ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (1)

อ่าน: 6327

อินทรียสารในดิน (humus) สลายตัวโดยธรรมชาติที่อุณหภูมิสูงกว่า 25°C… ดินบ้านเรา ไม่มีต้นไม้ปกคลุม โดนแดดเผาชั่วนาตาปี ทำให้อุณหภูมิของผิวดินสูงได้กว่า 70°C และทำให้ดินปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นก๊าซเรือนกระจก (มีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์) ชาวนาชาวไร่ใส่ปุ๋ยเคมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ยิ่งใส่ปุ๋ยก็ยิ่งจน เพราะกงเต็กปุ๋ยไปให้บรรพบุรุษโดยการเผาซากต้นไม้

ปุ๋ยคือสารอาหารของต้นไม้ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเพื่อออกดอกออกผล แต่ปุ๋ยเคมีนั้นเหมือนยาโด๊ป ใส่มากเกินไปยังไม่แน่ว่าจะดี… ธรรมชาติรักษาตัวเองได้ซึ่งอาจจะใช้เวลาบ้าง ไม่ทันอัตราที่มนุษย์ทำลายสมดุลย์ของธรรมชาติ

ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่โลกน่าจะปลอดภัย จากความปั่นป่วนของบรรยากาศคือระดับ 350 ppm แต่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่เขียนนี้ เป็น 393.18 ppm แถมยังสูงขึ้นเรื่อยๆ อีก… ก๊าซเรือนกระจก (ประกอบกับอย่างอื่น) ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัญหาโลกร้อน ซึ่งทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดไอน้ำมากขึ้น กลายเป็นพายุที่มีความรุนแรง น้ำฝนมาเป็นปริมาณมาก เดือดร้อนกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือมหาสมุทร จุลชีพปริมาณมหาศาลของมหาสมุทรในอดีต ดูดจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นหินปูนตกตะกอนลงพื้นทะเล จนบรรยากาศของโลกกลายเป็นบรรยากาศที่หายใจได้… ปัจจุบันนี้ ไม่มีจุลชีพยุคโบราณที่จะทำอย่างนั้นอีก โลกจึงไม่มีวิธีกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ และกิจกรรมของมนุษย์ ก็เร่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ — แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่รองลงมาคือแผ่นดิน แต่แผ่นดินนั่นแหละ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามาก!

อ่านต่อ »


ภัยอะไรน่ากลัว (2)

อ่าน: 3353

ผมไม่เขียนภัยจาก ลม ไฟ ต่อจาก ดิน น้ำ ที่เขียนในตอนที่แล้วหรอกครับ คงพอจะพิจารณาต่อกันได้เองแล้ว

ตอนนี้ เป็นภัยจากอวกาศ ซึ่งตื่นเต้น เร้าใจ น่าติดตาม และถูกขยายผลโดยใช้ข้อความเพียงบางส่วน; อวกาศ กว้างใหญ่และทรงพลัง สิ่งที่เกิดในอวกาศอธิบายได้ด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ซึ่งบางส่วนก็ได้รับการพิสูจน์แล้ว แต่มีอีกมากมายที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เช่นเดียวกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เกินจากความเข้าใจของคนทั่วไป เช่นทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ เมื่อประกาศออกมาก็มักจะได้รับการท้าทาย กาลครั้งหนึ่ง คนที่มีความคิดแปลกๆ ก็ยังถูกฆ่าขัดกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ได้

พอกล่าวถึงภัยจากอวกาศ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือมากมาย ซึ่งเมืองไทยไม่มีสักอย่าง ถึงมีก็คงแตะต้องไม่ได้ เราต้องอาศัยข้อมูลมือสองจากต่างประเทศทั้งนั้น เค้าจะเปิดหรือไม่เปิดให้ก็ได้ จะพลิกแพลงแบบเนียนๆ ก็ไม่มีใครรู้ แต่เราก็ยังเชื่อกันเป็นตุเป็นตะ (หรือเป็นวรรคเป็นเวรก็ไม่รู้)

