ช่างไม่มีเมตตาเสียเลย - ท่านพุทธทาสภิกขุเล่านิทานเซ็น

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 September 2008 เวลา 0:30 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4470

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง ช่างไม่เมตตาเสียเลย — ขอจงอย่าโกรธ เมื่อคนอื่นคิดไม่เหมือนท่านเลย การไม่โกรธไม่ได้เปลี่ยนผิดเป็นถูก หรือถูกเป็นผิด แต่เราพิจารณาได้ว่าสิ่งที่คิดจะทำนั้น เบียดเบียนคนอื่นหรือไม่ ถูกทำนองคลองธรรมหรือไม่

เรื่องที่ ๖ เขาให้ชื่อเรื่องว่า “ช่างไม่เมตตาเสียเลย” อาตมา แปลออกมา ตามตัว ว่า “ช่างไม่เมตตาเสียเลย” เขาเล่าว่า ในประเทศจีน ในสมัยที่ นิกายเซ็น กำลังรุ่งเรืองมาก อีกเหมือนกัน ใครๆ ก็นิยมนับถือภิกษุ ในนิกายเซ็นนี้ มียายแก่ คนหนึ่ง เป็นอุปัฎฐาก ของภิกษุองค์หนึ่ง ซึ่งปฏิบัติเซ็น ด้วยความศรัทธา อย่างยิ่ง มาเป็นเวลาถึง ยี่สิบปี; แกได้ สร้างกุฏิน้อยๆ ที่เหมาะสม อย่างยิ่งให้ และส่งอาหารทุกวัน นับว่า พระภิกษุองค์นี้ ไม่ลำบาก ในการจะปฏิบัติ สมาธิภาวนาอะไรเลย แต่ในที่สุด ล่วงมาถึง ๒๐ ปี ยายแก่ เกิดความสงสัย ขึ้นมาว่า พระรูปนี้ จะได้อะไร เป็นผลสำเร็จ ของการปฏิบัติ บ้างไหม ที่มัน จะคุ้มกันกับ ข้าวปลาอาหาร ของเรา ที่ส่งเสียมาถึง ๒๐ ปี

เพื่อให้รู้ความจริงข้อนี้ แกก็คิดหาหนทาง ในที่สุด พบหนทางของแก คือ แกขอร้อง หญิงสาวคนหนึ่ง ที่มีหน้าตาท่าทางอะไรๆ ยั่วยวน ไปหมด ให้ไปหา พระองค์นั้น โดยบอกว่า ให้ไปที่นั่น แล้วไปกอด พระองค์นั้น แล้วถามว่า เดี๋ยวนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ผู้หญิงคนนั้น ก็ทำอย่างนั้น พระองค์นั้นตอบ ด้วยถ้อยคำเป็น กาพย์กลอน poetically; ซึ่งค่อนข้างเป็น คำประพันธ์ ตามธรรมดา ของบุคคลบางคน ที่มีนิสัย ทางคำประพันธ์ ตรงนี้เขาเขียน เป็นคำประพันธ์ ซึ่งแปลเป็น ตัวหนังสือ ก็จะเท่ากับว่า

อ่านต่อ »


คิดสั้น

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 September 2008 เวลา 15:58 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3147

วันนี้ ค้นพระไตรปิฎกเรื่องสัจจะไปเรื่อยๆ ไม่รู้ไปพบ “มสกชาดก” ได้อย่างไร เรื่องราวในพระไตรปิฎก มีอยู่สั้นนิดเดียว คือ

[๔๔] ศัตรูผู้ประกอบด้วยปัญญายังดีกว่า มิตรผู้ไม่มีปัญญาจะดีอะไร เหมือนบุตรของช่างไม้ผู้โง่เขลา คิดว่าจะตียุง ได้ตีศีรษะของบิดาแตกสองเสี่ยงฉะนั้น.

ขุ.ชา. ๒๗/๑๗/๔๔

มีอรรถกถาอธิบายความไว้มนุษย์อันธพาลโกรธขึ้งฝูงยุง จึงพากันถือธนูและอาวุธพากันเข้าป่าหมายมั่นจะไปรบกับฝูงยุง แต่กลับไปทิ่มแทงประหารกันเอง - ช่างไม้ให้ลูกชายไล่ยุงที่มาเกาะที่ศรีษะ ลูกชายเอาขวานฟันยุง ช่างไม้หัวแบะ ถึงแก่ความตาย

ส่วนข้อถัดไป เป็นโรหิณีชาดก ความว่า

[๔๕] ศัตรูผู้เป็นนักปราชญ์ยังดีกว่า คนโง่เขลาถึงเป็นผู้อนุเคราะห์จะดีอะไร ท่านจงดูนางโรหิณีผู้โง่เขลา ฆ่ามารดาแล้วเศร้าโศกอยู่.

