สงครามหมู

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 May 2009 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4186

เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน พ.ศ. 2402 ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

ความเป็นมา

เมื่อสหรัฐอเมริกา ประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ.2319 สหราชอาณาจักรยังคงยึดครองตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ (ปัจจุบันเป็นคานาดา) ทำให้มีปัญหาพรมแดนมาตลอด จนกระทั่งเกิดสนธิสัญญาโอเรกอน ซึ่งแบ่งเขตแดนสองประเทศไว้ว่า

along the forty-ninth parallel of north latitude to the middle of the channel which separates the continent from Vancouver Island, and thence southerly through the middle of the said channel, and of Juan de Fuca Strait, to the Pacific Ocean.

“แบ่งตามแนวเส้นรุ้งที่ 49° เหนือไปจนกลางร่องน้ำซึ่งแยกแผ่นดินใหญ่ออกจากเกาะแวนคูเวอร์ ซึ่งหมายรวมถึงทางใต้ของกึ่งกลางร่องน้ำดังกล่าว และกึ่งกลางช่องแคบฮวนเดอฟูคา ไปจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก”

แต่ข้อความในสนธิสัญญานี้ ก็ยังมีความกำกวม กล่าวคือมันมีร่องน้ำใหญ่อยู่สองอัน คือที่ช่องแคบฮาโรทางด้านตะวันตกของเกาะฮวนเดอฟูคา และช่องแคบโรซาริโอทางตะวันออกของเกาะ ที่ตีความได้ว่าคือ “กึ่งกลางของร่องน้ำ” ดังนั้นเขตแดนจึงไม่ชัดเจน

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ชาวนาอเมริกันชื่อเลย์แมน คัลทาร์บุกเบิกเข้าไปยึดครองพืนที่เกาะฮวนเดอฟูคาในยุคตื่นทอง ได้ยิงหมูตัวหนึ่งซึ่งบุกเข้ามากินหัวมันเทศในสวนของเขา หมูตัวนี้เป็นของนายชาลส์ กริฟฟิน ชาวไอริช ผู้ซึ่งถูกจ้างโดยบริษัทอังกฤษให้ดูแลฟาร์มแกะ กริฟฟินเป็นเจ้าของหมูหลายตัว และปล่อยให้หากินอย่างอิสระ

คัลทาร์ได้เสนอจ่ายเงินสิบเหรียญเพื่อชดใช้ชีวิตหมู แต่กริฟฟินตอบกลับมาว่าต้องการเงินร้อยเหรียญเป็นค่าเสียหาย พอเจออย่างนี้เข้าคัลทาร์ก็เลยไม่ยอมจ่ายเลย เพราะเขาคิดว่าหมูบุกรุกเข้ามาในที่ของเขา กริฟฟินนำเรื่องไปร้องทางการ จนทางการอังกฤษจึงขู่จะมาจับคัลทาร์ ส่วนทางเหล่าผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอเมริกัน จึงเรียกทหารมาป้องกัน

แล้วเรื่องไม่เป็นเรื่อง ก็ลุกลามใหญ่โตจนเป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ เพราะหมูตัวเดียว

อ่านต่อ »


สารคดีแม่น้ำโขง

อ่าน: 6172

ก็เพียงแต่อยากให้กำลังใจทีมงานที่ทำสารคดีเรื่องนี้ครับ ออกอากาศทาง MCOT TV (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.)

http://www.mekongstory.com/

ผมคิดว่าเลือกโจทย์ได้น่าสนใจมากๆ แล้วก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจจริงครับ

แต่ว่าทีม production กับทีม research เล็กไป — เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะใช้กล้องถ่ายวิดีโอตัวเล็ก ถือเดินถ่ายกันไปเรื่อยๆ บทพูดสดๆ ให้ความรู้สึกเหมือนโฮมวิดีโอ ถ่ายเวลาไปเที่ยวกันสองคน (ผลัดกันเก็บภาพ) กับไกด์คนหนึ่ง หาข้อมูลกันสดๆ — แต่เมื่อเทียบกับสารคดีของ Panorama Documentary แล้ว เป็นคนละอารมณ์กัน

