ถ้าเมืองไทยเป็นรัฐที่ล้มเหลว

อ่าน: 4931

วิกิพีเดีย ให้ความหมายของ “รัฐที่ล้มเหลว” ไว้ว่า

รัฐที่ล้มเหลว หรือ (ภาษาอังกฤษ:Failed State) หมายถึง รัฐ ที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้

คำว่า Failed State ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้หลายครั้งโดยประเทศที่เรียกตัวเองว่า รัฐที่เจริญแล้ว (Enlightened State) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง โดยอ้างว่าทำไปเพื่อปกป้องประชาชนของรัฐที่ล้มละลาย รัฐอันธพาล (Rogue State) หรือรัฐก่อการร้าย (Terrorist State) โดยวิธีการที่อาจจะผิดกฎหมายแต่ก็มีความชอบธรรม (Illegal but Legitimate)

โดยมีตัวชีวัด 12 ข้อ ดังนี้

ตัวชี้วัดทางสังคม

1. แรงกดดันทางประชากรศาสตร์ 2. การย้ายถิ่นฐานของประชาชน 3. กรณีความขัดแย้งของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งเป็นผลจากความไม่พอใจในอดีต 4. ปัญหาการไหลออกของทุนมนุษย์ (สมองไหล)

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

5. ความไม่แน่นอนของการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ : โดยพิจารณาถึงความไม่เสมอภาคของประชากร (ความเหลื่อมล้ำ) ซึ่งสามารถเห็นได้จากโอกาสทางการศึกษา การงาน และสถานะทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสามารถวัดได้โดยตัวเลขกลุ่มคนยากจน อัตราการเกิดการตาย หรือระดับการศึกษา 6. ความชัดเจน และ/หรือ ความรุนของการถดถอยของเศรษฐกิจ

ตัวชี้วัดทางการเมือง

7. การปกครองของรัฐที่ไร้ความเป็นธรรม 8. ความเสื่อมถอยของการให้บริการสาธารณะ 9. การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่แพร่หลาย 10. การใช้เครื่องมือที่ใช้รักษาความมั่นคง ที่เรียกว่า ‘State within a state’: เป็นลักษณะการปรากฏตัวของกลุ่มอำนาจสูงสุดของรัฐ โดยอาศัยการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่คุกคามฝ่ายตรงข้าม หรือพลเรือนที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐ หรือมีความเห็นที่สนับสนุนกลุ่มตรงข้ามรัฐ เปรียบกับการสร้าง “กลุ่มกองกำลังภายในกองกำลังเดียวกัน” เพื่อรับใช้แสวงหาผลประโยชน์ให้กับกองทัพหรือกลุ่มการเมือง ซึ่งในที่สุดจะก่อให้เกิดกลุ่มต่อต้านทั้งในรูปของทหารพลเรือน กองโจร กองกำลังเอกชนติดอาวุธ หรือการใช้ปฏิบัติการต่างๆ ที่ทำให้ความรุนแรงแผ่ขยายออกไป เพื่อต่อต้านกับกองกำลังของรัฐ 11. การก่อตัวของกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิด 12. การแทรกแซงกิจการภายในจากรัฐอื่น หรือปัจจัยภายนอก

อ่านต่อ »


เผชิญหน้าอย่างใกล้ชิด

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 January 2010 เวลา 19:58 ในหมวดหมู่ อาหาร ท่องเที่ยว กีฬา นันทนาการ #
อ่าน: 3152

การแสดงดอกไม้ไฟ วันเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2552 ไม่มีอะไรหรอกครับ เพิ่งเอาขึ้น YouTube ก็เลยเอามาให้ดู

สังเกตพอดอกไม้ไฟจุดไปได้สักพัก มีเสียงกันขโมยรถยนต์ทำงาน แม้สิ่งต่างๆ ทำงานไปตามที่ควรจะเป็น ผลลัพธ์ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ดังนั้นก็อย่ามองอะไรผิวเผินแค่ผลลัพธ์หรือ KPI

อ่านต่อ »


ไปเที่ยว

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 January 2010 เวลา 22:45 ในหมวดหมู่ อาหาร ท่องเที่ยว กีฬา นันทนาการ #
อ่าน: 3787

