เริ่มต้นกับ GIS (2)

อ่าน: 4002

ความคิดเกี่ยวกับ Base Map ราคาถูกในระบบ GIS

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี Base Map ที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่หลายที่ เช่น Google Maps Yahoo! Maps หรือ Microsoft Virtual Earth ฯลฯ

Base Map เป็นต้นทุนที่อาจจะแพงที่สุดในการทำระบบ GIS เดิมทีจะต้องใช้เครื่องบิน บินถ่าย หรือซื้อภาพถ่ายจากดาวเทียม แล้วนำภาพมาแปลงเป็นพิกัดลงทีละจุด ในเมื่อมี Base Map ให้ใช้อยู่แล้ว การเริ่มต้นระบบ GIS จึงประหยัดเงินและเวลาลงได้มาก

เราดู Base Map จากอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา หมายความว่าถ้าจะใช้วิธีนี้ ก็ต้องมีความเร็วในการเชื่อมต่อไปต่างประเทศที่ดี (ไม่ใช่แค่วงจรที่เชื่อมต่อไปยังไอเอสพีมีความเร็วสูง แต่ต้องดึงข้อมูลจากต่างประเทศผ่านไอเอสพีนั้นได้เร็วจริงด้วย อย่าไปดูแค่คำว่า Hi-speed หรือ Broadband ซึ่งผู้บริโภคถูกหลอกกันมาซะเยอะแล้ว)

Base Map server ที่ต่างประเทศ ส่งรูปมาให้เราเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ (Tile) แล้วโปรแกรมควบคุม เอา Tile หลายๆ อันมาต่อกันเป็นแผนที่ เราย่อ/ขยาย และกวาดไปดูพื้นที่ข้างเคียงได้ผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (1)

อ่าน: 6025

เรื่องนี้ เริ่มที่ไอเดียบรรเจิดในบันทึก คนมีเบอร์ | ปักธงกันหน่อยดีไหม | ถามตรงๆ ^ ^ เป็นความพยายามที่จะอธิบายเรื่องที่(ยัง)จับต้องไม่ได้ ให้ผู้ที่(ยัง)ไม่เคยใช้เข้าใจ — หรือบางทีอาจจะทำให้งงกว่าเก่านะครับ; คำอธิบายนี้ ไม่เหมือนกับในตำรา แต่พยายามจะอธิบายให้เห็นไส้ใน เพื่อที่จะได้พิจารณาเองว่าอะไรทำ อะไรซื้อ — มีหลายตอน ขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะเขียนกี่ตอน

หากท่านผู้รู้ท่านใด มีความเห็นัดแย้ง หรืออธิบายเพิ่มเติม ก็ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ — เราร่วมกันเรียนได้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นระบบที่ทำงานด้วยกระบวนการจัดการความรู้ โดยใช้ข้อมูลเชิงแผนที่ (Geospatial Information) ซึ่งเก็บอยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์มาประมวล

สำหรับ Geospatial Information (Geo=ภูมิศาสตร์ spatial=เกี่ยวกับอวกาศ/แผนที่ทางอากาศ Information=สารสนเทศ) มีข้อมูลหลักๆ สองด้านคือ

  • ข้อมูลแผนที่: เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับตำแหน่ง โดยปกติเป็นพิกัด (เส้นรุ้ง,เส้นแวง) เพื่อบอกว่าข้อมูลนั้น อยู่ตรงไหนบนโลก อาจจะเป็นพื้นที่เช่นเขตการปกครอง โฉนด เขตปลูกข้าว, เป็นตำแหน่งเช่นแหล่งท่องเที่ยว ที่ตั้งเอทีเอ็ม โรงเรียน ฯลฯ
  • ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes): เป็นข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่พิกัด เช่นจำนวนประชากรภายในเขตการปกครองนั้น เนื้อที่/ปริมาณผลผลิตจากพืชชนิดต่างๆในพื้นที่ เป็นความสูงของระดับพื้นเพื่อดูว่าที่ใดเป็นเขา เป็นอ่างเก็บน้ำ

อ่านต่อ »


