วันศุกร์มหัศจรรย์

อ่าน: 3795

เมื่อวันพฤหัสไปวัดพระบาทห้วยต้มว่าดีแล้ว วันศุกร์เจอเรื่องไม่คาดฝันเยอะกว่า ฝนฟ้าเป็นใจ ทั้งที่มีฝนตกมาก แต่เมื่อเราจะไปยังสถานที่ต่างๆ ฝนหยุดให้ดูอย่างจุใจ

เริ่มต้นตอนเช้า ไปโรงเรียนมงคลวิทยา คุยกับครูในโรงเรียน ฟังครูบาพูดสนุกมาก ได้พบเด็กหญิงเสื้อสีส้มจากบล็อกพี่ครูอึ่ง เสื้อสีแดง เสื้อสีเขียว และที่ยังไม่ได้ระบุสีเสื้อ จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง เป็นที่ที่น่าไปดูมาก เป็นโรงเรียนมงคลวิทยาเก่าด้วย แล้วก็ไปวัดพระธาตุหริภุญชัย องค์พระธาตุกำลังบูรณะ จึงมีวาสนาได้ดูฉัตรทองคำซึ่งนำลงมาแสดงในวิหาร

กินข้าวกลางวันที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย แล้วไปพิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้วซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน

บ่ายไปหอศิลป อุทยานธรรมะ เป็นบ้านของพ่ออินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ อยู่ดีดี พ่ออินสนธิ์ เดินมาพาทัวร์ด้วยตัวเอง ผมไม่เล่าล่ะนะครับ รออ่านจากบล็อกครูบาก็แล้วกัน

บ่ายแก่ๆ ไปกินไอติม รับพี่สร้อย (น้าอึ่งอ๊อบไปน่านแล้ว) แล้วไปวัดต้นเกว๋น ค่ำไปวัดพระธาตุดอยคำ ได้ถ่ายรูปพระธาตุองค์เบ้อเริ่มใกล้ๆ ก่อนขึ้นไป เค้ากำลังตั้งขบวนจะเดินขึ้นพระธาตุพอดี เลยรีบขึ้นไปที่วัดซึ่งอยู่บนยอดเขา ได้สรงน้ำพระธาตุ ถ่ายรูปวิวของเมืองเชียงใหม่ ขาลงมาเจอขบวนซึ่งกำลังเริ่มเดินขึ้นเขา จอดรถถ่ายรูปอีก

เย็นกินข้าวที่ร้านข้าวต้มย้ง ไปกราบครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ห้วยแก้ว เสร็จแล้วบุกห้องอาจารย์สาว (พี่สร้อย) กินมะม่วง กินลิ้นจี่ ดื่มชา

อ่านต่อ »


วัดพระบาทห้วยต้ม

อ่าน: 3899

นัดพี่ครูอึ่ง 8 โมงเช้า ออกเดินทางไปวัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ ถึงวัด 10:45 เดินสำรวจวัดซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมงานใหญ่

ชาวบ้านรอบพื้นที่วัด เป็นชาวปากะยอ มีศรัทธาในพุทธศาสนาและหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา กินมังสวิรัต ไม่เลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค

บ่ายสองโมงไปศูนย์โครงการหลวง ครูบาพูดกับชาวบ้าน น่าฟังมากครับ ถ้าไม่ได้ฟังก็อด เสร็จสี่โมง ตรงไปรับน้าอึ่งอ๊อบกับพีสร้อยที่เชียงใหม่ ให้พี่สร้อยเลี้ยงครับ

อ่านต่อ »


ร้อยคำที่ควรรู้

อ่าน: 5251

หนังสือร้อยคำที่ควรรู้ โดย ดร . เสรี พงศ์พิศ เป็นหนังสือน่าอ่านครับ

คำนำ

วันนี้เรามักได้ยินคำจำนวน มากที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือไม่ค่อยเข้าใจ ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรจริงๆ คำเหล่านี้เป็นศัพท์  ศัพท์เป็นภาษา ภาษาเป็นความคิด ความคิดเป็นชีวิต คนคิดด้วยภาษา เกิดการเปลี่ยนแปลง มีคำใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

