แก้ไขหรือรอไป

อ่าน: 3230

เน็ตผมเจ๊งครับ ต่อผ่านมือถือได้แต่ไม่ถนัด ดังนั้นจะไม่เขียนอะไรยาวมากๆ

น้ำท่วมหาดใหญ่ ถ้าท่วมแล้ว การแก้ไขโดยการเร่งระบายน้ำนั้น น่าจะถูกต้อง แต่ถ้าชลอน้ำเอาไว้ไม่ให้ท่วมเลย น่าจะดีกว่า

น้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาบรรทัดเข้าสู่นครศรีธรรมราช-พัทลุง และอาจจะไปยังจังหวัดอื่นๆ เกิดจากฝนตกลงกลางคาบสมุทรซึ่งเป็นภูเขา ภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำฝนตกวันละ 100-200 มม. คูณกับพื้นที่ภูเขากลายเป็นปริมาตรน้ำมหาศาล แต่น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ ก็จะไหลลงไปรวมกันในโตรกเขา ตามลุ่มน้ำลำธาร และไหลต่อไปยังชุมชน และเมืองซึ่งมักตั้งอยู่ใกล้ทางน้ำเสมอ… เป็นอาการเดียวกับหาดใหญ่ สุโขทัย บางระกำ-พิษณุโลก บางบาล-อยุธยา เมื่อมีฝนตกหนักอีก ผลอย่างนี้ก็จะเกิดอีก

พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กว่าสองพันตารางกิโลเมตร ฝนตกหนัก 600 มม.ในเจ็ดวัน คิดเป็นปริมาณน้ำ 1,200 ล้านลูกบากศ์เมตร ถ้าดินและป่าดูดซับหรือชลอไว้ได้ครึ่งหนึ่ง น้ำที่เหลือ 600 ล้านลูกบากศ์เมตร ไหลไปทางปากช่องในเวลาอันรวดเร็ง ลงเขื่อนลำตะคองซึ่งมีความจุ 300 ล้านลูกบากศก์เมตร ลำตะคองจะไปรับได้ยังไงไหวล่ะครับ น้ำล้นเขื่อน แล้วอะไรที่อยู่ใต้เขื่อน ก็ท่วมแหลกราญกันไป

ฝนตก จะไปห้ามคงยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำอะไรไม่ได้ซะทีเดียวหรอกครับ สำคัญอยู่ที่ว่าทำอะไรหรือเปล่าต่างหาก หรือว่าจะรอให้น้ำท่วมเสียก่อนแล้วจึงจะช่วยเหลือ

จะแก้ปัญหาน้ำของพื้นที่อะไรก็ตาม ลองดูไปทางต้นน้ำซิครับ


เก็บตกงานเสวนา สวทช. NAC2011

อ่าน: 4657

หลังจากเขียนบันทึกที่แล้ว เรื่องความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผมก็ไปขึ้นเวทีเสวนาของ สวทช.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญครับ พิลึกจริงๆ

มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่าน คือ

  • รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ - มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมสิรินธร ในพระบรมราชูปถัมป์ของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
  • พลเรือตรีถาวร เจริญดี - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
  • ศ.เกียรติคุณ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว - สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
  • คุณวีระชัย ไชยสระแก้ว - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • คุณมนตรี ชนะชัยวิบูลย์วัฒน์ - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • คุณปรเมศวร์ มินศิริ - ไม่รู้จะลงตำแหน่งอย่างไรเพราะทำเยอะแยะไปหมดเลย แต่เป็นงานในภาคประชาชนทั้งนั้น
  • ผม

การเสวนาครั้งนี้ เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๑ - บทเรียนจากญี่ปุ่นสู่การเตรียมพร้อมของไทย มี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.เป็นผู้ดำเนินการเสวนาเอง มีผู้ฟังก็เต็มออดิทอเรียมของ สวทช. และมีผู้ฟังการถ่ายทอดสดทางอินเทอร์เน็ตอีกประมาณ 400 ท่าน

