ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (4)

อ่าน: 3761

บันทึกนี้ ต่อจากตอนที่ 3

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 23-24 ที่จะถึงนี้ จะมีงาน BarCamp Bangkok ครั้งที่ 4 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน

งาน BarCamp เป็นงานชุมนุม geek จะมีผู้ที่มีความรู้ทางไอที มารวมกันเพื่อแลกเปลี่ยนแง่คิด มุมมอง ประสบการณ์ และเป็นโอกาสที่จะระดมสรรพกำลัง ไปร่วมกันทำงานที่มีประโยชน์

ในงานนี้ สปอนเซอร์รายหนึ่งบอกว่าจะจัด Crisis Camp ระดมคนทำงานเรื่องข้อมูลเชิงแผนที่ของวิกฤตการณ์ครั้งนี้

@thaiflood “ตลาดนัดจิตอาสาช่วยเหลือภัยพิบัติ” เสาร์-อาทิตย์ 23-24 นี้ (ข้ามคืน) ที่ม.ศรีปทุมบางเขน

ที่มา twitter

ผมคงไปร่วมไม่ได้หรอกครับ สวนป่ามีอบรมนักศึกษาจากคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชนกันพอดี ก็ไปช่วยไม่ได้เลย ดังนั้นบันทึกนี้ ก็จะพยายามเรียบเรียงแง่คิดมุมมอง และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติเอาไว้ หวังว่าจะมีใครได้ประโยชน์บ้าง ส่วนเกี่ยว-ไม่เกี่ยว ทำ-ไม่ทำ ใช่-ไม่ใช่ ขึ้นกับบริบทครับ

เรื่องระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจนี้ คงไม่จบในบันทึกเดียว บันทึกนี้ จะพาขี่ม้าเลียบค่ายก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (3)

อ่าน: 4673

บันทึกนี้เขียนต่อจาก ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 พูดถึงแนวทางในการฟื้นฟูครับ พื้นที่ไหนน้ำลดแล้ว เริ่มใช้ได้เลย

เมื่ออาทิตย์ก่อน ครูบาไปเป็น Igniter ในงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2 ที่หอประชุมจุฬาลงกรน์มหาวิทยาลัย [งาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2] เกิดอุบัติเหตุทางเทคนิคขึ้น สไลด์ติดอยู่ที่สไลด์ที่สอง นานสองนาทีกว่า ที่เตรียมไป 20 สไลด์ พูดได้แค่ 8 สไลด์เท่านั้น หมดเวลาแล้ว

ในส่วนที่ไม่มีโอกาสได้พูดนั้น มีเรื่องน่าสนใจอีกหลายอย่าง แต่ผมยกมาเขียนเรื่องเดียวนะครับ

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2)

อ่าน: 4510

เขียนต่อจากบันทึกที่แล้วครับ บันทึกนี้เป็นเรื่องของการชะลอน้ำหลาก/น้ำป่า/runoff ลองดูภาพเงินเขาที่ถูกถางจนเรียบนะครับ

บนเนินเขา เราจะเห็นพื้นที่สองแบบ คือบริเวณที่มีต้นไม้ และบริเวณที่ถูกถางจนเรียบ ทั้งสองพื้นที่อยู่บนเนินเดียวกัน มีความลาดเอียงพอๆ กัน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (1)

อ่าน: 5647

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นอู่ข้าวสำคัญของไทย ตามการกำหนดขอบเขตของกรมพัฒนาที่ดิน ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่ 2,107,690 ไร่ใน 5 จังหวัด 10 อำเภอ 79 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน เป็นนาปลูกข้าวหอมมะลิอันเลื่องชื่อ 1,266,103 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 4 แสนกว่าตัน เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 47,0961 ไร่ มีวัวควายอยู่ราว 270,000 ตัว มียูคาลิปตัสราว 60 ล้านต้น ให้ผลผลิตไม้ปีละราว 2 ล้านตัน มีแหล่งโบราณคดี 408 แห่ง มีคนอยู่อาศัยราว 620,000 คน — ข้อมูลจากวารสารสารคดี ฉบับเมษายน 2552

อีสานใต้ที่ท่วมหนักอยู่ในตอนนี้ เป็นขอบอ่างโคราช ซึ่งเป็นที่สูง น้ำไหลลงที่ต่ำไม่ได้เนื่องจากทางน้ำถูกขวางอยู่ อบต.ก็ชอบสร้าง+ซ่อมเหลือเกิน แต่โดยเฉลี่ยมีงบจัดการน้ำเพียง 2.15%

