การสื่อสารจากมุมที่แตกต่าง

อ่าน: 2797

เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ผมทำงานอยู่บริษัทข้ามชาติสาขาประเทศไทย เป็นพนักงานรุ่นแรกๆ ก็มีโอกาสได้ร่วมงานเปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการ ในงานนั้น มีผู้ใหญ่มาเปิดงาน มีลูกค้าและคู่ค้ามาร่วมแสดงความยินดีด้วย เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่ง เกิดไม่แน่ใจขึ้นมาว่าจะต้องแต่งตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม จึงถามกรรมการผู้จัดการ ว่า Do we have to dress? กรรมการผู้จัดการ (คนอเมริกัน) กลับตอบว่า You are free to nake ซึ่งทำให้คนถามกลับงงหนักเข้าไปใหญ่ ว่าทำไมจึงได้รับคำตอบแบบนั้นพร้อมเสียงหัวเราะ

เรื่องนี้เป็นเพราะความไม่เข้าใจในภาษา ผู้ถามจะถามว่าต้องแต่งชุดใหญ่หรือเปล่า แทนที่จะถามว่า Do we have to dress up? กลับไปถามว่าต้องใส่เสื้อผ้าหรือเปล่า กรรมการผู้จัดการเค้าก็เก็ตครับว่าไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่ เลยตอบกลับมาอย่างตลกๆ ว่า คุณจะเปลือยกายก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้ถามงงหนักเข้าไปใหญ่ เพราะไม่เข้าใจว่าตัวเองพูดอะไรออกไป ทำไมจึงได้รับคำตอบอย่างนั้น ส่วนคนฟังรวมทั้งผมด้วย ก็ลงไปกองอยู่ตรงนั้นหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง… กรรมการผู้จัดการรู้อยู่แล้วว่าผู้ถามใช้คำไม่ถูกต้องและตอบกลับไปในแนวตลก แต่ผู้ถามที่ได้คำตอบนั้นไม่เก็ต จนกระทั่งอธิบายให้ฟังว่าตลกยังไง (มีหัวเราะกันอีกรอบโดยผู้ที่ไม่เก็ตในรอบแรก)

งานอาสาและการบรรเทาทุกข์ก็มีลักษณะคล้ายกัน แม้จะสื่อกันด้วยภาษาไทย แต่ที่ยากที่สุดคือการสื่อบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่เคยฝึกมา หรือไม่ละเอียดพอ ข่าวสารที่ไม่มีบริบทหรือมีความจริงเพียงส่วนเดียว จะถูกเข้าใจผิดหรือบิดเบือนโดยจงใจได้ง่าย

อ่านต่อ »



Main: 0.014991044998169 sec
Sidebar: 0.17622900009155 sec