เฮฯ มงคล @ภูเก็ต - พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต อ.กะทู้

โดย Logos เมื่อ 28 December 2009 เวลา 21:41 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4721

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต

ความเป็นมา วัตถุประสงค์ เกร็ด; นำชมโดย ผ.ศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ และอาจารย์ฤดี ภูมิภูถาวร

ประวัติเมืองภูเก็ต

“ภูเก็ต” ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ.700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า “แหลมตะโกลา” เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาว ๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน

สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า ” แหลมตะโกลา ” แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึงผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออกของชาติยุโรป ระหว่างพ .ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า “จังซีลอน” นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขานผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ. 1568 ว่า “มณิคราม” หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ “ภูเก็จ” ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ . ศ .2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น “ภูเก็ต” ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่ พ . ศ .2450 เป็นต้นมา

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย

เป็นโชคดีมหาศาลประกอบกับท่านอัยการจัดให้ ที่เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต *โดยมี*อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นผู้บรรยาย ถ้าเพียงแต่ดูเฉยๆ คงไม่เข้าใจความเป็นมาของเมืองภูเก็ตมากเท่านี้ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจ เสียดายแทนคนภูเก็ตที่ยังไม่ได้ไปศึกษาที่นี่นะครับ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตอยู่ใกล้สนามกอล์ฟ Lock Palm

คลิปนี้มีโบราณวัตถุ เครื่องประดับที่เป็นผลผลิตจากแร่ มีวิวัฒนาการของคำ (Ethymology) เช่นคำว่า “บรรณ” และ “ข่อย” เป็น ศาลาบรรณ บรรณารักษ์ สมุดข่อย ห้องสมุด ได้อย่างไร ท้ายคลิปแสดงวิธีการร่อนแร่

คลิปที่สี่นี้เป็นวิวัฒนาการของกระบวนการทำแร่ จากการร่อนแร่ธรรมดา เป็นเหมืองขุด จากนั้นเป็นเหมืองฉีด และเป็นเรือขุดแร่ (ซึ่งเรือขุดแร่ลำแรกของโลก เกิดที่ภูเก็ตนี้เอง)

คลิป Segment 5 นี้ เป็นคลิปที่น่าสนใจที่สุดของวันแรกนี้ ภายในมีสี่เรื่องคือ

  1. เศษผงซึ่งดูไม่่ค่อยมีค่าอะไร ที่จริงแล้วเป็นผลึกของแร่อะไรสักอย่าง (จำไม่ได้+ไม่ได้ถ่ายมา) เมื่อส่องดูด้วยกล้องขยาย จะเห็นเป็นผลึกใส อ.สมหมายบอกว่าถ้ามีขนาดใหญ่ เค้าเอาไว้ทำหัวแหวน — ประเด็นนี้ก็คือเมื่อเราไม่รู้ว่าสิ่งที่เผชิญอยู่คืออะไร เราก็ย่อมไม่รู้ค่า; มีตัวอย่างอันเจ็บปวดอีกอันหนึ่ง คือ แร่ทันทาลัมซึ่งเป็นสินแร่ท้องถิ่นที่เมื่อสกัดออกมาแล้วจะมีค่าสูงมาก แต่มีสภาพทางกายภาพเป็นหินแข็ง ด้วยความไม่รู้ ก็เอาไปใช้เป็นหินทำถนน ผสมปูนก่อกำแพงอะไรไปตามเรื่อง
  2. ส่วนที่สองเป็น “อาการหลุด” ของพวกเราชาวเฮ โดยอาการนี้เริ่มตั้งแต่สองนางเอกงิ้วขึ้นเวที จากนั้นก็ไม่มีใครฟังอาจารย์สมหมายอีก ฮี่ฮี่ฮี่ เรื่องของเรื่องก็คือ ถ้าจะเรียนรู้ ทำไมต้องเครียด เราเรียนผสมเล่นไปได้ อย่างนี้จึงเป็นธรรมชาติ อยากเรียนก็เรียน ไม่อยากเรียนก็ไปทำอย่างอื่นที่ไม่รบกวนใคร ใครอยากร่วมเล่นก็ร่วม ใครอยากเรียนก็เรียนไป (แต่คราวนี้ทุกคนเล่นพร้อมกันหมด)
  3. ส่วนที่สามเป็นห้องเอกสารเพื่องานวิจัยของพิพิธภัณฑ์ ให้บริการแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ผมเห็นเอกสารสองอันที่สนใจมาก คือจดหมายเล่าเรื่องศึกถลาง เขียนด้วยลายมือท่านผู้หญิงจัน (ซึ่งมักจะเรียกผิดว่า คุณหญิงจัน) เอกสารตัวจริงอยู่ที่อังกฤษ มีตราประทับ School of Oriental & African Studies, London ไม่ได้บอกว่ามหาวิทยาลัยใด ที่แสดงอยู่เป็นสำเนาซึ่งอดีตผู้ว่าฯ ภูเก็ตท่านหนึ่งไปถ่ายมา
  4. เอกสารอีกอันหนึ่งที่น่าสนใจคือพจนานุกรมภาษาไทย (น่าจะเป็นอภิธานศัพท์เสียมากกว่า) เขียนว่า “พะจะนะ พาสา ไท” ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1854 (พ.ศ. ๒๓๙๗ ผ่านเข้ามา ๓ ปีในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๔)