ขุ.ชา. ๒๗/๑๗/๔๕

อ่านต่อ »


ประภาส เขียนถึงขงจื๊อ

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 September 2008 เวลา 0:22 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4798

ตีพิมพ์ในคอลัมน์​ “คุยกับประภาส” โดยประภาส ชลศรานนท์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2545 และตีพิมพ์ใหม่ในหนังสือ “เชือกกล้วย มัดต้นกล้วย” ซึ่งได้มาเป็นของขวัญปีใหม่ปีนี้ครับ

ช่วงห้าร้อยปีก่อนคริสต์กาลนั้น ต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาอันสำคัญที่สุดชองมนุษยชาติ เพราะโลกกลมๆ ใบนี้ได้มีมนุษย์วิเศษถือกำเนิดขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกัน

ที่ผมเรียกว่ามนุษย์วิเศษ เพราะเราต้องยอมรับว่ามหาบุรุษเหล่านี้ไม่ใช่คนธรรมดา วิธีคิดและการปฏิบัติตัวของพวกเขาล้วนเป็นการยกระดับจิตใจมนุษย์

แล้วทำไมจิตใจมนุษย์ต้องถูกยกระดับด้วย

ทันทีที่อ่านจดหมายของคุณแฟนมะเฟืองจบ ผมก็พยายามจินตนาการไปถึงตอนที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใหม่ๆ

ในตอนแรกๆ มนุษย์คงมีจำนวนไม่มากนัก เรื่องใหญ่ที่พวกเขาต้องคิดต้องทำก็น่าจะไม่ต่างอะไรกับกิจกรรมที่เราเห็นสัตว์ทำอยู่ในทุกวันนี้ นั่นคือ กิน นอน ถ่าย และผสมพันธุ์ แล้วผมจึงนึกต่อไปอีกว่า เมื่อจำนวนเพิ่มมากขึ้น มนุษย์คงไม่ได้อยู่เพียงลำพังเพียงคนสองคน หรือเพียงครอบครัวเดียว

เมื่อมนุษย์เริ่มก่อตั้งสังคมขึ้น มีการแลกเปลี่ยนปัจจัย ๔ กัน ปัญหาอันหลากหลายก็เริ่มก่อตัวตามมา นอกจากปัญหาเรื่องกิน นอน ถ่าย และผสมพันธุ์แล้ว ปัญหาใหม่อันเกิดจากการก่อสังคมก็เริ่มกลายเป็นปัญหาที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นคือปัญหาอันเกิดจากจิตใจ

ลองไล่เรียงดูดีๆ สิครับ ปัญหาจิตใจของพวกเราทุกคนนี่มีรากเหง้ามาจากเรื่องสังคมแทบทั้งสิ้น

พอมาถึงตรงนี้มนุษย์ก็คงเริ่มหาทางแก้ไขปัญหาจิตใจกัน

อ่านต่อ »


ธรรมดานี่แหละยากที่สุด

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 September 2008 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3119

เมื่อสัปดาห์ก่อน ไปหาหมอที่โรงพยาบาล ก็พบหนังสือ(เก่า)เล่มหนึ่ง ชื่อวิถีแห่งปราชญ์ ที่ร้านหนังสือในโรงพยาบาล แต่ไม่ได้ซื้อมาเพราะติว่าปกหนังสือเก่าไปหน่อย ความจริงเวลาอ่านหนังสือ ผมก็ไม่ได้มองปกอยู่แล้ว แต่เวลาจะซื้อ ทำไมเรื่องไม่สำคัญกลับสำคัญก็ไม่รู้ซิ

อย่างไรก็ตาม วันนี้ไปร้านหนังสืออีกแห่งหนึ่ง (ที่เคยซื้อหิโตปเทศมา) ปรากฏว่ายังเหลืออยู่หลายเล่ม ดีใจมากเพราะว่าเคยบุกไปที่ร้านสาขาของเครือที่จัดจำหน่าย ปรากฏว่าหมดเกลี้ยงไปนานแล้ว

วิถีแห่งปราชญ์ เป็นปฏิปทา จริยาวัตร ของ พระพรหมคุณาภรณ์​ (ป. อ. ปยุตฺโต)

