ร้อยคำที่ควรรู้
อ่าน: 5219หนังสือร้อยคำที่ควรรู้ โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ เป็นหนังสือน่าอ่านครับ
คำนำ
วันนี้เรามักได้ยินคำจำนวน มากที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือไม่ค่อยเข้าใจ ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรจริงๆ คำเหล่านี้เป็นศัพท์ ศัพท์เป็นภาษา ภาษาเป็นความคิด ความคิดเป็นชีวิต คนคิดด้วยภาษา เกิดการเปลี่ยนแปลง มีคำใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
เหมือน ไก่กับไข่ที่ไม่ทราบว่าอะไรเกิดก่อน ความคิดเปลี่ยน คนเปลี่ยน ภาษาเปลี่ยน โลกเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน เหล่านี้ล้วนมีปฏิสัมพันธ์กัน ถ้าจะรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกต้องรู้ภาษาที่กำลังพูดกันในโลกวันนี้
ภาษา แต่ละภาษามีรหัส ภาษาโลกที่เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วนี้มีความซับซ้อน ต้องการกุญแจไขรหัส คำหลายคำเป็นกุญแจไขรหัสดังกล่าว ร้อยกว่าคำที่คัดเลือกมาหาความหมายในหนังสือเล่มเล็กนี้เป็นคำหลัก หรือ “คำกุญแจ” (keywords) ที่น่าจะช่วยไขปริศนาความหมายของอะไรหลายอย่างที่กำลังเป็นประเด็นหลักๆ ของโลกวันนี้
ภาษาเป็นอำนาจ ใครเข้าถึงภาษาเข้าถึงอำนาจ ใครกำหนดภาษาคนนั้นมีอำนาจ ภาษามีพลังอำนาจที่เราสามารถเข้าถึงและหามาได้ด้วยการเรียนรู้ ด้วยการเป็นเจ้าของและคุมภาษานั้น ซึ่งเท่ากับเป็นเจ้าของชีวิต ไม่ใช่วิ่งตามคนที่กำหนดชีวิตของเรา
ยังมีคำกุญแจอีกมากมายที่ไม่ได้ รวมไว้ในที่นี่ ที่แต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละชุมชนและสังคมเป็นผู้ค้นคิดและกำหนดเอง ถ้าหนังสือเล่มน้อยนี้ช่วยให้ผู้คนในสังคมและชุมชนพูดจาภาษาสมัยใหม่ด้วย ความเชื่อมั่นมากขึ้น ด้วยความเข้าใจและรู้ทันสิ่งที่ใครๆ เขาพูดกัน ก็ถือว่าได้บรรลุเป้าหมายแล้ว
ขอขอบคุณทุกคนที่ได้มีส่วนช่วยให้ เกิดหนังสือเล่มนี้ สอนให้รู้ “ภาษา” ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้ พ่อแม่พี่น้อง ครูบาอาจารย์ เพื่อนร่วมงาน ผู้นำชุมชน พี่น้องชาวบ้าน พร้อมทั้ง “ครู” นิรนามทั้งหลายที่ให้ความรู้ความเข้าใจ ไขปริศนาด้วยกุญแจที่ทุกท่านได้ให้มา
เสรี พงศ์พิศ
กรุงเทพฯ
23 ตุลาคม 2547
สารบัญ
กระบวนการ (Process)
ผลลัพธ์ (Output)
ผลสัมฤทธิ์ (Outcome)
กระบวนทัศน์ (Paradigm)
การพัฒนายั่งยืน (Sustainable Development)
การพึ่งตนเอง (Self-reliance)
การวิเคราะห์ (Analysis)
การสังเคราะห์ (Synthesis)
การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
การคิดแบบสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
การคิดแบบเส้นตรง (Linear Thinking)
การแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine)
การแพทย์เสริม (Complementary Medicine)
การแพทย์องค์รวม (Holistic Medicine)
สุขภาพองค์รวม (Holistic Health)
ธรรมชาติบำบัด (Natural Healing)
การมีส่วนร่วมของประชาชน
การวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning)
แผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan)
เกษตรผสมผสาน (Integrated Agriculture)
ไร่นาสวนผสม
เกษตรธรรมชาติ (Natural Farming)
วนเกษตร (Forest Agriculture)
เกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture)
เกษตรมั่นคง (Permaculture)
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming)
ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer)
ปุ๋ยชีวภาพ (Bio-fertilizer)
ขบวนการทางสังคม (Social Movement)
สถาบัน (Institution)
องค์กรประชาชน (People’s Organization)
องค์กรชุมชน (Community-based Organization)
คลัสเตอร์ (Cluster)