โคลนติดล้อ

อ่าน: 27061

เมื่อตอนกลางปี 2550 ท่านอาจารย์ไร้กรอบพูดถึงเรื่องการศึกษา แล้วเลยไปถึงบทพระราชนิพนธ์อันหนึ่ง จำเนื้อความได้ลางๆ แต่หาอ่านไม่ได้แล้ว

ผมจึงไปค้นมาได้ว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.​ 2458 เกือบร้อยปีมาแล้ว อยากนำมาให้อ่านอีกครั้งหนึ่งครับ

สหายเอยจงเงยหน้า และเปิดตาพินิจดู
เผยม่านพะพานอยู่ กำบังเนตรบ่เห็นไกล
เปิดม่านแลมองเถิด จะเกิดความประโมทย์ใจ
เห็นแคว้นและแดนไทย ประเสริฐแสนดังแดนสรวง
หวังใดจะได้สม เสวยรมยะแดดวง
เพ็ญอิสสะโรปวง ประชาเปรมเกษมสานต์
ซื่อตรงและจงรัก ผดุงศักดิ์ดิถูบาล
เพื่อทรงดำรงนาน อิศเรศร์ประเทศสยาม

โคลนติดล้อ หมายถึงความเห็นผิดที่เหนี่ยวรั้งเมืองไทยไม่ให้ก้าวหน้า มี 12 ข้อ น่าอ่าน แล้วน่าคิดทุกข้อครับ

อ่านต่อ »


มอง เฮฯ หก ผ่านเลนส์

อ่าน: 3544

คงเป็นหนังชุดสุดท้ายที่มาจากกล้องของผมนะครับ ผมเอาภาพถ่ายทั้งหมดมาเรียงกันตามเวลา ภาพที่เสีย (ความเร็วชัตเตอร์ไม่ถูกต้อง แสงไม่ดีพอ มือไม่นิ่งพอ) ก็ไม่ตัดออก นับได้ 459 ภาพ แต่ไม่รวมวิดีโอที่ถ่ายมา

จากนั้น นำมาเรียงเป็นสไลด์โชว์ด้วยโปรแกรม iPhoto ในแม็ค; หาเพลงมาก่อน ความยาวรวม 33.6 นาที จากที่ปกติชอบใช้ความเร็ว transition ประมาณ 100 ภาพต่อ 6-7 นาที ตอนนี้เป็น 100 ภาพต่อ 7.32 นาที (459 ภาพ)

ในทุกภาพมีหมายเลขกำกับอยู่ หากท่านใดอยากได้ภาพเบอร์ไหน จะได้ส่งให้ได้

สไลด์ชุดนี้ เหมาะสำหรับดูในวันหยุดเพราะว่ายาวกว่าครึ่งชั่วโมง (เท่าความยาวของเพลง)

Get the Flash Player to see this player.


พระเมรุมาศ

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 November 2008 เวลา 0:05 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4723

วันนี้ ฝนไม่ตกตอนค่ำ จึงชวนน้องชายไปถ่ายรูปที่พระเมรุมาศครับ นึกว่าขับรถไปครึ่งชั่วโมง ถ่ายรูปครึ่งชั่วโมง ขับกลับอีกครึ่งชั่วโมง ที่ไหนได้ อยู่ที่สนามหลวงสองชั่วโมงกว่า ไม่รวมเวลาขับรถ

ได้กล้องมาใหม่ครับ ยังใช้ไม่คล่อง จึงเอาไปลองถ่ายกลางคืน หาความรู้สึกหน่อย ลืมโน่น ลืมนี่ตามเคย

รูปไม่สวยครับ แต่คงไม่แย่เกินไป


รูปนี้ตั้งเป็นขาวดำ แล้วดันลืมปลดออก
ยังดีที่ไม่ลืมว่าจะปลดขาวดำยังไง อิอิ

อ่านต่อ »


Apple: Think Different

อ่าน: 3599

ชอบโฆษณานี้มากครับ ออกมาในปี 2540 (1997)

Here’s to the crazy ones. The misfits. The rebels. The troublemakers. The round pegs in the square hole. The ones who see things differently. They’re not fond of rules. And they have no respect for the status quo. You can quote them, disagree with them, glorify or vilify them. About the only thing you can’t do is ignore them. Because they change things. They push the human race forward. And while some may see them as the crazy ones, we see genius. Because the people who are crazy enough to think they can change the world, are the ones who do.

