เส้นทางพายุ

อ่าน: 4358

http://stormadvisory.org/map/pacific/west/

เป็นแผนที่แสดงเส้นทางของพายุ ซึ่งเลือกดูเส้นทางพายุแต่ละลูกย้อนหลังไปได้ถึงปี 2488 ครับ

เช่นพายุที่เข้าแหลมตะลุมพุก นครศรีธรรมราช [1962 Storm #24] — จัดเป็น tropical storm แรงกว่า depression แต่ไม่ถึง typhoon (hurricane) ระดับ 1 — เป็นพายุที่ทำให้เกิด storm surge

หรือพายุไต้ฝุ่นเกย์ที่ขึ้นฝั่งที่อ.ท่าแซะ/อ.ประทิว ชุมพร [1989 Storm #32] — เป็นพายุที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วในอ่าวไทย และสร้างความเสียหาย (เท่าที่ทางราชการประเมิน) กว่าหมื่นหนึ่งพันล้านบาท


เฮระลึกชาติ ที่เลย (2)

อ่าน: 4695

วันที่ 25 เดิมคิดว่าจะทำพิธีอะไรต่างๆ ตอนเช้า แต่ยังไงก็ไม่รู้เปลี่ยนไปทำตอนเย็น เช้าก็เลยไปเที่ยวกัน ได้แม่ลำไยซึ่งเป็นเจ้าถิ่นพาเที่ยว ไปน้ำตกเพียงดิน วัดอะไรสักอย่าง (จดชื่อไว้ใน GPS) สวนหินผางาม (คุนหมิงเมืองไทย) น้ำตกสวนห้อม ถ้ำโพธิสัตว์ แล้วก็ไปกินข้าวกันในอำเภอหนองหิน

จากนั้นแยกย้ายกันอาบน้ำพักผ่อน แล้วทำพิธีต่างๆ บันทึกรูปและวิดีโอไว้ให้ครูบา แต่ส่วนนั้นไม่มีอยู่ในสไลด์โชว์ข้างล่างครับ เป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งจะให้ใครดูหรือไม่ให้ใครดู ก็แล้วแต่ครูบา — นับว่าวัตถุประสงค์ในการมาครั้งนี้ ก็บรรลุไปอีกอย่างหนึ่ง สังเกตได้ว่าใครต่อใคร มีกำลังใจดีขึ้นทั้งนั้น — ทริปนี้ไม่หนักเกินไปแม้แต่ตอนไปเที่ยว เพราะรู้สภาพอยู่ว่า ห้าคนร่วมสามร้อยปี อะไรไม่ไหวก็ข้ามไป

สไลด์โชว์ชุดนี้ ไม่มีเรื่องลับ แต่มี…ลับ (แล้วแต่จะคิดกันครับ)

อ่านต่อ »


เฮระลึกชาติ ที่เลย (1)

อ่าน: 3402

มาจังหวัดเลยเที่ยวนี้ ไม่ได้มาเที่ยวหรอกครับ มีหลายวัตถุประสงค์ที่จะออกจากพื้นที่ปลอดภัย (บ้าน) มาเหนื่อย มาลำบาก ก็นับได้ว่าได้เห็นเรื่องแปลกประหลาดต่างๆ มากมาย จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ ผมไม่เล่าอยู่ดี ฮี่ฮี่ ของอย่างนี้ต้องมาดูเอง พิจารณาเอง

เช้าวันที่ 24 ไปรับครูบากับแม่หวี แล้วไปรับป้าจุ๋ม ออกเดินทางมา อ.หนองหิน จ.เลย ระยะทางประมาณ 560 กม. มาถึงเอาบ่ายแก่ๆ หลงที่นัดหมายกันนิดหน่อย นัดที่ป้อมตำรวจ แต่ไม่ได้บอกว่าป้อมไหน บอกว่าอยู่บ้านหลักร้อย ที่จริงชื่อบ้านหลักร้อยหกสิบ นัดที่หนองหิน แต่ไม่บอกว่าตำบลหนองหิน หรืออำเภอหนองหิน เฮ้อ อิอิ มี GPS ไป ยังไงก็ไม่หลง (แต่เลย เพราะมาเลย)

ในที่สุดก็ได้เจอ แล้วเราก็เข้าไปบ้านแม่ลำไย-พ่อสุวรรณ เกษตรกรท้องถิ่น แม่ลำไยเป็นวิทยากรของจังหวัด มีความรู้เรื่องสมุนไพรเป็นอย่างดี(มาก) สุขภาพแ็ข็งแรง ปฏิบัติธรรม ก็รู้สึกเป็นคนใจดีครับ ภาษาถิ่นฟังพอเข้าใจแม้ไม่ 100% เวลามีศัพท์ยากๆ ป้าจุ๋มกรุณาอธิบายให้ฟัง