เหมือน ไก่กับไข่ที่ไม่ทราบว่าอะไรเกิดก่อน ความคิดเปลี่ยน คนเปลี่ยน ภาษาเปลี่ยน โลกเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน เหล่านี้ล้วนมีปฏิสัมพันธ์กัน ถ้าจะรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกต้องรู้ภาษาที่กำลังพูดกันในโลกวันนี้

ภาษา แต่ละภาษามีรหัส ภาษาโลกที่เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วนี้มีความซับซ้อน ต้องการกุญแจไขรหัส คำหลายคำเป็นกุญแจไขรหัสดังกล่าว ร้อยกว่าคำที่คัดเลือกมาหาความหมายในหนังสือเล่มเล็กนี้เป็นคำหลัก หรือ “คำกุญแจ” (keywords) ที่น่าจะช่วยไขปริศนาความหมายของอะไรหลายอย่างที่กำลังเป็นประเด็นหลักๆ ของโลกวันนี้

ภาษาเป็นอำนาจ ใครเข้าถึงภาษาเข้าถึงอำนาจ ใครกำหนดภาษาคนนั้นมีอำนาจ ภาษามีพลังอำนาจที่เราสามารถเข้าถึงและหามาได้ด้วยการเรียนรู้ ด้วยการเป็นเจ้าของและคุมภาษานั้น ซึ่งเท่ากับเป็นเจ้าของชีวิต ไม่ใช่วิ่งตามคนที่กำหนดชีวิตของเรา

ยังมีคำกุญแจอีกมากมายที่ไม่ได้ รวมไว้ในที่นี่ ที่แต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละชุมชนและสังคมเป็นผู้ค้นคิดและกำหนดเอง ถ้าหนังสือเล่มน้อยนี้ช่วยให้ผู้คนในสังคมและชุมชนพูดจาภาษาสมัยใหม่ด้วย ความเชื่อมั่นมากขึ้น ด้วยความเข้าใจและรู้ทันสิ่งที่ใครๆ เขาพูดกัน ก็ถือว่าได้บรรลุเป้าหมายแล้ว

ขอขอบคุณทุกคนที่ได้มีส่วนช่วยให้ เกิดหนังสือเล่มนี้ สอนให้รู้ “ภาษา” ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้ พ่อแม่พี่น้อง ครูบาอาจารย์ เพื่อนร่วมงาน ผู้นำชุมชน พี่น้องชาวบ้าน พร้อมทั้ง “ครู” นิรนามทั้งหลายที่ให้ความรู้ความเข้าใจ ไขปริศนาด้วยกุญแจที่ทุกท่านได้ให้มา

เสรี พงศ์พิศ

กรุงเทพฯ
23 ตุลาคม 2547

อ่านต่อ »


ขุมทรัพย์เรื่องเก่า Suvarnbhumi

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 April 2009 เวลา 0:01 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 2989

ไม่รู้จักเจ้าของบล็อกหรอกครับ http://suvarnbhumi.blogspot.com/

ค้นไปค้นมา โชคดีเจอบล็อกนี้ อ่านแล้วสนุกดี ย้อนไปอ่าน archives ตั้งแต่ มกราคม 2009

หวังว่าเจ้าของบล็อกจะเขียนต่อ ไม่หมดกำลังใจไปเสียก่อน


เพลงชาติ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 March 2009 เวลา 0:49 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 3510

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

เพลงชาติในรุ่นปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 โดยใช้คำร้องโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่วนทำนองประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ยังคงใช้ทำนองเดิมแม้จะเปลี่ยนเนื้อร้องไปหลายครั้ง


พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน

อ่าน: 4079

ประวัติพระธาตุแห่งแห้ง จังหวัดน่าน ตามที่ปรากฏในจารึกหน้าวัดครับ

บ้านเมืองแต่ละแห่ง มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ถ้ามีโอกาสผ่านไป ก็ควรศึกษาเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาเป็นไป เห็นทั้งความเจริญรุ่งเรือง และความเสื่อม ตามกฏของไตรลักษณ์

ด้วยความเคารพต่อความแตกต่าง และความเฉพาะตัวของแต่ละชุมชน ยังมีข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งคือ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หากไม่รวมกัน ไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ก็จะไม่มีใครที่มีกำลังพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ไม่มีสาธารณูปโภค/อาหาร/การศึกษา/ความหลากหลาย/ภาษี/ทรัพยากร/สินค้าและบริการ ที่เพียงพอสำหรับทำนุบำรุงประชาชนในท้องถิ่นให้มีชีวิตที่ดี

เมื่อพิจารณาในแนวนี้ แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ดูจะเป็นไปเพื่ออำนาจในการปกครอง ซึ่งซ่อนอยู่หลังเหตุผลอื่นๆ ที่ยกมาอ้าง แม้ว่ารวมกันอาจตายหมู่ แต่แยกกันอยู่นั้นตายแหง — เช่นเดียวกันกับทุนนิยมสุดขั้วที่มุ่งกอบโกย เบียดเบียนผู้อื่น โดยหารู้ไม่ว่าในที่สุดแล้ว จะกลายเป็นการเบียดเบียนตัวเองและลูกหลานวงศ์ตระกูล กว่าจะรู้ตัว ก็สายเสียแล้ว

มัชฌิมาปฏิปทา — ทางสายกลาง เป็นทางที่ดีเสมอไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม

อ่านต่อ »


ช่องว่างระหว่างความรู้และการกระทำ

อ่าน: 5222

บันทึกนี้ เป็นบันทึกรีไซเคิลเขียนไว้เมื่อสองปีก่อน แต่มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับงานตีแตกอีสาน (เฮเจ็ด) ครับ ความคิดเห็นอื่นๆ ดูได้ที่นี่

Robert Waterman ผู้ร่วมเขียนหนังสือบรรลือโลก In Search of Excellence ได้กล่าวถึงหนังสือ The Knowing-Doing Gap: How Smart Companies Turn Knowledge into Action ซึ่งแต่งโดย Jeffrey Pfeffer และ Robert I. Sutton ไว้ว่าเป็นหนังสือที่ต้องอ่าน “for all of us”.

Why don’t organizations do more of what they already know they should do? The answer isn’t lack of smarts or strategy. Pfeffer and Sutton’s analysis of the companies that get it right is fascinating and right on the money. Now…will we take action?

ในเมื่อมีความรู้ในสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว ทำไมองค์กรต่างๆ จึงไม่ได้ทำในสิ่งที่ต้องทำ

คำถามโลกแตกอันนี้ กลับเตือนให้ตระหนักว่า KM และการเสาะแสวงหาความรู้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการ “KM และ K ไม่ใช่เป้าหมาย” ความสัมฤทธิผลของงานต่างหากที่เป็นผลลัพท์ที่ต้องการ (ไม่ว่าวัตถุประสงค์ขององค์กรจะเป็นอะไร) กระบวนการที่จะทำให้งานสัมฤทธิ์ผลคือการกระทำ งานจะต้องเกิดจากการกระทำเสมอ งานไม่เกิดจากแผนงานเลิศหรูที่กลับไม่ได้ลงมือทำ

อ่านต่อ »


อารยะนินทา

12 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 February 2009 เวลา 0:01 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4362

คำว่าอารยะนินทานี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในลานเจ๊าะแจ๊ะ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ด้วยข้อความว่า:

ถ้าหายไปนานกว่านี้อีกนิดเดียว ก็จะโดนมาตรการทางสังคมแล้วครับ เรียกว่า อารยะนินทา

คำนี้ ค้นดูในฐานข้อมูลแล้ว พบว่าผมเป็นคนเขียนเองล่ะครับ ค้น Google ไม่พบคำนี้นอกจากในเว็บที่รับข่าวออกไปจากลานปัญญา

ในช่วงนั้น เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งมีการใช้คำว่าอารยะขัดขืน ซึ่งตาม wikipedia ในวันนี้ ให้ความหมายไว้ว่า

Civil disobedience is the active refusal to obey certain laws, demands and commands of a government, or of an occupying power, without resorting to physical violence [โดยไม่ใช้ความรุนแรง]. It is one of the primary tactics of nonviolent resistance. In its most nonviolent form (known as ahimsa [อหิงสา] or satyagraha [सत्याग्रह สัตยคราหะ=การต่อต้านขัดขืนโดยไม่ใช้ความรุนแรง]) it could be said that it is compassion in the form of respectful disagreement. …

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (4)