๙๒.
ธรรมดานี่แหละยากที่สุด

ท่านเจ้าคุณ​ฯ​เคยพูดถึงเรื่อง ‘ธรรมดา’ ไว้อย่างน่าสนใจว่า

ธรรมดานี่แหละยากที่สุด พุทธศาสนาเป็นเรื่องของธรรมดา และให้เข้าถึงธรรมดาเท่านั้นเอง แต่ใครเข้าถึงธรรมดานี่แหละ คือสำเร็จ ไม่มีอะไรยากไปกว่าเรื่องธรรมดา ใครถึงธรรมดา คนนั้นสมบูรณ์เลย

เราต้องรู้เรื่องธรรมดา เพราะว่าเมื่อเรารู้ความจริงที่เป็นธรรมดานั้นแล้ว เราจะได้ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายให้ถูกต้อง เหมือนรู้ความจริงของไฟแล้ว ก็ปฏิบัติต่อไฟให้ถูกต้อง และเอาไฟมาใช้ประโยชน์ได้

อ่านต่อ »


ข้อพึงระวังของการเผยแพร่ความคิดทางเดียว

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 September 2008 เวลา 0:29 ในหมวดหมู่ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย #
อ่าน: 3393

พระราชดำรัส เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
พระราชทานแก่คณะกรรมการอำนวยการโครงการรายการมหาวิทยาลัยทางอากาศ
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันอังคาร ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๗

ขอขอบใจและชมเชยท่านทั้งหลายในโครงการนี้ และได้ปฏิบัติมาเพื่อให้เป็นผลตามที่ได้ตั้งใจไว้ คือถึงประชาชนให้สนใจในวิชาการต่างๆ สำหรับให้สามารถที่จะดำรงชีวิตให้ก้าวหน้า การที่มาบอกว่าขอโอวาทหรือแนวทางนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่คนที่ขอนั้นง่าย เพราะว่าพูดอยู่เสมอว่าทำ โครงการแล้วก็ขอโอวาทแล้วก็ขอพระบรมราโชวาทต่างๆ ที่ได้มาจากพระยุคลบาท แต่พระยุคลบาทนั้นนะเดินไปลำบากเหมือนกัน แล้วก็จะเจริญรอยไปก็อาจผิด เพราะว่าการที่ให้ไปก็อย่างนั้น จะทำให้เห็นได้ว่าไปที่ไหนที่ไหน บางทีไปอย่างไม่ใช่ว่ามีแผนที่จะตั้งไว้ก่อน มีแผนอยู่อย่างหนึ่งว่าไปเห็นอะไรที่ขัดข้องตรงไหน เราพยายามจัดการ พยายามกระตุ้นให้ผู้มีหน้าที่โดยตรงปฏิบัติ และให้ผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงมีกำลังใจที่จะปฏิบัติตามที่มีโครงการที่วางไว้อยู่แล้วในการปกครองตนเอง ฉะนั้นการที่จะเอารอยพระยุคลบาทมาเป็นมหาวิทยาลัยทางอากาศนั้น ก็จะผิดหวังเพราะว่าท่านรู้แล้วนั่นเอง แต่ถ้าพูดถึงหลักต่างๆ เมื่อฟังคำแถลงเมื่อตะกี้ ก็มีประเด็นสำคัญที่อยากจะพูดถึง คือโครงการใดถ้าทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ อยากให้ได้ผลตามที่มุ่งหวังนั้น ด้วยความตั้งใจแท้ ไม่มีแฝง ย่อมเป็นโครงการที่จะทำงานได้ผลมาก แต่ว่าโครงการมหาวิทยาลัยทางอากาศนี้แฝงง่าย แต่ละคนที่เป็นกรรมการไม่ใช่ว่าจะตำหนิติเตียน แต่แต่ละคนก็เป็นคน อาจนึกถึงว่าเป็นทางที่จะแพร่ความคิดของตน ส่วนตัวของตน ไม่ใช่หลักวิชา เป็นความคิดของตนเองเป็นส่วนบุคคล ก็จะพยายามใช้มหาวิทยาลัยทางอากาศเป็นตลาดเป็นที่แพร่ความคิดของตน เพื่อความพอใจของตน ซึ่งข้อนี้ ถ้าความคิดนั้นดีก็ไม่เป็นไร แต่ความจริงคนเรานะไม่ใช่พระอรหันต์ เรามีความรู้สึกอยากที่จะให้คนอื่นมาคิดอย่างเรา ฉะนั้นอาจผิดพลาดขึ้นได้ข้อหนึ่ง