มีทฤษฎีต่างๆ มากมายที่อธิบายความเป็นไปได้ของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงอันทรงพลังในอวกาศ ซึ่งหากดาวฤกษ์ในกาแลกซีทางช้างเผือกซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก เกิดระเบิดขึ้น เราคงไม่รอดมายืนยันทฤษฎีนั้น เพราะรังสีที่ปลดปล่อยออกมาจะเกินกว่ามนุษย์จะต้านทานได้ เช่นกรณีดาวนิวตรอน SGR 1806-20 ขนาด 20 กม. เกิดระเบิดขึ้น และแสงเดินทางมาถึงโลกเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 หนึ่งวันหลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งอันดามัน SGR 1806-20 ปล่อยพลังงานทั้งหมดออกมาใน 0.1 วินาที มากกว่าพลังงานที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมาในแสนปี — ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ในระยะ 10 ปีแสงจากโลก ชั้นโอโซนคงถูกทำลายหมด และชีวิตบนโลกคงดับลงหมด

อ่านต่อ »


โลกหลากมิติ - Superstring Theory

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 May 2011 เวลา 3:01 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 4702

บันทึกนี้ไม่เกี่ยวกับภัยพิบัติหรอกนะครับ เขียนเพราะน่าสนใจดีและมีความหลัง แต่ก่อนอื่นดูวิดีโอก่อนครับ

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)

อ่าน: 7786

บันทึกนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)] ซึ่งใช้กระถางดินเผา ที่เรียกแบบโก้ว่า ceramic filter มาเป็นตัวกรองสารแขวนลอย แล้วใช้ silver colloid หรือซิลเวอร์นาโนในเครื่องซักผ้าบางยี่ห้อ มาฆ่าเชื้อโรค — วิธีการดังกล่าว ถึงดูดีมีสกุล แต่ก็ดูจะเกินเอื้อมของชาวบ้าน บันทึกนี้ จึงเสนอความคิดแบบง่ายๆ ชาวบ้านสร้างเองได้ เรียกในภาษาต่างประเทศว่า Biosand filter

Biosand filter เป็นเครื่องกรองน้ำชนิดกรองช้า ให้น้ำค่อยๆ ไหลผ่านเครื่องกรองซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติเป็นตัวกรอง มีทราย กรวด ถ่าน เป็นเครื่องกรองสารแขวนลอย และใช้เมือกชีวภาพ Schmutzdecke ซึ่งเป็นเมือกของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ (แบคทีเรีย รา โปรโตซัว โรติเฟอรา) คอยจับกินเชื้อโรคอื่นๆ ที่ปนเปื้อนมาในน้ำ

เมือกชีวภาพ biofilm ที่เรียกว่า Schmutzdecke ต้องอาศัยเวลา 20-30 วัน จึงจะเติบโตเป็นชั้นหนาพอที่จะกรองเชื้อได้ ดังนั้น หากต้องการน้ำดื่มในปัจจุบันทันด่วน ก็ต้องมีมาตรการอื่นมาเสริมด้วย เช่นเอาตากแดดไว้วันหนึ่ง [แสงแดดฆ่าเชื้อโรค] [อีกด้านหนึ่งของน้ำ]

อ่านต่อ »


ไฮโซจุดไฟ

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 April 2011 เวลา 0:36 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 9114

เวลาจะก่อกองไฟ เรามักจะเอาเศษไม้แห้งมาก่อเป็นกอง เอาไฟแช็กจุดกระดาษหรือเศษใบไม้ให้เผาเศษไม้จนติดไฟ แต่ถ้าไม้ไม่แห้ง ก็เอาไฟแช็กเผามันไปเรื่อย ซึ่งทั้งร้อนทั้งเปลืองก๊าซในไฟแช็ก​ (ซึ่งหาได้ยากในภาวะขาดแคลน)

ไฮโซคงไม่เคยทำอะไรบ้านๆ แบบนี้ เผอิญบ้านเราก็มีไฮโซและผู้ที่พยายามจะเป็นเยอะเสียด้วยซิครับ พจนานุกรมคำใหม่ ให้คำจำกัดความคำว่า “ไฮโซ” ไว้ว่า “ผู้อยู่ในสังคมชั้นสูง” ซึ่งแปลเป็นภาษาชาวบ้านว่าผู้ที่ทำอะไรไม่เป็น หรือผู้ที่ทำเรื่องง่ายๆ ให้วุ่นวายเกินควร จะได้ดูดีมีสกุล โดยทั่วไป ไฮโซทำอะไรมานิดหน่อย ก็ต้องเอามาป่าวประกาศเหมือนเป็นเรื่องใหญ่โตที่ผู้คนควรจะรู้ไว้ (ก็พอเข้าใจได้ว่าไม่ค่อยได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน)