แผนที่ทางขวานี้ ต้องขอขอบคุณผู้จัดทำนะครับ ผมมองว่าให้ภาพหยาบๆ ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหน (ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี) ทั้งนี้ตามรายงานข่าวในโทรทัศน์ซึ่งก็พูดกว้างๆ อยากเห็นสถานีโทรทัศน์ ใช้แผนที่สถานการณ์ให้มากกว่านี้ครับ

อย่างไรก็ตาม ทางส่วนของราชการ ผมยังไม่เห็นแผนที่สถานการณ์ตัวจริงเลยครับ ภาพถ่ายดาวเทียมก็ได้ หากทางราชการมีแผนที่ว่า ณ.เวลาหนึ่ง เกิดน้ำท่วมขึ้นที่ไหนบ้าง ระดับน้ำสูงเท่าไร จะได้เตรียมแผนช่วยเหลือได้เหมาะสม ตลอดจนเป็นการแจ้งให้ผู้ที่อยู่ปลายน้ำ ได้เข้าใจสถานการณ์ตามที่เกิดขึ้น

เป็นเรื่องฝืนธรรมชาติที่น้ำท่วมอยู่ในที่สูง ในที่สุดน้ำก็จะไหลลงไปตามร่องน้ำธรรมชาติครับ ซึ่งสำหรับอีสานใต้คือแม้น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดไม่ใหญ่ มีอัตราไหลต่ำ และคดเคี้ยวไปมา ดังนั้นจำหวังให้น้ำปริมาณมหาศาลลดลงอย่างรวดเร็วนั้น คงจะยากเหมือนกัน

อ่านต่อ »


ข้อสังเกตรัฐไทย

อ่าน: 2820

คำว่ารัฐนั้น สำหรับผมคือองค์กรที่ดูแลประชาชน จัดการ เตรียมการเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ดูแลทิศทาง ดูแลความมั่นคงปลอดภัย เรื่องการต่างประเทศ แก้ปัญหาข้อพิพาทด้วยความเป็นธรรม ตรงไปตรงมา จะไม่ตรงกับนิยามในวิชารัฐศาสตร์ ก็ช่างเถิดครับ รัฐมีรายได้จากภาษีอากร ซึ่งประชาชน และกิจการเสียให้ ตามกติกาของสังคม (กฏหมายและประมวลรัษฎากร)

รัฐ (ที่ไม่ใช่รัฐบาล) เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีงบประมาณประมาณร้อยละยี่สิบของรายได้ประชาชาติ จึงจัดได้ว่าเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุดในประเทศ เป็นเป้าหมายอันหอมหวลสำหรับผู้ที่ต้องการครอบงำ

ส่วนอีกร้อยละแปดสิบของรายได้ประชาชาตินั้น เกิดจากกิจการต่างๆ ในภาคเอกชน ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย แข่งขันกันอย่างอุตลุด โกง ติดสินบน เอาเปรียบ ฯลฯ แต่ก็ทำให้เราอยู่รอดได้จนวันนี้ แต่ว่าภาคเอกชน ก็แบ่งย่อยจนละเอียดเป็นเบี้ยหัวแตก จะทำอะไรก็ไม่มีกำลังพอ มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง แต่ก็เป็นไปเมื่อมีประโยชน์ร่วมกัน และมักเป็นไปในทางดิ่งตามผมประโยชน์ ส่วนการรวมกลุ่มในทางขวาง-ข้ามความรู้ความชำนาญเฉพาะทางนั้น กลับไม่ค่อยปรากฏ

อ่านต่อ »


ทำนาโดยใช้น้ำน้อย

อ่าน: 8892

อย่าได้แปลกใจเลยครับ ที่คนไม่เคยทำนาจะ(ดัดจริต)มาเขียนเรื่องการทำนา สถานการณ์น้ำวิกฤติมาก น้ำในระบบชลประทานมีไม่พอที่จะทำอย่างที่เคยทำมาอีกแล้ว และคาดว่าจะมีวิกฤติการณ์น้ำรุนแรงต่อเนื่องไปอีกหลายปี ต่อให้อยู่ดีๆ มีปาฏิหารย์น้ำเต็มเขื่อนขึ้นมาได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีใช้น้ำ ก็จะยังเจอปัญหาแบบที่เคยเจอ แต่คราวนี้น้ำหมดเขื่อนแล้ว จะแก้ไขสถานการณ์ลำบาก — วันนี้ เขตเมืองยังมีน้ำประปา นอกเขตเมืองยังมีประปาชนบท ประปาภูเขา หรือน้ำบาดาล เราเพลิดเพลินกับการใช้ โดยไม่คิดจะเติมน้ำต้นทุน วันไหนน้ำหมด วันนี้มานั่งเสียใจก็สายไปแล้วนะครับ (บ่อบาดาลเติมน้ำได้แต่ก็ไม่ทำ อ่างเก็บน้ำก็เติมได้โดยทำร่องให้น้ำฝนไหลมารวมกัน ฯลฯ)