ข้อที่สอง สำหรับเรื่องอันตรายของการแพร่ความคิด อาจมีความคิดคนอื่นมาในด้านที่เรียกว่า…… ไม่อยากเรียกว่าลัทธิ…… เพราะว่าถ้าพูดถึงลัทธิแล้ว ก็จะเกิดถามว่าลัทธิคืออะไร แล้วก็เกิดจะต้องมีวิสัชนากันใหญ่……ยาวแต่ก็หมายความว่าจะต้อง…… จะเรียกว่าอะไร……แนวความคิดที่จะโน้มใจให้คนคิดถึงเหมือนกันกับลัทธิเหมือนกัน ความคิดนั่นเกิดขึ้น บางทีความคิดหลักรากฐานของแนวความคิดนั้นถูกต้องแล้วคืออย่างประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยมีหลายอย่างหลายวิธี แล้วก็มีทางดีทางเสียของลัทธิ ถ้าสมมุติว่าเราพูดออกไป ผู้ฟังไปเข้าใจในทางเสียของลัทธิ ก็แพร่คอนเซปท์เป็นพอลูชั่นไป ฉะนั้นต้องระวังเหมือนกัน แต่ถ้าทำด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้ว อย่างที่กล่าวข้างตน อันตรายนี้ก็น้อยลง น้อยมาก และควบคุมได้ก็ในขั้นแรกนี้ ถ้าเผื่อว่าความบริสุทธิ์ใจมีอยู่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็นับว่าโครงการนี้ได้ผลแน่นอน ต่อไปเรื่องมหาวิทยาลัยนี้ เราก็รู้ดีว่าในสมัยนี้ มหาวิทยาลัยคืออะไร ไม่ใช่สถานศึกษา เป็นสถานที่ที่จะรวมพลัง เพราะว่าเราเอาอย่าง เราไม่มีความเป็นตนของตนเอง ที่จะนึกว่ามหาวิทยาลัยเป็นแหล่งที่ศึกษา มาถือว่าเป็นที่ที่จะมารวมพบรวมคน เพื่อที่จะแสดงพลังทั้งครูทั้งนักเรียน ถ้ามีมหาวิทยาลัยทางอากาศ จะรวมคนทางอากาศได้อย่างไร แต่ถ้าถือว่ามหาวิทยาลัยเป็นแหล่ง……หรือเป็น……การจัดการอะไรอย่างหนึ่ง สำหรับแพร่ความรู้ ก็เชื่อว่าจะได้เห็น แต่ว่าจะไม่ได้ผลในทางที่ต้องการว่ามหาวิทยาลัยนี้ เป็นแหล่งรวมคน มีอิทธิพลหรือพลัง ฉะนั้นในลำดับที่สองนี้ก็คงไม่มีความสำเร็จ

อ่านต่อ »


งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ ๕

10 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 September 2008 เวลา 16:10 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 20271

ไปเดินมาประมาณสองชั่วโมงครับ อย่าแปลกใจเลยว่าไม่ได้มีอาชีพ หรือหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับทางนี้ แล้วทำไมถึงเปลี่ยนแนวไปได้ ผมไม่ได้เปลี่ยนแนว ชีวิตผมไม่ได้สนใจแต่มุมประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ กับแง่คิดในการบริหารเท่านั้น

ไปอิมแพ็คเพราะจะไปงาน ITU ครับ งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาตินี้ อยู่ใกล้กัน ไหนๆ ก็ไปงาน ITU อยู่แล้ว ก็เลยแวะไปงานนี้ด้วย

หลักของงานในครั้งนี้ รู้สึกว่าจะเป็นการประชาพิจารณ์ หรือไม่ก็การเผยแพร่ แผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ.2550-2554

  • คิดว่างานประสบความสำเร็จในเรื่องจำนวนผู้เข้าชมครับ
  • มี “ลาน” ให้ความรู้อยู่สองลาน คือ ลานข้าวพื้นบ้าน-อาหารท้องถิ่น กับลานวัฒนธรรม ๔ ภาค
  • ที่เหลือ รอบๆ งาน ก็มีบูธแสดงสินค้า เสื้อผ้า และอาหาร มีส่วนที่เป็นนิทรรศการน้อยไปหน่อย
  • วิธีการหาข้อมูล ก็ใช้เดินถามเอาเรื่อยเปื่อย ซึ่งคิดว่าน่าจะมีวิธีเผยแพร่ความรู้ที่ดีกว่านี้