การก่อกองไฟโดยใช้เทียน เป็นทางออกที่ดีเหมือนกัน แต่ไฮโซไม่ใช้เทียนหรอกครับ นอกจากเวลากินข้าวแบบโรแมนติก ดังนั้นต้องใช้วิธีพิสดารให้สมกับสภาพไฮโซ

อ่านต่อ »


กำแพงดินอัด

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 April 2011 เวลา 17:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8518

เมื่อสองวันก่อน ผมโทรไปหาโสทร ผู้ใหญ่บ้านแห่งบ้านสวนพอเพียง ขอให้ช่วยทดลองการผสมยางกับดินเพื่อทำวัสดุก่อสร้างชั่วคราว อยากหาข้อมูลว่ายางซึ่งมีอยู่ในภาคใต้ จะใช้ยึดดินแทนซีเมนต์ได้หรือไม่ คงไม่ต้องใช้น้ำยางมากมายหรอกครับ เพราะน้ำยางมีราคาแพง

เรื่องของดินอัดบล็อค (Compressed Earth Block CEB) สามารถค้นหาความรู้ได้ตามอินเทอร์เน็ต พวกฝรั่งเอง เดี๋ยวนี้ก็หันกลับมาใช้วัสดุธรรมชาติกันมากแล้ว CEB อาศัยดินป่นละเอียด ผสมซีเมนต์หรือวัสดุเพื่อยึด คานโยก อัดดินเป็นก้อน ทิ้งให้แห้ง ก็จะมีความคงทนพอสมควร พอที่จะเอาไปก่อเป็นกำแพงรับแรงได้บ้าง แม้ไม่ดีเท่ากำแพงซีเมนต์ แต่จะมีราคาถูกกว่ามาก

ในสถานการณ์อุทกภัยทางใต้ ซึ่งหาวันที่อากาศแห้งได้ยาก การผลิต CEB คงจะลำบากเหมือนกัน ส่วนบ้านดินนั้น คงไม่เหมาะเพราะฝนแรงมาก จะทำให้ผนังเปียกครับ

บันทึกนี้ เสนอวิธีการก่อสร้างกำแพงอัดดิน (Rammed Earth) ซึ่งก่อไม้แบบเรียบสองข้าง เว้นช่องตรงกลางไว้สักฟุตหนึ่ง เอาดินป่นแบบหมาดๆ ใส่ลงไปในช่องว่างตรงกลางให้หนาสักฟุตหนึ่ง (แล้วแต่คุณภาพของดิน ถ้าดินไม่ดีเลย อาจผสมปูนซิเมนต์สักเล็กน้อย 3-5% โดยปริมาตร ให้คอยยึดดินได้) แล้วย่ำ เหยียบ กระทุ้ง อัดดินให้แน่น จนความหนาฟุตหนึ่งเหลือแค่ประมาณครึ่งเดียว แล้วก็เทดินป่นชั้นใหม่ลงไป ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นกำแพงขึ้นมา ถอดไม้แบบออก แล้วย้ายที่ไปก่อกำแพงที่อื่น

ดินป่นแบบหมาดๆ หมายความว่าดินละเอียด ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดมือ ทิ้งจากระดับอกลงบนพื้นแข็ง ก้อนดินกลมจะกลายเป็นก้อนดินครึ่งทรงกลม โดยไม่แตก

กำแพงในลักษณะนี้ มีความหนา แข็งแรง รับน้ำหนักได้ เจาะช่องประตูหน้าต่างได้ น้ำไม่ซึม ทำให้กันเชื้อราและกันปลวก

อ่านต่อ »


ตกหล่น

อ่าน: 3093

บันทึกนี้ไม่ได้บ่นอะไร…เชื่อเถิดครับ…

คำว่าตกหล่น พจนานุกรมแปลว่าขาดตกไปโดยไม่ตั้งใจ — ซึ่งถ้าตั้งใจ ก็ไม่ใช่ตกหล่นนะครับ ขอให้เข้าใจตรงกัน

ตั้งแต่น้ำท่วมปลายปีที่แล้ว เสนอให้บินถ่ายรูปทางอากาศทำแผนที่สถานการณ์แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น (อย่างน้อยก็ไม่มีข้อมูลสาธารณะใดๆ) การวางแผนนำความช่วยเหลือเข้าสู่พื้นที่ประสบภัย เป็นไปอย่างยากลำบาก เช่นไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ถนนไหนดี ไม่ได้เตรียมเรือไว้ หรือไม่มีเครื่องเรือ ฯลฯ