ด้วยความผูกพันกับ สวทช. ซึ่งกาลครั้งหนึ่งผมเคยเป็นอาสาสมัครที่เนคเทคอยู่หลายปี เมื่อชวนมายังไงผมก็ไปร่วมด้วยแน่นอนครับ แต่ยอมรับว่าหนักใจเรื่องเวลา ฮี่ฮี่ เพราะเวลาสามชั่วโมง วิทยากรสามท่าน-ท่านใดก็ได้ สามารถจะให้ได้ทั้งภาพกว้างและลึกได้อย่างถี่ถ้วน แถมยังเหลือเวลาตอบคำถามได้อีกนิดหน่อย ทีนี้พอมีวิทยากรอยู่แปดท่าน จึงเหลือเวลาสั้นมาก ผมตัดประเด็นที่เตรียมไปทิ้งไปประมาณสองในสาม แล้วต้องพูดที่เหลืออย่างเร็วจี๋ ก็เลยอาจจะปัญหาสำหรับผู้ที่ทำ Live tweet (ขออภัยเป็นอย่างยิ่งนะครับ)

อ่านต่อ »


สึนามิโลก

อ่าน: 5062

ความจริงเรื่องที่จะเขียนนี้ ได้รับฟังมาก่อนหน้านี้นานแล้ว แต่ไม่เคยคิดจะตรวจสอบ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ดูคลิปอันหนึ่งจาก Timeline ของเพื่อนในทวิตเตอร์ จึงเริ่มตรวจสอบข้อมูล แล้วก็พบสิ่งที่น่าคิดจริงๆ … แต่เนื่องจากบันทึกในลักษณะนี้ อาจตีความได้ว่าเป็นลักษณะ Wishful thinking พยากรณ์ ทำนาย แช่งชัก หรืออยากจะโดน ดังนั้นก็จะเขียนเท่าที่ค้นมา โดยไม่อ้างอิงบุคคลใดให้อาจจะเสียหายนะครับ

“สึนามิโลก” ไม่ได้หมายถึงน้ำ แต่หมายถึงความปั่นป่วนทางการเงินที่รอเวลาอยู่

เรื่องเก่านมนานปี เริ่มต้นมาจาก “สถานะพิเศษ” ที่รัฐบาลสหรัฐออกกฏหมายว่ารัฐบาลพิมพ์ธนบัตรได้เอง โดยไม่ต้องนำทองไปสำรอง เงินสกุลดอลล่าร์เป็นสกุลหลักสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศ ไปไหนมาไหน แลกเงินสกุลท้องถิ่นด้วยดอลล่าร์ได้ไม่ยาก และที่สำคัญคือน้ำมันดิบก็ซื้อขายเป็นดอลล่าร์

แต่ภาระหนี้สินของสหรัฐก็มากล้นพ้นตัว

ขณะที่เขียนนี้ หนี้ภาครัฐ+เอกชน คิดเป็นกว่า 96% ของ GDP แล้ว ภาระหนี้บานเบอะ ยังมีค่าใช้จ่ายทางการทหาร อัตราคนว่างงานสูง ทำให้ต้องจ่ายค่าสวัสดิการสูง

การที่อัตราการว่างงานดูเหมือนลดลง เป็นการเล่นกายกรรมทางบัญชี โดยเปลี่ยนไปนับจำนวนคนว่างงานจากจำนวนคนที่รัฐจ่ายสวัสดิการให้ (ซึ่งมีระยะจำกัด) ถ้าเลยจากระยะที่กำหนดไปแล้วยังหางานไม่ได้ นอกจากรัฐไม่จ่ายเงิน+สแตมป์อาหารให้อีกต่อไปแล้ว ก็ยังไม่นับว่าเป็นคนว่างงานอีกด้วย แม้ว่ายังจะหางานไม่ได้ก็ตาม

ภาระหนี้ของสหรัฐ เคยอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้อีกครับ เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งต้องทุ่มทุกอย่างเพื่อชัยชนะ ชนะก็รอดตัวไปที แต่ถ้าแพ้ประเทศชาติก็ล่มจม

อ่านต่อ »


ไปภูเก็ตช่วงดวงจันทร์โคจรใกล้โลก

อ่าน: 3669

ไม่ได้เขียนบันทึกเสียสองวัน เพราะเดินทางไปเป็นวิทยากรที่ภูเก็ตครับ

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) จัดสัมนาตามโครงการสัมนาการแจ้งเตือนภัยในสถานประกอบการ ครั้งแรกก็จัดให้กับผู้ประกอบการโรงแรมในภูเก็ต เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ได้รับความสนใจพอควรทีเดียวครับ

แรกทีเดียว ยังไม่แน่ใจว่าอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะไปร่วมได้หรือเปล่า เนื่องจากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงต่างๆ ก็ต้องคอยเฝ้าว่าจะมีเรื่องที่ต้องชี้แจงหรือไม่ (เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว) พอดีคิวของกระทรวงไอซีทีผ่านไปแล้ว ก็เลยสามารถเดินทางไปร่วมบรรยายได้