อ่านต่อ »


ระงับโกรธ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 September 2008 เวลา 0:18 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4154

หนังสือ มนต์คลายโกรธ โดยฑูตใจ เสนอวิธีคลายโกรธไว้หกวิธี

  1. พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าเป็นพิษต่อร่างกาย
  2. อย่าใส่ใจ อย่านึกถึงเรื่องราวหรือบุคคลที่ทำให้โกรธ
  3. เปลี่ยนเรื่องคิด คิดถึงเรื่องที่ไม่ทำให้โกรธ
  4. หางานทำเพื่อให้เพลิดเพลินจนลืมความโกรธ
  5. ค้นหาสาเหตุของความโกรธ ถ้าพบรากเง่า ก็จะระงับความโกรธได้ไม่ยาก
  6. ระบายความโกรธทิ้งไป

มีการสุ่มตัวอย่างนิสิต นักศึกษา และนักเรียนจำนวน 1,592 คน 50.1% ของผู้อ่านบอกว่าหนังสือช่วยระงับความโกรธได้ดี อีก 49.2% บอกว่าช่วยระงับได้บ้าง มีอีก 0.7% บอกว่าหนังสือนี้ช่วยระงับความโกรธไม่ได้เลย

อ่านต่อ »


คุณค่าของความเป็นมนุษย์

อ่าน: 4317

พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

คุณค่าของความเป็นมนุษย์

มีพุทธศาสนสุภาษิตกล่าวไว้แปลความว่า “ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก” เมื่อ ได้รับทราบความดังนี้แล้ว อย่าเพียงเข้าใจตื้นๆ แต่พึงพิจารณาด้วยดี ให้พร้อมด้วยสติและ ปัญญา ให้ลึกซึ้ง เพื่อจักได้ประโยชน์จากความหมายของพุทธภาษิตนี้อย่างสมบูรณ์ ปรกติ สิ่งใดที่ได้ยากท่านถือว่าเป็นของมีค่า ควรถนอมรักษาอย่างยิ่ง การได้เป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นการยาก เปรียบดังได้เพชรน้ำงามเม็ดใหญ่หาค่ามิได้ไว้ในมือ เราย่อมต้องรักษาเพชรนั้นยิ่งกว่าได้เศษกระเบื้องและไม่มีราคา การรักษาค่าของความเป็นมนุษย์ก็คือ การรักษาคุณสมบัติ ของมนุษย์ไว้ให้สมบูรณ์ที่สุด เช่นเดียวกับการรักษาเพชรนั่นเอง การรักษาเพชรนั้นไม่เพียงรักษาไม่ให้สูญหายเท่านั้น แต่ต้องรักษาไม่ให้แตกร้าว ไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนแม้เท่าขนแมว เพราะนั่นจะเป็นเหตุให้ความงามของเพชรลดลง เป็นเหตุให้ค่าของเพชรลดลง เป็นเหตุให้ ราคาของเพชรต่ำลง

“ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก” ก็คือยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ ที่เห็นเป็น มนุษย์กันอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองมากขึ้นทุกวัน จนถึงกับเกิดการตกใจกลัวมนุษย์จะล้นโลก นั้น มิใช่จะเป็นเครื่องแสดงข้อคัดค้านพุทธภาษิตดังกล่าว เพราะแม้มนุษย์จะมากมายเพียงไร แต่แม้ลองเปรียบกับสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ก็จะมีจำนวนน้อยนัก สัตว์ใหญ่สัตว์น้อยสัตว์ปีก สัตว์ไม่มีปีก รวมทั้งมดปลวกยุงแมลงในโลกเรานี้มีจำนวนมากมายเกินกว่าจะสำรวจได้ แต่มนุษย์ยังสำรวจจำนวนได้ ซึ่งก็เป็นเครื่องแสดงความเกิดได้ยากของมนุษย์   ยืนยันพุทธภาษิตว่า “ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก”

