น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)

อ่าน: 5254

รู้สึกติดใจกับโศกนาฏกรรมอันโหดร้ายที่เหลียวมองไปรอบตัวมีแต่น้ำ แต่ดื่มไม่ได้ ต้องขนน้ำมาจากระยะไกลหลายสิบ หลายร้อยกิโลเมตร

คืนนี้พักจากการเขียนโปรแกรม ก็เลยค้นเน็ตดูว่ามีวิธีแก้ปัญหาน้ำดื่มในเขตภัยพิบัติในประเทศอื่นบ้างหรือไม่ เลยไปเจอวิธีหนึ่ง เรียกว่า Ceramic Water Filter ครับ เรียก Ceramic Filter ฟังดูดี มีชาติสกุล เหมือนใช้ความรู้สูงด้วยนะ ที่จริงแล้วสร้างได้ไม่ยากหรอกครับ เพราะ Ceramic Filter นี้คือดินเผานั่นแหละ รูปร่างเหมือนกระถางต้นไม้แต่ไม่เจาะรูระบายน้ำที่ก้น

หลักการก็ง่ายๆ ครับ ดินเผาไม่ได้แน่นเป็นเนื้อเดียวไปหมด มันมีช่องว่างเล็กจิ๋วขนาด 0.6-3 ไมครอนที่น้ำซึมผ่านได้  ดังนั้นก็จะกรองสารแขวนลอยต่างๆ เช่นดิน ซากพืช ซากสัตว์ที่มากับน้ำ

ใช้แกลบป่นละเอียด 20% กับดินเหนียว 80% ผสมกัน 10 นาทีจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นผสมน้ำอีกเท่าตัวโดยปริมาตร ปั่นรวมกันไปอีก 10 นาทีก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูป แล้วก็ผึ่งไว้ให้แห้งก่อนส่งเข้าเตาเผา

ขั้นตอนการเผา มีการไล่น้ำโดยเผาที่ 100°C ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วก็ค่อยๆเร่งเป็น 866°C กระบวนการเผาทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง แล้วก็ต้องปล่อยให้เตาค่อยๆ เย็นลงเองอีกประมาณ 24 ชั่วโมง

ฟิลเตอร์รูปกระถางต้นไม้ที่ได้ เอาไปแช่น้ำไว้สามชั่วโมงให้ดินเผาอิ่มน้ำ จากนั้นทดลองเติมน้ำจนเต็ม ทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมงเพื่อวัดว่ากรองน้ำได้โอเคไหม ถ้าหากว่ากรองน้ำได้ไม่อยู่ในช่วงมาตรฐาน (มากหรือน้อยเกินไป) ก็จะถูกทำลายทิ้ง จากนั้นก็เทน้ำออก ผึ่งให้แห้ง เตรียมตัวสำหรับขึ้นต่อไป

อ่านต่อ »


เสียง

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 September 2010 เวลา 13:01 ในหมวดหมู่ การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ #
อ่าน: 4082

คนเราอยู่ในสังคม ที่ประกอบไปด้วยหมู่ชนอันแตกต่าง ก็ย่อมจะมีเรื่องที่ควบคุมไม่ได้อยู่มากมาย รวมทั้งเรื่องเสียงด้วย

ตั้งแต่เกิด เราคุ้นเคยกับเสียงต่างๆ นานา เราใช้เสียงเป็นการเรียนรู้ และรับรู้ ทั้งเรื่องที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา ไม่ว่าเสียงนั้นจะเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังทำหรือสนใจหรือไม่ การที่จะไปควบคุมเสียงรบกวนเหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมเป็นไปไม่ได้

อ่านต่อ »


จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน จากมุมมองของมนุษย์ธรรมดา

อ่าน: 5363

สังคมมนุษย์เป็นสังคมของการพึ่งพากัน ไม่มีใครที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ (แบบที่มีคุณภาพชีวิตพอสมควร) ได้ด้วยตนเอง เมื่อคนอยู่รวมกลุ่มกัน ต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน

18 ต.ค. 2516 สี่วันหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ดำเนินไปถึงจุดไคลแม็กซ์ อ.ป๋วย เขียนบทความ The Quality of Life of a South East Asian : A Chronical of Hope from Womb to Tomb ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ the Bangkok Post บทความนี้ ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทย และกล่าวกันว่าเป็นแรงผลักดันสำคัญของแนวคิดแบบรัฐสวัสดิการของไทย

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าบทความนี้ สร้างแรงบันดาลใจมหาศาล แต่ผมก็ขอตั้งข้อสังเกตว่ามันเป็นไปเช่นเดียวกับที่เคยเป็นมา คือคนเชื่อยังชี้นิ้วไปยังคนอื่น (รัฐ) ว่าจะต้องทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ ส่วนตัวเองนั้นขอพูด ขอวิจารณ์ ขอผลักด้นและกดดัน ประกาศความต้องการอย่างชัดแจ้ง ผมคิดว่ายังมีนัยอื่นในบทความนี้ ที่ระบุถึงหน้าที่ของทุกคนในรัฐสวัสดิการ — ถ้าหากว่าต้องการรัฐสวัสดิการจริง