ทำนาเคยได้ 50-60 ถังต่อไร่ ถือว่าอยู่ได้ ถ้าไป 80-100 ถัง ก็เยี่ยมเลย ลือกันไปสามบาง แต่ถ้า 120 ถัง ได้ออกทีวีแหงๆ พอมีระบบชลประทาน ก็แห่กันทำนาปรัง แล้วพอราคาข้าวขึ้นสูง ทีนี้ทำนาปรังกันสองรอบเลย แต่ผลผลิต(ที่ไม่วายวอดไปจากภัยแล้ง) ตกลงมาเหลือ 25 ถัง แถมใช้น้ำเพิ่มขึ้น 3 เท่าเพราะทำนาสามรอบ เราไม่มีปริมาณน้ำสำรองเพิ่มขึ้นจากเดิมนะครับ แต่ใช้น้ำทำนามากกว่าเดิม มีประชากรที่ต้องการใช้น้ำมากกว่าเดิม

ไม่ได้โทษการทำนาปรังหรือนาปีหรอกครับ แต่อยากบอกว่ามีวิธีทำนาแบบที่ใช้น้ำน้อยลง และให้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่ได้บอกให้เชื่อ แต่อยากให้ลองคิดดู ถ้าเห็นว่ามีเหตุผล ก็อาจลองทำดูในแปลงเล็กๆ ก่อน นาปีกำลังจะเริ่มแล้ว ต้องเตรียมการก่อน

อ่านต่อ »


กระสุนข้าว

อ่าน: 3580

สักสองสัปดาห์ก่อน ผมได้รับอีเมลจากพี่ที่นับถือกัน ซึ่งรู้จักกันบน soc.culture.thai เมื่อสักยี่สิบปีที่แล้ว-ก่อนเมืองไทยมีอินเทอร์เน็ต ผมอยู่บริษัทฝรั่งจึงมีใช้ ในขณะนั้น พี่ทวิชเป็นวิศวกรนาซ่า ปัจจุบันท่านสอนอยู่ มทส.

พี่ทวิช เสนอวิธีการปลูกข้าว ที่

  1. ไม่เพาะกล้า ซึ่งต้องไปดำนา ไม่ค่อยเหมาะกับปัจจุบันเนื่องจากแรงงานเข้าไปอยู่ในโรงงานหมด
  2. ไม่หว่าน เนื่องจากดินนาไม่ได้สมบูรณ์

พี่แกว่าเอา’ดินดี’มาปั้นเป็นกระสุน ใส่เมล็ดข้าว 4 เมล็ด เอากระสุนนี้ไปดำด้วยเครื่อง การดำคือการฝังลงไปในดิน ด้วยความลึกและระยะห่างที่ได้ทดลองศึกษาบอกเล่ากันมาหลายชั่วอายุคน ใช้เครื่องดำทำเองได้ครับ (ไม่ใช้น้ำมัน เข็นเครื่องไป พอล้อหมุนไปได้ระยะ ก็ฝังกระสุนลงไปในดิน และดำแห้งๆ ได้ ปล่อยน้ำเข้าทีหลัง)

‘ดินดี’ที่เอามาปั้นกระสุน มีความหมาย เพราะเป็นสารอาหารแรกที่กล้าข้าวใช้สร้างโครงสร้างสำหรับการเติบโตต่อไป — ไม่ได้ใช้เยอะนะครับ

มีแปลงนาสาธิตอยู่โคราช พี่ทวิชรู้จัก อ.หลิน และรู้จักครูบาด้วย ปากเหมาะเคราะห์ดี จะไปขอความรู้เรื่องกังหันลมครับ

Posted by Wordmobi


สูตรลับเก็บพระจันทร์

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 April 2010 เวลา 20:25 ในหมวดหมู่ อาหาร ท่องเที่ยว กีฬา นันทนาการ #
อ่าน: 3097

ดวงจันทร์ก็ยังเป็นดวงเดียวกันมาตั้งแต่ผมเกิดนั่นล่ะครับ ขนาดเคยไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เพียงแต่จะมองเห็นใหญ่-เล็ก-เว้า-แหว่งไปอย่างไร ก็ขึ้นกับแสงและการหักเหของแสง

