หลักแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ
อ่าน: 4709อ่านบทความของอาจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ติดใจคำว่าหลักปัญจศีลที่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และบัณฑิตเนห์รู ประกาศเป็นหลักการในปี พ.ศ.2497 ก็เลยค้นข้อมูลต่อ ได้เรื่องดังนี้ครับ
หลักการนี้ เกิดขึ้นโดยการพัฒนาร่วมกันโดยผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียระหว่างปี 2496-97 และมีนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล และบัณฑิตเนห์รู เมื่อมีความขัดแย้งด้านพรมแดนระหว่างจีนและอินเดีย เรื่องเส้นพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ซึ่งเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างสหราชอาณาจักรกับทิเบตในปี 2457 ในขณะที่อังกฤษปกครองอินเดีย
หลักการนี้ มีอยู่ 5 ข้อ ซึ่งในที่สุดได้กระจายออกไปอย่างแพร่หลาย ซึงวิญญาณของหลักการห้าข้อนี้ ก็ปรากฏอยู่ในปฏิญญากรุงเทพ:1967 (จัดตั้งอาเซียน) ด้วย คือ
- ความเคารพในเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดนร่วมกัน
- การไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
- การไม่ก้าวก่ายในกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ความเท่าเทียม และประโยชน์ร่วมกัน
- ความคงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ผมคิดว่าหลักทั้งห้าข้อนี้ แม้จะทำให้เหตุการณ์ไม่ลุกลาม แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เพียงแต่เป็นการเลื่อนปัญหาออกไปในอนาคต ดังกรณีพิพาทพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ในที่สุดก็เกิดสงครามระหว่างจีนและอินเดียขึ้นในปี 2505
ว่าแต่เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้างครับ
« « Prev : รู้รักสามัคคี - Our loss is our gain
ความคิดเห็นสำหรับ "หลักแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ"