โคลงโลกนิติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 August 2008 เวลา 12:37 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5190

โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือคัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่คำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา รวมเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษของไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดั ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานจนปัจจุบัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วันพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวันพระเชคุพนฯ เป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ ให้เรียบร้อยประณีตและไพราะ เพราะของเก่าที่คัดลอกต่อๆ กันมา ปรากฏว่ามีถ้อยคำที่วิปลาสคลาดเคลื่อนไปมาก…

โคลงโลกนิติฉบับศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ มี 436 บท


ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ

อ่าน: 5078

“ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ (จุดบรรจบ: รัฐศาสตร์ กับ นิติศาสตร์)” เป็นหนังสือที่บันทึกแง่คิด มุมมอง ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ที่เมตตาตอบศิษยานุศิษย์เมื่อต้นปี 2549

ผมนำหนังสือเล่มนี้ มาให้อ่านกันอีกครั้งหนึ่ง แต่อยากขอร้องท่านผู้อ่าน ว่าอย่าด่วนสรุปอะไรก่อนจะอ่านจบ เพราะว่าความฉาบฉวย คิดเอาง่ายๆ ความยึดมั่นถือมั่น อัตตา อคติ การติดกับรูปแบบมากกว่าเนื้อหา ได้ทำร้ายสังคมไทยซ้ำแล้วซ้ำอีก

หนังสือนี้ลึกซึ้งแต่ไม่ซับซ้อน และไม่ใช่เรื่องเฉพาะกาลที่นำมาเพื่อตำหนิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อยากให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาเรื่องราวจากหลายๆ มุมมอง อย่าตัดสินอะไรโดยที่ไม่เข้าใจบริบทของเรื่องทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองจากอีกฝั่งหนึ่ง

คำปรารภ

คนไม่น้อย พูดกันบ่อยว่า ให้เอาวิกฤตเป็นโอกาส แต่เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นจริง ก็มักลืมคตินี้ไป หาได้ประโยชน์จากวิกฤตนั้นไม่

หลักพระพุทธศาสนาสอนว่า บรรดาการสูญเสียทั้งหลาย การสูญเสียที่เลวร้ายที่สุด คือการสูญเสียทางปัญญา และในทางตรงข้าม บรรดาการได้เพิ่มขึ้นมา การได้เพิ่มขึ้นซึ่งปัญญา เป็นการได้ที่เลิศสุด (เอตทคฺคํ ภิกฺขเว วุฑฺฒีนํ ยทิทํ ปญฺญาวุฑฺฒิ - องฺ.เอก.๒๐/๓๗/๑๗)

โดยนัยนี้ บรรดาประโยชน์ทั้งหลายที่จะได้จากโอกาสแห่งวิกฤตไม่มีประโยชน์ใดยิ่งใหญ่กว่าการได้ปัญญา

สภาพวิกฤตนั้นเองเป็นโอกาสอันเยี่ยม ซึ่งมีข้อมูลและแบบฝึกหัดมากมายในการเรียนรู้ให้เจริญปัญญา และปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้นั้น แม้อาจจะมิต้องใช้ประโยชน์ในยามวิกฤตเอง ก็มีความสำคัญยิ่งกว่านั้นที่จะเป็นประโยชน์ยั่งยืนนานในกาลระยะยาวเบื้องหน้า

ไม่ว่าคนจะได้ประโยชน์อื่นใดหรือไม่ หรือแม้จะเกิดการสูญเสียใดๆ เมื่อรู้จักคิดพิจารณา มนุษย์ย่อมอาจถือเอาประโยชน์ทางปัญญาได้ทุกโอกาส

เพื่อประโยชน์ทางปัญญาดังว่านี้ จึงร่วมใจให้มีการพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นมา

หลังจากมีผู้ศรัทธามากท่านขอพิมพ์หนังสือนี้เมื่อสิบวันก่อน ได้ทราบว่าหนังสือหมดไปอย่างรวดเร็ว หลายท่านขอพิมพ์ครั้งใหม่ จึงถือโอกาสเพิ่มเติมเล็กน้อยสำหรับการพิมพ์ครั้งปัจจุบัน อันเป็นวาระที่ ๒