หากว่าบทความนี้เป็น check-list ตามมาตรฐาน เราสอบตกไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานอะไรก็ตาม ทั้งรัฐที่ปกครองมาทุกยุคทุกสมัย และประชาชนที่ไม่ทำหน้าที่แต่เรียกร้องเอาเหมือนนับถือผี

อ่านต่อ »


อนุสนธิจากแผ่นดินไหวในเฮติ

อ่าน: 3556

ผมเจตนาไม่เขียนเรื่องนี้ในขณะที่เกิดเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ คืออยากเทียบความคิดกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ว่าห่างไกลกันแค่ไหนครับ

สถานการณ์คือ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 เวลา 04:53:10 ตามเวลาประเทศไทย มีแผ่นดินไหวขนาด M7 ห่างจากเมือง Port-au-Prince (ในประเทศเฮติ) 23 กม. เป็นแผ่นดินไหวบนบกที่อยู่ตื้น จึงเกิดความเสียหายกับบ้านเรือนมาก โครงสร้างพื้นฐานถูกทำลายเป็นส่วนใหญ่ ระบบโทรคมนาคมไม่เหลือ (ยกเว้นยิงตรงผ่านดาวเทียม) เฮติตั้งอยู่บนรอยแยกพอดี จึงมีความเสี่ยงนี้เป็นธรรมชาติ บ้านเรือนไม่ค่อยมีตึกสูง ถึงเป็นตึกเตี้ย ก็ถล่มลงเป็นจำนวนมาก

จนถึงขณะที่เขียนนี้ ผ่านไปแล้ว 10 วัน โครงสร้างพื้นฐานยังไม่กลับมา

  • สนามบินในพื้นที่รองรับเครื่องบินได้วันละร้อยเที่ยว ในขณะที่มีความช่วยเหลือต้องการส่งเข้าไปกว่าพันเที่ยว การแก้ไข: เปิดสนามบินสำรองห่างออกไป 40 กม แล้วขอใช้สนามบินอีกสองแห่งในโดมินิกัน (ประเทศติดกัน)
  • ท่าเรือซึ่งเป็นทางผ่านของความช่วยเหลือล็อตใหญ่และน้ำมัน ทหารอเมริกันเพิ่งซ่อมเสร็จ คาดว่าคงอีกวันสองวันกว่าเรือจะเดินทางเข้าไปเทียบได้
  • ไฟฟ้า: หายไปชั่วขณะ
  • โทรศัพท์: ยังไม่มี ยกเว้นโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม
  • อินเทอร์เน็ต: ไม่มี ถ้ามี วิดีโอข่าวจะเร็วกว่านี้
  • โรงพยาบาล: ถูกทำลาย ไม่น่าจะมีไฟฟ้า ผู้บาดเจ็บล้มตายมาก โรงพยาบาลสนามมีจำนวนไม่พอ
  • อาหาร: ไม่พอ น้ำสะอาดไม่พอ
  • เงิน: ไม่มี ถึงมีก็ไม่มีความหมาย
  • ที่พัก: ไม่มี ที่พักชั่วคราวมีจำนวนไม่พอ
  • เศรษฐกิจ: ย่อยยับ

อย่างนี้จึงเรียกวิกฤต เป็นสถานการณ์ซึ่งชีวิตไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ เงินไม่มีความหมาย ถึงมีเงินก็ไม่รู้จะเอาไปซื้ออะไร ธุรกิจบริการหยุดหมด การซื้อขายสินค้าเจอปัญหาเรื่องการขนส่ง-เดินทาง อาหารเข้าสู่พื้นที่ประสบภัยไม่ได้ ติดต่อสื่อสารไม่ได้ ตามหาครอบครัวและญาติไม่ได้ เต็มไปด้วยความโกลาหล

นี่เป็นสเกลของภัยพิบัติขนาดใหญ่ ซึ่งต่อให้เตรียมพร้อมอย่างไร ก็ยากที่จะรับมือได้ดี แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่จะละเลยการเตรียมพร้อม

อ่านต่อ »


กรนพิฆาต

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 January 2010 เวลา 13:46 ในหมวดหมู่ การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ #
อ่าน: 5972

เสียงกรนเกิดจากลมหายใจเข้าออก กระทบบริเวณช่องคอ เนื้อเยื่อในช่องคอ เช่นเพดานอ่อนตรงลิ้นไก่ เกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงขึ้น บางคนกรนได้ดังพอๆ กับเสียงเครื่องยนต์เจ็ต และนำไปสู่การกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนที่นอนอยู่ใกล้ๆ

