ลาทีปี 2551

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 December 2008 เวลา 14:59 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4095

ปี 2551 เป็นปีแห่งความวุ่นวาย เมืองไทยและประชาชนชาวไทยได้รับความอับอาย เหตุเพราะเราไม่ยึดถือกติกาของสังคม มีการละเมิดกฏหมายโดยจงใจ ความวุ่นวายใหญ่ๆ นั้น แรงด้วยมิจฉาทิฏฐิ ความหลง และความยึดมั่นในอัตตา จนบ้านเมืองแตกแยกเป็นคอกเป็นก๊ก ต่างคนต่างบอกตัวเองว่าเป็นศรัทธาในความถูกต้อง แม้จะมีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ความถูกต้องซึ่งนำไปสู่ความแตกสลาย เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้านั้น เป็นความถูกต้องแบบไหนกันครับ; การที่มัวแต่พร่ำบอกตัวเองอยู่อย่างเดียวว่า “ถูกต้อง” แต่ละเมิดกฏหมายโดยเจตนา อย่างนี้ถูกต้องอะไรครับ

“ราคะมีโทษน้อยคลายช้า โทสะมีโทษมากคลายเร็ว โมหะมีโทษมากคลายช้า” ติตถิยสูตร ติ. อํ. [20/508] ราคะคือโลภ โทษะคือโกรธ โมหะคือหลง พึงดับราคะด้วยอสุภนิมิต ดับโทสะด้วยปฏิฆนิมิต และดับโมหะด้วยโยนิโสมนสิการ

การนำบ้านเมืองกลับสู่ความสงบสุข ไม่สามารถจะมามัวนั่งชี้นิ้วไปยังคน 480 คนในสภา หรือ 36 คนที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรี ภาระนี้ใหญ่และหนักหนาเกินกว่าจะโบ้ยไปที่อื่นได้หรอกนะครับ

มีงานมีหน้าที่ ก็ทำไปให้ดี แต่อย่าทำแค่ดีเฉพาะตัว ให้คิดดีทำดีเผื่อแผ่แก่คนรอบตัวด้วย; เหมือนทอผ้า ทอเป็นจุดไม่ได้ เป็นเส้นก็ไม่ได้ มันไม่มีค่าอะไร ต้องทอเป็นผืน สอดประสานกันสี่ทิศ — ไม่มีประโยชน์ที่ตัวเราประสบผลสำเร็จ แต่ไม่เหลือใครที่จะมาร่วมชื่นชม ร่วมมีความสุขด้วย

หากอธิษฐานได้ ขอให้ประชาชนชาวไทยที่ยังแบ่งก๊กแบ่งเหล่า ได้ตาสว่างเสียที ผู้นำกลุ่มก๊กต่างๆ ทุกระดับ ล้วนมีวัตถุประสงค์อยู่เบื้องหลัง แต่ทว่าวัตถุประสงค์หลัก กลับเป็นไปเพื่อตนเอง ไม่ใช่เพื่อหมู่ชน [สามัคคี ความขัดแย้ง]

ขอให้คิดให้ดีก่อนจะทำอะไร ขอให้เป็นการตัดสินใจที่ดี ทำอะไรอย่าเบียดเบียนใคร อย่าผูกกรรมจองเวรต่อกันเลย

สวัสดีปีใหม่ปี พ.ศ. 2552 ครับ


ถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ (ตอนที่ 2)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 December 2008 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 8180

“The Net” ≡ Collective

เครื่องหมาย ≡ เป็นเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ อ่านว่า “is identical to” แปลว่าเหมือนเป๊ะ

ตัวตนเสมือนเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมในเน็ต ผู้ใช้เน็ตใช้ตัวตนเสมือนประหนึ่งว่าเป็นตัวตนจริง เพราะตัวตนเสมือนสามารถส่งผ่านความพอใจ (รางวัล) ให้ตัวตนจริงได้ แต่ก็เป็นด่านในการกลั่นกรองสิ่งที่ไม่ดีได้เช่นกัน