คลัสเตอร์อุตสาหกรรม
คลัสเตอร์วิสาหกิจชุมชน
คืนสู่รากเหง้า (Back to the Roots)
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
พันธุกรรม (Gene)
ดีเอ็นเอ (DNA)
จีโนม (Genome)
การตัดต่อพันธุกรรม (GMO)
อาหารจีเอ็ม (GM food)
เครดิตยูเนียน (Credit Union)
เครือข่าย (Network)
จิตวิญญาณ (Spirit)
จิตสำนึก (Awareness)
จิตสาธารณะ (Public Mind)
จีดีพี (GDP ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ)
จีดีเอช (GDH ตัวชี้วัดความสุข)
ชุมชน (Community)
ชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community)
ประชาสังคม (Civil Society)
เอ็นจีโอ (NGOs)
ประชาคม (Community)
ซีอีโอ (CEO)
ทุนนิยม (Capitalism)
เศรษฐกิจตลาด (Market Economy)
เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม (Socialist Market Economy)
จักรวรรดินิยม (Imperialism)
การค้าเสรี (Free Trade)
ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
ทุนชุมชน
ทุนทางสังคม (Social Capital)
ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)
ทุนเฉพาะบุคคล (Individual Capital)
ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)
ทุนมนุษย์ (Human Capital)
สัญญาประชาคม (Social Contract)
ธรรมาภิบาล (Good Governance)
ธรรมาภิบาลบรรษัท (Corporate Governance)
นวัตกรรม (Innovation)
การทำลายที่สร้างสรรค์ (Creative Destruction)
นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
นิเวศวิทยา (Ecology)
ระบบนิเวศ (Ecosystem)
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism)
บริโภคนิยม (Consumerism)
บูรณาการ (Integration)
การวางแผนพัฒนาแบบบูรณาการ (IDP)
บริบท (Context)
ประชาพิจารณ์ (Public Hearing)
ประชาพิจัย (PR&D)
แผนแม่บทชุมชน
ปราชญ์ชาวบ้าน
ปรัชญา (Philosophy)
ป่าชุมชน
ผู้เกื้อกระบวนการ (Facilitator)
ผู้เชื่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Catalyst)
ผู้เชื่อมเครือข่าย (Networker)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พลวัต (Dynamic)
พลังร่วม (Synergy)
โพสต์ โมเดิร์น (Postmodernism)
ภาคี พันธมิตร หุ้นส่วน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาสากล
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบอุปถัมภ์ (Patron-client System)
โลกาภิวัตน์ (Globalization)
ท้องถิ่นนิยม (Localism)
โลกาเทศาภิวัตน์ (Glocalization)
ชุมชนนิยม (Communitarianism)
วัตถุนิยม (materialism)
วัตถุนิยมวิภาษ (Dialectic Materialism)
วิภาษวิธี (Dialectic)
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
วิสาหกิจชุมชน (SMCE)
วิสัยทัศน์ (Vision)
ศักยภาพ (Potential)
เศรษฐกิจชุมชน
เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economics)
สปา (Spa)
สหกรณ์ (Cooperative)
สวัสดิการชุมชน (Community Welfare)
สังคมนิยม (Socialism)
คอมมิวนิสม์ (Communism)
สงครามเย็น (Cold War)
สิทธิมนุษยชน (Human Right)
องค์รวม (Holistic, Holism)
องค์การสหประชาชาติ (UN)
องคาพยพ (Organism)
อนาธิปัตย์ (Anarchism)
อหิงสา (Non-violence)
อัตลักษณ์ (Identity)
เอดส์ (HIV/AIDS)
« « Prev : ปราชญ์ชาวบ้าน…ลึกซึ้งถึงแก่นของเศรษฐกิจพอเพียง
Next : กังหันน้ำก้นหอย (1) » »
2 ความคิดเห็น
อาจารย์เสรีเคยชวนผมไปร่วมก่อตั้งมูลนิธิหมู่บ้านสมัยนู้น แต่ผมไม่มีเงื่อนไขที่ดีพอจึงพลาดไป
งานเขียนของอาจารย์ติดอันดับหนังสือขายดีในวงการพัฒนามากทีเดียว
เล่มใหม่นี้ เห็นสารบัญแล้วก็น่าสนใจยิ่งนักครับ
ขออนุญาตให้ความเห็นด้วย
identity น่าจะใช้ว่า รูปพรรณ
ส่วนคำว่า อัตลักษณ์ ควรจะเป็น Logo นะครับ