ด้วยความเห็นอกเห็นใจเป็นพิเศษ Google ช่วยอัพเดตภาพถ่ายดาวเทียมใน Google Maps ให้ถี่ยิบ ฟรีด้วย ตอนนั่นแหละจึงเริ่มเห็นขอบเขตของน้ำท่วม แต่ว่ามันแพงมากครับ ทำไม่ได้บ่อย; สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศได้ทำเว็บพิเศษขึ้นมา ผมคิดว่าเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม แต่ว่าภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ใช้นั้น เป็นภาพที่มีความละเอียดไม่สูงนัก (1 pixel ~ 100 เมตร) ถ้าจะมองภาพใหญ่ก็เหมาะดี แต่ถ้าจะใช้สำรวจความเสียหายของบ้านเป็นหลังๆ คงลำบากเพราะมันไม่ละเอียดพอ พื้นที่ขนาด 100 x 100 เมตร เห็นเป็นจุดเดียว จะขยายแค่ไหน ก็คือการเอาจุดเดียวมาขยาย จะไม่ได้รายละเอียดที่ต้องการ

เป็นเรื่องง่ายที่พอสถานการณ์ดีขึ้นบ้างแล้ว จะมานั่งชี้นิ้วใส่กัน ยิ่งเราไม่ได้เตรียมพร้อมเอาไว้ในระดับที่เกิดภัย (แม้แต่ญี่ปุ่นยังแย่เลยครับ) การทำงานจะมีแต่ข้อจำกัด ต้องประยุกต์เอาแบบลูกทุ่งที่หน้างาน คนสั่งก็สั่งไปเรื่อยๆ คนทำซี๊แหงแก๋ คนเชียร์ก็แนะโน่นนี่ สับสนไปหมด ที่หนักที่สุดคือไม่มีการประสานงานกัน…ไม่เขียนแล้ว เดี๋ยวยาวเกินไป :-)

อ่านต่อ »


ประปาภูเขา

อ่าน: 4433

อยู่บนเขา ยังพอหาน้ำได้จากลำธารหรือตาน้ำครับ เพียงแต่ว่าลำธาร ตาน้ำ หรือน้ำตก ไม่ได้มีอยู่ทั่วไป

ข้อมูลจากอาสาดุสิต แจ้งว่าระบบประปาภูเขาในพื้นที่กรุงชิง ถูกน้ำป่าพัดเสียหายหมด จะต้องทำใหม่ ได้รับบริจาคท่อพลาสติกจากมูลนิธิซิเมนต์ไทยมาจำนวนหนึ่ง คงจะพอทำประเดิมได้สักหมู่บ้านหนึ่ง

เดิมทีเดียวประปาภูเขา เริ่มต้นจากการลำเลียงน้ำผ่านท่อไม้ไผ่ผ่าครึ่ง ซึ่งจะต้องไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ แม้หมู่บ้านจะตั้งอยู่ในที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำ ก็ยังใช้น้ำจากที่สูงได้ พื้นที่ภูเขาไม่ได้เรียบสนิท ดังนั้นรางน้ำอาจจะต้องลอยอยู่เหนือพื้น ซึ่งน้ำหนักจะทำให้เกิดความเค้น ทำให้ไม้ไผ่แตกหักเสียหาย หรือถ้าเจอน้ำป่าเข้า ก็ต้องซ่อมแซม

ต่อมามีการใช้ท่อพลาสติกซึ่งสะดวกกว่าไม้ไผ่ เนื่องจากท่อพลาสติกเป็นท่อปิด รักษาแรงดันได้ ประปาภูเขาที่ใช้ท่อพลาสติก จึงตกท้องช้างได้ ตราบใดที่ปลายท่อที่แหล่งน้ำ(ฝาย) อยู่สูงกว่าปลายท่อที่จะใช้น้ำ(ที่หมู่บ้าน) ตามหลักการของกาลักน้ำ ประปาภูเขาที่ใช้ท่อพลาสติกในลักษณะนี้ ยังใช้หลักของแรงโน้มถ่วงเช่นเดิม เนื่องจากท่อพลาสติกในขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงกว่าไม้ไผ่ ประปาภูเขาในลักษณะนี้ สามารถนำน้ำเป็นปริมาณมาก มาจากที่ไกลๆ เช่นมาจากภูเขาลูกอื่นก็ได้ — ถ้าจะให้ดี ก็ควรฝังท่อพลาสติกในดิน จะได้ไม่มีปัญหากับน้ำป่า แต่ผมเข้าใจว่าไม่มีใครทำกัน และยอมซ่อมแซมระบบหากเกิดน้ำป่าขึ้น