อย่างไรก็ตาม สารคดีเรื่องนี้ เปิดให้เห็นความจริงว่าคนเราสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว และเรียนรู้/หาคำตอบได้ตลอดเวลา หากทำอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ ก็จะพอกพูนความรู้/ประสบการณ์ ข้อความนี้ เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดที่สารคดี แม่น้ำโขง สายน้ำพยศ มอบให้กับผู้ชมครับ

การทำสารคดีแบบนี้ น่าจะส่งเสริมให้ได้ทำกันตั้งแต่ในระดับโรงเรียนเลย อาจจะช่วยให้นักเรียนหันมาเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนรอบตัว มากกว่าจะมุ่งสอบ แข่งขัน ฟุ้งเฟ้อ เล่นเกมส์ ฯลฯ — ซึ่งสังคมไทย มี “ช่วงคนเสีย” เป็นช่วงยาวหลายสิบปีแล้วครับ เมื่อคนเหล่านี้มีลูก เฮ้อ ไม่อยากคิดเลย…


สรุปทริปเบิกโรงวัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ ลำพูน

อ่าน: 5354

เรื่องนี้ คงจะเริ่มต้นขึ้นที่คุณอมรา พวงชมพู กรรมการผู้จัดการบริษัทสยามแฮนด์ จำกัด เจ้าของเสื้อแบรนด์ “แตงโม” ซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๑ ได้เจอกับครูบา ในงานวันระพีเสวนาครั้งที่ 2/2552 ป้าจุ๋มก็อยู่ด้วย คุยไปคุยมาก็ไปถึงเรื่องอรรถประโยชน์ของต้นเอกมหาชัย คุณอมราอยากได้ไปปลูกที่วัดพระบาทห้วยต้ม สองพันต้น ก็เลยมีอันจะต้องไปดูสถานที่ บอกกล่าววิธีเตรียมหลุม ระยะห่าง การใส่ปุ๋ยเพื่อเตรียมหลุม ฯลฯ ซึ่งนั่นเป็นที่มาหลักของทริปนี้ครับ; เรื่องอื่นเป็นเรื่องรองทั้งนั้น ทั้งเส้นทางเถิน-ลี้ ทั้งดอยอินทนนท์ ทั้งร้านถนอมโภชนา ทั้งกิ๊ก (สองอันหลังนี่ หลุดออกมาทีหลัง ฮี่ฮี่ฮี่)

โรงงานเสื้อแตงโม

โรงงานเสื้อแตงโมนั้น กระจายอยู่ทั่วไป สร้างงานให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีโอกาส (เช่นที่นราธิวาส) เป็นโรงงานที่ไม่มีเวลาเข้างาน อยากจะมาทำตอนไหนก็มา ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย โดนใจผมมากครับ คนเราอยากได้อะไร ต้องหาเอา (earn) จะมัวนั่งรอสิ่งที่ต้องการไม่ได้ ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องทำไม่เหมือนเดิม กรีดยางแล้วมาเย็บเสื้อก็ยังได้ ดีกว่าอยู่กับบ้านเฉยๆ

กับการทำงานเป็นลำดับชั้นที่เราคิดกันว่า “เป็นระบบ” นั้น เป็นการเคารพความรู้ความชำนาญในตัวคนแค่ไหน การที่หัวหน้าใหญ่สั่งการบ้าๆบอๆ แถมบางทีทำเพื่อตัวเองนั้น ดีกับสังคมนั้นอย่างไร หากทุกๆคนในสังคมนั้น มีส่วนช่วยกันร่วมสร้างสังคมนั้นขึ้นมา มากบ้างน้อยบ้าง เขาแต่ละคนได้รับโอกาสอย่างยุติธรรมหรือไม่

หรือว่า “พอไม่โปรด ก็เลยแป็ก” เป็นเรื่องที่ยุติธรรมแล้ว

อ่านต่อ »


ร่ำลาลำพูน รำลึกเส้นทางลี้-เถิน แวะพักพิษณุโลก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 May 2009 เวลา 0:07 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4380