ปิดบล็อกไปเที่ยวกับพ่อแม่หลายวันครับ กลับวันจันทร์

นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-น่าน


หนาวก็ไม่หนาว ยังไม่ทันไร จะแล้งอีกแล้ว

อ่าน: 4124

ทำอย่างไรจึงจะสร้างเมฆได้ ไม่มีเมฆก็ไม่มีฝน ไม่มีฝน คนเดือดร้อน

น้ำ 97% เป็นน้ำทะเล ที่เหลือเป็นน้ำจืด 3%
ในปริมาณน้ำจืดทั้งหมด เป็นหิมะ 68.7% เป็นน้ำใต้ดิน 30.1% น้ำผิวดิน 0.3% และอื่นๆอีก 0.9%
ในบรรดาน้ำผิวดินทั้งหมด อยู่ในทะเลสาบ 87% ในบีงชุ่มน้ำ 11% และในแม่น้ำ 2%

แล้วเวลาแล้ง เราพึ่งอะไรครับ เมืองไทยจัดหาน้ำจืดกันอย่างไร? ผมเพิ่งกลับมาจากเมืองท่องเที่ยว มีทะเลล้อมรอบ แต่ไม่มีน้ำ บางทีแล้งจัดๆ ขายน้ำจืดกันคิวละร้อยบาท!


แผน ICT2020

อ่าน: 4176

เมื่อวานไปร่วมแสดงความคิดเห็นใน ICT2020 : High-level Expert Roundtable เจอ อ.หมอวิจารณ์ อ.แหวว/สสสส.1 และคนคุ้นเคยในวงการไอทีที่ทำเรื่องทางสังคมอีกประมาณครึ่งโหล และที่ไม่รู้จักสองโหล

ด้วยความที่มีเรื่องอึดอัดใจที่เกี่ยวกับการใช้งานไอซีทีในการพัฒนา และในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป อยู่หลายเรื่อง ผมก็เลยล่อไปหลายดอกครับ อิอิ ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ความผิดของคนทำแผนหรอก คนทำแผนกับคนปฏิบัติเป็นคนละหน่วยงานกัน มีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน

ประเด็นที่คุยกัน ก็น่าฟังทั้งนั้น จนสงสัยว่าจะใส่เข้าไปหมดได้ยังไง…

ไม่เป็นไร… ผมดีใจที่คนทำแผนเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป โดยไม่เชื่อแต่ผู้เชี่ยวชาญ หรือคิดเอาเองนะครับ ในเมื่อเปิดโอกาสแล้ว ใครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาไอซีทีของเมืองไทย ก็ขอให้ช่วยกันออกความเห็นหน่อยนะครับ อย่าเอาแต่บ่นเลย มีโอกาสแล้ว ใช้ให้คุ้มค่านะครับ

ในโอกาสที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) คณะทำงานฯ เห็นความสำคัญของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดทำ เอกสารดังกล่าว จึงได้เปิดเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคณะทำงานฯ และประชาชนทั่วไปในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดทำ ICT2020 นี้…

ขอความคิดเห็นเพื่อกำหนดภาพ ICT ของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า


เฮระลึกชาติ ที่เลย (2)

อ่าน: 4684

วันที่ 25 เดิมคิดว่าจะทำพิธีอะไรต่างๆ ตอนเช้า แต่ยังไงก็ไม่รู้เปลี่ยนไปทำตอนเย็น เช้าก็เลยไปเที่ยวกัน ได้แม่ลำไยซึ่งเป็นเจ้าถิ่นพาเที่ยว ไปน้ำตกเพียงดิน วัดอะไรสักอย่าง (จดชื่อไว้ใน GPS) สวนหินผางาม (คุนหมิงเมืองไทย) น้ำตกสวนห้อม ถ้ำโพธิสัตว์ แล้วก็ไปกินข้าวกันในอำเภอหนองหิน

จากนั้นแยกย้ายกันอาบน้ำพักผ่อน แล้วทำพิธีต่างๆ บันทึกรูปและวิดีโอไว้ให้ครูบา แต่ส่วนนั้นไม่มีอยู่ในสไลด์โชว์ข้างล่างครับ เป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งจะให้ใครดูหรือไม่ให้ใครดู ก็แล้วแต่ครูบา — นับว่าวัตถุประสงค์ในการมาครั้งนี้ ก็บรรลุไปอีกอย่างหนึ่ง สังเกตได้ว่าใครต่อใคร มีกำลังใจดีขึ้นทั้งนั้น — ทริปนี้ไม่หนักเกินไปแม้แต่ตอนไปเที่ยว เพราะรู้สภาพอยู่ว่า ห้าคนร่วมสามร้อยปี อะไรไม่ไหวก็ข้ามไป

