วันศุกร์มหัศจรรย์

อ่าน: 3795

เมื่อวันพฤหัสไปวัดพระบาทห้วยต้มว่าดีแล้ว วันศุกร์เจอเรื่องไม่คาดฝันเยอะกว่า ฝนฟ้าเป็นใจ ทั้งที่มีฝนตกมาก แต่เมื่อเราจะไปยังสถานที่ต่างๆ ฝนหยุดให้ดูอย่างจุใจ

เริ่มต้นตอนเช้า ไปโรงเรียนมงคลวิทยา คุยกับครูในโรงเรียน ฟังครูบาพูดสนุกมาก ได้พบเด็กหญิงเสื้อสีส้มจากบล็อกพี่ครูอึ่ง เสื้อสีแดง เสื้อสีเขียว และที่ยังไม่ได้ระบุสีเสื้อ จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง เป็นที่ที่น่าไปดูมาก เป็นโรงเรียนมงคลวิทยาเก่าด้วย แล้วก็ไปวัดพระธาตุหริภุญชัย องค์พระธาตุกำลังบูรณะ จึงมีวาสนาได้ดูฉัตรทองคำซึ่งนำลงมาแสดงในวิหาร

กินข้าวกลางวันที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย แล้วไปพิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้วซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน

บ่ายไปหอศิลป อุทยานธรรมะ เป็นบ้านของพ่ออินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ อยู่ดีดี พ่ออินสนธิ์ เดินมาพาทัวร์ด้วยตัวเอง ผมไม่เล่าล่ะนะครับ รออ่านจากบล็อกครูบาก็แล้วกัน

บ่ายแก่ๆ ไปกินไอติม รับพี่สร้อย (น้าอึ่งอ๊อบไปน่านแล้ว) แล้วไปวัดต้นเกว๋น ค่ำไปวัดพระธาตุดอยคำ ได้ถ่ายรูปพระธาตุองค์เบ้อเริ่มใกล้ๆ ก่อนขึ้นไป เค้ากำลังตั้งขบวนจะเดินขึ้นพระธาตุพอดี เลยรีบขึ้นไปที่วัดซึ่งอยู่บนยอดเขา ได้สรงน้ำพระธาตุ ถ่ายรูปวิวของเมืองเชียงใหม่ ขาลงมาเจอขบวนซึ่งกำลังเริ่มเดินขึ้นเขา จอดรถถ่ายรูปอีก

เย็นกินข้าวที่ร้านข้าวต้มย้ง ไปกราบครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ห้วยแก้ว เสร็จแล้วบุกห้องอาจารย์สาว (พี่สร้อย) กินมะม่วง กินลิ้นจี่ ดื่มชา

อ่านต่อ »


วัดพระบาทห้วยต้ม

อ่าน: 3899

นัดพี่ครูอึ่ง 8 โมงเช้า ออกเดินทางไปวัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ ถึงวัด 10:45 เดินสำรวจวัดซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมงานใหญ่

ชาวบ้านรอบพื้นที่วัด เป็นชาวปากะยอ มีศรัทธาในพุทธศาสนาและหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา กินมังสวิรัต ไม่เลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค

บ่ายสองโมงไปศูนย์โครงการหลวง ครูบาพูดกับชาวบ้าน น่าฟังมากครับ ถ้าไม่ได้ฟังก็อด เสร็จสี่โมง ตรงไปรับน้าอึ่งอ๊อบกับพีสร้อยที่เชียงใหม่ ให้พี่สร้อยเลี้ยงครับ

อ่านต่อ »


ช่องว่างระหว่างความรู้และการกระทำ

อ่าน: 5222

บันทึกนี้ เป็นบันทึกรีไซเคิลเขียนไว้เมื่อสองปีก่อน แต่มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับงานตีแตกอีสาน (เฮเจ็ด) ครับ ความคิดเห็นอื่นๆ ดูได้ที่นี่

Robert Waterman ผู้ร่วมเขียนหนังสือบรรลือโลก In Search of Excellence ได้กล่าวถึงหนังสือ The Knowing-Doing Gap: How Smart Companies Turn Knowledge into Action ซึ่งแต่งโดย Jeffrey Pfeffer และ Robert I. Sutton ไว้ว่าเป็นหนังสือที่ต้องอ่าน “for all of us”.

Why don’t organizations do more of what they already know they should do? The answer isn’t lack of smarts or strategy. Pfeffer and Sutton’s analysis of the companies that get it right is fascinating and right on the money. Now…will we take action?