หลังจากนอนลำพูนคืนแรก เช้าวันนั้นมีเวลานิดหน่อย จึงเดินข้ามถนนไปเที่ยววัดจามเทวีกับครูบา แต่ผมไม่ได้เอากล้องไป เช้าวันนี้ครูบาไปเจอกิ๊ก รำลึกความหลังครั้งยังเป็นยุวเกษตรกรกัน (ครูบาสุทธินันท์ เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ไม่ใช่พระนะครับ) ผมมีเวลาว่าง ก็เลยเดินกลับไปที่วัดจามเทวีซึ่งเป็นวัดที่พระนางจามเทวีสร้าง มีพิพิธภัณฑ์พระนางจามเทวี มีกู่ (ที่บรรจุอัฐิ) ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งพระราชทานเพลิงศพที่วัดนี้ นอกจากนี้ยังมีหน่อพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งนำมาปลูกไว้ตั้งแต่ปี 2502

หลังจากรวมพลได้ ครูอารามมอบจอบตราจระเข้ให้หนึ่งอัน แต่ไม่มีด้าม(ว่ะ) แล้วก็ไปกินข้าวที่ร้านข้าวที่ร้านข้าวมันไก่วิศวะ เสร็จแล้วก็ร่ำลาพี่ครูอึ่งกับครูอาราม เดินทางไปพิษณุโลกผ่านเส้นทางลี้-เถิน ทางหลวงหมายเลข 106 มีช่วงถนนยึกยือพับไปพับมายาว 7.3 กม. ซึ่งสะใจมากที่ขับรถบนทางหลวงเลขสามหลักด้วยความเร็ว 10-30 กม./ชม. ก่อนช่วงนี้ ถนนก็เลี้ยวไปเลี้ยวมาทุก 100 เมตรอยู่แล้ว

เหมือนตั้งเวลาไว้ เนฯ ตื่นมาตอนเขายึกยักพอดี ได้เห็นสภาพป่าที่สมบูรณ์มาก แต่ไม่ได้หยุดถ่ายรูปเนื่องจากเป็นเส้นทางอันตราย ไม่มีที่จะจอดรถได้อย่างปลอดภัย

ถ้าถามว่าแล้วลำบากไปในทางอ้อมและถนนไม่ดีทำไม ก็มันอยากไปรำลึกความหลังนี้ครับ ไม่ได้ผ่านเส้้นทางนี้นานแล้ว จะไปอ่ะ ทำไมจึงต้องมีเหตุผลมากมายด้วย

อ่านต่อ »


เที่ยวสวรรค์วันเสาร์

อ่าน: 3360

วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่จะเที่ยวลำพูน ขอขอบคุณในน้ำใจไมตรีของเจ้าภาพเมืองลำพูนและเชียงใหม่ครับ วันที่ 20-21 เดือนหน้า จะมาถล่มอีก (อาจมาก่อนด้วย)

วันนี้พี่สร้อยขับรถมาจากเชียงใหม่ตั้งแต่เช้า แล้วมีหลานป๊อกกี๊ (เด็กหญิงเสื้อสีส้ม) กับหลานแพร (เด็กหญิงเสื้อสีแดง) ร่วมทางไปด้วย

เรื่องของเรื่องคือจะไปเที่ยวดอยอินทนนท์กันครับ ผ่านไปทางสันป่าตอง เลยแวะตลาดนัดทุ่งสวนบด เดิมเคยเป็นตลาดนัดวัว ภายหลังก็มีของอื่นมาขายด้วย แต่ตอนที่เราไปนั้นฝนตก ตลาดนัดก็เปลี่ยนเป็นตลาดน้ำ การเดินกางร่มดูของกลางฝนโดยไม่มีเป้าหมาย ทำให้รู้สึกแปลกดี

ตลอดทาง มีฝนประปราย แต่พอจะลงดู ฝนหยุดทุกที แถมมีแดดออกด้วย เลยมีแสงให้ถ่ายรูปสวยๆได้ สิบเอ็ดโมงครึ่งแวะที่น้ำตกวชิรธาร บ่ายโมงขึ้นไปถึงระดับเมฆ ขึ้นถึงยอดตอนบ่ายโมงครึ่ง ความสูง 2565.3341 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดนขู่ไว้เยอะว่าจะหนาว เอาเข้าจริงไม่หนาวเลย