เราจึงมักเห็นผู้ที่ใช้เน็ตมาเป็นเวลานาน มักจะใช้ alias (นามแฝง) เป็นตัวตนเสมือน แต่บางทีกลับมีความชัดเจนยิ่งกว่าตัวตนจริงเสียอีก

ในสังคมออนไลน์ มีอิสระในทางความคิด และมีทางเลือกอยู่มาก ผู้ใช้เน็ตจึงมีความแตกต่างเป็นพื้นฐาน เป็นการอยู่ร่วมกันอย่างยุ่งเหยิง

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ ​(ตอนที่ 1)

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 December 2008 เวลา 0:21 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5241

คำเตือน กรุณาใช้วิจารณญาณในการอ่านบันทึกนี้

ผมเขียนบันทึกนี้ ทั้งที่ตระหนักดีว่าเป็นไปได้มากว่าท่านผู้อ่านอาจจะคิดว่าผมพูดถึงใครบางคน หรือหลายคนที่ท่านรู้จัก แต่เรื่องนี้เป็นความเห็นกลางๆ เกี่ยวกับ “ตัวตน” ซึ่งไม่ว่าจะถูกหรือผิด ก็ไม่ได้เจาะจงไปที่ผู้ใดทั้งสิ้น 

กรุณาอ่านคำแนะนำข้อ 2 ท้ายบันทึกที่แล้ว — บันทึกนี้เป็นตัวอย่างของการเขียนในสไตล์ generalization (เหมารวม) แต่เป็น non-assertive (ไม่ยัดเยียดให้เชื่อ ไม่มีรายการให้ปฏิบัติ ไม่ใช้คำว่าต้อง ไม่ถือว่าผู้เขียนถูกเสมอ) เพื่อเสนอการวิเคราะห์ ด้วยความหวังว่าจะนำไปสู่ความเข้าใจในตัวตน ตลอดจนแรงผลักดันต่างๆ ที่ทำให้ผู้ใช้เน็ตเป็นอย่างที่เป็นอยู่

นอกจากนั้น ก็ยังเป็นตัวอย่างของ Troll (วางเหยื่อล่อปลา) ในคำแนะนำข้อ 10 อีกด้วย

หากท่านรู้สึกว่ารับไม่ได้ เพ้อเจ้อ ไร้สาระ แนะนำให้ข้ามบันทึกนี้ไปเลยครับ ไม่ต้องอ่านให้จบ

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ (ตอนที่ 0)

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 December 2008 เวลา 0:18 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 9559

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยน มีปฏิสัมพันธ์ และเลือกสรรค์หมู่คนที่ติดต่อด้วย เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไป ก็มีความพยายามที่จะใช้ระบบโทรคมนาคม มาเอาชนะข้อจำกัดเรื่องระยะทาง

ระบบ Bulletin Board (BBS)

ชุมชนออนไลน์ในเมืองไทยอันแรกเท่าที่มีหลักฐานบันทึกไว้ ตั้งขึ้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2529 เป็น Bulletin Board ชื่อ CP/M Bangkok User Group หรือ BUG Board ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Morrow Design รุ่น MD-11 ใช้ระบบปฏิบัติการ CP/M ใช้โปรแกรมได้ทีละโปรแกรม มีฮาร์ดดิสก์ขนาด 10 MB กับโมเด็มความเร็ว 1200 bps หนึ่งตัว สมาชิกที่เข้ามาใช้ ผลัดกันเชื่อมต่อมาทีละคน

มาตรฐานของโมเด็มยังสับสน มีทั้งแบบอเมริกัน (Bell) และแบบมาตรฐาน (CCITT) การสื่อสารผ่านโมเด็มยังวุ่นวายเรื่องความเข้ากันได้ (compatibility) เรื่องนี้เริ่มสงบเมื่อโมเด็มพัฒนามาจนมีความเร็ว 14400 bps (14.4 kbps)