อาหารค่ำ

พบกับ พี่แฮนดี้ (อ.พินิจ) คุณอนงค์ น้องเว็บไซต์ และ ลุงแหวง (อ.ดร.แสวง) ที่ที่พัก ทีมนี้ขับรถมาครับ จากนั้นท่านอัยการพาไปกินข้าวที่ร้านน้ำย้อย

อาจารย์แสวงถามผมว่าโรคกลัวความรู้เรียกว่าอะไร คงไม่น่าจะเป็น Logosphobia –> คำนี้คงแปลว่ากลัว Logos ครับ ฮา ช่วยไม่ได้จริงๆ นะครับ เพราะเป็นปัญหาส่วนบุคคล

ส่วน Logo-phobia (ไม่มี s) แปลว่า “กลัวคำ” ซึ่งตีความต่อไปได้ว่ากลัวหนังสือ

อาการกลัวความรู้นั้น ค้นเน็ตได้สองคำคือ Gnosiophobia และ Epistemophobia ซึ่งทั้งคู่คืออาการกลัวความรู้ครับ

« « Prev : เฮฯ มงคล @ภูเก็ต - วันเดินทางไป

Next : เฮฯ มงคล @ภูเก็ต - ทำงานกันหน่อย โรงเรียนสตรีภูเก็ต » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 December 2009 เวลา 6:40

    ตามอ่านมาถึงช่วงสุดท้าย คือเรื่องEpistemophobia ทำให้ระลึกถึงเรื่องของปรัชญา ที่ว่าด้วยเรื่องของความรู้ ในระยะแรกการศึกษาหาความรู้จะมีจุดมุ่งหมายที่ Epistemology (Theory of knowledge) ซึ่งจะมีการตั้งคำถามว่า How do we know what we know? How do we know what we know is “true” ? มีการแจกแจงว่าอะไรคือ sciences ซึ่งจะมุ่งที่การดูข้อมูล Objective และไม่เห็นด้วยกับ subjective

    ต่อมาเมื่อสู่ยุค Heideggerian เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ความสนใจกับ ontology (Nature of reality, beings) ซึ่งมีการนำมาอธิบายเรื่องของ reality construct และเรื่องของความรู้ก็หมุนมาที่ Doing is knowledge ซึ่งทำให้มีเกิดความสนใจว่า

    การได้มาซึ่งความรู้จะต้องมีการให้ความเอาใจใส่กับ Method(a technique for(or) way of proceeding in gathering data and makes the argument that all such techniques can be subsumed) และ Methodology (a theory and analysis of how research does or should process)ซึ่งจะสอดคล้องไปกับปรัชญาที่ Guide งานวิจัย

    จากความรู้นิดหน่อยเชิงปรัชญา ทำให้อยากแลกเปลี่ยนค่ะว่า มีความน่าสนใจว่า ความกลัวความรู้นั้นอาจจะมองที่กลัวการลงมือทำ และกลัวการถูกตรวจสอบวิธีการได้มาซึ่งความรู้ ????

