ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (3)

อ่าน: 4964

ต่อจากตอนที่แล้ว เอาอย่างนี้ก็แล้วกันครับ ผมอยากเขียนอะไรก็จะเขียน ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นมินิซีรี่ส์ เพียงแต่ใช้ชื่อเดียวกันเพื่อให้อยู่ด้วยกัน

ทบทวนความรู้พื้นฐานกันหน่อย ยกน้ำหนัก 1 กก. ขึ้นสูง 1 เมตร ภายใน 1 วินาที ต้องใช้พลังงาน 1 g วัตต์ (โดยที่ g เป็น gravitational constant แก้ไขตามความคิดเห็นที่ 1) — ถ้าปล่อยน้ำ 1 ลิตร (ซึ่งหนัก 1 กก) ลงจากความสูง (head) 1 เมตร ทุกๆ วินาที แล้วดักจับพลังงานได้สมบูรณ์ ก็จะได้พลังงาน g วัตต์ ถ้ากั้นลำธารที่มีอัตราไหลของน้ำวินาทีละ 1 ลูกบาศก์เมตร (1000 ลิตร) ไว้ด้วยฝายที่มีความสูง 1 เมตร แล้วดักจับพลังงานได้ทั้งหมด ก็จะได้พลังงาน g กิโลวัตต์ ซึ่งนั่นเป็นหลักการของไฟฟ้าพลังน้ำ

พื้นที่ที่เหมาะสำหรับไฟฟ้าพลังน้ำนั้น ผู้ใดได้ครอบครอง ถือว่าโชคดีมหาศาล ไม่ใช่แค่มีน้ำ แต่น้ำไหลเปรียบเหมือนพลังแห่งชีวิต ซึ่งภูมิประเทศที่มีน้ำไหลนั้น ขึ้นกับธรรมชาติว่าได้สร้างความลาดเอียงไว้ขนาดไหน แม่น้ำลำคลองลำธารก็เป็นน้ำไหล แต่เราไม่สามารถยกระดับน้ำขึ้นสูงได้ เพราะอยู่ดีๆ เราสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำไม่ได้ ถ้าเป็นฝายยังพอเป็นไปได้ (มีเงื่อนไขเยอะเหมือนกันแต่ยังพอเป็นไปได้)

สำหรับฝายเตี้ยนั้น เคยเขียนไว้หลายบันทึกแล้ว พอหาได้สองอันครับ

แต่บันทึกนี้เป็นเรื่องเกลียวของอคีมิดีส

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (2)

อ่าน: 3955

ต่อจากตอนที่แล้ว ในบรรดาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้น ควรหรือไม่ควรจะใช้อะไร ขึ้นกับความเหมาะสมของพื้นที่

โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ทุกวัน เป็นสิ่งที่ถึงไม่ร้องขอก็ได้มาอยู่ดี การพยายามเอาพลังงานเหล่านี้มาใช้ (ซึ่งธรรมชาติได้แปลงไปเป็นรูปแบบต่างๆ แล้ว) เรากลับไปเรียกว่าพลังงานทดแทน

ถึงจะมีต้นทุนในกระบวนการ (A) บ้าง แต่ในระยะยาว เมื่อ Input ได้มา “ฟรี” Output ก็ควรจะ “ถูก” — ซึ่งถ้าหาก output “ไม่ถูก” ก็ไม่รู้จะทำไปทำไมนะครับ

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (1)

อ่าน: 3731

เมื่อดูแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานแล้ว ก็รู้สึกหนักใจ

แผนนั้นเริ่มจากความเป็นจริงในปัจจุบัน แล้วขยายด้วยประมาณการการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งก็เชื่อได้ว่าไตร่ตรอง+สอบทานมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าการผลิตไฟฟ้าของเมืองไทยนั้น พึ่งพาก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 70 จริงอยู่ที่ก๊าซในอ่าวไทยยังมีอยู่ ซึ่งเราก็ใช้มาหลายสิบปีแล้ว แถมไม่ว่าจะเป็นก๊าซจากแหล่งใด ก็ขายเป็นสกุลดอลล่าร์สหรัฐเสมอ หากอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป ราคาไฟฟ้าก็จะผันผวนมาก กระทบต่อเศรษฐกิจ

ในเอกสารแนบของแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2553-2573 (PDP 2010) มีความพิลึกพิลั่นที่ทำให้ผมไม่สบายใจครับ

อันแรกก็คือ จากกำลังการจ่ายไฟฟ้า (ผลิตและซื้อ) ปี 2553 รวมทั้งสิ้น 23,249 MW เป็นพลังงานทดแทนเพียง 754 MW

อ่านต่อ »