นี่คือการยกย่องสดุดีแก่พวกคนบ้า พวกที่เข้ากับใครไม่ได้ พวกกบฏ พวกชอบก่อปัญหา พวกแปลกประหลาดทำตัวไม่เหมือนคนอื่น พวกที่มองอะไรแตกต่างออกไป คนพวกนี้ไม่ชอบเดินตามกฎเกณฑ์ และไม่ยอมอยู่เฉย ท่านสามารถกล่าวอ้างพวกเขา โต้แย้งไม่เห็นด้วยกับพวกเขา จะสรรเสริญ หรือดูหมิ่นคนพวกนี้ก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านไม่สามารถจะกระทำได้คือการละเลยไม่สนใจคนพวกนี้ เพราะพวกเขาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ พวกเขาผลักดันมนุษยชาติให้ก้าวหน้าขึ้น แม้ว่าบางคนอาจเห็นว่าคนเหล่านี้เป็นคนบ้า แต่เรากำลังมองอัจฉริยะ ก็เพราะว่าพวกที่บ้าพอจะคิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงโลกได้นี่แหละ ที่เป็นคนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง


หลังวิกฤติ

อ่าน: 4387

กระแสพระบรมราโชวาทเรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้า ฯ
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันเสาร์ ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๖

ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มีโอกาสพบปะกับนักเรียนนักศึกษาทั้งหลาย ผู้เป็นผู้แทนของนักเรียนและนักศึกษาอีกมากหลาย และทราบดีว่าในระยะนี้มีความสะเทือนใจมาก โดยได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ทำให้มีความรู้สึกเป็นพิเศษ เรื่องที่ได้ผ่านมานี้ย่อมเป็นสิ่งที่น่าสะเทือนใจมากจริง ๆ แต่ว่าถ้าเราทุกคนจะพิจารณาดูแล้วก็จะต้องถือว่าเป็นบทเรียน และเป็นสิ่งที่จะเป็นรากฐานสำหรับอนาคตได้ ฉะนั้นเหตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงต้องรับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ในเบื้องต้นก็ขอแสดงความชื่นชม แม้ว่าอยู่ในสถานการณ์ที่น่าหนักใจปานใด แต่ความร่วมมือของเหล่านักเรียนนักศึกษาก็ทำให้สามารถกลับคืนสู่สภาพปรกติในไม่ช้าในเวลาอันสั้น ที่เห็นได้ชัดอย่างยิ่งก็เช่นการจราจร ซึ่งในเวลาที่ปั่นป่วน มีเหล่าลูกเสือได้มาช่วยอำนวยความสะดวก ซึ่งทำให้สถานการณ์เบาบางลงไปอย่างยิ่ง นอกจากนี้เวลามีเหตุอะไร ทุกคนก็ได้ช่วยกันเพื่อให้ระงับเหตุ อันนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้บ้านเมืองของเราแม้จะมีความปั่นป่วนได้กลับคืนสู่สภาพปรกติได้ และอย่างที่อธิบดีได้กล่าวว่านานาประเทศได้มีความยุ่งยาก แต่ประเทศไทยแม้จะมีความยุ่งยากก็ยังอยู่ได้ มั่นคงได้ อันนี้เป็นความลับ ฉะนั้นทุกคนจะเป็นนักเรียน จะเป็นนักศึกษา จะเป็นครูในสถาบันใดก็ตาม ตลอดจนประชาชนทั่วไปก็จะต้องสำนึกถึงข้อนี้ซึ่งสำคัญ คือคนไทยทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด มีศาสนาใด มีอาชีพใด ย่อมต้องช่วยซึ่งกันและกัน ช่วยกันอุ้มชูชาติบ้านเมืองคือส่วนรวมให้อยู่ได้ ข้อนี้ได้พูดมาเสมอ และคงได้ยินจากหลายคนที่ให้คำแนะนำให้โอวาทว่าทุกคนต้องนึกถึงส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ที่ต้องเห็นแก่ส่วนรวมเป็นที่ ตั้งนั้นก็เพราะเหตุว่า แต่ละคน แต่ละบุคคลต้องอาศัยส่วนรวมเป็นที่อยู่อาศัย ถ้าส่วนรวมอยู่เย็นเป็นสุขแต่ละบุคคลก็อยู่เย็นเป็นสุข ฉะนั้นทุกคนมีหน้าที่ที่จะสร้างให้ส่วนรวมมีความมั่นคงและความสงบ