ในเมื่อมีความรู้ในสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว ทำไมองค์กรต่างๆ จึงไม่ได้ทำในสิ่งที่ต้องทำ

คำถามโลกแตกอันนี้ กลับเตือนให้ตระหนักว่า KM และการเสาะแสวงหาความรู้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการ “KM และ K ไม่ใช่เป้าหมาย” ความสัมฤทธิผลของงานต่างหากที่เป็นผลลัพท์ที่ต้องการ (ไม่ว่าวัตถุประสงค์ขององค์กรจะเป็นอะไร) กระบวนการที่จะทำให้งานสัมฤทธิ์ผลคือการกระทำ งานจะต้องเกิดจากการกระทำเสมอ งานไม่เกิดจากแผนงานเลิศหรูที่กลับไม่ได้ลงมือทำ

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (4)

อ่าน: 3354

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาขี้ม้าเลียบค่ายมาสามตอน คิดว่าบรรยายองค์ประกอบครบถ้วนแล้ว บันทึกนี้จะเอา ลำตัว ปิก หาง เครื่องยนต์มาประกอบเป็นเครื่องบิน ถึงจะไม่ได้เรียนอากาศพลศาสตร์หรือการออกแบบเครื่องบินมา แต่ก็พอรู้ว่าลำตัว ปีก หาง เครื่องยนต์ อยู่ตรงไหนของเครื่องบินใช่ไหมครับ

เปิดเว็บของ Open Source Geospatial Foundation (OSGeo) ดู เว็บนี้น่าสนใจในแง่ที่ผู้คนตระหนักว่าควรเลิกเฟอะฟะกันเสียที ถ้าขืนปล่อยให้ต่างคนต่างใช้ข้อมูลกันคนละมาตรฐาน ในที่สุดจะทำงานร่วมกันไม่ได้ แล้วผู้บริโภคก็จะสูญเสียเวลา แรงงาน และเงินมหาศาล เพื่อที่จะทำ Attributes ที่คนอื่นทำไว้แล้วใหม่ เพียงเพราะอ่านข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ได้

รายชื่อเครื่องมือที่แสดงอยู่ในรูปทางขวา แบ่งเป็นห้าหมวดคือ

  1. Web Mapping — โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บ
  2. Desktop Applications — โปรแกรมที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
  3. Geospatial Libraries — โปรแกรมเสริมที่ใช้อ่านเขียนดัดแปลงข้อมูลจากรูปแบบต่างๆ
  4. Metadata Catalog — คาตาล็อกของข้อมูลที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว
  5. Other Projects — ข้อมูลอื่นๆ

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาลำตัว หาปีก หาหาง หาเครื่องยนต์ ที่เหมาะกับเรา แล้วเอามาประกอบกัน ส่วนจะรู้ได้ยังไงนั้น มันยากตรงนั้นแหละครับ!

ต้องลองเล่น

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (3)

อ่าน: 4813

ลงทุนลงแรงกับ Attributes

ประโยชน์แท้จริงของ GIS ก็อยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาจาก Attributes นี่ล่ะครับ GIS เป็นเพียงเครื่องมือที่อิงกับแผนที่ ที่เข้ามาช่วยให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลในมิติต่างๆ

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจได้ว่าจะหาข้อมูลไปทำ Attribute อะไร ก็น่าจะตอบตัวเองก่อนว่าทำไปแล้ว ได้ประโยชน์อะไร; ในระบบ GIS การเพิ่ม Attributes เพิ่ม Layers ทำได้ง่ายมาก (เพราะข้อมูลเก็บในฐานข้อมูลซึ่เรียกใช้สะดวก และใช้คอมพิวเตอร์วาดรูปซึ่งทำได้ง่าย) แต่การเก็บข้อมูลนั้น กลับใช้แรงงาน และเวลาอย่างมากมาย

เมื่อออกไปในพื้นที่เพิ่อเก็บข้อมูล จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกครั้ง หากไปครั้งเดียวแต่เก็บข้อมูลได้หลายมิติ ก็จะประหยัดกว่ามาก

การจัดทำระบบ GIS ในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของราชการ ใช้วิธีซื้อแหลกกันมาตั้งนานแล้วนะครับ เรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว การซื้อแหลก มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง คือระบบมักจะอิงอยู่กับซอฟต์แวร์มาตรฐานไม่กี่ตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ (ถ้าจะทำ)

การเก็บข้อมูล

ดังที่กล่าวไว้ในตอน (1) ข้อมูลที่จะใช้กับ GIS มีสองส่วนคือข้อมูลแผนที่ และข้อมูลเชิงบรรยาย — คือบอกว่าอะไรอยู่ตรงไหน