การกรนไม่ได้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น thaiclinic.com อธิบายไว้ว่า

… เวลาคนเรานอนหลับ กล้ามเนื้อที่ลิ้นและที่โคนลิ้น จะคลายตัวลงไปด้วย ทำให้ลิ้นตกลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ แต่ไม่ได้ปิดสนิทนะครับ ทำให้อากาศที่เราหายใจผ่านจมูก และผ่านลงไปยังโพรงจมูกด้านหลัง ผ่านไปไม่สะดวกนัก เกิดคล้ายการกระพือบริเวณที่โคนลิ้น ทำให้เกิดเป็นเสียงกรน กรณีเช่นนี้ ถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ

ถ้าหากเราทำงานหนักมาทั้งวัน หรือเหนื่อยมาก ก็จะนอนหลับสนิทหรือ deep มาก ทำให้ลิ้นตกลงไปได้มากขึ้น ก็ยิ่งกรนหนักขึ้น แล้วโอกาสที่ร่างกายจะพลิกตัวขณะหลับก็น้อย ทำให้คนที่หลับสนิทมากๆ กรนได้มากกว่าทั่วไป…

อ่านต่อ »


แผน ICT2020

อ่าน: 4159

เมื่อวานไปร่วมแสดงความคิดเห็นใน ICT2020 : High-level Expert Roundtable เจอ อ.หมอวิจารณ์ อ.แหวว/สสสส.1 และคนคุ้นเคยในวงการไอทีที่ทำเรื่องทางสังคมอีกประมาณครึ่งโหล และที่ไม่รู้จักสองโหล

ด้วยความที่มีเรื่องอึดอัดใจที่เกี่ยวกับการใช้งานไอซีทีในการพัฒนา และในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป อยู่หลายเรื่อง ผมก็เลยล่อไปหลายดอกครับ อิอิ ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ความผิดของคนทำแผนหรอก คนทำแผนกับคนปฏิบัติเป็นคนละหน่วยงานกัน มีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน

ประเด็นที่คุยกัน ก็น่าฟังทั้งนั้น จนสงสัยว่าจะใส่เข้าไปหมดได้ยังไง…

ไม่เป็นไร… ผมดีใจที่คนทำแผนเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป โดยไม่เชื่อแต่ผู้เชี่ยวชาญ หรือคิดเอาเองนะครับ ในเมื่อเปิดโอกาสแล้ว ใครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาไอซีทีของเมืองไทย ก็ขอให้ช่วยกันออกความเห็นหน่อยนะครับ อย่าเอาแต่บ่นเลย มีโอกาสแล้ว ใช้ให้คุ้มค่านะครับ

ในโอกาสที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) คณะทำงานฯ เห็นความสำคัญของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดทำ เอกสารดังกล่าว จึงได้เปิดเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคณะทำงานฯ และประชาชนทั่วไปในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดทำ ICT2020 นี้…

ขอความคิดเห็นเพื่อกำหนดภาพ ICT ของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า


ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 A

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 July 2009 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ #
อ่าน: 7237

แปลอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลในเว็บไซต์ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ CDC เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2552 ถ้าแปลไม่ถูกใจก็ขออภัยนะครับ เชิญแปลแบบที่ดีกว่าได้เลย อิอิ เพราะให้ลิงก์ไว้แล้ว

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (4)

อ่าน: 3321

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาขี้ม้าเลียบค่ายมาสามตอน คิดว่าบรรยายองค์ประกอบครบถ้วนแล้ว บันทึกนี้จะเอา ลำตัว ปิก หาง เครื่องยนต์มาประกอบเป็นเครื่องบิน ถึงจะไม่ได้เรียนอากาศพลศาสตร์หรือการออกแบบเครื่องบินมา แต่ก็พอรู้ว่าลำตัว ปีก หาง เครื่องยนต์ อยู่ตรงไหนของเครื่องบินใช่ไหมครับ

เปิดเว็บของ Open Source Geospatial Foundation (OSGeo) ดู เว็บนี้น่าสนใจในแง่ที่ผู้คนตระหนักว่าควรเลิกเฟอะฟะกันเสียที ถ้าขืนปล่อยให้ต่างคนต่างใช้ข้อมูลกันคนละมาตรฐาน ในที่สุดจะทำงานร่วมกันไม่ได้ แล้วผู้บริโภคก็จะสูญเสียเวลา แรงงาน และเงินมหาศาล เพื่อที่จะทำ Attributes ที่คนอื่นทำไว้แล้วใหม่ เพียงเพราะอ่านข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ได้

รายชื่อเครื่องมือที่แสดงอยู่ในรูปทางขวา แบ่งเป็นห้าหมวดคือ

  1. Web Mapping — โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บ
  2. Desktop Applications — โปรแกรมที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
  3. Geospatial Libraries — โปรแกรมเสริมที่ใช้อ่านเขียนดัดแปลงข้อมูลจากรูปแบบต่างๆ
  4. Metadata Catalog — คาตาล็อกของข้อมูลที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว
  5. Other Projects — ข้อมูลอื่นๆ

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาลำตัว หาปีก หาหาง หาเครื่องยนต์ ที่เหมาะกับเรา แล้วเอามาประกอบกัน ส่วนจะรู้ได้ยังไงนั้น มันยากตรงนั้นแหละครับ!