ในโอกาสนี้ ขอร่วมตั้งใจปรารถนาดี ให้ทุกท่านตั้งอยู่ในธรรม และประสบประโยชน์สุขจากการดำ เนินตามธรรม และให้ผู้ร่วมสังคมเห็นทางนำประเทศชาติให้ดำ เนินสู่ความสงบสุขโดยธรรม

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙

อ่านต่อ »


มหาสมุทรแห่งความอยาก

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 August 2008 เวลา 4:06 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4176

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ป.ธ.​๙) ตั้งคำถามเรื่องการแข่งขันและชัยชนะไว้อย่างน่าสนใจ

เราถาม

นักกีฬาทุกประเภทย่อมจะเล่นกีฬาตามกติกา ถ้าเล่นผิดกติกาก็จะถูกปรับแพ้ หรือหมดโอกาสเจริญก้าวหน้า ส่วนคนที่เล่นกีฬาตามกติกาอย่างสัตย์ซื่อและด้วยใจเป็นธรรม ย่อมประสบผลสำเร็จตามสมควร การเป็นคนอยู่ในโลกก็ไม่ต่างอะไรกับการเกิดมาเล่นกีฬาโลก เพราะชีวิตมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่แข่งกับตนเองก็ต้องแข่งกัคนอื่น หรือบางทีก็แข่งกับชาวโลก มีคนเป็นจำนวนมากทีาหลงเล่นกีฬาโลกโดยไม่รู้กติกา พยายามเป็นผู้ชนะตลอดเวลาแต่ดูเหมือนว่า ยิ่งอยากครอบครองชัยชนะให้มากที่สุด เขาเหล่านั้นก็กลับพาตัวเองเข้าสู่ภาวะทุกข์มากที่สุดเช่นกัน กติกาของโลกนอกจากเรื่องโลกธรรม ๘ แล้ว ยังมีกติกาอื่นอีกหรือไม่ที่นักกีฬาโลกทั้งหลายควรจะรู้

ซึ่งมีคำตอบ ธัมมุทเทส ๔ อยู่ในพระไตรปิฎก

อ่านต่อ »


นิทานในนิทาน

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 August 2008 เวลา 6:51 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3370

๙๗ ผู้โง่เขลา ไม่รู้แจ้งข้อสำคัญของเรื่อง เอาแต่อำนาจ ความโกรธ, แต่ต้องเดือดร้อนเหมือนพราหมณ์จากพังพอน.

๙๙{…ผู้โง่เขลา ไม่รู้แจ้งข้อสำคัญของเรื่อง…} กาม ๑​ โกรธ​ ๑​ โลภ ๑​ ริษยา ๑​ ถือตัว ๑ มัวเมา ๑ เมื่อบุคคลละเสียซึ่งพวกหกนี้ก็มีสุข.

๑๐๓คนชั่ว เหมือนหม้อดิน แตกสลายจ่าย{ง่าย?} และซ่อมยาก; แต่คนดี เปรียบเหมือนหม้อทอง ยากที่จะแตก แต่ประสานง่าย.

๑๐๔ชนโง่ อันบุคคลทำให้ชอบใจง่าย, ชนมีความรู้ดี อันบุคคลทำให้ชอบใจยิ่งง่ายขึ้น; แต่คนที่ฟุ้งซ่านด้วยความรู้อันเล็กน้อย ต่อให้พระพรหม ก็ทำให้ชอบใจไม่ได้….

๑๕๐​ {๑๐๕?}เหล่าชนที่ประพฤติดี อันโลกเห็นด้วยตาไม่ได้ในที่ทั้งปวง บุคคลพึงอนุมานตามการที่เขาทำ; เพราะฉะนั้น พึงรู้แจ้งกิจการของผู้ประพฤติซึ่งมองไม่เห็นด้วยผลทั้งหลายนี้.”

๑๐๘พึงยึดใจคนโลภ ด้วยทรัพย์สิน, คนกระด้าง ด้วยอัญชลีกรรม, คนโง่ ด้วยตามใจ, บัณฑิต ด้วยความตามเป็นจริง.

๑๐๔พึงปราบเพื่อน ด้วยความดี, ญาติ ด้วยความเอื้อเฟื้อ, สตรีและข้า ด้วยรางวัลและเกียรติยศ, คนอื่นๆ ด้วยความเคารพ.

