รถไฟกับระบบเศรษฐกิจ

อ่าน: 4443

เรื่องรถไฟนี้ มีนักคิดวิจารณ์เอาไว้มาก แต่ก็มีประเด็นที่คิดว่ายังไม่มีการแตะต้องอีกครับ

เป็นที่แน่นอนว่ากิจการรถไฟ บริหารทรัพย์สินได้แย่มาก อยู่ในสภาวะที่กู้เพิ่มมาปรับปรุงกิจการไม่ได้ จึงมีแต่จะเสื่อมลงเรื่อยๆ แต่การหาเงินมาปรับปรุงกิจการไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าทำอะไรไม่ได้ เพราะการรถไฟแห่งประเทศไทย ยังมีที่ดิน มีสิทธิในบริเวณสถานีอยู่ ตรงนี้ผมกลับคิดว่าเป็นโอกาสมากกว่าครับ จะได้ไม่ต้องสูญเสียไปกับภัยจากผู้มีอำนาจ

ในส่วนของทรัพย์สิน นอกจากที่ดินที่ทำได้ไม่ดีจนน่าสงสัยแล้ว การรถไฟยังมี

  • ราง ซึ่งเปิดให้เอกชนมาเช่าช่วงได้ เชื่อว่า utilization ของราง มีไม่ถึงร้อยละ 0.1 จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก แม้ว่าน่าจะตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว แต่การใช้งานทรัพย์สินหลักที่ต่ำมากขนาดนี้ ยากที่จะกอบกู้กิจการได้ — ให้เอกชนเดินรถเอง ลงทุนเอง ทำตลาดเอง การรถไฟ เก็บค่าต๋ง
  • การวางราง จะต้องระวังผลกระทบต่อการไหลของน้ำในธรรมชาติ และการผ่านเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติครับ
  • การขนส่งสินค้า เดิมทีตั้งแต่สมัยที่ยังมี องค์การ รสพ. กฏหมายกำหนดไว้ว่าสิทธิในการขนสินค้าขึ้น/ลงรถไฟ เป็นของ รสพ. แต่ผู้เดียว แต่ในปัจจุบัน รสพ. ยุบไปแล้ว (เอาที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ รสพ. กลางเมืองหลวง ไปสร้างเป็นโรงแรมที่นักการเมืองไปใช้บริการบ่อย) หากเพิ่มความถี่ในการเดินรถ/เพิ่ม utilization ของรางขึ้นได้ ก็สามารถใช้รถไฟขนพัสดุ/สินค้าระหว่างภูมิภาคได้ด้วยต้นทุนขนส่งที่ต่ำกว่า ลดภาระการซ่อมบำรุงรักษาถนนหลวง ลดอุบัติเหตุที่มีรถบรรทุกใหญ่มาเกี่ยวข้อง — ขอเงินสนับสนุนบางส่วนจาก กรมทางหลวงชนบท/สสส. (ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร)
  • ธุรกิจประกอบรถบัส แปลงเป็นธุรกิจสร้าง/บำรุงรักษาโบกี้รถไฟเอกชน
  • สร้างศูนย์กระจายสินค้า สร้างบนที่ดินของรถไฟสร้างได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า
  • รับขนส่งพัสดุไปรษณีย์ร่วมกับไปรษณีย์ไทย รุกเข้าธุรกิจโลจิสติกส์อย่างจริงจังเสียที
  • เส้นทางใหม่ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมจึงมองแต่การสร้างระบบขนส่งที่ใช้ราง ในกรุงเทพและปริมณฑล แทนที่จะลงทุนเส้นมุกดาหาร-กาฬสินธุ์-ขอนแก่น-หล่มสัก-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด ซึ่งจะทำให้การเดินทางและขนส่งสินค้า สะดวกขึ้นมากครับ
    • เชื่อมโยงภาคอีสาน กับภาคเหนือ ที่พิษณุโลก
    • แม้เริ่มต้นเฟสแรก มุกดาหาร-ขอนแก่น ก็จะสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนให้- และขายสินค้าเข้าไปในลาว โดยเส้นทาง หนองคาย-อุดร-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร
    • การสำรวจเส้นทาง การก่อสร้างสถานี การวางราง/อุตสาหกรรมเหล็ก มีการจ้างงานรองรับคนตกงานทันที
    • อสังหาริมทรัพย์ใกล้สถานีรถไฟเติบโตขึ้น เพราะคนใช้รถไฟเข้าออกเมืองได้ ไม่ต้องไปอัดกันอยู่ในเมือง เด็กไปเรียนไกลๆ ก็ได้ประโยชน์ในทำนองเดียวกัน ไม่ต้องออกจากบ้านไปอยู่หอพัก
    • เกษตรกรตามเส้นทางรถไฟ มีช่องทางกระจายสินค้ามากขึ้น แทนที่จะรอนายทุนรายใหญ่ กว้านซื้อผลผลิตในราคาต่ำ
    • เกิดธุรกิจแท็กซี่/สองแถว/สามล้อ/เช่ารถ รอบๆ สถานีรถไฟ ซึ่งการรถไฟอาจมีผลประโยชน์จากการจัดการ ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไกลๆ

ผมไม่ค่อยตื่นเต้นกับรถไฟความเร็วสูงนักหรอกครับ ของนำเข้า จะบำรุงรักษาก็ยังต้องนำเข้าอีก

« « Prev : อนามัยในการนอน

Next : เจ้าเป็นไผ ๑: เครือข่ายมนุษย์ จิตใจและสมอง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 June 2009 เวลา 9:47

    อ่านจบก็คิดจะผ่าน พอดีนึกถึงเรื่องเล่าในวัดได้…

    ท่านมหาฯ (หนุ่ม) “หลวงพ่อขอรับ เกล้าคิดว่าเรื่อง……. น่าจะเปลี่ยนเป็น…. และที่….. ควรจะปรับปรุงเป็น…. ”
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ (…) ” อืมมม ! … ความคิดเห็นของท่านมหาฯ ดี ! ยอดเยี่ยม ! … แต่ให้เราตายเสียก่อน”

    เจริญพร

  • #2 mk ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 June 2009 เวลา 10:13

    พ่อผมเล่าว่า มีรถไฟสายกรุงเทพ-อีสานขบวนหนึ่ง (ไม่แน่ใจว่าไป จ. อะไร) เคยให้เอกชนรับช่วงไปดูแล ปรากฎว่ากิจการดีมาก แต่สุดท้ายต้องเลิกไปเพราะโดนสหภาพ รฟท. ไม่พอใจครับ น่าเศร้าจริงๆ

  • #3 ลานซักล้าง » Megalopolis ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 July 2009 เวลา 0:09

    [...] รถไฟกับระบบเศรษฐกิจ [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.7876398563385 sec
Sidebar: 0.62298393249512 sec