ลงมากินข้าวซอยรสเด็ดริมถนนแถว อ.จอมทอง (อร่อยจริง) แวะสวนพลอยไพลิน ดูงานหล่อหิน แล้วก็ไปหา “แมงมัน” ให้ครูบาดู

เสร็จแล้ว ครูบาพาไปเลี้ยง (และรำลึกความหลัง) ที่ถนอมโภชนา

ถึงโรงแรมสองทุ่มครึ่ง เป็นสถิติใหม่

แล้วมันสวรรค์ยังไงล่ะ ผมก็อธิบายไม่ถูก ดูเอาเองก็แล้วกันครับ

อ่านต่อ »


วันศุกร์มหัศจรรย์

อ่าน: 3765

เมื่อวันพฤหัสไปวัดพระบาทห้วยต้มว่าดีแล้ว วันศุกร์เจอเรื่องไม่คาดฝันเยอะกว่า ฝนฟ้าเป็นใจ ทั้งที่มีฝนตกมาก แต่เมื่อเราจะไปยังสถานที่ต่างๆ ฝนหยุดให้ดูอย่างจุใจ

เริ่มต้นตอนเช้า ไปโรงเรียนมงคลวิทยา คุยกับครูในโรงเรียน ฟังครูบาพูดสนุกมาก ได้พบเด็กหญิงเสื้อสีส้มจากบล็อกพี่ครูอึ่ง เสื้อสีแดง เสื้อสีเขียว และที่ยังไม่ได้ระบุสีเสื้อ จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง เป็นที่ที่น่าไปดูมาก เป็นโรงเรียนมงคลวิทยาเก่าด้วย แล้วก็ไปวัดพระธาตุหริภุญชัย องค์พระธาตุกำลังบูรณะ จึงมีวาสนาได้ดูฉัตรทองคำซึ่งนำลงมาแสดงในวิหาร

กินข้าวกลางวันที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย แล้วไปพิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้วซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน

บ่ายไปหอศิลป อุทยานธรรมะ เป็นบ้านของพ่ออินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ อยู่ดีดี พ่ออินสนธิ์ เดินมาพาทัวร์ด้วยตัวเอง ผมไม่เล่าล่ะนะครับ รออ่านจากบล็อกครูบาก็แล้วกัน

บ่ายแก่ๆ ไปกินไอติม รับพี่สร้อย (น้าอึ่งอ๊อบไปน่านแล้ว) แล้วไปวัดต้นเกว๋น ค่ำไปวัดพระธาตุดอยคำ ได้ถ่ายรูปพระธาตุองค์เบ้อเริ่มใกล้ๆ ก่อนขึ้นไป เค้ากำลังตั้งขบวนจะเดินขึ้นพระธาตุพอดี เลยรีบขึ้นไปที่วัดซึ่งอยู่บนยอดเขา ได้สรงน้ำพระธาตุ ถ่ายรูปวิวของเมืองเชียงใหม่ ขาลงมาเจอขบวนซึ่งกำลังเริ่มเดินขึ้นเขา จอดรถถ่ายรูปอีก

เย็นกินข้าวที่ร้านข้าวต้มย้ง ไปกราบครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ห้วยแก้ว เสร็จแล้วบุกห้องอาจารย์สาว (พี่สร้อย) กินมะม่วง กินลิ้นจี่ ดื่มชา

อ่านต่อ »


วัดพระบาทห้วยต้ม

อ่าน: 3865

นัดพี่ครูอึ่ง 8 โมงเช้า ออกเดินทางไปวัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ ถึงวัด 10:45 เดินสำรวจวัดซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมงานใหญ่

ชาวบ้านรอบพื้นที่วัด เป็นชาวปากะยอ มีศรัทธาในพุทธศาสนาและหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา กินมังสวิรัต ไม่เลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค

บ่ายสองโมงไปศูนย์โครงการหลวง ครูบาพูดกับชาวบ้าน น่าฟังมากครับ ถ้าไม่ได้ฟังก็อด เสร็จสี่โมง ตรงไปรับน้าอึ่งอ๊อบกับพีสร้อยที่เชียงใหม่ ให้พี่สร้อยเลี้ยงครับ

อ่านต่อ »


พยายาม?