หิโตปเทศ ๔ สนธิ ความสงบ


หลักแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 August 2008 เวลา 4:01 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4725

อ่านบทความของอาจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ติดใจคำว่าหลักปัญจศีลที่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และบัณฑิตเนห์รู ประกาศเป็นหลักการในปี พ.ศ.2497 ก็เลยค้นข้อมูลต่อ ได้เรื่องดังนี้ครับ

หลักการนี้ เกิดขึ้นโดยการพัฒนาร่วมกันโดยผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียระหว่างปี 2496-97 และมีนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล และบัณฑิตเนห์รู เมื่อมีความขัดแย้งด้านพรมแดนระหว่างจีนและอินเดีย เรื่องเส้นพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ซึ่งเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างสหราชอาณาจักรกับทิเบตในปี 2457 ในขณะที่อังกฤษปกครองอินเดีย

หลักการนี้ มีอยู่ 5 ข้อ ซึ่งในที่สุดได้กระจายออกไปอย่างแพร่หลาย ซึงวิญญาณของหลักการห้าข้อนี้ ก็ปรากฏอยู่ในปฏิญญากรุงเทพ:1967 (จัดตั้งอาเซียน) ด้วย คือ

  1. ความเคารพในเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดนร่วมกัน
  2. การไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
  3. การไม่ก้าวก่ายในกิจการภายในซึ่งกันและกัน
  4. ความเท่าเทียม และประโยชน์ร่วมกัน
  5. ความคงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ผมคิดว่าหลักทั้งห้าข้อนี้ แม้จะทำให้เหตุการณ์ไม่ลุกลาม แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เพียงแต่เป็นการเลื่อนปัญหาออกไปในอนาคต ดังกรณีพิพาทพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ในที่สุดก็เกิดสงครามระหว่างจีนและอินเดียขึ้นในปี 2505

ว่าแต่เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้างครับ


รู้รักสามัคคี - Our loss is our gain

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 August 2008 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 6590

พระราชดำรัส ที่ทรงเรียบเรียงและปรับปรุงขึ้นจากที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันพุธ ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔

ขอขอบใจท่านนายก ฯ (นายอานันท์ ปันยารชุน) ที่ได้อำนวยพรในนามของทุกๆ ท่านที่ได้มาในวันนี้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะว่าแต่ก่อนนั้น เวลามีโอกาสเช่นนี้ เมื่อประมาณ ๓๐ ปีก่อน แม้จะมีผู้เข้าพบจำนวนมากพอใช้ ก็ได้ทักทายทุกคณะ เป็นอันว่า แต่ละคนๆ เขาได้ให้พร. แต่เดี๋ยวนี้ โดยที่จำนวนทวีขึ้นมาก ถ้าทำเช่นนั้น ก็ไม่มีทางที่จะเสร็จได้ภายในวันนี้. แต่ก่อนนี้ หลังจากพิธีในวัง ก็ได้มาพบกับท่านที่มาให้พร. โดยมาก ก็ไม่ได้รับประทานอาหารกลางวัน เพราะว่าต้องรับแขกตั้งแต่เที่ยงจนถึงบ่ายสี่โมง แล้วบ่ายสี่โมงครึ่ง ก็ต้องไปงานพิธีในวังอีก.