ต้องลองเล่น

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (3)

อ่าน: 4776

ลงทุนลงแรงกับ Attributes

ประโยชน์แท้จริงของ GIS ก็อยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาจาก Attributes นี่ล่ะครับ GIS เป็นเพียงเครื่องมือที่อิงกับแผนที่ ที่เข้ามาช่วยให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลในมิติต่างๆ

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจได้ว่าจะหาข้อมูลไปทำ Attribute อะไร ก็น่าจะตอบตัวเองก่อนว่าทำไปแล้ว ได้ประโยชน์อะไร; ในระบบ GIS การเพิ่ม Attributes เพิ่ม Layers ทำได้ง่ายมาก (เพราะข้อมูลเก็บในฐานข้อมูลซึ่เรียกใช้สะดวก และใช้คอมพิวเตอร์วาดรูปซึ่งทำได้ง่าย) แต่การเก็บข้อมูลนั้น กลับใช้แรงงาน และเวลาอย่างมากมาย

เมื่อออกไปในพื้นที่เพิ่อเก็บข้อมูล จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกครั้ง หากไปครั้งเดียวแต่เก็บข้อมูลได้หลายมิติ ก็จะประหยัดกว่ามาก

การจัดทำระบบ GIS ในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของราชการ ใช้วิธีซื้อแหลกกันมาตั้งนานแล้วนะครับ เรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว การซื้อแหลก มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง คือระบบมักจะอิงอยู่กับซอฟต์แวร์มาตรฐานไม่กี่ตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ (ถ้าจะทำ)

การเก็บข้อมูล

ดังที่กล่าวไว้ในตอน (1) ข้อมูลที่จะใช้กับ GIS มีสองส่วนคือข้อมูลแผนที่ และข้อมูลเชิงบรรยาย — คือบอกว่าอะไรอยู่ตรงไหน

วิธีเก็บข้อมูลที่เหมาะที่สุด คือวาดแผนที่ กำหนดพิกัดเส้นรุ้ง/เส้นแวงตามมุมของพื้นที่ แล้วจดใส่กระดาษพร้อมข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes) ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่นั้น จากนั้นค่อยนำกลับมาป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน.. คืนนี้ ต้องนอนเร็ว พรุ่งนี้ไปหาหมอครับ


เริ่มต้นกับ GIS (2)

อ่าน: 3970

ความคิดเกี่ยวกับ Base Map ราคาถูกในระบบ GIS

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี Base Map ที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่หลายที่ เช่น Google Maps Yahoo! Maps หรือ Microsoft Virtual Earth ฯลฯ

Base Map เป็นต้นทุนที่อาจจะแพงที่สุดในการทำระบบ GIS เดิมทีจะต้องใช้เครื่องบิน บินถ่าย หรือซื้อภาพถ่ายจากดาวเทียม แล้วนำภาพมาแปลงเป็นพิกัดลงทีละจุด ในเมื่อมี Base Map ให้ใช้อยู่แล้ว การเริ่มต้นระบบ GIS จึงประหยัดเงินและเวลาลงได้มาก

เราดู Base Map จากอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา หมายความว่าถ้าจะใช้วิธีนี้ ก็ต้องมีความเร็วในการเชื่อมต่อไปต่างประเทศที่ดี (ไม่ใช่แค่วงจรที่เชื่อมต่อไปยังไอเอสพีมีความเร็วสูง แต่ต้องดึงข้อมูลจากต่างประเทศผ่านไอเอสพีนั้นได้เร็วจริงด้วย อย่าไปดูแค่คำว่า Hi-speed หรือ Broadband ซึ่งผู้บริโภคถูกหลอกกันมาซะเยอะแล้ว)

Base Map server ที่ต่างประเทศ ส่งรูปมาให้เราเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ (Tile) แล้วโปรแกรมควบคุม เอา Tile หลายๆ อันมาต่อกันเป็นแผนที่ เราย่อ/ขยาย และกวาดไปดูพื้นที่ข้างเคียงได้ผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา

อ่านต่อ »



Main: 0.062936067581177 sec
Sidebar: 0.14487600326538 sec