อ่านต่อ »


ไปภูเก็ตช่วงดวงจันทร์โคจรใกล้โลก

อ่าน: 3668

ไม่ได้เขียนบันทึกเสียสองวัน เพราะเดินทางไปเป็นวิทยากรที่ภูเก็ตครับ

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) จัดสัมนาตามโครงการสัมนาการแจ้งเตือนภัยในสถานประกอบการ ครั้งแรกก็จัดให้กับผู้ประกอบการโรงแรมในภูเก็ต เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ได้รับความสนใจพอควรทีเดียวครับ

แรกทีเดียว ยังไม่แน่ใจว่าอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะไปร่วมได้หรือเปล่า เนื่องจากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงต่างๆ ก็ต้องคอยเฝ้าว่าจะมีเรื่องที่ต้องชี้แจงหรือไม่ (เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว) พอดีคิวของกระทรวงไอซีทีผ่านไปแล้ว ก็เลยสามารถเดินทางไปร่วมบรรยายได้

นอกจากท่านอธิบดีแล้ว ก็ยังมีที่ปรึกษาพิเศษของ ศภช. แล้วก็มีผมด้วย ร่วมบรรยายเพื่อให้รายละเอียด โดย ผอ.ศภช. เป็นผู้ดำเนินรายการเอง

อ่านต่อ »


การสื่อสารฉุกเฉิน

อ่าน: 3596

เหลือบไปเห็นข้อความร้องขอความช่วยเหลือใน facebook แต่เพราะผมเล่น facebook ไม่ค่อยเป็นครับ ไม่รู้จะให้ความเห็นอย่างไร

สนข.เด็กและเยาวชน ขบวนการตาสับปะรด was tagged in his own album.

ใครช่วยแนะนำที กรณีสึนามีทั้งที่ไทยและญี่ปุ่น ปัญหาใหญ่คือการติดต่อส่งข่าวสื่อสารระหว่างกัน ท่านใดมีข้อเสนอแนะดีๆบ้างไหมครับ การสื่อสารในยามวิกฤติ จะใช้วิธีใด

ประเด็นเรื่องการสื่อสารฉุกเฉินนี้ มีปฏิญญา Tampere ว่าด้วยการช่วยเหลือจากนานาชาติสำหรับการสื่อสารฉุกเฉินครับ รายละเอียดอ่านได้ที่นี่ แต่เมื่อตรวจดูในรายละเอียดแล้ว ทั้งญี่ปุ่นและไทย ไม่ได้ให้สัตยาบันในปฏิญญาฉบับนี้

ก็หมายความว่า จะไม่มีกระบวนการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารฉุกเฉินเข้ามาช่วยเหลือภัยพิบัติในประเทศ หรือผ่านแดนไปช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็วเป็นกรณีฉุกเฉิน… การนำอุปกรณ์เข้ามาช่วยเหลือ จะต้องผ่านกระบวนการพิธีทางศุลกากรตามปกติ คำว่า “ปกติ” นี่ล่ะครับ ที่เป็นปัญหา…ผมไม่บ่นดีกว่า

ช่วงที่เกิดภัยน้ำท่วมต่อกับภัยหนาว มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งกรุณานัดหมายให้ได้พบกรรมาธิการชั้นผู้ใหญ่ของวุฒิสภา ก็ได้พูดกันเรื่องเมืองไทยไม่ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาอันนี้ครับ แต่ว่า…เรื่องก็ไม่ไปไหน ส่วนหนึ่งเพราะช่วงนั้นกำลังจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 มีเรื่องวาระของวุฒิสมาชิกกำลังจะหมดลง และมีเรื่อง กสทช. และอะไรต่อมิอะไร… ถูกช่องทางแต่ไม่ถูกเวลาครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.14143896102905 sec
Sidebar: 0.30883193016052 sec