อ่านต่อ »


มองอนาคตกับ พล นิกร กิมหงวน

อ่าน: 4635

หนังสือหัสนิยาย ชุด พล นิกร กิมหงวน แต่งโดยคุณปรีชา อินทรปาลิต (๒๔๕๓-๒๕๑๑) ซึ่งน่าจะมีส่วนที่ทำให้ผมกลายเป็นนักอ่านในปัจจุบัน เท่าที่ ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร แฟนพันธ์ุแท้ รวบรวมไว้ได้ มี ๘๗๕ ตอน — อาจคลาดเคลื่อนได้

พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๒ ๙๔ ตอน
พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๗ ๑๗๗ ตอน
พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๐๑ ๑๓๕ ตอน
พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๑๑ ๔๖๙ ตอน

มีอยู่ตอนหนึ่งที่เป็นการวาดภาพอนาคตล่วงหน้าไป ๔๐ ปี จากพ.ศ.๒๕๑๐ ครับ จะถูกหรือผิดไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่ผมพบว่าความกล้าหาญ และจินตนาการของคุณปู่ปรีชานั้น น่าทึ่งมากครับ

อ่านต่อ »


ยามมืด

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 August 2009 เวลา 0:23 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5383

ยามมืดใช่มืดแท้ ทุกสถาน
ดูสิเมื่อรัตติกาล หม่นเศร้า
ดาวศุกร์กลับชัชวาล สุกสว่าง
แม้บ่มีจันทร์เจ้า ใช่ว้างหวาดหวิว

ยามหิวใช่จักต้อง เสียศรี
อุทกกลั้วนาภี อยู่ได้
เย็นซ่านผ่านอินทรีย์ พอชื่น จิตนา
แม้มิได้อิ่มไซร้ ใช่ต้องวางวาย

พรากหายใช่พรากร้าง นิรันดร์กาล
มีพรากมีพบพาน เพื่อนพ้อง
ชิงโศกโศกพาผลาญ เผาจิต
วันหนึ่งนั้นจักต้อง กลับร้ายกลายดี

ถึงทีสบเหตุร้าย แรงเข็ญ
พึงพินิจนั่นใช่เป็น สิ่งร้าย
พักหนึ่งจึ่งจิตเย็น ระลึกอยู่ เถิดรา
รู้แยกรู้ยักย้าย จักได้ทางเกษม

จุ่งเปรมปรีติด้วย ปัจจุบัน
ศานติอยู่คู่กัน แกร่งกล้า
เพียรระลึกรู้ทัน ในเหตุ ผลนอ
โลกทัศน์จักเจิดจ้า แจ่มด้วยปัญญา


บั้งไฟ

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 August 2009 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5021

แน่ล่ะครับ บั้งไฟเป็นส่วนประกอบสำคัญของบุญบั้งไฟ ประเพณีอีสาน

บั้งไฟแบ่งเป็นหลายระดับ ตามน้ำหนักของดินขับ

ก. บั้งไฟร้อย มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 3 ก.ก.

ข. บั้งไฟหมื่น มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 12 ก.ก.

ค. บั้งไฟแสน มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 120 ก.ก.

ง. บั้งไฟล้าน มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 500 ก.ก.

มีการแบ่งระดับ คงเป็นไปเพื่อการประกวดประขันพนันขันต่อ สงสัยว่าไม่ใช่เพื่อประเพณีหรอกครับ

เราก็รู้จักบั้งไฟแบบนี้มาตั้งนานแล้ว มันกลายพันธุ์มาจากลำไม้ไผ่ เป็นท่อพีวีซี ต่อไปควรจะเป็นอะไร? ดินขับเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่? ติดร่มได้หรือไม่? พอใจแค่นี้หรือครับ?