แต่ก็เป็นอาการเหมือนผีเข้า ที่คนชอบถ่ายภาพ จะอยากได้ภาพดวงจันทร์ ซึ่งมีอุปกรณ์ช่วยให้ได้ภาพดวงจันทร์ที่ “สวย” ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


ลมบก-ลมทะเล กับทฤษฎี Biotic Pump

อ่าน: 5861

ทฤษฎี Biotic Pump เริ่มต้นที่ต้นไม้บริเวณชายฝั่ง จะเหนี่ยวนำให้เกิดฝนตกบนฝั่ง เนื่องจากลมทะเลพัดพาเอาความชุ่มชื้นเข้ามาบนฝั่ง แต่หากไม่มีต้นไม้ชายฝั่ง แทนที่จะเกิดลมทะเลพัดพาเอาความชื้นเข้าฝั่งในตอนกลางวัน ลมกลับพัดในอีกทิศหนึ่งหอบเอาความชุ่มชื้นจากฝั่งลงไปในทะเลแทน

ดังนั้นหากมีป่าเป็นพื้นที่ติดกัน ก็จะนำความชุ่มชื้นจากทะเลเข้ามาสู่แผ่นดินลึกได้

(ทฤษฎีนี้เกิดในรัสเซีย แผนที่เขาเสนอในเอกสารทางวิชาการท้ายบันทึก แสดงแนวคิดในระดับทวีป)

ทฤษฎีนี้ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับเสียทีเดียว มีนักอุตุนิยมวิทยาแย้งว่าขัดกับฟิสิกส์ของบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม วารสาร New Scientist ก็ตีพิมพ์เรื่องนี้เมื่อปีที่แล้ว

จากการศึกษาไอน้ำในอากาศด้วยไมโครเวฟจากดาวเทียม โลกร้อนทำให้เกิดปริมาณไอน้ำเหนือทะเลมาก

ไอน้ำในอากาศ กรอง(และเก็บ)พลังงานแสงอาทิตย์เอาไว้ จึงมีผลเหมือนก๊าซโลกร้อนอื่นๆ เช่นกัน เมื่อมีปริมาณไอน้ำในอากาศมากขึ้น ก็ทำให้โลกร้อนมากขึ้น เป็นการป้อนกลับแบบบวก

สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนมากที่สุด คือนำไอน้ำในบรรยากาศไปสร้างเมฆ บังคับให้เมฆกลั่นตัวเป็นฝน เพิ่มปริมาณน้ำจืด และอุณหภูมิเย็นลงบ้าง


จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน จากมุมมองของมนุษย์ธรรมดา

อ่าน: 5381

สังคมมนุษย์เป็นสังคมของการพึ่งพากัน ไม่มีใครที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ (แบบที่มีคุณภาพชีวิตพอสมควร) ได้ด้วยตนเอง เมื่อคนอยู่รวมกลุ่มกัน ต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน

18 ต.ค. 2516 สี่วันหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ดำเนินไปถึงจุดไคลแม็กซ์ อ.ป๋วย เขียนบทความ The Quality of Life of a South East Asian : A Chronical of Hope from Womb to Tomb ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ the Bangkok Post บทความนี้ ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทย และกล่าวกันว่าเป็นแรงผลักดันสำคัญของแนวคิดแบบรัฐสวัสดิการของไทย

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าบทความนี้ สร้างแรงบันดาลใจมหาศาล แต่ผมก็ขอตั้งข้อสังเกตว่ามันเป็นไปเช่นเดียวกับที่เคยเป็นมา คือคนเชื่อยังชี้นิ้วไปยังคนอื่น (รัฐ) ว่าจะต้องทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ ส่วนตัวเองนั้นขอพูด ขอวิจารณ์ ขอผลักด้นและกดดัน ประกาศความต้องการอย่างชัดแจ้ง ผมคิดว่ายังมีนัยอื่นในบทความนี้ ที่ระบุถึงหน้าที่ของทุกคนในรัฐสวัสดิการ — ถ้าหากว่าต้องการรัฐสวัสดิการจริง

หากว่าบทความนี้เป็น check-list ตามมาตรฐาน เราสอบตกไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานอะไรก็ตาม ทั้งรัฐที่ปกครองมาทุกยุคทุกสมัย และประชาชนที่ไม่ทำหน้าที่แต่เรียกร้องเอาเหมือนนับถือผี

อ่านต่อ »



Main: 0.04419994354248 sec
Sidebar: 0.16173219680786 sec