สไลด์โชว์ชุดนี้ ไม่มีเรื่องลับ แต่มี…ลับ (แล้วแต่จะคิดกันครับ)

อ่านต่อ »


เฮระลึกชาติ ที่เลย (1)

อ่าน: 3388

มาจังหวัดเลยเที่ยวนี้ ไม่ได้มาเที่ยวหรอกครับ มีหลายวัตถุประสงค์ที่จะออกจากพื้นที่ปลอดภัย (บ้าน) มาเหนื่อย มาลำบาก ก็นับได้ว่าได้เห็นเรื่องแปลกประหลาดต่างๆ มากมาย จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ ผมไม่เล่าอยู่ดี ฮี่ฮี่ ของอย่างนี้ต้องมาดูเอง พิจารณาเอง

เช้าวันที่ 24 ไปรับครูบากับแม่หวี แล้วไปรับป้าจุ๋ม ออกเดินทางมา อ.หนองหิน จ.เลย ระยะทางประมาณ 560 กม. มาถึงเอาบ่ายแก่ๆ หลงที่นัดหมายกันนิดหน่อย นัดที่ป้อมตำรวจ แต่ไม่ได้บอกว่าป้อมไหน บอกว่าอยู่บ้านหลักร้อย ที่จริงชื่อบ้านหลักร้อยหกสิบ นัดที่หนองหิน แต่ไม่บอกว่าตำบลหนองหิน หรืออำเภอหนองหิน เฮ้อ อิอิ มี GPS ไป ยังไงก็ไม่หลง (แต่เลย เพราะมาเลย)

ในที่สุดก็ได้เจอ แล้วเราก็เข้าไปบ้านแม่ลำไย-พ่อสุวรรณ เกษตรกรท้องถิ่น แม่ลำไยเป็นวิทยากรของจังหวัด มีความรู้เรื่องสมุนไพรเป็นอย่างดี(มาก) สุขภาพแ็ข็งแรง ปฏิบัติธรรม ก็รู้สึกเป็นคนใจดีครับ ภาษาถิ่นฟังพอเข้าใจแม้ไม่ 100% เวลามีศัพท์ยากๆ ป้าจุ๋มกรุณาอธิบายให้ฟัง

อ่านต่อ »


รถไฟกับระบบเศรษฐกิจ

อ่าน: 4587

เรื่องรถไฟนี้ มีนักคิดวิจารณ์เอาไว้มาก แต่ก็มีประเด็นที่คิดว่ายังไม่มีการแตะต้องอีกครับ

เป็นที่แน่นอนว่ากิจการรถไฟ บริหารทรัพย์สินได้แย่มาก อยู่ในสภาวะที่กู้เพิ่มมาปรับปรุงกิจการไม่ได้ จึงมีแต่จะเสื่อมลงเรื่อยๆ แต่การหาเงินมาปรับปรุงกิจการไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าทำอะไรไม่ได้ เพราะการรถไฟแห่งประเทศไทย ยังมีที่ดิน มีสิทธิในบริเวณสถานีอยู่ ตรงนี้ผมกลับคิดว่าเป็นโอกาสมากกว่าครับ จะได้ไม่ต้องสูญเสียไปกับภัยจากผู้มีอำนาจ

