เครื่องอบข้าว

อ่าน: 9389

เมื่อคืนจะเขียนเรื่องนี้ในบันทึกที่แล้ว แต่ง่วงเกินไป ประกอบกับยังคิดไม่รอบคอบ เนื่องจากผมเป็นคนเมืองมาตั้งแต่เกิด ไม่เข้าใจบริบทของการทำนาอย่างแท้จริง เพียงแต่รู้สึกได้ถึงความเดือดร้อน — มาวันนี้ ก็ยังไม่เข้าใจ+คิดไม่รอบคอบอยู่ดี แต่มีความเห็นของพี่บางทราย (ลูกชาวนาตัวจริงและทำงานพัฒนากับชาวบ้านหลายท้องถิ่นมาตั้งแต่จบมหาวิทยาลัยจนเกษียณอายุ และยังทำต่อ) มาบอกว่าคิดไม่ผิดทางนัก ก็เลยตัดสินใจเขียนต่อครับ

อีกเหตุหนึ่งที่ไม่เขียนเรื่องเครื่องอบข้าว ก็เพราะไม่รู้จะเอาเครื่องอบข้าวเข้าไปในพื้นที่อุทกภัยได้อย่างไร มาวันนี้คิดตกแล้วว่าถ้ายุ้งฉางจมน้ำด้วย ก็ไม่มีที่เก็บข้าวอยู่ดีหรือข้าวเปียกจนเกินเยียวยา ดังนั้นก็ตั้งสมมติฐานไว้เลยว่า มีที่แห้งเก็บข้าว จะได้ไม่ต้องเอาเครื่องอบข้าว ลงแพหรือเรือท้องแบน ตามไปอบข้าวที่ยุ้งฉางที่จมน้ำอยู่ พื้นที่น้ำท่วม มีความชื้นสัมพัทธ์ 100% อยู่ดี ถึงอบไปก็จะชื้นใหม่อย่างรวดเร็ว

เดิมทีคิดจะใช้เกลียวของอาร์คิมิดีส ที่ปลายต่ำใส่ข้าวชื้น และจุดเตา เอาความร้อนใส่ไปในท่อ ความร้อนลอยขึ้นสูงไปออกปลายบน จะไม่อบอวลจนข้าวไหม้ หมุนๆๆๆๆ ข้าวที่มาโผล่ข้างบนจะชื้นน้อยลง แต่ถ้ายังชื้นอยู่ ก็ปล่อยข้าวลงไปข้างล่างตามทางลาด เอาไปขึ้นเกลียวที่สอง ที่สาม … ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนความชื้นเหลือน้อยพอที่จะส่งไปจำนำข้าว

มาคิดอีกที สมมุติเอาข้าวมาอบหนึ่งตัน ต้องหมุนเกลียวเพื่อยกน้ำหนัก คิดเป็นงานเหมือนกับยกน้ำหนักหนึ่งตันจะระดับพื้นข้างล่าง ขึ้นมาสู่ระดับปลายบนของท่อนะครับ แล้วเกิดผ่านท่อครั้งเดียวยังไล่ความชื้นออกได้ไม่พอ จะต้องส่งผ่านท่ออย่างนี้หลายๆ ท่อ ก็เท่ากับว่าต้องยกน้ำหนักหลายตัน โอย… อย่างนี้จะหมุนท่อไหวเหรอ

โชคดีที่เวลาชาวนาเอาข้าวเปลือกมาอบ ก็มักจะมาด้วยรถ(อีแต๋น) เราใช้ล้อรถขึ้นเพลามาหมุนเกลียวได้ ทดให้เครื่องเดินเบาหมุนเกลียวอย่างช้าๆ ส่วนค่าพลังงานเพื่อหมุน+ค่าใช้จ่ายในการขนส่งและโกย ชาวนาออกเอง ทำเอง ไม่ต้องจ่ายค่าหัวคิวให้ใคร

อ่านต่อ »



Main: 0.015655994415283 sec
Sidebar: 0.20809006690979 sec