วิธีเก็บข้อมูลที่เหมาะที่สุด คือวาดแผนที่ กำหนดพิกัดเส้นรุ้ง/เส้นแวงตามมุมของพื้นที่ แล้วจดใส่กระดาษพร้อมข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes) ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่นั้น จากนั้นค่อยนำกลับมาป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน.. คืนนี้ ต้องนอนเร็ว พรุ่งนี้ไปหาหมอครับ


เริ่มต้นกับ GIS (2)

อ่าน: 4002

ความคิดเกี่ยวกับ Base Map ราคาถูกในระบบ GIS

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี Base Map ที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่หลายที่ เช่น Google Maps Yahoo! Maps หรือ Microsoft Virtual Earth ฯลฯ

Base Map เป็นต้นทุนที่อาจจะแพงที่สุดในการทำระบบ GIS เดิมทีจะต้องใช้เครื่องบิน บินถ่าย หรือซื้อภาพถ่ายจากดาวเทียม แล้วนำภาพมาแปลงเป็นพิกัดลงทีละจุด ในเมื่อมี Base Map ให้ใช้อยู่แล้ว การเริ่มต้นระบบ GIS จึงประหยัดเงินและเวลาลงได้มาก

เราดู Base Map จากอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา หมายความว่าถ้าจะใช้วิธีนี้ ก็ต้องมีความเร็วในการเชื่อมต่อไปต่างประเทศที่ดี (ไม่ใช่แค่วงจรที่เชื่อมต่อไปยังไอเอสพีมีความเร็วสูง แต่ต้องดึงข้อมูลจากต่างประเทศผ่านไอเอสพีนั้นได้เร็วจริงด้วย อย่าไปดูแค่คำว่า Hi-speed หรือ Broadband ซึ่งผู้บริโภคถูกหลอกกันมาซะเยอะแล้ว)

Base Map server ที่ต่างประเทศ ส่งรูปมาให้เราเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ (Tile) แล้วโปรแกรมควบคุม เอา Tile หลายๆ อันมาต่อกันเป็นแผนที่ เราย่อ/ขยาย และกวาดไปดูพื้นที่ข้างเคียงได้ผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (1)

อ่าน: 6025

เรื่องนี้ เริ่มที่ไอเดียบรรเจิดในบันทึก คนมีเบอร์ | ปักธงกันหน่อยดีไหม | ถามตรงๆ ^ ^ เป็นความพยายามที่จะอธิบายเรื่องที่(ยัง)จับต้องไม่ได้ ให้ผู้ที่(ยัง)ไม่เคยใช้เข้าใจ — หรือบางทีอาจจะทำให้งงกว่าเก่านะครับ; คำอธิบายนี้ ไม่เหมือนกับในตำรา แต่พยายามจะอธิบายให้เห็นไส้ใน เพื่อที่จะได้พิจารณาเองว่าอะไรทำ อะไรซื้อ — มีหลายตอน ขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะเขียนกี่ตอน

หากท่านผู้รู้ท่านใด มีความเห็นัดแย้ง หรืออธิบายเพิ่มเติม ก็ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ — เราร่วมกันเรียนได้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นระบบที่ทำงานด้วยกระบวนการจัดการความรู้ โดยใช้ข้อมูลเชิงแผนที่ (Geospatial Information) ซึ่งเก็บอยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์มาประมวล

สำหรับ Geospatial Information (Geo=ภูมิศาสตร์ spatial=เกี่ยวกับอวกาศ/แผนที่ทางอากาศ Information=สารสนเทศ) มีข้อมูลหลักๆ สองด้านคือ

  • ข้อมูลแผนที่: เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับตำแหน่ง โดยปกติเป็นพิกัด (เส้นรุ้ง,เส้นแวง) เพื่อบอกว่าข้อมูลนั้น อยู่ตรงไหนบนโลก อาจจะเป็นพื้นที่เช่นเขตการปกครอง โฉนด เขตปลูกข้าว, เป็นตำแหน่งเช่นแหล่งท่องเที่ยว ที่ตั้งเอทีเอ็ม โรงเรียน ฯลฯ
  • ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes): เป็นข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่พิกัด เช่นจำนวนประชากรภายในเขตการปกครองนั้น เนื้อที่/ปริมาณผลผลิตจากพืชชนิดต่างๆในพื้นที่ เป็นความสูงของระดับพื้นเพื่อดูว่าที่ใดเป็นเขา เป็นอ่างเก็บน้ำ

อ่านต่อ »