นอกจากท่านอธิบดีแล้ว ก็ยังมีที่ปรึกษาพิเศษของ ศภช. แล้วก็มีผมด้วย ร่วมบรรยายเพื่อให้รายละเอียด โดย ผอ.ศภช. เป็นผู้ดำเนินรายการเอง

อ่านต่อ »


การขาดมิติในข่าวสาร

อ่าน: 3125

เมื่อเกิดเหตุความไม่สงบเมื่อปีก่อนและอีกครั้งเมื่อกลางปีที่แล้ว ผมบ่นในทวิตเตอร์ว่าข่าวสารไม่มี timestamp ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นข่าวเก่าหรือข่าวใหม่ เนื่องจาก Retweet/Share/Forward ส่งต่อกันทางอิเล็กทรอนิกส์ไปเรื่อยๆ

สักพักการรายงานข่าวก็เปลี่ยนไปบ้างครับ มีเวลาแปะข้างหน้ามาก่อน ไม่ว่าจะเป็นผู้รายงานข่าวต้นทางหรือสำนักข่าวตระหนักได้เองหรือไม่ก็ตาม ในฐานะผู้บริโภค ผมก็ขอขอบคุณที่ให้ความกระจ่างในข่าวสารครับ

ที่เสนอเรื่อง timestamp นี้ เพราะเป็นบทเรียนจากสึนามิปี 2547 ซึ่งมีความอลหม่านมาก ข่าวถูกก็อบปี้ไปมาจนไม่รู้ว่าอะไรเก่าอะไรใหม่ ข้อมูลต้นทางก็ไม่มีให้ตรวจสอบ ทั้งความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ความเห็นส่วนตัว ข่าวลือ แซวเล่น รายงานเหตุการณ์ เรื่องเล่า ปนเปกันไปหมด แล้วไม่รู้ด้วยว่า “ข่าว” อันนั้น อยู่บนบริบทอะไร

ช่วงนี้มีการตื่นข่าวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเกิดมีปัญหาขึ้นมาจากภัยธรรมชาติ ก็เกิดการอลหม่านขึ้นอีกแล้ว ตื่นรังสีจากข่าวที่ถูกส่งต่อซ้ำๆ กันโดยไม่มีเวลา บริบท ตลอดจนแหล่งข่าว ด้วยความแตกตื่น แล้วก็มีข่าวให้เอาเบตาดีน (น้ำยาใส่แผลสด) ทาคอ นัยว่าการทายาที่มีส่วนผสมของไอโอดีนที่ดูดซึมผ่านเนื้อเยื่ออ่อน จะทำให้ไอโอดีนเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งไอโซโทปของไอโอดีนที่มากับฝุ่นกัมมันตภาพรังสี ไม่สามารถเข้าไปในต่อมไทรอยด์ได้เพราะ “เต็มแล้ว” หรือว่าเป็นข่าวลือขายยาก็ไม่รู้ แต่ว่าทั้งยาเม็ดและยาใส่แผล ขาดตลาดไปเรียบร้อยแล้ว

เรื่องนี้ อ.วิบุล วงศ์ภูวรักษ์ ท่านรวบรวมข้อมูลไว้

อ่านต่อ »


ตาข่ายคลุมฟ้า (2)

อ่าน: 3428

บันทึกที่แล้ว เขียนเรื่อยเจื้อยไปจนจบ จึงเพิ่งนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้แนะทางออกเลย

การทำเองนั้น ยากลำบากเสมอครับ แต่การที่หวังว่าคนอื่นจะมาทำให้นั้น ดูเลื่อนลอยยังไงก็ไม่รู้ ยิ่งถ้าคนมาทำให้ ไม่เข้าใจความจำเป็นในพื้นที่แล้ว ยิ่งไปกันใหญ่

ตอนสึนามิเข้าชายฝั่งอันดามันปลายปี 2547 ตอนนั้นมีอาสาสมัครและมูลนิธิลงไปทำงานในพื้นที่มากมาย การติดต่อสื่อสารเป็นปัญหาจริงๆ เมื่อผมถามว่ามีอะไรจะให้ช่วยบ้างไหม มีมูลนิธิหนึ่งบอกขอสถานีโทรศัพท์มือถือที่มี EDGE… ผมผิดเอง ที่ถามไม่ตรงคำตอบ ฮาๆๆๆๆ… สมัยนั้น EDGE ยังมีแต่ในกรุงเทพ และสถานีฐานแถบชายฝั่งพังหมด ผมไม่ได้ทำธุรกิจมือถือ จะไปเอาจากไหนมาให้ล่ะ แต่ถ้าจะเอาอินเทอร์เน็ตนั้น ให้ได้ครับ