ในส่วนของทรัพย์สิน นอกจากที่ดินที่ทำได้ไม่ดีจนน่าสงสัยแล้ว การรถไฟยังมี

  • ราง ซึ่งเปิดให้เอกชนมาเช่าช่วงได้ เชื่อว่า utilization ของราง มีไม่ถึงร้อยละ 0.1 จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก แม้ว่าน่าจะตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว แต่การใช้งานทรัพย์สินหลักที่ต่ำมากขนาดนี้ ยากที่จะกอบกู้กิจการได้ — ให้เอกชนเดินรถเอง ลงทุนเอง ทำตลาดเอง การรถไฟ เก็บค่าต๋ง
  • การวางราง จะต้องระวังผลกระทบต่อการไหลของน้ำในธรรมชาติ และการผ่านเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติครับ
  • การขนส่งสินค้า เดิมทีตั้งแต่สมัยที่ยังมี องค์การ รสพ. กฏหมายกำหนดไว้ว่าสิทธิในการขนสินค้าขึ้น/ลงรถไฟ เป็นของ รสพ. แต่ผู้เดียว แต่ในปัจจุบัน รสพ. ยุบไปแล้ว (เอาที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ รสพ. กลางเมืองหลวง ไปสร้างเป็นโรงแรมที่นักการเมืองไปใช้บริการบ่อย) หากเพิ่มความถี่ในการเดินรถ/เพิ่ม utilization ของรางขึ้นได้ ก็สามารถใช้รถไฟขนพัสดุ/สินค้าระหว่างภูมิภาคได้ด้วยต้นทุนขนส่งที่ต่ำกว่า ลดภาระการซ่อมบำรุงรักษาถนนหลวง ลดอุบัติเหตุที่มีรถบรรทุกใหญ่มาเกี่ยวข้อง — ขอเงินสนับสนุนบางส่วนจาก กรมทางหลวงชนบท/สสส. (ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร)
  • ธุรกิจประกอบรถบัส แปลงเป็นธุรกิจสร้าง/บำรุงรักษาโบกี้รถไฟเอกชน
  • สร้างศูนย์กระจายสินค้า สร้างบนที่ดินของรถไฟสร้างได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า
  • รับขนส่งพัสดุไปรษณีย์ร่วมกับไปรษณีย์ไทย รุกเข้าธุรกิจโลจิสติกส์อย่างจริงจังเสียที
  • เส้นทางใหม่ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมจึงมองแต่การสร้างระบบขนส่งที่ใช้ราง ในกรุงเทพและปริมณฑล แทนที่จะลงทุนเส้นมุกดาหาร-กาฬสินธุ์-ขอนแก่น-หล่มสัก-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด ซึ่งจะทำให้การเดินทางและขนส่งสินค้า สะดวกขึ้นมากครับ
    • เชื่อมโยงภาคอีสาน กับภาคเหนือ ที่พิษณุโลก
    • แม้เริ่มต้นเฟสแรก มุกดาหาร-ขอนแก่น ก็จะสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนให้- และขายสินค้าเข้าไปในลาว โดยเส้นทาง หนองคาย-อุดร-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร
    • การสำรวจเส้นทาง การก่อสร้างสถานี การวางราง/อุตสาหกรรมเหล็ก มีการจ้างงานรองรับคนตกงานทันที
    • อสังหาริมทรัพย์ใกล้สถานีรถไฟเติบโตขึ้น เพราะคนใช้รถไฟเข้าออกเมืองได้ ไม่ต้องไปอัดกันอยู่ในเมือง เด็กไปเรียนไกลๆ ก็ได้ประโยชน์ในทำนองเดียวกัน ไม่ต้องออกจากบ้านไปอยู่หอพัก
    • เกษตรกรตามเส้นทางรถไฟ มีช่องทางกระจายสินค้ามากขึ้น แทนที่จะรอนายทุนรายใหญ่ กว้านซื้อผลผลิตในราคาต่ำ
    • เกิดธุรกิจแท็กซี่/สองแถว/สามล้อ/เช่ารถ รอบๆ สถานีรถไฟ ซึ่งการรถไฟอาจมีผลประโยชน์จากการจัดการ ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไกลๆ

ผมไม่ค่อยตื่นเต้นกับรถไฟความเร็วสูงนักหรอกครับ ของนำเข้า จะบำรุงรักษาก็ยังต้องนำเข้าอีก


สรุปทริปเบิกโรงวัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ ลำพูน

อ่าน: 5370

เรื่องนี้ คงจะเริ่มต้นขึ้นที่คุณอมรา พวงชมพู กรรมการผู้จัดการบริษัทสยามแฮนด์ จำกัด เจ้าของเสื้อแบรนด์ “แตงโม” ซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๑ ได้เจอกับครูบา ในงานวันระพีเสวนาครั้งที่ 2/2552 ป้าจุ๋มก็อยู่ด้วย คุยไปคุยมาก็ไปถึงเรื่องอรรถประโยชน์ของต้นเอกมหาชัย คุณอมราอยากได้ไปปลูกที่วัดพระบาทห้วยต้ม สองพันต้น ก็เลยมีอันจะต้องไปดูสถานที่ บอกกล่าววิธีเตรียมหลุม ระยะห่าง การใส่ปุ๋ยเพื่อเตรียมหลุม ฯลฯ ซึ่งนั่นเป็นที่มาหลักของทริปนี้ครับ; เรื่องอื่นเป็นเรื่องรองทั้งนั้น ทั้งเส้นทางเถิน-ลี้ ทั้งดอยอินทนนท์ ทั้งร้านถนอมโภชนา ทั้งกิ๊ก (สองอันหลังนี่ หลุดออกมาทีหลัง ฮี่ฮี่ฮี่)