เฮฯ หก จาก GPS

อ่าน: 4617

ลืมกำหนดตำแหน่งไปสามสี่ที่ครับ แถวแม่สลอง กับที่สามเหลี่ยมทองคำ

คลิกตรงนี้เพื่อเปิดแผนที่

  • ปางช้างกะเหรี่ยงสามัคคี 19.95946°N 99.70927°E
  • บ้าน อ.ถวัลย์ ดัชนี 19.99191°N 99.86069°E
  • พิพิธภัณฑ์อูบคำ ซ.เด่นห้า 11 19.90372°N 99.81481°E
  • มณีอินน์ ถ.สันโค้งหลวง 19.89828°N 99.82281°E
  • ศาลารอยพระบาท ร.9 ถ.ค่ายทหาร 19.90983°N 99.80727°E
  • วัดพระแก้ว ถ.ไตรรัตน์ 19.91178°N 99.82767°E
  • อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช 19.91047°N 99.84012°E
  • วัดร่องขุน 19.82388°N 99.76359°E
  • ศูนย์เรียนรู้บ้านสันกอง (กินข้าวก่อนไปเชียงแสน) 20.26311°N 99.86086°E
  • ศูนย์พัฒนาบ้านสะโงะ (ป่าชุมชนที่เชียงแสน) 20.35130°N 100.03223°E
  • ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน (ขันโตก) 20.27407°N 100.07871°E
  • วัดพระธาตุผาเงา 20.24391°N 100.10860°E
  • อ่านต่อ »


ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านเฮ

อ่าน: 4763

หมู่บ้านเฮ เป็นทั้งชุมชนและเป็นพื้นที่ทำกิน คงไม่ถึงกับอยู่ดีๆ ก็มีกินโดยเนรมิตขึ้นมาหรอกนะครับ แต่ว่าข้าวปลาอาหารควรจะหาได้จากพื้นที่ของหมู่บ้านเฮ ไม่ต้องซื้อกิน (จะซื้อก็ได้ ไม่ว่าหรอกครับ)

หมู่บ้านเฮ ควรจะมีความมั่นคงทางพลังงาน พลังงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ของหมู่บ้าน (น้ำ ลม ไบโอดีเซล ขยะ solar thermal ฯลฯ) หักกับพลังงานที่ซื้อหามา แล้วยังเหลือขายกลับไปให้การไฟฟ้าฯ

ก่อนจะเพ้อเจ้อต่อไป ก็ต้องหาที่ก่อนครับ เมื่อคืนคุยกับพ่อครูบา ป้าจุ๋ม ครูสุ กับน้าราณี บรรดาสาวๆ ให้ความเห็นถึงความต้องการพื้นฐานไว้น่าสนใจครับ

ความปลอดภัย

พื้นที่หมู่บ้าน จะต้องมีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย จากยาเสพติด จากการใช้กำลังตัดสิน/อิทธิพลมืด หมู่บ้านเฮอยู่ใต้กฏหมายไทย เป็นส่วนของราชอาณาจักรไทย

สังคมรอบข้าง

เราไม่ได้คิดจะไปตั้งหมู่บ้านเฮอยู่กลางป่าที่ห่างไกลผู้คนหรอกครับ จะไปอยู่ตรงไหน ก็จะมีคนอยู่ในพื้นที่นั้นแล้ว และเราก็คิดจะอยู่ร่วมกับเขาอย่างผาสุก จะจ้างงาน จะให้ความรู้ จะพยายามปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน ด้วยความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ของชาวเฮ

อ่านต่อ »


มอง เฮฯ หก ผ่านเลนส์

อ่าน: 3544

คงเป็นหนังชุดสุดท้ายที่มาจากกล้องของผมนะครับ ผมเอาภาพถ่ายทั้งหมดมาเรียงกันตามเวลา ภาพที่เสีย (ความเร็วชัตเตอร์ไม่ถูกต้อง แสงไม่ดีพอ มือไม่นิ่งพอ) ก็ไม่ตัดออก นับได้ 459 ภาพ แต่ไม่รวมวิดีโอที่ถ่ายมา

จากนั้น นำมาเรียงเป็นสไลด์โชว์ด้วยโปรแกรม iPhoto ในแม็ค; หาเพลงมาก่อน ความยาวรวม 33.6 นาที จากที่ปกติชอบใช้ความเร็ว transition ประมาณ 100 ภาพต่อ 6-7 นาที ตอนนี้เป็น 100 ภาพต่อ 7.32 นาที (459 ภาพ)

ในทุกภาพมีหมายเลขกำกับอยู่ หากท่านใดอยากได้ภาพเบอร์ไหน จะได้ส่งให้ได้

สไลด์ชุดนี้ เหมาะสำหรับดูในวันหยุดเพราะว่ายาวกว่าครึ่งชั่วโมง (เท่าความยาวของเพลง)

Get the Flash Player to see this player.



Main: 0.057917833328247 sec
Sidebar: 0.16334104537964 sec