ต้นปีที่แล้ว มีแผ่นดินไหวในเฮติ ผมเอาบทเรียนสึนามิของเรามาเขียนบันทึก [ตาข่ายคลุมฟ้า] หลักการก็คือจัดให้มีการสื่อสารฉุกเฉินในท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร เรียกระดมความช่วยเหลือ บอกกล่าว ร้องขอ ทำให้ความช่วยเหลือตรงกับความต้องการของผู้ประสบภัยจริงๆ

อ่านต่อ »


การสื่อสารฉุกเฉิน

อ่าน: 3596

เหลือบไปเห็นข้อความร้องขอความช่วยเหลือใน facebook แต่เพราะผมเล่น facebook ไม่ค่อยเป็นครับ ไม่รู้จะให้ความเห็นอย่างไร

สนข.เด็กและเยาวชน ขบวนการตาสับปะรด was tagged in his own album.

ใครช่วยแนะนำที กรณีสึนามีทั้งที่ไทยและญี่ปุ่น ปัญหาใหญ่คือการติดต่อส่งข่าวสื่อสารระหว่างกัน ท่านใดมีข้อเสนอแนะดีๆบ้างไหมครับ การสื่อสารในยามวิกฤติ จะใช้วิธีใด

ประเด็นเรื่องการสื่อสารฉุกเฉินนี้ มีปฏิญญา Tampere ว่าด้วยการช่วยเหลือจากนานาชาติสำหรับการสื่อสารฉุกเฉินครับ รายละเอียดอ่านได้ที่นี่ แต่เมื่อตรวจดูในรายละเอียดแล้ว ทั้งญี่ปุ่นและไทย ไม่ได้ให้สัตยาบันในปฏิญญาฉบับนี้

ก็หมายความว่า จะไม่มีกระบวนการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารฉุกเฉินเข้ามาช่วยเหลือภัยพิบัติในประเทศ หรือผ่านแดนไปช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็วเป็นกรณีฉุกเฉิน… การนำอุปกรณ์เข้ามาช่วยเหลือ จะต้องผ่านกระบวนการพิธีทางศุลกากรตามปกติ คำว่า “ปกติ” นี่ล่ะครับ ที่เป็นปัญหา…ผมไม่บ่นดีกว่า

ช่วงที่เกิดภัยน้ำท่วมต่อกับภัยหนาว มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งกรุณานัดหมายให้ได้พบกรรมาธิการชั้นผู้ใหญ่ของวุฒิสภา ก็ได้พูดกันเรื่องเมืองไทยไม่ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาอันนี้ครับ แต่ว่า…เรื่องก็ไม่ไปไหน ส่วนหนึ่งเพราะช่วงนั้นกำลังจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 มีเรื่องวาระของวุฒิสมาชิกกำลังจะหมดลง และมีเรื่อง กสทช. และอะไรต่อมิอะไร… ถูกช่องทางแต่ไม่ถูกเวลาครับ

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนสึนามิที่ญี่ปุ่น 2011-03-11

อ่าน: 6167

การถอดบทเรียนที่ยากที่สุดแต่น่าจะได้ประโยชน์ที่สุด คือการถอดบทเรียนที่เราไม่ได้เรียน ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ ไม่เข้าใจบริบทและข้อจำกัดของสถานการณ์อย่างถ่องแท้ แต่สามารถเทียบเคียงกับสถานการณ์ของเราได้ เรียกว่าเรียนรู้จากบทเรียนชีวิตของคนอื่นก็แล้วกันครับ

เมื่อสี่ห้าปีก่อน ผมเคยถอดบทเรียนการจัดการสึนามิที่ญี่ปุ่นไว้ครั้งหนึ่ง คราวนี้ญี่ปุ่นก้าวหน้าไปกว่าก่อน

ระบบประเมินแผ่นดินไหว

ที่ตั้งของญี่ปุ่น อยู่แถบรอยต่อของเปลือกโลก ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในบริเวณใกล้ๆ ได้ง่าย และเนื่องจากระยะทางใกล้มาก จึงเหลือเวลาเตือนภัย น้อยจริงๆ ระบบเตือนภัยของญี่ปุ่น ไม่มีเวลามากนักสำหรับการคำนวณอะไรมากมาย ถ้าประมาณได้ เขาจะประมาณการและประกาศก่อนทันที เพราะชีวิตคนสำคัญที่สุด ความถูกต้องตามมาทีหลังครับ