การที่เข้ามาเขียน/อ่านได้ทีละคน เป็นการจำกัดปริมาณข้อความไปในตัว ทำให้ผู้ดูแลระบบ (System Operator หรือ SysOp) สามารถตรวจกรองข้อความต่างๆ ได้ทั้งหมด SysOp เป็นเจ้าของ bulletin board สมาชิกมาเขียนในพื้นที่ของเขา SysOp จึงมีสิทธิจัดการได้ทุกอย่าง ทั้งลบสมาชิก ลบข้อความ ลบความเห็น แล้วบางทีเขาก็เรียกตัวเองว่า SysGod

อ่านต่อ »


เจ้าเป็นไผ ภาคพิสดารกว่า

30 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 December 2008 เวลา 0:00 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5051

บันทึกนี้ เป็นกระจกส่องตัวเอง

ชีวิตผม ค่อนข้างราบเรียบ แต่ไม่จืดชืดหรอกนะครับ

โชคดีที่เกิดในปีพิเศษที่เกิดมาแล้วไม่แก่ ดูอาจารย์แป๋วเอาเถิดครับ ยังสาวเช้งอยู่เลย

โดยนิสัย เป็นคนที่ไม่เบื่ออะไรง่ายๆ (บันทึกเก่า: จิตใจหวั่นไหว) ที่บ้านไม่กินเผ็ดกัน เพื่อนเคยถามว่า พี่กินเผ็ดไม่ได้เหรอ ผมเถียงคอเป็นเอ็น กินได้ แต่มันเผ็ด (ว่ะ)! นี่เป็นตัวอย่างว่าข้อสังเกตกับข้อเท็จจริงนั้น อาจไม่เหมือนกันครับ

อ่านต่อ »


อดได้ ทนได้ ทำใจได้

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 December 2008 เวลา 0:07 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 5268

ขันติ เป็นภาษาบาลี หมายถึง การรักษาภาวะปกติของตนไว้ได้ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจก็ตาม ในภาษาไทย ขันติ หมายถึงความอดทน

อด เป็นอาการที่อยากจะได้ แต่ไม่ได้
ทน เป็นอาการที่ไม่อยากได้ แต่ต้องได้

ในภาษาจีนและญี่ปุ่น ตัวอักษรคันจิที่มีความหมายว่าอดทน เป็นอักษรที่เกิดจากการนำคำสองคำมารวมกัน คำหนึ่งคือ มีด อีกคำหนึ่งคือ หัวใจ ซึ่งความหมายของศัพท์คำใหม่ที่ได้ก็คือ ทำใจได้ แม้มีใครเอามีดมาจ่อที่หัวใจ ก็ทำใจได้ คือมีความอดทน อดกลั้น ไม่หวั่นไหว

อ่านต่อ »


ครบรอบสี่ปีสึนามิ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนทัศนะต่อสังคม

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 December 2008 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3702

หลังจากที่เคยให้สัมภาษณ์สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยไว้เมื่อสามปีก่อน ผมไม่คิดว่าอยากจะพูดอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้อีกหรอกครับ แต่ยังมีอีกประเด็นหนึ่งซึ่งผมไม่ได้พูดไว้ตอนนั้น คือเหตุการณ์สึนามิ ได้เปลี่ยนมุมมองและทัศนคติของผมต่อสังคมไปอย่างสิ้นเชิง

สังคมของเราเปราะบางและอ่อนแอเหลือเกิน แต่เราก็ยังประมาท ไม่รู้ตัวเลยว่าการที่ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีพลัง คนที่มีความรู้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความรู้ให้เกิดสิ่งดีขึ้นกับตัวเองและคนอื่นได้ ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่รู้อะไรเลย

เดิมที ผมมองเหตุร้ายแบบนี้ เหมือนเป็นเพียงเรื่องตื่นเต้นที่เห็นตามโทรทัศน์ แต่การที่ได้เข้าไปลงมือทำอะไรบ้าง แม้จะเป็นเพียงวงนอก ก็ทำให้ได้เห็นความเป็นไปของเหตุการณ์ — ยิ่งอยู่วงนอก ยิ่งเห็นความเป็นไปจากมุมที่คนในไม่เห็นครับ

