com/

สภาพน้ำท่วมขัง ยังนำมาซึ่งความเสี่ยงของการระบาดของหอยเชอร์รี่ เพลี้ย… ยิ่งดูละเอียด ก็ยิ่งไปกันใหญ่

เป็นเรื่องที่เกินกำลังของรัฐ หรือหน่วยงานใดๆ (เงินเยียวยาช่วยได้บ้าง แต่เทียบไม่ได้กับการหมดตัวซ้ำซากหรอกครับ) จึงต้องระดมความช่วยเหลือจากหลากหลายวิทยาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน

อ่านต่อ »



Main: 0.070156097412109 sec
Sidebar: 0.17481112480164 sec