ง่าย-ซับซ้อน เป็นระเบียบ-ยุ่งเหยิง
มนุษย์ใฝ่หาความสบาย สมองมนุษย์แสวงหาความสบายด้วย “เหตุผล” พอรู้สึกว่ามีเหตุผลแล้วสบายใจ ใครทำอะไรตรงข้ามกับข้อสรุปของตัว มันโง่เองช่วยไม่ได้ จะมีกี่คนที่ฉุกคิดได้ว่าข้อสรุปของตัวนั้นอาจผิดอย่างน่าสงสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ชอบใช้คำว่า “ต้อง” หรือปฏิเสธว่า “ไม่/ไม่มี”
คำว่า “ต้อง” ใช้ได้กับตัวเองเท่านั้น เพราะว่าเราไม่สามารถทำให้ใคร ทำตามใจเราได้ตลอดเวลา แม้บางครั้งเขาทำตาม ก็อาจเป็นไปเพราะการบังคับไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง (ถ้าเกิดจากการหว่านล้อมจนเห็นด้วย อย่างนี้เขาคิดและทำของเขาเอง)
ส่วนการปฏิเสธด้วยคำว่า “ไม่/ไม่มี” นี้ ไม่ค่อยมีใครพูดถึง คนที่จะปฏิเสธด้วยคำว่า “ไม่” นี้ได้ ก็จะต้องเป็นคนที่ “รู้” ทั้งหมดทุกทางว่าไม่มีแน่ แล้วใครล่ะเป็นพหูสูตรอย่างนั้น
Some people will never learn anything, for this reason, because they understand everything too soon. ~Alexander Pope
Knowing is not enough; we must apply. Willing is not enough we must do. ~Goethe
Learning without thought is labor lost. Thought without learning is intellectual death. ~Confucius
The illiterate of the 21st century will not be those who cannot read and write, but those who cannot learn, unlearn, and relearn. ~Alvin Toffler
หลักการเรื่องการรับรู้ของ Gestalt มักนำสมองให้คิดไปสู่ข้อสรุป เช่น
หมาลายจุดดมพื้น | |
อะไรสักอย่างสีขาวบังอยู่ | |
เอ๊ะยังไง เห็นหลายแบบ | |
จำรูปพื้นฐานได้ |
ก็ไม่ใช่ความผิดปกติที่จะคิดว่ารูปสีขาว-ดำ เป็นโน่นเป็นนี่หรอกนะครับ ธรรมชาติของสมองเป็นอย่างนั้นเอง
เรื่องที่ยากก็คือพิจารณาว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง ต่อให้มีความรู้สึกว่าใช่แน่ๆ ต้องอย่างนี้เท่านั้น ใครคิดเป็นอย่างอื่นก็โง่ดักดานแล้ว
ในความต้องการสบายของมนุษย์ (ทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด) ในส่วนของความคิด ก็จะมีการจัดหมวดหมู่เป็นธรรมชาติ แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ แม้จะจัดหมวดหมู่ได้ ก็ยังต้องเข้าใจว่าแม้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ก็ไม่ใช่ว่าเหมือนกันซะทีเดียว
ดังนั้นในการแก้ปัญหาใดๆ จึงไม่สามารถมองเป็นหมวดหมู่ แล้วแก้แบบเหมารวมเป็นหมวดหมู่ได้
ถ้าให้เลือกสองคู่ระหว่าง ง่ายกับซับซ้อน และ เป็นระเบียบกับยุ่งเหยิง ความอยากสบายจะทำให้เราเลือก ง่ายและเป็นระเบียบ
ซึ่งเมื่อมองดูดีๆ แล้ว จะเห็น paradox (ใครก็ไม่รู้ เสนอให้ใช้คำว่า “ย้อนแย้ง” แทนการทับศัพท์ไป) คือถ้าต้องการความเป็นระเบียบก็จะมีความซับซ้อน แต่ถ้าอยากได้ความง่ายมันจะยุ่งเหยิงตลอด
การแก้ปัญหาแบบง่าย (ทำง่ายๆเพื่อให้เกิดระเบียบตามที่ต้องการ) จึงมักจะล้มเหลวเสมอ เพราะเราละเลยความซับซ้อนและความยุ่งเหยิงซึ่งมาคู่กัน บางทีในรูปของกฏกติกา บางทีในรูปของอำนาจ โมเมนตัม/ความเฉื่อยชาไม่เอาไหน การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ความแตกต่าง ความจริงอีกด้านหนึ่ง ความเคารพกัน ความสงบสุขของส่วนรวม ความไม่เป็นธรรม การหลอกลวง ฯลฯ และเพราะการต้องการความง่ายและเป็นระเบียบ มีหลายครั้งที่มีอะไรเกินเลยแถมมาด้วยเสมอ ถ้าตั้งใจดีจริง เบียดเบียนคนอื่นทำไม(วะ)
อย่าพยายามแก้ปัญหาซับซ้อนด้วยการเอาแต่ใจตัวเองเลยครับ
« « Prev : คิดให้รู้จักพอและการทำดีต้องไม่มีพอ
Next : ลมบก-ลมทะเล กับทฤษฎี Biotic Pump » »
1 ความคิดเห็น
เรื่องอย่างนี้แหละที่อยากจะคุยด้วยมากๆช่วงนี้
อยู่บนรถทัวร์
คาดว่าจะถึง บางกอก บ่าย 5 โมง