อ่านต่อ »


วิธีต่อสู้กับเหมืองแร่โปแตชด้วย “บุญกุ้มข้าว” ทำนารวม เพื่อหาทุนในการเคลื่อนไหวหยุดยั้งโครงการ

อ่าน: 4122

อยู่ดีๆ ก็เจอข้อมูลเสียงสัมภาษณ์จาก คลังเสียงไท เรื่อง บุญกุ้มข้าว นารวม การระดมทุน (ขอให้ฟัง 6 นาทีแรกก่อนจะตัดสินใจว่าจะฟังต่อหรือไม่นะครับ) คิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งในแง่วัฒนธรรมประเพณี และความพยายามที่จะต่อสู้กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่เรื่องเหมืองโปแตชที่อุดรธานี

ข้อมูล (ด้านหนึ่ง) ของเรื่องราวเกี่ยวกับเหมืองโปแตช ติดตามอ่านได้ดังนี้


โคลงโลกนิติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 August 2008 เวลา 12:37 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5190

โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือคัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่คำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา รวมเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษของไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดั ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานจนปัจจุบัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วันพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวันพระเชคุพนฯ เป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ ให้เรียบร้อยประณีตและไพราะ เพราะของเก่าที่คัดลอกต่อๆ กันมา ปรากฏว่ามีถ้อยคำที่วิปลาสคลาดเคลื่อนไปมาก…

โคลงโลกนิติฉบับศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ มี 436 บท


หลักแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 August 2008 เวลา 4:01 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4725

อ่านบทความของอาจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ติดใจคำว่าหลักปัญจศีลที่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และบัณฑิตเนห์รู ประกาศเป็นหลักการในปี พ.ศ.2497 ก็เลยค้นข้อมูลต่อ ได้เรื่องดังนี้ครับ

หลักการนี้ เกิดขึ้นโดยการพัฒนาร่วมกันโดยผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียระหว่างปี 2496-97 และมีนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล และบัณฑิตเนห์รู เมื่อมีความขัดแย้งด้านพรมแดนระหว่างจีนและอินเดีย เรื่องเส้นพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ซึ่งเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างสหราชอาณาจักรกับทิเบตในปี 2457 ในขณะที่อังกฤษปกครองอินเดีย

หลักการนี้ มีอยู่ 5 ข้อ ซึ่งในที่สุดได้กระจายออกไปอย่างแพร่หลาย ซึงวิญญาณของหลักการห้าข้อนี้ ก็ปรากฏอยู่ในปฏิญญากรุงเทพ:1967 (จัดตั้งอาเซียน) ด้วย คือ

  1. ความเคารพในเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดนร่วมกัน
  2. การไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
  3. การไม่ก้าวก่ายในกิจการภายในซึ่งกันและกัน
  4. ความเท่าเทียม และประโยชน์ร่วมกัน
  5. ความคงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ผมคิดว่าหลักทั้งห้าข้อนี้ แม้จะทำให้เหตุการณ์ไม่ลุกลาม แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เพียงแต่เป็นการเลื่อนปัญหาออกไปในอนาคต ดังกรณีพิพาทพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ในที่สุดก็เกิดสงครามระหว่างจีนและอินเดียขึ้นในปี 2505

ว่าแต่เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้างครับ



Main: 0.17662191390991 sec
Sidebar: 0.4017641544342 sec