มหาสยามยุทธ — ศ.นพ.ประเวศ วะสี

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 November 2008 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 3760

ผมตั้งชื่อเลียนมหากาพย์ “มหาภารตยุทธ” ของอินเดีย ซึ่งเป็นเรื่องราวสงครามใหญ่ระหว่างพี่น้องครูบาอาจารย์ รวมทั้งแม้พระกฤษณะก็ยังลงมาเป็นสารถีขับรถรบให้ท้าวอรชุน ความขัดแย้งระหว่างพี่น้องคนไทยขณะนี้ซึ่งแบ่งข้างด้วยอารมณ์รุนแรงเป็นฝ่าย รักทักษิณกับฝ่ายเกลียดทักษิณ ข้างละเท่าไรไม่ทราบแน่ แต่อาจมากกว่าข้างละ ๑๐ ล้านคน จึงน่าจะเป็นความแตกแยกในหมู่คนไทยด้วยกันที่ใหญ่ที่สุดอันอาจนำไปสู่การนองเลือด จึงเรียกการต่อสู้ครั้งนี้ว่า “มหาสยามยุทธ” น่าจะมีผู้วิจัยเก็บข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องและเหตุการณ์ไว้อย่างละเอียด และนำมาประพันธ์เป็นมหากาพย์ เพื่อให้เป็นที่เรียนรู้ใหญ่ของคนไทยทั้งชาติสืบต่อไป

ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็ม

อ่านต่อ »


สลายความขัดแย้ง, นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ

อ่าน: 7153

เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในช่วงสองสามวันนี้ จะไม่มีรายการบันเทิง ก็เป็นโอกาสดีที่แฟนๆ บล็อกของผม จะได้อ่านหนังสือดีครับ

หนังสือนี้เป็นการรวมรวมงานจากสี่แหล่ง คือถอดเทปการแสดงวิสัชนาแก่คุณจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสื่อเกษตร จำกัด เมื่อวันที่ ๑๕​ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ (ผมชอบทั้งคำถามและคำตอบครับ) ประกอบกับปาฐกถาสำคัญของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) อีกสามอัน

อ่านต่อ »


เกร็ดพระพุทธรูปปางห้ามญาติ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 October 2008 เวลา 9:53 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 6860

ผมได้รับคำชี้แนะจากพระมหาชัยวุธ ถึงเรื่องที่ติดใจสงสัยหนังสือเล่มหนึ่ง ที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ซึ่งผมค้นพระไตรปิฎกมาหกเดือนก็ไม่เจอ พระอาจารย์แนะให้ลองค้นในอรรถกถาดู สองนาทีก็เจอครับ โง่เสียตั้งนาน เป็นอรรถกถามหาสมัยสูตร [พระไตรปิฎก]

ผมคัดลอกมาเฉพาะส่วนที่คิดว่าน่าสนใจมา ส่วนท่านที่สนใจ สามารถอ่านข้อความเต็มได้ตามลิงก์ข้างบน

เล่ากันมาว่า ชาวศากยะและโกลิยะช่วยกันกั้นแม่น้ำชื่อโรหิณี ในระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองโกลิยะ ด้วยเขื่อนเดียวเท่านั้นแล้วหว่านกล้า. ต่อมาในต้นเดือนเจ็ด เมื่อกล้ากำลังเหี่ยว พวกคนงานของชาวเมืองทั้งสองก็ประชุมกัน.

ในที่ประชุมนั้น พวกชาวเมืองโกลิยะพูดว่า น้ำนี้เมื่อถูกทั้งสองฝ่ายนำเอาไป (ใช้) พวกคุณก็จะไม่พอ พวกฉันก็จะไม่พอ แต่กล้าของพวกฉันจะสำเร็จด้วยน้ำ แต่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ขอให้พวกคุณจงให้น้ำแก่พวกฉันเถิดนะ

ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ก็พูดว่า เมื่อพวกคุณใส่ข้าวจนเต็มยุ้งแล้ว พวกฉันจะเอาทองแดงมณีเขียวและกหาปณะดำ มีมือถือกะบุงและไถ้เป็นต้น เดินไปใกล้ประตูบ้านของพวกคุณก็ไม่ได้ ถึงข้าวกล้าของพวกฉันก็จะสำเร็จด้วยน้ำ ครั้งเดียวเหมือนกัน ขอให้พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกฉันเถิดนะ

พวกฉันให้ไม่ได้. ถึงพวกฉันก็ให้ไม่ได้.