การรักษาความเป็นมนุษย์ก็เช่นกัน ไม่ควรเพียงเพื่อรักษาชีวิตไว้ให้อยู่ยืนยาวเท่านั้น แต่ต้องรักษาคุณค่าของมนุษย์ไว้ให้สมบูรณ์ มนุษย์ก็คือคน คุณค่าของมนุษย์หรือของ คนที่สำคัญที่สุดคือความไม่เป็นสัตว์ ไม่ใช่สัตว์ เมื่อพูดถึงความเป็นสัตว์ ทุกคนย่อมรู้สึกถึง ความแตกต่างของตนเองกับสัตว์อย่างชัดเจน ทุกคนย่อมยินดีอย่างยิ่งที่ตนไม่เกิดเป็นสัตว์ ยินดีที่ตนไม่ใช่สัตว์ แม้เพียงถูกเปรียบว่าเป็นสัตว์ หรือเพียงเหมือนสัตว์ ก็ย่อมไม่พอใจอย่างยิ่ง นั่นก็เพราะทุกคนเห็นความห่างไกลระหว่างคุณค่าของคนกับของสัตว์ ค่าของคน เป็นค่าที่สูงกว่าค่าของสัตว์ ดังนั้นคุณค่าของมนุษย์จึงแตกต่างกับสัตว์ ผู้เป็นมนุษย์จึงจำเป็นต้องถนอมรักษาคุณค่าของตนไว้มิให้เสียความเป็นมนุษย์

อ่านต่อ »


ทิศไหน

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 September 2008 เวลา 0:43 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3287

พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ทหารรักษาพระองค์
ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
วันเสาร์ ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๐

ข้าพเจ้าและพระราชินียินดีมาก ที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางเหล่าทหารรักษาพระองค์ และได้เห็นความพร้อมเพรียงเป็นสง่าของทหารทั้งหลาย ในพิธีตรวจพลสวนสนามวันนี้ ขอขอบใจในไมตรีจิตของทุกคน และขอสนองพรกับทั้งน้ำใจไมตรีนั้นด้วยใจจริงเช่นเดียวกัน

คำมั่นสัญญาที่ได้กล่าวปฏิญาณเมื่อครู่นั้น ข้าพเจ้าถือว่าเป็นสัจวาจาที่มีความสำคัญลึกซึ้ง ซึ่งแสดงว่าทุกคนมีความจงรักภักดีอย่างแนบแน่นในชาติไทย และมีเจตนาอันแน่วแน่ ที่จะปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประเทศชาติด้วยความสามารถ ด้วยความเสียสละ และด้วยชีวิตซึ่งเมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะเป็นเกียรติแก่ตนอย่างสูง เพราะเท่ากับได้ทำหน้าที่ของชายชาติทหารอย่างสมบูรณ์ ตามเยี่ยงอย่างที่บรรพชนได้ประพฤติสืบต่อกันมา ทั้งจะยังความเจริญสวัสดีให้เกิดแก่ตัว แก่ผืนแผ่นดินไทยของเรายั่งยืนตลอดไปด้วย

สถานการณ์บ้านเมืองในทุกวันนี้ เป็นที่ทราบแน่แก่ใจของเราแล้วว่ายังไม่น่าปลอดภัยและวางใจ ยังมีการบุกรุกคุกคามชาติ ทั้งด้วยกำลังรบและการใช้กลอุบายทำลายความมั่นคงทุกด้าน รวมทั้งการแทรกแซงให้เกิดการแตกแยกกัน พูดได้ว่า ถ้าหากจิตใจของคนไทยขาดความสำนึกในชาติ ก็อาจแบ่งแยกแตกกันไปแล้วก็ได้ ทหารจึงต้องมีความสำนึกในชาติอย่างแนบแน่นลึกซึ้ง ต้องตั้งสติให้มั่น ต้องใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาและเรื่องทั้งปวงที่เกิดขึ้น อย่างรอบคอบถี่ถ้วนเป็นพิเศษ ไม่ให้หลงกลของฝ่ายผู้ไม่มุ่งดีต่อส่วนรวม นอกจากการป้องกันประเทศตามหน้าที่โดยตรงแล้ว ทหารยังต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญด้วย ที่จะต้องสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่น โดยนำหลักยุทธการมาใช้ให้สอดคล้องกันไปกับการสร้างความมั่นคงทางด้านอื่นๆ ที่เรากำลังต้องเร่งรีบดำเนินการอยู่ สำคัญที่สุดขอให้ทุกคนพยายามฝึกหัดใช้ความคิดพิจารณา ตัดสินใจให้ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว กล้าหาญ และทำงานให้สอดคล้องปรองดองกับทุกฝ่ายด้วยความมั่นใจและความสามารถ ยึดถือเอาประโยชน์ส่วนใหญ่ เอกราช อธิปไตย และความเป็นไทยของเราเป็นเป้าหมายอันสูงสุด

ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลพิภพ กับทั้งผลแห่งความภักดีโดยบริสุทธิ์ใจในชาติบ้านเมือง จงบันดาลให้ทหารทั้งหลายมีความปลอดภัยจากศัตรูหมู่ภัยและความชั่วร้ายทั้งปวง ให้มีความเข้มแข็งสมบูรณ์ด้วยกำลังกาย ใจและสติปัญญา สามารถทำหน้าที่น้อยใหญ่ทุกประการให้บรรลุผลเสิศ บังเกิดความมั่นคงปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ ทั้งขอให้ประสบแต่ความสุข ความก้าวหน้า ความสวัสดีมีชัย และความสำเร็จในสิ่งพึงประสงค์จงทั่วหน้ากัน.


สังคมและส่วนรวม

อ่าน: 3101

พระบรมราโชวาท เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วันจันทร์ ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๙

ในวันนี้ได้มามอบปริญญาแก่นักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ วิทยาเขตนี้ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มา คราวก่อนๆ นี้ก็ได้เคยไปมอบปริญญาที่ปัตตานีและเกิดปัญหาขึ้นมาว่า มหาวิทยาลัยนี้มีวิทยาเขตถึง ๒ แห่ง และเกิดความน้อยใจกันว่าทำไมไปมอบปริญญาที่แห่งเดียวไม่มา ณ ที่นี่ บัดนี้ก็ได้แก้ไขสถานการณ์แล้วได้มาที่นี่เมื่อปีที่แล้วที่ปัตตานีก็ได้พบกับนักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยเหมือนกัน และก็ได้แจ้งต่อเขาว่าในปีหน้า คือปีนี้จะมาที่หาดใหญ่ ก็ไม่มีข้อที่จะเกิดความเข้าใจผิดกัน อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เข้าในงานมอบปริญญาที่ไหนก็ตาม มีความรู้สึกว่ามีความยินดี เพราะเห็นผู้มีความรู้ คือผู้ที่ได้เล่าเรียนในวิชาการต่างๆ ได้สำเร็จการศึกษา และจะออกไปปฏิบัติงานตามความรู้ที่มี เป็นความรู้ที่มีความแตกต่างกันหลายสาขา รวมความที่เรียกว่าศิลปวิทยา

ศิลปวิทยานี้คือความรู้ในวิชาการ ความรู้ในวิชาการนี้แบ่งเป็นหลายชนิดด้วยกันและต้องใช้กันทั้งนั้น สำหรับให้สังคมและประเทศมีความเจริญรุ่งเรือง คือประเทศเรามีอยู่ตั้งอยู่ และสังคมก็คือทุกคนที่อยู่ ณ ที่นี้ ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเป็นสังคม สังคมนี้อยู่ร่วมกันเพื่ออะไร ก็เพื่อให้อยู่ได้สบาย มีความผาสุก ความมั่นคง อนาคตแจ่มใส เพื่อการนี้ เราก็ต้องใช้ความรู้เพื่อที่จะทะนุบำรุงความมั่นคงนี้ ทะนุบำรุงและส่งเสริมให้ความเป็นอยู่ อยู่อย่างสบายขึ้นทุกที ให้อยู่สบายขึ้นนี้ก็ต้องมีหลายอย่างประกอบกัน สิ่งที่สำคัญก็คือต้องเห็นอกเห็นใจกัน และเกื้อหนุนสนับสนุนซึ่งกันและกัน ถ้าเกื้อหนุนสนับสนุนซึ่งกันและกันด้วยวิชาการก็ยิ่งดี ถ้าพูดถึงวิชาการในการอยู่เป็นสังคมก็เรียกว่าสังคมศาสตร์ ก็ต้องใช้วิชาการของสังคมศาสตร์มาทำให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปโดยสวัสดิภาพ คือให้รู้ว่า คนเรามาอยู่เป็นสังคมจะต้องมีระเบียบการอย่างไร เมื่อพูดถึงเช่นนี้ก็หมายความต้องมีวิชาทางด้านนิติศาสตร์มาประกอบด้วย คือจะต้องมีระเบียบการ มีกฎหมาย มีระเบียบที่มั่นคง ถ้าพูดถึงระเบียบมีกฎหมายนั้นก็จะต้องรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ คือการปกครอง ปกครองนี้ไม่ใช่กดขี่ ปกครองคือให้ทุกคนมีการเป็นอยู่โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น โดยส่งเสริมผู้อื่น อันนี้ก็จะต้องมีการจัดระเบียบปกครองให้ดี เพื่อไม่ให้มีการเบียดเบียนกัน เพราะแต่ละคนถ้าลืมไปว่าอยู่ในสังคม ก็อาจจะอยากมีเสรีภาพมาก แต่ละคนที่อยากมีเสรีภาพก็อาจจะนึกว่า นั่งที่ใดที่นั้น เป็นของตน และข้างเคียงของตนก็เป็นของตนเหมือนกัน ลืมไปว่ามีคนอื่นอยู่ข้างๆ อย่างท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่อย่างมีระเบียบเรียบร้อยนี้ ถ้าเกิดลืมขึ้นมา เกิดหลับหูหลับตาแล้วก็นึกว่าไม่มีใครอยู่ข้างๆ ก็เกิดบิดขี้เกียจขึ้นมา บิดไปบิดมาก็ไปโดนคนอื่น คนอื่นเขาก็เคืองเอา การเคืองของคนอื่นนั้นอาจจะแสดงออกมาในรูปต่างๆ กัน อาจจะบอกอย่าเลย อย่าทำอย่างนี้เป็นการกวนกัน แต่ถ้าเกิดใจร้อน ไม่ยั้งสติ อาจทะเลาะกันเลย ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ใดเลย ทำให้ทั้งหมดอลเวง และทำให้ไม่มีความผาสุกมั่นคง