อย่างในวันนี้ถ้านับดู หากไม่มีนายก ฯ มาบรรเทาความเดือดร้อน ก็จะทำให้ต้องเสียเวลามากมายเพราะว่าเวลาพบคณะหนึ่งก็จะต้องรับพร. ถ้าเขาเริ่มต้นด้วยคำ “ขอเดชะ…” คูณด้วย ๓๐๐ คณะ ก็จะใช้เวลา ๑๕ นาที เฉพาะสำหรับ “ขอเดชะ….” แล้วต่อไปเขาก็จะต้องว่า “ข้าพระพุทธเจ้า…ชื่อนั้นๆๆ…ขอถวายพระพร.” ชื่อนั้นๆๆ…ก็กินเวลาอีกประมาณ ๑๕ นาที. แล้วต่อไป ก็จะต้องว่า “ขอถวายพระพรให้ทรงพระเจริญ” แล้วบางทีเขาก็พูดติดลมต่อไปอีกมากมาย. และต่อจากนั้นเขาจะต้องว่า “ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ” ก็กินเวลาไปอีก ๑๐ นาที. ตอนที่เขาพูดเสร็จแล้ว เราก็จะต้องมีอัธยาศัยไมตรี. อย่างน้อยที่สุด ก็จะต้องบอก “ขอบใจ”. คำว่า “ขอบใจ” นี้จะใช้เวลาไปอีกประมาณ ๑๐ นาที คือ “ขอบใจ” ๓๐๐ ครั้งก็ ๑๐ นาที. นอกจากนั้น เราก็ควรมีอัธยาศัยไมตรีมากกว่านั้นเพราะว่าเมื่อเจอคนโน้นคนนี้ ก็จะต้องทักทายกันบ้าง. “โอ้ไม่ได้พบมานานคุณเสนาะ (นายเสนาะ อูนากูล รองนายกรัฐมนตรี) สบายดีหรือ” อะไรอย่างนี้ ก็จะต้องใช้เวลาไปอีก. รวมแล้ว เวลาจะล่วงไปอย่างน้อยที่สุด ๑ ชั่วโมงครึ่งในการทักทายปราศรัย ไม่นับเวลาเดินด้วย มิฉะนั้นงานอาจไม่เกิดอัธยาศัยไมตรี. การพูดว่า “ขอบใจ” เฉยๆ อาจไม่พอ ก็จะต้องพูดจาอะไรมากกว่านั้น.

อ่านต่อ »


พบเม้ง

12 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 August 2008 เวลา 23:00 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3397

ก่อนหน้านี้ เคยพูดกันครั้งหนึ่งครับ เม้งโทรมาหาจากเยอรมัน วันนี้ได้มีโอกาสพบหน้ากันเป็นครั้งแรก ที่โรงแรม Pan Pacific โรงแรมหรูอยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลจุฬา

พบหน้ากันครั้งแรก ไม่ได้กอดหรอกครับ ถ่ายรูปต่างหาก พอจะถ่าย เม้งบอกว่า “ผมยาว” คือเท่าที่ผมรู้นะครับ ผมงอกออกมาจากหนังศรีษะ ไม่ได้งอกเข้าไปในกะโหลก ดังนั้นหากไม่ตัดผม ผมก็จะยาวออกมาเรื่อยๆ

โรงแรมนี้ อาหารอร่อย (แต่แพง) เพราะเราไม่มีเวลามากนัก ก็เลยไปกินกันที่ Central World ซึ่งอยู่ไม่ไกล และเป็นทางผ่านที่จะไปพันธ์ทิพย์พลาซ่า

ระหว่างกินข้าว เม้งงัดงานนำเสนอออกมาให้ผมดู ดูสนุกดีครับ เค้าอธิบายแล้วเข้าใจง่ายเชียว เห็นประโยชน์ชัด แต่ผมไม่อธิบายต่อเพราะรอให้ผ่านก่อนครับ

ที่พันธ์ทิพย์ เม้งจะเอาดิสก์ไปตรวจสุขภาพ หลังจากนั้น เม้งจะไปรายงานตัวที่ ก.พ.​ซึ่งอยู่ใกล้กับทำเนียบรัฐบาล ซึ่งกำลังมีการชุมนุมกันอยู่ ผมก็อยากไปส่ง ไม่ควรปล่อยให้คนที่ไปคนเดียว แต่ว่าผมก็มีประชุมด่วนที่กระทรวงนอกเมือง ก็เลยแยกกันที่พันธ์ทิพย์พลาซ่าครับ

จบข่าว


“ถูกต้อง”

อ่าน: 4139

ในเวลาที่มีพิธีกรเกมโชว์ใช้คำว่า “ถูกต้องนะคร้าาาาบบบ” เป็นที่ฮิตกันไปทั่วเมือง แม้ทางฝั่งการบ้านการเมือง การแสดงความคิดเห็น ก็ยังยืนยันว่า ฝ่ายของตนนั้นถูกต้อง และอีกฝ่ายหนึ่งไม่ถูกต้อง ผมค้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน… เชื่อไหมครับ ว่าไม่พบคำว่า “ถูกต้อง” !