เมื่อทะเลาะกันลามปามอย่างนี้แล้ว คนหนึ่งก็ลุกไปตีคนหนึ่ง. แม้คนนั้นก็ตีคนอื่น ต่างทุบตีกันและกันอย่างนี้แล้วก็ทะเลาะกันลามปาม จนเกี่ยวโยงไปถึงชาติของพวกราชตระกูลด้วยประการฉะนี้.

อ่านต่อ »


Paradox ของสายตา กับการไม่รู้จักเป้าหมาย

อ่าน: 5626

ปัญหาสังคมแตกแยก ร้ายแรงกว่าที่คิด

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 October 2008 เวลา 0:11 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4643

ปัญหาส่วนหนึ่งของเมืองไทย

  • ครอบครัวล้มเหลว สร้างเด็กที่มี self-esteem และ EQ ต่ำ สนใจแต่เรื่องของตนเอง ไม่มีความอดทน ไม่มีความเพียร เพ้อเจ้อ เพ้อฝัน หนีความจริง
  • การศึกษาล้มเหลว ไม่สามารถผลิตบุคลากรที่คิดอย่างลึกซึ้งได้ ติดอยู่กับ ถูก-ผิด ใช่-ไม่ใช่ เหมือนทำข้อสอบ ตอบได้ แต่ตั้งคำถามไม่เป็น และจะต้องเลือกข้าง แบ่งขั้ว
  • ระบบการจัดการไม่ดี ต้องการเพียงประโยชน์เฉพาะหน้า ไม่ยั่งยืน ต้องการผลโดยไม่เข้าใจเหตุ
  • ความคิดที่ย่อยมาแล้วและรวมกันเป็นกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ แทนการพิจารณาโดยแยบคาย และเป็นอิสระ
  • ไม่กล้ายืนหยัดบนความดี ความถูกต้องเพราะให้ผลช้า จึงใช้วิธีสร้างภาพ ซึ่งแม้ไม่จริง แต่ก็ได้ผลตอบรับได้เร็วกว่ามาก
    • เพราะ self-esteem และ EQ ต่ำ จึงไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงคิดว่าคำชมนั้นเป็นความจริง จึงเสพติดคำป้อยอ
    • เพราะ self-esteem และ EQ ต่ำ จึงไม่มี หิริ โอตตัปปะ ไม่สำนึก ไม่อาย ไม่รู้จักเสียสละ


หลักแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 August 2008 เวลา 4:01 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4724

อ่านบทความของอาจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ติดใจคำว่าหลักปัญจศีลที่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และบัณฑิตเนห์รู ประกาศเป็นหลักการในปี พ.ศ.2497 ก็เลยค้นข้อมูลต่อ ได้เรื่องดังนี้ครับ

หลักการนี้ เกิดขึ้นโดยการพัฒนาร่วมกันโดยผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียระหว่างปี 2496-97 และมีนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล และบัณฑิตเนห์รู เมื่อมีความขัดแย้งด้านพรมแดนระหว่างจีนและอินเดีย เรื่องเส้นพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ซึ่งเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างสหราชอาณาจักรกับทิเบตในปี 2457 ในขณะที่อังกฤษปกครองอินเดีย

หลักการนี้ มีอยู่ 5 ข้อ ซึ่งในที่สุดได้กระจายออกไปอย่างแพร่หลาย ซึงวิญญาณของหลักการห้าข้อนี้ ก็ปรากฏอยู่ในปฏิญญากรุงเทพ:1967 (จัดตั้งอาเซียน) ด้วย คือ

  1. ความเคารพในเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดนร่วมกัน
  2. การไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
  3. การไม่ก้าวก่ายในกิจการภายในซึ่งกันและกัน
  4. ความเท่าเทียม และประโยชน์ร่วมกัน
  5. ความคงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ผมคิดว่าหลักทั้งห้าข้อนี้ แม้จะทำให้เหตุการณ์ไม่ลุกลาม แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เพียงแต่เป็นการเลื่อนปัญหาออกไปในอนาคต ดังกรณีพิพาทพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ในที่สุดก็เกิดสงครามระหว่างจีนและอินเดียขึ้นในปี 2505

ว่าแต่เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้างครับ


จิตใจระเบิดขวด

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 July 2008 เวลา 9:11 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4352

