เงินบริจาคสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ
อ่าน: 3156ผมไม่ได้ติดแหงกอยู่กับเรื่องเงินหรือเรื่องภาษีหรอกนะครับ การบริจาคเป็นเรื่องของน้ำใจ ซึ่งผู้บริจาคก็คงไม่คิดเล็กคิดน้อย แต่ที่ต้องพูดเรื่องนี้บ่อย เพราะนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือสิ่งของไปช่วยผู้ประสบภัย ถ้าหากไม่มีกฏเกณฑ์รองรับ อาจจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามไปเสียอีก น้ำใจคิดเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้ และหักภาษีไม่ได้!
จากมติ ครม. ตามที่เขียนไว้ในบันทึก [มาตรการทางภาษีเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554] ขณะนี้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลใช้บังคับแล้ว รายละเอียดสามารถอ่านได้ตามลิงก์ที่ให้ไว้และต้องยึดตามพระราชกฤษฎีกาครับ
ใจความสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ โดย “ภัย” ที่เกิดขึ้นนั้น หมายถึงอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก…
อ่าน: 3474“ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก..
มันเหมือนนกที่อยากรู้เรื่องของปลาในน้ำ
ถึงปลาบอกความจริงว่า……
อยู่ในน้ำเป็นอย่างไร
นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้
ตราบใดที่นกยังไม่เป็นปลา”พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
เจาะรูในดิน
เมื่อน้ำท่วม ผิวดินจะมีสภาพชุ่มน้ำ ทำให้น้ำซึมผ่านลงดินไปได้ยากขึ้น ดังนั้นน้ำที่ท่วมก็จะไหลไปตามความลาดเอียงไปท่วมที่อื่น หรือว่าหากพื้นที่ที่น้ำท่วมมีสภาพเป็นแอ่ง น้ำก็จะท่วมขังอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน เรื่องนี้มองอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นการเสียโอกาสที่จะเติมน้ำใต้ดินหรือทำฝายใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร
น้ำที่เราใช้กันและโวยวายว่ามากเกินไปหรือไม่พอใช้นั้น หมายถึงน้ำผิวดิน ซึ่งว่ากันที่จริงแล้วเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำจืดทั้งหมด สาเหตุส่วนหนึ่งของทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ก็เป็นเพราะเราไม่รู้จักกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาเอาไว้ใช้นั่นเอง
น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (3)
เขียนต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)] ครับ
รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก ที่ต้องขนน้ำดื่มไปหลายร้อยกิโลเมตรไป ช่วยคนที่ติดอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยซึ่งไม่มีน้ำดื่ม ในภาวะแบบนั้น น้ำประปามักหยุดให้บริการ จะเอาน้ำแถวนั้นมาดื่มประทังกันตาย ก็ยิ่งจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จะต้มก็ติดไฟลำบาก ดื่มน้ำท่วมขัง เหมือนดื่มน้ำเน่า… “เหตุผล” เยอะแยะไปหมด
ถ้าฝนยังตกอยู่ รองน้ำฝนเอาไว้ดื่มครับ ถ้ายอมอพยพไปสู่พื้นที่ปลอดภัย (ซึ่งพื้นที่ไหนก็ที่นั้น ต่่างไม่ยอมอพยพกันทั้งนั้น) ก็อาจจะใช้แสงแดดกลั่นน้ำเอาไว้ดื่มได้ ถ้าน้ำท่วมไหลมาจากที่อื่น มาขังอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง อันนี้ล่ะน่ากังวลที่สุดครับ
ฝายใต้ดิน
ช่างพิลึกพิลั่นเสียจริง เมืองไทยฝนตกเยอะ (เฉลี่ย 1800 มม.; ปีนี้คงมากกว่านั้น) แต่น้ำไม่พอ ที่น้ำไม่พอเพราะไม่รู้จักเก็บกักไว้ใช้มากกว่าครับ
มีปัญหาซ้ำสองคือที่ดินราคาแพง นายทุนมากว้านซื้อไปหมด เอาไปขายต่อ ทำรีสอร์ต เอาไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวขายโรงงาน ส่วนคนใจแข็งที่ไม่ขายที่ ถ้าจะขุดสระน้ำพึ่งตนเอง เวลาแดดร้อนน้ำแห้งไปหมด จะกันพื้นที่ไปทำแก้มลิง ที่ดินก็แพงจับใจ