อยู่วงนอก ตัดสินใจเองได้ พอกันทีกับคำว่า “ต้อง”

การที่ทำอยู่วงนอก เป็นการวางตัวเองไว้นอกข้อจำกัด การอยู่วงนอกเป็นคนละเรื่องกับการนั่งดู/วิจารณ์/ไม่ทำอะไร อยู่วงนอก ทำได้แบบคนวงนอก ไม่เมาหมัด อะไรไม่รู้ ก็ถาม ถามได้ไม่หยาบคายหรอกครับ ก็ไม่รู้นี่

อ่านต่อ »


เปิดโปงเบื้องหน้า เบื้องหลัง อีกทั้งแฉเบื้องลึกของลานปัญญา

12 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 December 2008 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ ลานปัญญา #
อ่าน: 4089

โดนบังคับมาให้ทำอย่างนี้ครับ ขัดไม่ได้ซะด้วยซิ เดี๋ยวอาละวาด แฮ่ๆๆๆ

อ่านต่อ »


เฮฯ หก จาก GPS

อ่าน: 4603

ลืมกำหนดตำแหน่งไปสามสี่ที่ครับ แถวแม่สลอง กับที่สามเหลี่ยมทองคำ

คลิกตรงนี้เพื่อเปิดแผนที่

  • ปางช้างกะเหรี่ยงสามัคคี 19.95946°N 99.70927°E
  • บ้าน อ.ถวัลย์ ดัชนี 19.99191°N 99.86069°E
  • พิพิธภัณฑ์อูบคำ ซ.เด่นห้า 11 19.90372°N 99.81481°E
  • มณีอินน์ ถ.สันโค้งหลวง 19.89828°N 99.82281°E
  • ศาลารอยพระบาท ร.9 ถ.ค่ายทหาร 19.90983°N 99.80727°E
  • วัดพระแก้ว ถ.ไตรรัตน์ 19.91178°N 99.82767°E
  • อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช 19.91047°N 99.84012°E
  • วัดร่องขุน 19.82388°N 99.76359°E
  • ศูนย์เรียนรู้บ้านสันกอง (กินข้าวก่อนไปเชียงแสน) 20.26311°N 99.86086°E
  • ศูนย์พัฒนาบ้านสะโงะ (ป่าชุมชนที่เชียงแสน) 20.35130°N 100.03223°E
  • ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน (ขันโตก) 20.27407°N 100.07871°E
  • วัดพระธาตุผาเงา 20.24391°N 100.10860°E
  • อ่านต่อ »


เผาจริง หรือเผาหลอก?

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 December 2008 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3197

คำถามนี้ เริ่มต้นก็ถามผิดซะแล้ว — ถ้าเราจะยังถามคำถามนี้อยู่ ก็แปลว่ายังไม่ตาย ในเมื่อไม่ตาย แล้วจะเผาทำไมครับ

เศรษฐกิจไม่ดี — อันนี้หมายความว่าเศรษฐกิจไม่ดีเมื่อเทียบกับช่วงที่ดี; ไม่ได้แปลว่าจะเลวร้ายหรอกครับ มันไม่ดีเท่ากับที่เคยดี

ก็เพียงแต่อย่าจ่ายในเรื่องที่ไม่สมควร และไม่จ่ายมากกว่ารายได้ (อย่าเป็นหนี้)

อย่าอ้างว่าเงินเดือนน้อย เงินเดือนเป็นสิ่งที่ตกลงกันไว้ก่อนจะจ้างงาน ตอนนั้นเราคิดว่าพอ — ถ้ารายได้ขยับได้ช้ากว่าค่าใช้จ่าย (แหงล่ะ) ก็เปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับ ‘ความจำเป็น’ เสียใหม่ แล้วจะอยู่ได้ ทางด้านค่าใช้จ่ายพอควบคุมได้



Main: 0.32907700538635 sec
Sidebar: 0.20501184463501 sec