[บันทึกเหตุการณ์]

ระบบตรวจจับแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น กระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหง แต่ทันทีที่เครื่องตรวจวัดตัวใดตัวหนึ่ง ตรวจจับการสั่นสะเทือนจากคลื่นปฐมภูมิ (p-wave) ได้ จะเริ่มการประมาณการความแรงและจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวทันที ถ้าตัวเลขเบื้องต้นทีความร้ายแรง เขาจะเริ่มกระบวนการเตือนภัยทันที

เมื่อผ่านไปสิบวินาที คลื่นปฐมภูมิเคลื่อนที่ไปเป็นวงกว้างมากขึ้น ย่อมผ่านเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวมากขึ้น ส่วนเครื่องตรวจวัดที่คลื่นปฐมภูมิผ่านไปแล้ว อาจได้รับคลื่นทุติยภูมิ (s-wave) เป็นการยืนยันอีก ข้อมูลเหล่านี้นำไปคำนวณอย่างรวดเร็วได้อีก โดยใช้ข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดเพียง 2-3 ตัว ก็จะให้ข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น

อ่านต่อ »


สึนามิกับความรู้ที่ลืมเลือน

อ่าน: 3963

เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ใกล้ชายฝั่งญี่ปุ่น มีจุดศูนย์กลางอยู่ตื้นมาก และเกิดสึนามิสร้างความเสียหายใหญ่หลวงตามมา แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 12:46 ตามเวลาประเทศไทย หรือ 14:46 ตามเวลาในญี่ปุ่น [รายละเอียด]

เกี่ยวกับชื่อบันทึก ถ้าเป็นความรู้(จริง)แล้ว ไม่ลืมเลือนหรอกครับ เพียงแต่บางทีเราแยกแยะไม่ออกระหว่าง

  • ความรู้ — เข้าใจทั้งเหตุและผล ปฏิบัติได้ ปรับปรุงได้ เตรียมการสำหรับอนาคตได้
  • ประสบการณ์ — เคยทำมาอย่างนี้แล้วผ่านมาได้
  • ความรู้มือสอง — เขาเล่าว่า…อย่ามาถามต่อนะ [คุณเป็นมนุษย์มือสอง]

เรื่องพวกนี้ มองดูดีๆ ก็ไม่แปลกว่าจะ “เป็น” อะไรหรอกครับ (เป็น->อัตตา) ถ้าเกิดจากความตั้งใจดี ให้ผลดีที่เตือนผู้คนไม่ให้อยู่ในความประมาท (ซึ่งความไม่ประมาทนั้น รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อ ไม่ใช่แค่บริกรรมว่าไม่ประมาทๆๆ แต่ทำอะไรไม่ถูก) ไม่เบียดเบียนใคร ไม่บังคับใคร ก็เป็นของดีทั้งนั้นครับ

จากประสบการณ์สึนามิตามชายฝั่งอันดามันเมื่อปลายปี 2547 ผมคิดว่าเอากลับมาเล่าเตือนความจำกันอีกครั้ง

อ่านต่อ »


แผ่นดินอีสานมีอะไร

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 March 2011 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, พลังงาน #
อ่าน: 4132

ไม่ว่าแผ่นดินอีสานจะมีอะไร ก็คงไม่มีคำตอบเดียวที่ครอบจักรวาลหรอกครับ

ผมอ่านบันทึกวุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๔) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของท่านอาจารย์แพนด้าด้วยความสนใจ และติดใจสไลด์อยู่แผ่นหนึ่งครับ

มองเผินๆ จะเห็นความไม่เท่าเทียมอย่างชัดเจน แต่ถ้ามองลึกลงไป กลับเป็นคำถามว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่

ถ้าสมมุติว่าเนรมิตให้เศรษฐกิจอีสานเป็นสัดส่วนเดียวกับค่าเฉลี่ย ก็ต้องมีขนาดของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 ล้านล้านบาท สงสัยว่าจะเป็นอุตส่าหากรรมอีกแน่นอน ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่คนอีสานต้องการและยอมแลกมาหรือไม่ เรื่องนี้คงไม่มีใครตอบแทนคนอีสานได้เหมือนกัน

อ่านต่อ »



Main: 0.18041300773621 sec
Sidebar: 0.56363105773926 sec