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 December 2009 เวลา 14:48
    ขอบคุณครับพี่สร้อย วงเล็บเยอะจัง! ผมเอาบ้าง

    ผมคิดว่าลุงแหวงแซวผมเล่นด้วยคำว่า Logosphobia เฉยๆ ครับ (กลัว Logos ฮี่ฮี่ฮี่ คำว่า Logosphobia ไม่มีในพจนานุกรมใดๆ)

    ความรู้ที่ไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติหรือต่อยอดได้นั้น ถึงมีประโยชน์น้อย ก็เป็นสิทธิส่วนตัวที่แต่ละคนจะมี(ความรู้ที่ไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติหรือต่อยอดได้)ไว้ ในเมื่อคนเป็นสัตว์สังคม จิตใจของเราต้องการการยอมรับจากผู้อื่น หากแต่ว่าความรู้(ที่ไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติหรือต่อยอดได้)ที่มีอยู่อาจ (1) ไม่มีประโยชน์ต่อใครเลย (2) รู้แห้งๆ ไม่เคยปฏิบัติจริง (3) รู้ผิด+รู้เพี้ยนเพราะไม่เคยตรวจสอบ เพียงแต่ได้ยินเขาเล่ามา ก็เลยจำมาอีกต่อหนึ่ง จะตกหล่นผิดเพี้ยน ก็เป็นไปโดยความไม่รู้ และนำสู่ความไม่รู้ซ้ำซาก (4) เพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน คิดเอาเอง แต่แยกแยะไม่ออกว่าอะไรจริง อะไรเป็นสมมุติฐาน อะไรเป็นอคติ

    ผมยังไม่เคยเจอคนที่กลัวความรู้นะครับ เป็นอาการที่แปลกมาก แต่เคยเจอคนที่เรียนรู้ไม่เป็น ซึ่งมักเกิดจากการขาดทักษะในการสังเกต แยกแยะ+พิจารณา ตั้งคำถาม และเรียบเรียง (สุ จิ ปุ ลิ) เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ก็เกิดความกังวลว่าสังคมจะไม่ยอมรับ รู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองด้อยกว่าค่าเฉลี่ยของสังคม ในเมื่อ self-esteem ต่ำ ก็ยิ่งพยายามแสดงอะไรแปลกๆ ออกมา แล้วมักจะแสดงออกมาในแนวทำลาย ใช้อำนาจ ดื้อรั้น ปฏิเสธ ละเมิด หาพวก (เหมือนหัวหน้าแบบกลวงโบ๋หรือพวกแก๊งค์ครับ)

    ไม่ใช่ความผิดที่เรียนรู้ไม่เป็นหรอกครับ มันเป็นเช่นนั้นเอง

    ความรู้ไม่น่ากลัว ความจริงไม่น่ากลัว ใจคนที่เรียนรู้ไม่เป็นซิครับน่ากลัว! ถ้าเรียนรู้เป็น ก็จะพบว่ามีความจริงอีกด้านหนึ่งเสมอ ตัวเรามีสิทธิแตะเบรคเสมอ ตัวเราไม่ได้ถูกต้องเสมอไป และการยอมรับความจริง(อีกด้านหนึ่ง) ก็ไม่ได้ทำให้คุณค่าในตัวเราด้อยลงไป

    ที่พี่สร้อยว่า “ความกลัวความรู้นั้นอาจจะมองที่กลัวการลงมือทำ และกลัวการถูกตรวจสอบวิธีการได้มาซึ่งความรู้” นั้น มีเหตุผลครับ แต่บางที อาจจะมีเหตุและผลมากกว่านั้นอีก ลองอ่านอันนี้ดูไหมครับ http://www.arsdisputandi.org/publish/articles/000265/article.pdf

  • #3 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 December 2009 เวลา 22:14

    อ่านแล้วค่ะ ขอบคุณนะคะ
    ส่วนตัวพี่เองชอบนะเวลาที่ใครวิเคราะห์และชี้ประเด็นการอธิบายแนวความคิดเรื่องของความรู้ ซึ่งตอนนี้ก็คงพูดกันมากเรื่องของ metaphysic และไม่ว่าจะเป็นแนวphilos ไหน ในเชิงอธิบายก็ไม่ค่อยพ้นการอธิบาย ontology epistemology และ methodology

    แต่ส่วนตัวเองกลับไม่เคยอยากอธิบายพวกนี้เลยนะคะ จำได้ว่าเคยอธิบายความสัมพันธ์ของ philosกับ methodology อยู่ครั้งเดียวในบล็อกของหมอเจ๊ เรื่องแบบนี้นั่งจับเข่าคุยกันสนุกกว่าเขียนนะพี่รู้สึกอย่างนั้น

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 December 2009 เวลา 22:56
    ครับพี่ น่าจะจับเข่าคุยกัน

    พระอาจารย์ชัยวุธท่านเคยสอนวิชาปรัชญาอยู่ที่ มจร.มาก่อนครับ ผมเรียกพระอาจารย์เพราะท่านเป็นอาจารย์ครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.10202789306641 sec
Sidebar: 0.16444611549377 sec