ฉะนั้น การที่อยู่เป็นสังคมก็จะต้องมีระเบียบ และมีความรู้ในเสรีภาพของตนนอกจากนี้ นอกจากระเบียบ และความรู้ถึงเสรีภาพ ถึงขอบเขตของเสรีภาพ ซึ่งหมายความว่า แต่ละคนจะต้องมีความรู้ในธรรมะ คือรู้ว่าจะต้องปฏิบัติตนอย่างไรถึงจะมีความเจริญ มีความดี มีความผาสุก เราก็ย่อมอยากอยู่ดีขึ้นตลอดไป การอยู่ดีขึ้นตลอดไปนั้นจะต้องมีวิชาการอย่างตอนนี้ เรานั่งอยู่ ยืนอยู่ในที่นี้ ก็เคราะห์ดีที่เวลานี้ฝนไม่ตก แต่ถ้าตกก็ยังไม่มีความเดือดร้อนเท่าไหร่ ไม่มีความลำบากเท่าไหร่ เพราะว่ามีหลังคาอยู่ ไม่เหมือนที่ปัตตานีเมื่อปีที่แล้วที่เดือดร้อน เพราะว่าการชุมนุมดังนี้ แบบนี้ กระทำข้างนอก ฝกตกก็ต้องลำบาก ต้องย้ายที่ เพราะว่ากลัวเปียกกัน คราวนี้ ถ้าสมมุติว่าฝกตกก็ไม่ค่อยเปียกกันแต่สำหรับอย่างนี้ก็ต้องสร้างหลังคา ต้องสร้างอาคาร การสร้างอาคารต้องใช้หลักวิชาวิทยาการที่เหมาะสม มิฉะนั้นอาคารอาจจะไม่แข็งแรง ถ้ามีพายุฝนขึ้นมาก็อาจจะล้มลงมา เกิดความไม่เรียบร้อยเกิดอันตราย ฉะนั้น อยากอยู่ดี อยากให้มีความสบายขึ้นก็ต้องอาศัยวิทยาการ ในที่นี้ก็วิทยาการในด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ฉะนั้น การอยู่ดีกินดี ก็ต้องอาศัยวิชาการ ว่าถึงวิชาการทางวิศวกรรมทางเกษตรกรรม ทางอื่นๆ ทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทั้งหมดนี่ก็เป็นวิชาการที่ทำให้เราอยู่ดีขึ้น ก็จะต้องช่วยกันให้ผู้ที่มีความสามารถที่จะเรียนในสาขาวิชาต่างๆ นี้ ได้เรียน ได้มีความรู้ เพื่อที่จะบริการ เพื่อที่ทำงานให้ส่วนรวมมีความก้าวหน้าได้ ถ้าแต่ละคนได้เรียนรู้มาดีแล้ว ก็สามารถที่จะปฏิบัติตามที่มีความตั้งใจในใจตั้งแต่เดี๋ยวนี้เป็นต้นไปว่าอยากจะทำงานเพื่อส่วนรวม

อ่านต่อ »



Main: 0.097054004669189 sec
Sidebar: 0.16209197044373 sec