เมืองไทยเรานี้ ทำดีย๊ากยาก

โดย Logos เมื่อ 13 August 2009 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 5056

ในขณะที่บ้านเมืองโหยหาคุณความดี แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีความไม่ไว้วางใจกันอยู่มาก ไม่เชื่อว่าผู้อื่นก็ทำความดีได้เหมือนกัน ใช่ว่าตัวเองจะทำเป็นคนเดียวซะเมื่อไหร่

ในสถานการณ์ที่มีความไม่ไว้วางใจกัน แล้วตัวเองรวบความดีมาทำเสียเองคนเดียว ใครทำอะไรก็บ่นว่า ติติงไปหมดทุกอย่าง การทำแบบนี้นอกจากตัวเองจะทำไม่ไหวแล้ว ยังไม่สร้างกำลังใจให้คนที่พยายามจะทำดีอีกด้วย ในที่สุดก็กลายเป็นสังคมธุระไม่ใช่ ต่างคนต่างอยู่ พอมีเรื่องของส่วนรวม ก็โบ้ยไปให้ใครก็ไม่รู้ หาเหตุผลต่างๆนานาที่จะไม่ทำ (เพราะทำไม่ไหว ทำไม่เป็น ฯลฯ)

ฟังดูเป็นเหมือนการบ่น แต่ไม่ได้บ่นหรอกครับ ในนี้มีคำถาม ว่า “การทำดี” คืออะไร ใครได้ประโยชน์ ถูกใจใคร ทำเพื่ออะไร — ถ้าเรื่องนี้ไม่ชัด ก็ยากจะตัดสินได้ว่า “ดี” อะไร “ดี” อย่างไร แล้วก็ไปจบที่การชี้นิ้วเหมือนเดิม

« « Prev : คำนวณปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เก็บได้บนหลังคา

Next : เมืองไทยที่ไม่มีไฟฟ้า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 August 2009 เวลา 6:58

    เห็นนิ้วแล้วนึกขำ เพราะหลวงพี่รูปหนึ่ง (พวกเณรเรียก ตาหลวง) ชอบชี้สั่งโน้นสั่งนี้ เวลาทำอะไรอยู่ พอท่านเดินมา เณรเห็นก็จะบอกว่า “นิ้ววิเศษมาแล้ว…” แต่ท่านก็เป็นที่รักของบรรดาสามเณรพอสมควร…

    อาจารย์ท่านหนึ่งเคยเล่นสำนวนว่า “ไม่รู้ ไม่ชี้” ก็ดีไปอย่างหนึ่ง เบื่อแต่พวก “ไม่รู้ แต่ชี้” ... ซึ่งสังคมไทยก็มีพวกหลังนี้เยอะเหมือนกัน

    อนึ่ง ดี คือ อะไร ? เป็นแขนงหนึ่งที่ศึกษาอยู่ในจริยศาสตร์ เรียกว่า อภิจริยศาสตร์ (http://en.wikipedia.org/wiki/Meta-ethics) เคยเขียนเล่าไว้ ๔-๕ ตอน (ที่นี้ http://gotoknow.org/blog/bmchaiwut/175075) แต่ยังเขียนไม่จบ ทิ้งไว้ปีกว่าแล้ว…

    เจริญพร

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 August 2009 เวลา 10:36

    เรื่องการชี้นั้น ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่เริ่มต้นจากความปรารถนาดีครับ เพียงแต่บางทีอาจไม่จบด้วยดี ทำให้โกรธเคืองกันไป เช่นกรณีความเสื่อมของร่างกายพ่อแม่ ซึ่งผมอ้างหลายบันทึกจากสิงคาลกสูตรด้วยนะครับ แต่การชี้ที่ประสงค์ร้ายนั้น เป็นไปเพื่อปกป้องตัวเอง ให้คนอื่นไปรับเคราะห์แทนซึ่งจะเป็นกรรมติดตัวคนชี้ไป

    การชี้ที่ไม่รู้ ปัญหาอยู่ที่ไม่รู้ (ซึ่งก็ต้องนิยามก่อนว่า “รู้” คืออะไร) อาจเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้+เสนอความเห็นถึงความเป็นไปได้ทางหนึ่ง หรือเป็นความหลงก็ได้ครับ

    เมื่อมีผู้ชี้มา เป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับคำชี้แนะจะต้องพิจารณา เพราะว่าการชี้ที่ไม่รู้+ไม่ได้ประสงค์ดีนั้นเป็นอันตรายต่อตัวผู้ปฏิบัติเอง ผมจึงรู้สึกกระอักกระอ่วนกับการชี้สั่ง ในชีวิตที่ผ่านมา เนื่องจากหน้าที่การงาน+ความเชื่อใจที่ได้รับ เวลาผมพูดอะไร คนก็มักจะถือเป็นจริงจังเหมือนเป็นคำสั่ง จนต้องบอกกันไปทั่วในบริษัท ว่าถ้าใครนำชื่อผมไปอ้าง ขอให้ไม่เชื่อไว้ก่อน ถ้าเป็นคำสั่งของผมจริงๆ จะติดต่อโดยตรงหรือออกเป็นลายลักษณ์อักษร

    รู้แล้วชี้ — ดีที่สุด
    รู้แล้วไม่ชี้ — เพิกเฉย ละเลย อาจเกิดความเสียหาย
    ไม่รู้แล้วชี้ — แย่
    ไม่รู้ไม่ชี้ — อย่างน้อยก็ยังรู้ว่าไม่รู้อะไร

  • #3 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 August 2009 เวลา 22:31

    ทำดีไม่ยากหรอกครับ  แค่คิดว่าอะไรดีก็ทำไป
    ที่ยากคือทำแล้วอยากให้คนอื่นเห็นว่าดี……อันนี้คงยากจริงๆแหละครับ  อิอิ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 August 2009 เวลา 22:42
    ถ้าจะทำไปเลย ก็คงได้เฉพาะส่วนที่ทำได้คนเดียว หรือทำแล้วเกิดผลดีขึ้นบ้างครับ (ไม่เกี่ยวกับว่าเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ สำคัญว่าทำคนเดียวได้หรือไม่)

    แต่มีงานบางเรื่องที่ซับซ้อนเกินว่าคนคนเดียวจะทำได้ ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของคนเป็นจำนวนมาก เช่นการบริหารราชการ การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปสื่อ ฯลฯ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.13200283050537 sec
Sidebar: 0.13523817062378 sec