อ่านต่อ »


บุพการี

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 July 2009 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5068

๏ ใครแทนพ่อแม่ได้ ไป่มีเลยท่าน
คือคู่จันทร์สุรีย์ศรี สว่างหล้า
สิ้นท่านทั่วปฐพี มืดหม่น
หมองมิ่งขวัญซ่อนหน้า นิ่งน้ำตาไหล ฯ

๏ พ่อแม่เสมอพระเจ้า บนสวรรค์
ลูกนิ่งน้อมมิ่งขวัญ กราบไหว้
น้ำตาต่างรสสุคันธ์ อบร่ำ หอมฤา
หอมค่าน้ำใจไซร้ ท่านให้หมดเสมอ ฯ

๏ ถึงตายเกิดใหม่ซ้ำ ไฉนสนอง
คุณพ่อแม่ทั้งสอง สั่งฟ้า
น้ำนมที่ลูกรอง ดูดดื่ม
หวานใหม่ในชาติหน้า กี่หล้าฤาสลาย ฯ

๏ รอยเท้าพ่อแม่ได้ เหยียบลงใดแล
เพียงแค่ฝุ่นธุลีผง ค่าไร้
กราบรอยท่านมิ่งมง คลคู่ ใจนา
กายสิทธิ์ใส่เกล้าไว้ เพื่อให้ขวัญขลัง ๚ะ๛

อังคาร กัลยาณพงศ์


พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติของรัชกาลที่ ๗

อ่าน: 20788

เมื่อวันพฤหัส ผมได้พบกับพี่ที่นับถือมากท่านหนึ่ง เพราะไม่ได้พบกันนานแล้ว จึงนั่งคุยกันอย่างออกรสชาตินานสามชั่วโมงครึ่ง เป็นที่สนุกสนาน ในโอกาสนี้ นอกจากกินข้าวฟรีแล้ว ยังได้รับหนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น: ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕” กับ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ภาคจบ” โดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งท่านได้ทรงนิพนธ์ไว้เสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ปี ๒๔๘๖ แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ ผ่านไป ๕๖ ปี มาจนปี ๒๕๔๒ ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงตรวจแก้ไขเล็กน้อย แล้วประทานให้ “ศิลปวัฒนธรรม” พิมพ์เผยแพร่ เล่มที่ผมได้รับมา เป็นการพิมพ์ใหม่ (ครั้งที่ ๖ กับครั้งที่ ๓) ในปี ๒๕๕๑ เข้าใจว่าหาหนังสือนี้ในตลาดหนังสือไม่ได้แล้วครับ

ปี ๒๔๗๕ เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังจากนั้นมีความแตกแยกทางความคิดในคณะราษฎร์
ปี ๒๔๗๖ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ใช้อำนาจเผด็จการในรัฐสภา; พระยาพหลพลพยุหเสนา ทำการรัฐประหารครั้งแรก; เกิดกบฏบวรเดช เป็นกบฎครั้งแรก
ปี ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ สละราชสมบัติ เมื่อคราวเสด็จประพาสอังกฤษ เพื่อทรงรับการถวายการผ่าตัดพระเนตรด้านซ้าย

เอกสารอ้างอิงอื่นๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ (20 MB pdf) แต่ไม่มีพระราชหัตถเลขาที่สละราชสมบัติ ซึ่งเมื่ออ่านแล้ว ก็พอเข้าใจได้ ว่าทำไมรัฐบาลในสมัยนั้นจึงไม่นำมารวม

ผมอ่านแล้วจึงอยากอัญเชิญพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ มาตีพิมพ์ไว้เพื่อให้มีเอกสารอ้างอิงแบบออนไลน์ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


สงครามหมู

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 May 2009 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4214

เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน พ.ศ. 2402 ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

ความเป็นมา

เมื่อสหรัฐอเมริกา ประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ.2319 สหราชอาณาจักรยังคงยึดครองตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ (ปัจจุบันเป็นคานาดา) ทำให้มีปัญหาพรมแดนมาตลอด จนกระทั่งเกิดสนธิสัญญาโอเรกอน ซึ่งแบ่งเขตแดนสองประเทศไว้ว่า

along the forty-ninth parallel of north latitude to the middle of the channel which separates the continent from Vancouver Island, and thence southerly through the middle of the said channel, and of Juan de Fuca Strait, to the Pacific Ocean.

“แบ่งตามแนวเส้นรุ้งที่ 49° เหนือไปจนกลางร่องน้ำซึ่งแยกแผ่นดินใหญ่ออกจากเกาะแวนคูเวอร์ ซึ่งหมายรวมถึงทางใต้ของกึ่งกลางร่องน้ำดังกล่าว และกึ่งกลางช่องแคบฮวนเดอฟูคา ไปจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก”

แต่ข้อความในสนธิสัญญานี้ ก็ยังมีความกำกวม กล่าวคือมันมีร่องน้ำใหญ่อยู่สองอัน คือที่ช่องแคบฮาโรทางด้านตะวันตกของเกาะฮวนเดอฟูคา และช่องแคบโรซาริโอทางตะวันออกของเกาะ ที่ตีความได้ว่าคือ “กึ่งกลางของร่องน้ำ” ดังนั้นเขตแดนจึงไม่ชัดเจน