อ่าน: 3354

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาขี้ม้าเลียบค่ายมาสามตอน คิดว่าบรรยายองค์ประกอบครบถ้วนแล้ว บันทึกนี้จะเอา ลำตัว ปิก หาง เครื่องยนต์มาประกอบเป็นเครื่องบิน ถึงจะไม่ได้เรียนอากาศพลศาสตร์หรือการออกแบบเครื่องบินมา แต่ก็พอรู้ว่าลำตัว ปีก หาง เครื่องยนต์ อยู่ตรงไหนของเครื่องบินใช่ไหมครับ

เปิดเว็บของ Open Source Geospatial Foundation (OSGeo) ดู เว็บนี้น่าสนใจในแง่ที่ผู้คนตระหนักว่าควรเลิกเฟอะฟะกันเสียที ถ้าขืนปล่อยให้ต่างคนต่างใช้ข้อมูลกันคนละมาตรฐาน ในที่สุดจะทำงานร่วมกันไม่ได้ แล้วผู้บริโภคก็จะสูญเสียเวลา แรงงาน และเงินมหาศาล เพื่อที่จะทำ Attributes ที่คนอื่นทำไว้แล้วใหม่ เพียงเพราะอ่านข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ได้

รายชื่อเครื่องมือที่แสดงอยู่ในรูปทางขวา แบ่งเป็นห้าหมวดคือ

  1. Web Mapping — โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บ
  2. Desktop Applications — โปรแกรมที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
  3. Geospatial Libraries — โปรแกรมเสริมที่ใช้อ่านเขียนดัดแปลงข้อมูลจากรูปแบบต่างๆ
  4. Metadata Catalog — คาตาล็อกของข้อมูลที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว
  5. Other Projects — ข้อมูลอื่นๆ

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาลำตัว หาปีก หาหาง หาเครื่องยนต์ ที่เหมาะกับเรา แล้วเอามาประกอบกัน ส่วนจะรู้ได้ยังไงนั้น มันยากตรงนั้นแหละครับ!

ต้องลองเล่น

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (3)

อ่าน: 4813

ลงทุนลงแรงกับ Attributes

ประโยชน์แท้จริงของ GIS ก็อยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาจาก Attributes นี่ล่ะครับ GIS เป็นเพียงเครื่องมือที่อิงกับแผนที่ ที่เข้ามาช่วยให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลในมิติต่างๆ

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจได้ว่าจะหาข้อมูลไปทำ Attribute อะไร ก็น่าจะตอบตัวเองก่อนว่าทำไปแล้ว ได้ประโยชน์อะไร; ในระบบ GIS การเพิ่ม Attributes เพิ่ม Layers ทำได้ง่ายมาก (เพราะข้อมูลเก็บในฐานข้อมูลซึ่เรียกใช้สะดวก และใช้คอมพิวเตอร์วาดรูปซึ่งทำได้ง่าย) แต่การเก็บข้อมูลนั้น กลับใช้แรงงาน และเวลาอย่างมากมาย

เมื่อออกไปในพื้นที่เพิ่อเก็บข้อมูล จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกครั้ง หากไปครั้งเดียวแต่เก็บข้อมูลได้หลายมิติ ก็จะประหยัดกว่ามาก

การจัดทำระบบ GIS ในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของราชการ ใช้วิธีซื้อแหลกกันมาตั้งนานแล้วนะครับ เรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว การซื้อแหลก มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง คือระบบมักจะอิงอยู่กับซอฟต์แวร์มาตรฐานไม่กี่ตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ (ถ้าจะทำ)

การเก็บข้อมูล

ดังที่กล่าวไว้ในตอน (1) ข้อมูลที่จะใช้กับ GIS มีสองส่วนคือข้อมูลแผนที่ และข้อมูลเชิงบรรยาย — คือบอกว่าอะไรอยู่ตรงไหน

วิธีเก็บข้อมูลที่เหมาะที่สุด คือวาดแผนที่ กำหนดพิกัดเส้นรุ้ง/เส้นแวงตามมุมของพื้นที่ แล้วจดใส่กระดาษพร้อมข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes) ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่นั้น จากนั้นค่อยนำกลับมาป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน.. คืนนี้ ต้องนอนเร็ว พรุ่งนี้ไปหาหมอครับ



Main: 0.14035701751709 sec
Sidebar: 0.36531805992126 sec