พระราชดำรัส พระราชทานแก่ข้าราชการ นิสิต นักศึกษา พ่อค้า ประชาชน
คณะกรรมการของมูลนิธิและสมาคมต่างๆ เฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาผกาภิรมย์
วันพฤหัสบดี ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑

        ขอขอบใจที่พากันมาอวยพร ที่ให้พรนั้นสรุปได้ว่าให้ทรงพระเจริญ สิ่งใดที่ต้องการขอให้สำเร็จ คำให้พรให้เจริญนั้นจะเจริญได้ถ้ามีกำลังใจ เมื่อมาให้กำลังใจให้อย่างนี้ก็คงจะเจริญได้ ความเจริญนั้นมีหลายอย่าง จะเล่าให้ฟัง เมื่อ ๒๐ กว่าปีมาแล้ว ไปเฝ้าสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศ ฯ ทรงเจริญชนมพรรษาถึง ๙๐ ทูลว่า ขอให้ทรงพระเจริญ แล้วลงกราบท่าน ท่านรับสั่งไม่ค่อยได้ เพราะไม่ทรงสบาย ทรงเจ็บพระศอ และทรงเพลีย แต่ในที่สุดก็รับสั่งว่า เจริญแล้ว คงจะหมายความว่าทรงพระชรามากแล้ว และตามความจริง สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศ ฯ ก็ทรงพระเจริญมากด้วยคุณธรรม คือทรงมีความสามารถและความเพียรพยายามทุกด้าน โดยมากมักจะนึกถึงกันแต่ทางศิลปะ แท้จริงยังทรงสามารถทางการปกครองและทางวิชาการอื่นๆ อีก จึงทรงเป็นผู้ที่เจริญ และเมื่อตรัสว่าเจริญแล้ว จึงหมายความว่าพระชนมายุมากแล้วด้วย เจริญพอแล้วด้วย

        ที่ทุกคนมาให้พรว่าให้ทรงพระเจริญ คงจะให้เจริญทางจิตใจ วันนี้มีสมาคมองค์การต่างๆ โรงเรียน นักศึกษา และนักเรียนมาให้พรกันมากมายรวมทั้งสมาคมที่เป็นห่วงเรื่องสุขภาพจิตด้วย และเมื่อวันก่อนก็มีองค์การศาสนาต่างๆ ทุกศาสนาที่มีอยู่ในเมืองไทยมาให้พร ได้พูดด้วยทุกราย จึงต้องพูดกับนักเรียนบ้างเพื่อไม่ให้น้อยใจ ที่ตั้งใจจะพูดด้วยก็เรื่องสุขภาพจิต เพราะได้เคยพูดฝากกับผู้ที่เป็นสมาชิกสมาคมส่งเสริมสุขภาพจิตว่า “หมู่นี้ สุขภาพจิตไม่ค่อยดี” คุณหญิงอัมพรจึงมาให้พรว่า “ขอให้ทรงพระเจริญและให้พระสุขภาพจิตดียิ่งๆ ขึ้น” คำว่าพระสุขภาพจิตที่ใช้เป็นคำใหม่ มีความหมายอย่างไร ไม่ทราบได้ ตามจริงก็คงจะอยากให้พรให้มีสุขภาพทางจิตดี คิดว่าสุขภาพทางจิตหรือความรู้สึกนึกคิดจะดีได้ก็เพราะมีคนอื่นเอาใจช่วย อย่างที่ทุกคนมาเฝ้า ฯ นี้ ยินดีมีโอกาสพูดด้วย ถ้าทุกคน ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งผู้ที่เป็นนักศึกษา และเป็นครู เห็นความสำคัญในเรื่องสุขภาพจิต ขอโทษ ขององค์พระประมุข ถ้าทุกคนร่วมมือกันทำงานตามจุดประสงค์แล้ว จะทำให้สุขภาพจิตขององค์พระประมุขดีได้ และถ้าแต่ละคนทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่รู้สึกว่ามีหน้าที่ที่จะรักษาสุขภาพจิตของ องค์พระประมุข เมื่อถวายพระพรให้ทรงพระเจริญ หรือให้ทรงพระชนมายุยืนนานเป็นร้อยปีหรือเป็นหมื่นปี ก็ขอให้เข้าใจว่าได้ถวายพระพรให้สุขภาพจิตขององค์พระประมุขดีด้วย