ข้าวเปลือกกับความชื้น

อ่าน: 7986

ในเมื่อเมืองไทยมีคนทำเกษตรกรรมกันเป็นสิบล้านคน ทำไมระดับราคาสินค้าเกษตรจึงได้ต่ำเตี้ยขนาดนี้

ดูไปดูมาแล้ว สงสัยว่าสายป่านไม่ยาวพอ มีหนี้ค่าปุ๋ยอยู่ พอพืชผลออกมาก็ต้องรีบขาย ความชื้นก็ไม่ได้ ราคาจึกตกต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ จะจำนำข้าวหรืออาศัยราคาประกัน ก็ต้องถูกหักค่าความชื้นอีก แล้วยิ่งฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฝนแล้วพืชผลเสียหาย ฝนหนักพืชผลก็เสียหายอีก — ค่าบริการอบข้าวลดความชื้นอยู่ที่ 200 บาท/ตัน แต่หากลดความชื้นจาก 25% ลงได้เป็น 15% ราคาข้าวเปลือกก็จะเพิ่มขึ้นได้ 1,000 บาท/ตัน

FAO และ IRRI ประมาณการว่าปริมาณข้าวในฤดูกาลนี้ จะไม่ตกลงจากฤดูกาลที่แล้ว (เนื่องจาก “อากาศดี”) แต่ก็จะไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกไม่ได้เพิ่มขึ้น — อากาศไม่ได้ดีหรอกนะครับ เมืองไทยน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว เวียดนามก็น้ำท่วมเช่นกัน ดังนั้นปริมาณข้าวในตลาดโลกก็ไม่น่าจะคงระดับไว้เท่ากับปีที่แล้วได้ แต่ที่น่าเจ็บใจกว่านั้นคือราคาถูกกดเอาไว้ด้วย “มาตรฐาน” ความชื้น

มีโรงสีที่สามารถอบแห้งได้อยู่ไม่มาก ถ้าข้าวชื้นก็จะสีได้ข้าวสารน้อย ราคาจึงตก หากจะแก้ไขเรื่องราคาข้าว ก็ต้องแก้สองเรื่องคือความชื้นของข้าวเปลือก และค่าขนส่งซึ่งปัจจุบันเราใช้รถบรรทุกขนซึ่งแพงเพราะน้ำมันแพง เรื่องการขนส่งเก็บเอาไว้ก่อน เดี๋ยวยาวไปครับ

อ่านต่อ »


หมู่บ้านโลก (2)

อ่าน: 2875

ปลายเดือนก่อน เขียนเรื่อง [หมู่บ้านโลก] ไป ปรากฏว่ามีผู้สนใจความคิดนี้คุยต่อหลังไมค์กันพอสมควรครับ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (เดิมชื่อวิทยาลัยเกษตรกรรม) น่าจะเหมาะที่สุดเรื่องการใช้เทคโนโลยีชาวบ้าน สร้างเครื่องมือเอนกประสงค์สำหรับงานเกษตรกรรมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพื่อให้มีเครื่องมือที่ใช้งานได้ในราคาที่ถูกมาก สร้าง ซ่อม และบำรุงรักษาได้เอง เลิกนิสัยซื้อแหลก อาจจะมีโอกาสตั้งตัวได้เสียที… แต่เอาเข้าจริง ไม่มีอะไรอย่างนั้นหรอกครับ

จากที่เคยไปเที่ยวดูที่แถวสะแกราช [คนเมืองแบบคนป่า คนป่าแบบคนเมือง] วันนี้มีโอกาสคุยกับคุณน้องคนที่พาไปเที่ยวอีก เขามีที่ดินที่ให้ชาวบ้านเช่าไปปลูกเป็นไร่มัน เป็นเนินเขา ¼ ลูกและเป็นที่ราบอีกส่วนหนึ่ง เป็นสัญญาเช่าปีต่อปี น่าเสียดายที่ดินนี้ แม้อยู่ในที่ที่อากาศดี มีลำธารไหลผ่านข้างที่ การคมนาคมสะดวก น้ำไฟหาได้ไม่ยาก และไม่ใช่โซนที่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าหญ้า — แต่ถ้ามองแบบคนเมืองแล้ว คงคิดว่าน่าจะทำรีสอร์ตมากที่สุด ซึ่งผมเห็นด้วยบางส่วนครับ ว่าที่นี้สวยจริงๆ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำรีสอร์ตกันทั้งอำเภอได้อย่างไรเหมือนกัน เหมือนทำอะไรก็ทำตามกันไปหมด