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 May 2009 เวลา 0:32 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3611

ทะเลสาบลาวา

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 May 2009 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 5925

ปรากฏการณ์ทะเลสาบลาวา หาดูได้ยากครับ ทั้งโลกมีอยู่เพียง 5 ที่เท่านั้น อยู่ในอัฟริกาสองแห่ง ที่เหลือ อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ทวีปแอนตาร์กติกา และทวีปอเมริกาใต้ อย่างลำหนึ่งแห่ง

ทะเลสาบลาวา จะมีลาวาจากใต้โลกไหลขึ้นมาบนผิวโลก และคงอยู่ได้นานโดยไม่ระเบิดแบบภูเขาไฟครับ คิดดูดีๆ เป็นเรื่องยากมากที่จะคงสมดุลย์แบบนั้นไว้ได้นาน แต่ก็เกิดขึ้นจริงๆ

อ่านต่อ »


ความรู้ใด จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 May 2009 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4312

ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มนุษย์ “ก้าวหน้า” ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด แทบจะเป็นไปไม่ได้ ที่จะศึกษาเรียนรู้แม้แต่ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งจนแตกฉาน รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับศาสตร์นั้น

การศึกษาลงทางลึก ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรอกนะครับ ถ้าเพียงแต่เราเข้าใจว่าความรู้เชิงลึกด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ไม่พอที่จะทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้

เรื่องนี้ได้กับตัวเองครับ ใครๆ ก็บอกว่าผมทำอะไรได้หลายอย่างเยอะแยะ (มั่วไปหมด) แต่ผมทำกับข้าวไม่เป็น — ที่จริงทอดไข่เป็นครับ ทำอะไรได้บ้างอีกนิดหน่อย

ทีนี้ถ้าไม่ให้ใช้เงินซื้อเอา และไม่ให้ไหว้วานใครทำให้ (sustainability test) ผมอดตายแน่ๆ ปลูกข้าวไม่เป็น สีข้าวไม่เป็น ถึงไม่กินข้าว แม้อาจจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ เนื้อสัตว์คงไม่มีกินเพราะไม่ฆ่า จะกินผักกินหญ้า ก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

ถ้าไม่มีไฟฟ้าเสียอย่างเดียว ส่วนทักษะที่คิดว่าเจ๋งนั้นไม่มีค่าเลย (เช่น เกิดโรคระบาดอุบัติใหม่หรือเกิดสงครามใหญ่ ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้า/การเดินทาง เป็นไปไม่ได้ เมืองไทยไม่มีน้ำมัน เลยพาลไม่มีไฟฟ้า –> เงินไม่มีความหมาย) ทักษะที่มีเหล่านี้ ไม่ทำให้สามารถดูแลคนรอบตัวได้เลย

แน่นอนล่ะว่าคนแต่ละคน จะทำหมดทุกอย่างไม่ได้หรอกครับ แต่ถึงจะรวมตัวกันเป็นชุมชน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าชุมชนนี้ มีทักษะที่จำเป็นที่จะอยู่รอดได้

หอสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งรวมรวมความรู้ แต่ถ้าเดินทางไปหาความรู้ไม่ได้ ที่รวบรวมไว้ก็ไม่มีประโยชน์

ดังนั้น บางทีเราควรจะคิดกันบ้าง ว่าความรู้อะไรจำเป็นต่อการอยู่รอด และการดำรงชีวิต โดยไม่ต้องพึ่งพาต่อสิ่งนอกชุมชน

กระจายความรู้เหล่านี้ออกไป ในรูปของชุดความรู้ หรือห้องสมุดขนาดย่อม อาจจะดีกว่าไหมครับ

เอาความรู้ที่ชาวบ้านเอาไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีไปให้เขาดีกว่าครับ ดีกว่าสร้างผู้รู้ที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขขึ้นมา



Main: 0.058921098709106 sec
Sidebar: 0.055262088775635 sec