        คำว่าองค์พระประมุขนั้นแสดงถึงส่วนรวมของประเทศ คือแต่ละคนรวมกันเข้าก็เป็นประชาชน เป็นสังคมของประเทศ ผู้ที่อยู่ในที่นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ถ้าแต่ละคนอยากดีก็จะต้องช่วยกันทำให้ประเทศดีขึ้น อย่างเมื่อกี้เดินผ่านทหาร ตำรวจ นักเรียนที่เป็นลูกเสือ นักเรียนที่เป็นอนุกาชาด นักเรียนที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนรัฐบาล นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทุกคนพากันอวยพรให้ทรงพระเจริญ จึงต้องขอร้องทุกคนที่ขอให้ทรงพระเจริญนี้ทำหน้าที่ เพราะถ้าพูดหรือคิดขึ้นมาว่าขอให้ทรงพระเจริญ เป็นการคิดเป็นคำพูดลอยๆ เก๋ๆ ตามสมัย โดยเฉพาะในวันเฉลิมพระชนมพรรษายิ่งต้องพูดอย่างนั้นแล้วก็จะไม่ได้ผล แต่ถ้านึกถึงว่าทรงพระเจริญหมายความว่า องค์พระประมุขทรงพระเจริญ หมายความว่าประเทศจงเจริญก็เกิดหน้าที่ขึ้นมา แต่ละคนเกิดมีหน้าที่ต่อประเทศชาติ ซึ่งหมายความว่าหน้าที่ส่วนของตัวด้วยและหน้าที่ในส่วนรวมของกลุ่มด้วย

อ่านต่อ »


หลังวิกฤติแห่งความแตกแยกในสังคม

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 July 2008 เวลา 21:30 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4110

“เหตุการณ์เดือนตุลาคม” มีเรื่องใหญ่เกิดขึ้นสองเรื่องคือเหตุการณ์​ ๑๔ ​ตุลาคม ๒๕๑๖ และเหตุการณ์​ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ในเวลานั้น หลายคนยังไม่เกิด หลายคนยังไม่เดียงสา มีอีกหลายคนเช่นกันที่เมื่อหลายปีผ่านไป เหตุการณ์ลืมเลือน อุดมการณ์เปลี่ยนแปลง

ต่างฝ่าย ต่างคิดมุ่งมั่นอยู่ในความชนะหรือแพ้ ถูกหรือผิด เหตุผล ความถูกต้อง ความเป็นธรรม แต่ละฝ่ายต่างก็คิดว่าตนสูงส่ง ดีกว่า ถูกต้องกว่า

ผมอัญเชิญพระราชดำรัสสององค์ ที่พระราชทานแก่หมู่คณะขนาดใหญ่ ภายในระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว มีข้อสังเกตว่า ไม่มีเรื่องชนะ-แพ้ ถูก-ผิด ถูกต้อง-เป็นธรรม พระราชดำรัสทั้งสององค์ (รวมทั้งองค์ที่พระราชทานหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ) ยังเป็นเรื่องความอยู่รอดของบ้านเมือง เรื่องประชาชน เรื่องหน้าที่ของแต่ละคนเพื่อส่วนรวม

เตือนไว้ก่อนครับว่ายาวมาก แต่ผมคิดว่าน่าอ่าน น่าศึกษา

อ่านต่อ »


อีกครั้งหนึ่งกับพระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕​

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 July 2008 เวลา 16:53 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4733

…ปัญหาของวันนี้ ไม่ใช่ปัญหาของการบัญญัติ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทุกวันนี้คือความปลอดภัย ขวัญดีของประชาชน ซึ่งเดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปทุกแห่งทุกหน มีความหวาดระแวงว่าจะเกิดอันตราย มีความหวาดระแวงว่า ประเทศชาติจะล่มจม โดยที่จะแก้ไขลำบาก ตามข่าวที่ได้ทราบมาจากต่างประเทศ เพราะเหตุว่าในขณะนี้ ทั้งลูกชายทั้งลูกสาวก็อยู่ต่างประเทศ ทั้งสองก็ทราบดี แล้วก็ได้พยายามที่จะแจ้งให้กับ คนที่อยู่ในประเทศเหล่านั้นว่า ประเทศไทยนี้ยังแก้ไขสถานการณ์ได้ แต่รู้สึกว่าจะเป็นความคิด ที่เป็นความคิดแบบหวังสูงไปหน่อย ถ้าหากว่าเราไม่ทำให้สถานการณ์อย่าง ๓ วันที่ผ่านมานี้สิ้นสุดไปได้ ฉะนั้นก็ขอให้โดยเฉพาะสองท่าน คือพลเอกสุจินดา และพลตรีจำลองช่วยกันคิด คือหันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้าสมมติว่า เฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง

ฉะนั้นจึงขอให้ทั้งสองท่านเข้ามา คือไม่เผชิญหน้ากัน แต่หันเข้าหากัน และสองท่าน เท่ากับเป็นผู้แทนฝ่ายต่างๆ คือไม่ใช่สองฝ่าย ฝ่ายต่างๆ ที่เผชิญหน้ากัน ให้ช่วยกันแก้ปัญหาปัจจุบันนี้ คือความรุนแรงที่เกิดขึ้น แล้วก็เมื่อเยียวยาปัญหานี้ได้แล้ว จะมาพูดกัน ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร สำหรับให้ประเทศไทย ได้มีการสร้างพัฒนาขึ้นมาได้ กลับคืนมาได้ด้วยดี อันนี้ก็เป็นเหตุผลที่เรียกท่านทั้งสองมา และก็เชื่อว่าทั้งสองท่าน ก็เข้าใจว่า จะเป็นผู้ที่ได้สร้างประเทศจากซากปรักหักพัง แล้วก็จะได้ผลในส่วนตัวมากว่าได้ทำดี แก้ไขอย่างไรก็แล้วแต่ที่จะปรึกษากัน ก็มีข้อสังเกตดังนี้

ท่านประธานองคมนตรี ท่านองคมนตรีเปรม ก็เป็นผู้ใหญ่ ผู้พร้อมที่จะให้คำปรึกษาหารือกัน ด้วยความเป็นกลาง ด้วยความรักชาติ เพื่อสร้างสรรค์ประเทศ ให้เข้าสู่ความปลอดภัยในเร็ววัน ขอฝากให้ช่วยกันสร้างชาติ

พระราชดำรัสองค์เต็ม พระราชทานแก่ พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง วันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕


การสื่อสารกับความขัดแย้ง

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 July 2008 เวลา 4:16 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4189

บันทึกนี้ มีข้อสังเกตเรื่องของการพูดคุยเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ แม้จะเป็นเรื่องที่รู้สึกลำบากใจ ความเดิมเริ่มเรื่องจากหนังสือ Getting to YES (1981) ซึ่งให้คำแนะนำสำคัญไว้หลายเรื่อง เช่น

  • อย่าต่อรองในเรื่องของจุดยืน (don’t bargain over positions)
  • แยกตัวตนออกจากปัญหา (separate people from the problem)
  • เน้นประโยชน์ไม่ใช่จุดยืน (focus on interests, not positions)
  • สร้างสรรค์ทางเลือกเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (invent options for mutual gain)
  • ตกลงเรื่องวัตถุประสงค์ของการเจรจาก่อน (insist on using objective criteria)
  • เรื่องอื่นๆ เช่น
    • เตรียมทางหนีทีไล่ไว้ก่อน ในกรณีที่การเจรจาที่เตรียมไว้ ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้
    • ถ้าหา win-win solution ไม่ได้ บางทีการไม่ตกลงก็อาจเป็นทางออกที่ดีเหมือนกัน (ไม่เสีย)

ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ไม่ว่าจะหลีกเลี่ยงหรือเผชิญหน้า ก็ดูจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเลย ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ทำให้ท่านจมปลักอยู่กับคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก เครียด นอนไม่หลับ และหาทางออกไม่ได้

ท่านไม่สามารถจะพ้นไปจากภาวะอย่างนี้ได้ จนกระทั่งตัดสินใจทำอะไรบางอย่างเท่านั้น การกลุ้มใจไม่ได้แก้ปัญหาใดๆ การประนีประนอมก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีหากไม่บรรลุวัตถุประสงค์

เมื่อเจอปัญหาที่ดูเหมือนไม่มีทางออก เราอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ทางออกที่ดีที่สุดคือการทำให้เป้าหมายสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ลดความกลัวและวิตกจริตซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรเลย ตั้งสติเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งที่ต้องทำอย่างฉลาด

เมื่อเจอภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก คงเป็นไปได้ยากที่จะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยดีเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ดังนั้น การไม่เข้ามาอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเสียตั้งแต่แรก น่าจะเป็นทางเลือกที่ฉลาดกว่า ก่อนจะทำอะไร คิดไตร่ตรองเสียก่อน อย่าสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นมา



Main: 0.085465908050537 sec
Sidebar: 0.14480113983154 sec