คราวที่แล้ว ไปยุให้คุณน้องและคุณหน่อยทำโรงปลูกเห็ด รายได้ดี มีคนมารับซื้อถึงที่ แถมผลิตไม่พอด้วยซ้ำไป มีรายได้ประจำเพิ่มขึ้นเดือนละหลายหมื่น ก็เอามาโปะเป็นค่าใช้จ่ายประจำในกรณีที่เขาจะทำที่พักแถวโน้น (ซึ่งเหมาะกว่าแถวนี้)

อ่านต่อ »


โดมสำหรับพักพิงชั่วคราว

อ่าน: 8004

หากจะสร้างที่พักชั่วคราวแล้ว ลักษณะกระโจมน่าจะสร้างได้ง่ายที่สุดครับ

แต่หากอากาศแปรปรวนมีฝนหนักหรือลมแรง กระโจมมักจะทานแรงลมกรรโชกหรือแรงพายุไม่ไหว

โครงสร้างที่กระจายแรง (ลมและฝน) ที่มากระทำจากภายนอกได้ดี คือโครงสร้างรูปโดม ไม่ว่าลมและฝนจากพัดมาในทิศทางใด ผิวโค้งของโดมก็จะกระจายแรงออก ถ่ายไปตามผิวโค้ง อ้อมไปอีกด้านหนึ่ง ทำให้โครงสร้างรูปโดมทนทานต่อพายุได้ [โครงสร้างรูปโดม] องค์กรจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ (FEMA) ได้แนะนำโครงสร้างรูปโดมไว้ สำหรับบ้านเรืองในเขตที่ต้องเผชิญกับพายุเฮอริเคนระดับ 5

การก่อสร้างดูจะยุ่งยากเหมือนกัน เนื่องจากเต็มไปด้วยผิวโค้ง ดังนั้นก็มีวิธีสร้างโดยนำแผ่นเรียบที่ตัดให้ได้ขนาด มาต่อกันเป็นรูปคล้ายโดม เรียกว่า Geodesic dome [บ้านปลอดภัย] มีสูตรการคำนวณขนาดอยู่ในบันทึกดังกล่าว หรือจะใช้ที่นี่ก็ได้ครับ [1] [2]

โดมเป็นส่วนหนึ่งของทรงกลม ซึ่งทรงกลมเป็นพื้นผิวที่น้อยที่สุดที่ห่อหุ้มปริมาตรอันหนึ่งเอาไว้ ทั้งนี้ก็หมายความว่าถ้าต้องการปกป้องปริมาตรอันหนึ่งเอาไว้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ทรงกลม (หรือส่วนของทรงกลม) ครอบไว้ ก็จะสิ้นเปลือวัสดุก่อสร้างน้อยที่สุด หรือแปลอีกอย่างหนึ่งคือโครงสร้างนี้ มีน้ำหนักเบาที่สุด… แต่ก็ว่าเถอะ การก่อสร้างอะไรพวกนี้ยุ่งยากเหมือนกัน ต้องเปิดสูตร ต้องคำนวณ ต้องตัดแบบ จึงเหมาะสำหรับการก่อสร้างในภาวะที่สงบ

สำหรับในภาวะฉุกเฉิน ที่จริงก็มีวิธีก่อสร้างง่ายๆ เพียงแต่ว่าเหมาะกับเป็นที่พักชั่วคราวเท่านั้น

อ่านต่อ »


ฝนตก น้ำท่วม กระสอบทราย

อ่าน: 4257

ช่วงนี้สภาวะอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนแล้งก็แล้งจัด ส่วนเมื่อฝนมา กลับมาหนักเสียจนเกินต้านทาน

คลิปนี้ เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะลดภาระในการทำกระสอบทราย เอาไว้ป้องกันอาณาเขตที่ต้องการจากน้ำ

อ่านต่อ »


พืชน้ำมัน: ทานตะวัน

อ่าน: 4446

ความคิดเดิมที่คุยกันในบรรดาชาวเฮ ก็คิดกันว่าต้นเอกมหาชัยซึ่งเมล็ดมีน้ำมันมาก คุณภาพดีแบบน้ำมันมะกอก น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่กว่าต้นเอกมหาชัยจะโตพอที่จะออกดอกออกผลก็ใช้เวลาหลายปี ระหว่างที่รอจนเก็บเกี่ยวเมล็ดได้ ยังไม่มีคำตอบว่าจะทำอะไรดี

คืนนี้ค้นเน็ตไปเรื่อย ก็เจออีกไอเดียหนึ่งคือทานตะวันครับ เมล็ดทานตะวันเอามาบีบน้ำมัน ได้น้ำมันทานตะวันขายกันเกร่อ