ถูก ๑
ก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วย แสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทํา (มักใช้ในข้อความที่ทําให้ผู้ถูกทําเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ. ถูกกระทำ ก. ถูกทำให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ โดยวิธีใช้เวทมนตร์เป็นต้น. ถูกกัน ก. เข้ากันได้, ชอบพอกัน. ถูกขา ก. เข้ากันได้, รู้ชั้นเชิงกัน, (มักใช้ในการพนันและการเล่นกีฬา). ถูกคอ ก. ชอบพอ, ถูกอัธยาศัยกัน, มีรสนิยมเข้ากันได้. ถูกคู่ ก. เข้าคู่กันได้. ถูกใจ ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกอกถูกใจ ก็ว่า. ถูกโฉลก ก. ถูกตามตำรับนับโฉลก, ถูกชะตากัน, เป็นมงคล. ถูกชะตา ก. ถูกใจกันแต่แรกเห็น. ถูกตา ว. งาม, น่าดู, ต้องตา. ถูกน้อย (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งน้อย เป็นอาการของม้าวิ่งเรียบ ๆ ช้า ๆ. (อิเหนา). ถูกปาก ว. อร่อย. ถูกส่วน ว. ได้สัดส่วน, สมส่วน. ถูกเส้น (ปาก) ว. เข้ากันได้, ชอบพอกัน, ถูกอกถูกใจ. ถูกใหญ่ (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งใหญ่ เป็นอาการของม้าวิ่งอย่างเร็ว. ถูกอกถูกใจ ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกใจ ก็ว่า.
ถูก ๒
ว. จริง, ชอบ เช่น ถูกใจ, เหมาะสม, ไม่ผิด เช่น คิดถูก ทําถูก; มีราคาตํ่า, ไม่แพง.

เป็นไปได้หรือนี่ ที่ไม่มีการนิยามความหมายของคำว่าถูกต้องเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของกริยา วิเศษณ์ หรือนาม (ความถูกต้อง) เอาไว้

อ่านต่อ »


“ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า”

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 August 2008 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4163

“ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า” หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างเกิดที่ใจ และดับที่ใจ ทั้งสุข และทุกข์ ทั้งสำเร็จ และล้มเหลว เป็นความจริงที่เข้าใจยาก เพราะว่าคนเราติดสุข ติดความสำเร็จ (ติดสุคติ) โดยไม่เข้าใจว่าสุคติ นำมาซึ่งทุคติเช่นกัน จึงจะเปรียบเทียบกันได้

เราคงรู้จักคำที่ว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” กันเป็นอย่างดี ความข้อนี้มาจากคาถาธรรมบทในพระไตรปิฎก ความว่า

[๑๑] ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จ
แล้วแต่ใจ
ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่
ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต
๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไป
อยู่ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐ
อ่านต่อ »


Burj Dubai: สิ่งที่มนุษย์สร้างที่สูงที่สุดในโลก

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 August 2008 เวลา 1:51 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 6033

อาคาร Burj Dubai ที่มีบริษัท Emaar Properties PJSC เป็นเจ้าของ และใช้งบประมาณสองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ได้กลายเป็นสิ่งปลูกสร้างฝีมือมนุษย์ที่สูงที่สุดในโลก ทุบความสูง 553.3 เมตรของ “ยอดอาคาร” CN Tower ในโตรอนโต ส่วนสถิติของ “อาคาร” เดิมทีอาคาร Taipei 101 สูง 508 เมตร เป็นเจ้าของอยู่ ก็เรียบร้อยไปแล้ว

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของตึก บอกว่าเมื่อกลางเดือนมิถุนายน ตึกก่อสร้างไปถึงความสูง 636 เมตร จาก 160 ชั้น สูงซะจนเกินระยะที่จะใช้วิทยุวอล์กกี้-ทอล์กกี้พูดกันได้

เว็บไซต์นี้ติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้าง ใกล้ชิดกว่าเว็บไซต์ของตึกซึ่งเน้นภาพลักษณ์มากกว่าครับ


คลิกบนรูปเพื่อขยาย



Main: 0.063571929931641 sec
Sidebar: 0.17240405082703 sec