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ชาวนาอเมริกันชื่อเลย์แมน คัลทาร์บุกเบิกเข้าไปยึดครองพืนที่เกาะฮวนเดอฟูคาในยุคตื่นทอง ได้ยิงหมูตัวหนึ่งซึ่งบุกเข้ามากินหัวมันเทศในสวนของเขา หมูตัวนี้เป็นของนายชาลส์ กริฟฟิน ชาวไอริช ผู้ซึ่งถูกจ้างโดยบริษัทอังกฤษให้ดูแลฟาร์มแกะ กริฟฟินเป็นเจ้าของหมูหลายตัว และปล่อยให้หากินอย่างอิสระ

คัลทาร์ได้เสนอจ่ายเงินสิบเหรียญเพื่อชดใช้ชีวิตหมู แต่กริฟฟินตอบกลับมาว่าต้องการเงินร้อยเหรียญเป็นค่าเสียหาย พอเจออย่างนี้เข้าคัลทาร์ก็เลยไม่ยอมจ่ายเลย เพราะเขาคิดว่าหมูบุกรุกเข้ามาในที่ของเขา กริฟฟินนำเรื่องไปร้องทางการ จนทางการอังกฤษจึงขู่จะมาจับคัลทาร์ ส่วนทางเหล่าผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอเมริกัน จึงเรียกทหารมาป้องกัน

แล้วเรื่องไม่เป็นเรื่อง ก็ลุกลามใหญ่โตจนเป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ เพราะหมูตัวเดียว

อ่านต่อ »


สรุปทริปเบิกโรงวัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ ลำพูน

อ่าน: 5383

เรื่องนี้ คงจะเริ่มต้นขึ้นที่คุณอมรา พวงชมพู กรรมการผู้จัดการบริษัทสยามแฮนด์ จำกัด เจ้าของเสื้อแบรนด์ “แตงโม” ซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๑ ได้เจอกับครูบา ในงานวันระพีเสวนาครั้งที่ 2/2552 ป้าจุ๋มก็อยู่ด้วย คุยไปคุยมาก็ไปถึงเรื่องอรรถประโยชน์ของต้นเอกมหาชัย คุณอมราอยากได้ไปปลูกที่วัดพระบาทห้วยต้ม สองพันต้น ก็เลยมีอันจะต้องไปดูสถานที่ บอกกล่าววิธีเตรียมหลุม ระยะห่าง การใส่ปุ๋ยเพื่อเตรียมหลุม ฯลฯ ซึ่งนั่นเป็นที่มาหลักของทริปนี้ครับ; เรื่องอื่นเป็นเรื่องรองทั้งนั้น ทั้งเส้นทางเถิน-ลี้ ทั้งดอยอินทนนท์ ทั้งร้านถนอมโภชนา ทั้งกิ๊ก (สองอันหลังนี่ หลุดออกมาทีหลัง ฮี่ฮี่ฮี่)

โรงงานเสื้อแตงโม

โรงงานเสื้อแตงโมนั้น กระจายอยู่ทั่วไป สร้างงานให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีโอกาส (เช่นที่นราธิวาส) เป็นโรงงานที่ไม่มีเวลาเข้างาน อยากจะมาทำตอนไหนก็มา ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย โดนใจผมมากครับ คนเราอยากได้อะไร ต้องหาเอา (earn) จะมัวนั่งรอสิ่งที่ต้องการไม่ได้ ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องทำไม่เหมือนเดิม กรีดยางแล้วมาเย็บเสื้อก็ยังได้ ดีกว่าอยู่กับบ้านเฉยๆ

กับการทำงานเป็นลำดับชั้นที่เราคิดกันว่า “เป็นระบบ” นั้น เป็นการเคารพความรู้ความชำนาญในตัวคนแค่ไหน การที่หัวหน้าใหญ่สั่งการบ้าๆบอๆ แถมบางทีทำเพื่อตัวเองนั้น ดีกับสังคมนั้นอย่างไร หากทุกๆคนในสังคมนั้น มีส่วนช่วยกันร่วมสร้างสังคมนั้นขึ้นมา มากบ้างน้อยบ้าง เขาแต่ละคนได้รับโอกาสอย่างยุติธรรมหรือไม่

หรือว่า “พอไม่โปรด ก็เลยแป็ก” เป็นเรื่องที่ยุติธรรมแล้ว

อ่านต่อ »



Main: 0.13767385482788 sec
Sidebar: 0.2521641254425 sec