ทานตะวันเป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถออกดอกให้ผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมื่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำ นวนมากในเขตแห้งแล้งทั่วๆไป

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน มีคุณค่าทางอาหารสูง ขายได้ราคา แต่หากเกิดการขาดแคลน สามารถใช้เป็นน้ำมันพืชได้โดยตรง หรือจะใส่เครื่องดีเซลเป็นไบโอดีเซล 100% แก้ขัดไปก็ยังได้

อ่านต่อ »


เตาเผาอิฐ

อ่าน: 5953

อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป แต่ถ้าขนส่งไม่ได้ (ยังไง?) หรือไม่มีในแบบที่ต้องการ ก็ต้องทำขึ้นมาเองหรือไม่ก็ไม่ใช้ครับ

แต่มีความต้องการพิเศษแบบที่ผมคิดว่าน่าจะเตรียมการไว้นี่นา นั่นคือดินเผาที่ใช้เป็นเครื่องกรองน้ำในยามจำเป็น… จำเป็นขนาดที่กระบอกกรองน้ำ (ธมกรก) ก็เป็นหนึ่งในอัฐบริขารครับ

ทีนี้ กรองแล้วเวิร์คขนาดไหน — เครื่องกรองน้ำแบบนี้ กรองสารเคมี-กรองปุ๋ยไม่ได้ครับ กรองจุลชีพได้บางส่วน (ซึ่งควรเอาน้ำที่กรองไปตากแดดไว้ทั้งวัน เพื่อให้ UV ฆ่าเชื้อโรคอื่นที่อาจหลุดรอดมา) และกรองสารแขวนลอยได้ครับ

น้ำในบีกเกอร์ขวาเป็นน้ำที่ยังไม่ได้กรอง เมื่อเทน้ำนี้ใส่ถ้วยดินเผา น้ำจะซึมผ่านตัวกรองน้ำดินเผาลงมาในบีกเกอร์ทางซ้าย เป็นน้ำใสๆ (เค้าน่าจะหาบีกเกอร์/กระบอกที่สะอาดเสียหน่อย)

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (2)

อ่าน: 7931

หลักการผลิตถ่าน Biochar นั้น เกี่ยวพันกับกระบวนการ Gasification กล่าวคือเราใช้ความร้อน ไปทำลายพันธะทางเคมีของ biomass ที่แห้ง เช่น เศษไม้ เศษหญ้า มูลไก่ มูลโค มูลหมู — ถ้า biomass แห้ง จะทำให้อุณหภูมิที่ต้องการให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นถ่าน (carbonization) ลดลงได้ เป็นการประหยัดเชื้อเพลิงและประหยัดเวลา

วิธีที่ง่ายที่สุด คือใช้ถังสองใบที่มีขนาดไม่เท่ากัน มีก้น ไม่มีฝา เป็นอุปกรณ์

ถังใบเล็ก ใส่ biomass แห้ง ที่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นถ่าน Biochar คว่ำเอาไว้ในถังใบใหญ่ — ซึ่งถังใบใหญ่ เจารูอากาศรอบๆ ก้นถัง แล้วใส่เชื้อเพลิง จุดไฟ

เมื่อไฟร้อนขึ้น อุณหภูมิในถังเล็กก็ร้อนขึ้นด้วย จนได้ระดับ biomass แห้ง ก็จะเริ่มปล่อยก๊าซออกมา

ก๊าซที่ติดไฟได้นี้ จะค่อยๆ ซึมลงมาข้างล่าง ออกไปยังถังใหญ่ภายนอก เพราะว่าเราแค่เอาถังเล็กครอบ biomass ไว้เฉยๆ

เมื่อเกิดก๊าซขึ้น ทีนี้เชื้อเพลิงซึ่งใช้ให้ความร้อนในตอนแรก ต่อให้เผาไหม้หมดไป ก็ไม่มีความหมายแล้ว

ก๊าซเผาตัวเองระหว่างถังเล็กกับถังใหญ่ สร้างความร้อนหล่อเลี้ยงอุณหภูมิในถังเล็ก เกิด gasification ไปเรื่อยๆ จน biomass กลายเป็น biochar ไปหมด

ในตอนแรก ถ้าใช้เศษไม้เป็น biomass (ถ้าผ่าเอาไว้ก็จะดี เพราะเป็นการเพิ่มพื้นผิวของไม้ให้ก๊าซออกมาได้ดีกว่า) เราเรียงเศษไม้แห้งเอาไว้ในถังเล็ก แล้วเอาถังใหญ่ครอบ จากนั้นค่อยพลิกกลับหัวอีกที

อ่านต่อ »



Main: 0.27020502090454 sec
Sidebar: 2.2220020294189 sec