โรงงานเสื้อแตงโม

โรงงานเสื้อแตงโมนั้น กระจายอยู่ทั่วไป สร้างงานให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีโอกาส (เช่นที่นราธิวาส) เป็นโรงงานที่ไม่มีเวลาเข้างาน อยากจะมาทำตอนไหนก็มา ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย โดนใจผมมากครับ คนเราอยากได้อะไร ต้องหาเอา (earn) จะมัวนั่งรอสิ่งที่ต้องการไม่ได้ ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องทำไม่เหมือนเดิม กรีดยางแล้วมาเย็บเสื้อก็ยังได้ ดีกว่าอยู่กับบ้านเฉยๆ

กับการทำงานเป็นลำดับชั้นที่เราคิดกันว่า “เป็นระบบ” นั้น เป็นการเคารพความรู้ความชำนาญในตัวคนแค่ไหน การที่หัวหน้าใหญ่สั่งการบ้าๆบอๆ แถมบางทีทำเพื่อตัวเองนั้น ดีกับสังคมนั้นอย่างไร หากทุกๆคนในสังคมนั้น มีส่วนช่วยกันร่วมสร้างสังคมนั้นขึ้นมา มากบ้างน้อยบ้าง เขาแต่ละคนได้รับโอกาสอย่างยุติธรรมหรือไม่

หรือว่า “พอไม่โปรด ก็เลยแป็ก” เป็นเรื่องที่ยุติธรรมแล้ว

อ่านต่อ »


เที่ยวสวรรค์วันเสาร์

อ่าน: 3376

วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่จะเที่ยวลำพูน ขอขอบคุณในน้ำใจไมตรีของเจ้าภาพเมืองลำพูนและเชียงใหม่ครับ วันที่ 20-21 เดือนหน้า จะมาถล่มอีก (อาจมาก่อนด้วย)

วันนี้พี่สร้อยขับรถมาจากเชียงใหม่ตั้งแต่เช้า แล้วมีหลานป๊อกกี๊ (เด็กหญิงเสื้อสีส้ม) กับหลานแพร (เด็กหญิงเสื้อสีแดง) ร่วมทางไปด้วย

เรื่องของเรื่องคือจะไปเที่ยวดอยอินทนนท์กันครับ ผ่านไปทางสันป่าตอง เลยแวะตลาดนัดทุ่งสวนบด เดิมเคยเป็นตลาดนัดวัว ภายหลังก็มีของอื่นมาขายด้วย แต่ตอนที่เราไปนั้นฝนตก ตลาดนัดก็เปลี่ยนเป็นตลาดน้ำ การเดินกางร่มดูของกลางฝนโดยไม่มีเป้าหมาย ทำให้รู้สึกแปลกดี

ตลอดทาง มีฝนประปราย แต่พอจะลงดู ฝนหยุดทุกที แถมมีแดดออกด้วย เลยมีแสงให้ถ่ายรูปสวยๆได้ สิบเอ็ดโมงครึ่งแวะที่น้ำตกวชิรธาร บ่ายโมงขึ้นไปถึงระดับเมฆ ขึ้นถึงยอดตอนบ่ายโมงครึ่ง ความสูง 2565.3341 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดนขู่ไว้เยอะว่าจะหนาว เอาเข้าจริงไม่หนาวเลย

ลงมากินข้าวซอยรสเด็ดริมถนนแถว อ.จอมทอง (อร่อยจริง) แวะสวนพลอยไพลิน ดูงานหล่อหิน แล้วก็ไปหา “แมงมัน” ให้ครูบาดู

เสร็จแล้ว ครูบาพาไปเลี้ยง (และรำลึกความหลัง) ที่ถนอมโภชนา

ถึงโรงแรมสองทุ่มครึ่ง เป็นสถิติใหม่

แล้วมันสวรรค์ยังไงล่ะ ผมก็อธิบายไม่ถูก ดูเอาเองก็แล้วกันครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.060399055480957 sec
Sidebar: 0.12899494171143 sec