ยิ่งเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ได้แบบสวนป่า ยิ่งไปกันใหญ่… แต่อาจจะยังพอมีทางออกครับ เพียงแต่ใช้ไม่ได้ทุกพื้นที่ กล่าวคือแทนที่จะเก็บน้ำไว้ที่ผิวดิน เราเอาน้ำลงไปเก็บใต้ดินตื้นๆ ได้ จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีชั้นของดินดานหรือหินอยู่ไม่ลึกนัก และห้ามทำในพื้นที่ที่ที่มีความลาดเอียงสูงหรือมีหินปูน
หลักการก็คือใช้ที่ดินนั้นเป็นพื้นที่รับน้ำฝน เราจะพยายามทำให้น้ำฝนที่ตกลงบนที่ดินนั้น ซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด โดยชักน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่มาหาบ่อซึม ซึ่งเป็นหลุมเล็กๆ อาจจะมีปริมาตรคิวหรือครึ่งคิวก็น่าจะพอ จากหลุมนี้ ต่อท่อใต้ดินออกไปเพื่อกระจายน้ำให้ซึมไปกับดิน (ถ้ายุ่งยากก็ไม่ต้องต่อท่อ แต่ว่าน้ำจะซึมออกได้ช้ากว่า)
สถานการณ์ SHTF
อ่าน: 3330SHTF เป็นคำแสลง ย่อมาจาก (when the) Shit Hit(s) The Fan เมื่อกลิ่นอึไปถึงพัดลม ทีนี้พัดลมพัดก็จะกลิ่นขจรขจาย ถ้าปาอึไปถูกพัดลม ใบพัดก็จะสลัดอึเลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปทั่ว (คนปามือเลอะไปแล้วคงไม่เท่าไหร่ แต่คนอื่นเละไปด้วย)… เอาใหม่ไม่ได้ ไม่เอาก็ไม่ได้
เรื่องนี้ผมไม่แปล+ไม่ถอดความหรอกครับ เข้าใจก็เข้าใจ ไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจ และถ้าอยากดูต่อ ก็คลิกบนคลิปเพื่อไปดูบน Youtube ซึ่งจะมีคลิปที่เกี่ยวข้องให้ดูอีกมากมาย (ไม่ควรเชื่อก่อนที่จะพิจารณา)
ในพื้นที่ประสบภัย มองหาอะไรดี
อ่าน: 2911การทำอะไรไปโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง การคิดแทนชาวบ้านโดยคิดแบบคนเมือง การให้โดยไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องการหรือไม่ ทั้งหมดนี้ เริ่มจากอคติ+มานะ และเป็นมิจฉาทิฐิ แต่ว่าการลงมือทำสิ่งที่เชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรนะครับ
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าสิ่งที่เชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์นั้น เมื่อทำไปแล้วเบียดเบียนใครหรือไม่ ก่อประโยชน์จริงหรือไม่ เกิดประโยชน์สมดังความตั้งใจหรือไม่… คือว่าถ้าทำกับไม่ทำมีผลเท่ากัน ไม่ทำจะประหยัดกว่าและไม่เพิ่มเอนโทรปีด้วยครับ
เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่ ผมคิดว่าน่าจะมี app ในมือถือจำพวกสมาร์ตโฟนคอยช่วยครับ
แน่นอนล่ะ ไม่ใช่ว่าทุกคนมี (หรือควรมี) แต่การที่จะบอกว่าทุกคนไม่มีนั้น ก็คงไม่จริงเช่นกันหรอกครับ ถึงชาวบ้านในพื้นที่จะไม่มี คนที่ลงพื้นที่ไปช่วยเหลือ ก็อาจจะมีติดไปบ้าง
ร่วมใจปลูกป่าหลังคาโคราช
วันนี้ (23) โดยการผลักดันอย่างแข็งขันของนายอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว และชาวบ้านที่รู้สึกว่าไม่ทำอะไรไม่ได้แล้ว ได้ร่วมใจกันปลูกป่า ในพื้นที่เขาสะเดา ทางด้านเหนือของเขื่อนลำตะคอง พื้นที่นี้มีความสูงห้าร้อยกว่าเมตร เรียกได้ว่าเป็นหลังคาโคราช
แบตเตอรีโลก
อ่าน: 5331หลายวันมานี้ รู้สึกบักโกรกเป็นพิเศษ ไม่ได้ตื่นก่อนบ่ายสามโมงมาหลายวันแล้ว แทนที่จะได้ทำอะไรที่อยากทำก็ไม่ได้ทำ จึงเปิดเว็บหาความรู้หมาดๆ ไปก่อน (ไม่แห้งแบบแปลมาทั้งดุ้น และไม่เปียกในแบบที่ว่าลองทำแล้วจึงเอามาเขียน) ไปเจอเรื่อง Earth Battery ซึ่งเป็นความรู้เก่าแก่ สิทธิบัติอันแรกที่เกี่ยวข้อง ออกให้เมื่อร้อยกว่าปีก่อน
โลกมีสนามแม่เหล็ก เมื่อมีสนามแม่เหล็กก็มีสนามไฟฟ้าอยู่ด้วย หากว่าขั้วโลหะที่มีศักย์ต่างกันไว้ในสนามไฟฟ้า ขั้วทั้งสองก็จะจะเริ่มปล่อยและรับอิเล็กตรอนอิสระ ทำให้เกิดความต่างศักย์และไฟฟ้ากระแสตรง
ฟังดูยากพิลึก แต่ท่านผู้อ่านอาจจะจำหรือเคยได้ยินการทำลองสร้างแบตเตอรีสมัยเด็กๆ ได้ ที่เอาขั้วสองขั้ว ซึ่งมักจะเป็นทองแดงและสังกะสี ทิ่มลงไปในมะนาวแล้วจะเกิดไฟฟ้าขึ้นบนขั้วทั้งสอง ความต่างศักย์ไฟฟ้านี้ ไม่ได้เป็นปฏิกริยาเคมี แต่เป็นการที่ขั้วทั้งสอง ปล่อยและรับอิเล็กตรอนผ่านอิเล็กโตรไลต์ ซึ่งคือน้ำในมะนาวได้ อิเล็กตรอนอิสระหลุดออกจากโลหะที่ใช้เป็นขั้วทั้งสอง ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามไฟฟ้าของโลก