นิทานในนิทาน

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 August 2008 เวลา 6:51 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3210

๙๗ ผู้โง่เขลา ไม่รู้แจ้งข้อสำคัญของเรื่อง เอาแต่อำนาจ ความโกรธ, แต่ต้องเดือดร้อนเหมือนพราหมณ์จากพังพอน.

๙๙{…ผู้โง่เขลา ไม่รู้แจ้งข้อสำคัญของเรื่อง…} กาม ๑​ โกรธ​ ๑​ โลภ ๑​ ริษยา ๑​ ถือตัว ๑ มัวเมา ๑ เมื่อบุคคลละเสียซึ่งพวกหกนี้ก็มีสุข.

๑๐๓คนชั่ว เหมือนหม้อดิน แตกสลายจ่าย{ง่าย?} และซ่อมยาก; แต่คนดี เปรียบเหมือนหม้อทอง ยากที่จะแตก แต่ประสานง่าย.

๑๐๔ชนโง่ อันบุคคลทำให้ชอบใจง่าย, ชนมีความรู้ดี อันบุคคลทำให้ชอบใจยิ่งง่ายขึ้น; แต่คนที่ฟุ้งซ่านด้วยความรู้อันเล็กน้อย ต่อให้พระพรหม ก็ทำให้ชอบใจไม่ได้….

๑๕๐​ {๑๐๕?}เหล่าชนที่ประพฤติดี อันโลกเห็นด้วยตาไม่ได้ในที่ทั้งปวง บุคคลพึงอนุมานตามการที่เขาทำ; เพราะฉะนั้น พึงรู้แจ้งกิจการของผู้ประพฤติซึ่งมองไม่เห็นด้วยผลทั้งหลายนี้.”

๑๐๘พึงยึดใจคนโลภ ด้วยทรัพย์สิน, คนกระด้าง ด้วยอัญชลีกรรม, คนโง่ ด้วยตามใจ, บัณฑิต ด้วยความตามเป็นจริง.

๑๐๔พึงปราบเพื่อน ด้วยความดี, ญาติ ด้วยความเอื้อเฟื้อ, สตรีและข้า ด้วยรางวัลและเกียรติยศ, คนอื่นๆ ด้วยความเคารพ.

หิโตปเทศ ๔ สนธิ ความสงบ


หลักแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 August 2008 เวลา 4:01 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4572

อ่านบทความของอาจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ติดใจคำว่าหลักปัญจศีลที่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และบัณฑิตเนห์รู ประกาศเป็นหลักการในปี พ.ศ.2497 ก็เลยค้นข้อมูลต่อ ได้เรื่องดังนี้ครับ

หลักการนี้ เกิดขึ้นโดยการพัฒนาร่วมกันโดยผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียระหว่างปี 2496-97 และมีนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล และบัณฑิตเนห์รู เมื่อมีความขัดแย้งด้านพรมแดนระหว่างจีนและอินเดีย เรื่องเส้นพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ซึ่งเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างสหราชอาณาจักรกับทิเบตในปี 2457 ในขณะที่อังกฤษปกครองอินเดีย

หลักการนี้ มีอยู่ 5 ข้อ ซึ่งในที่สุดได้กระจายออกไปอย่างแพร่หลาย ซึงวิญญาณของหลักการห้าข้อนี้ ก็ปรากฏอยู่ในปฏิญญากรุงเทพ:1967 (จัดตั้งอาเซียน) ด้วย คือ

  1. ความเคารพในเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดนร่วมกัน
  2. การไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
  3. การไม่ก้าวก่ายในกิจการภายในซึ่งกันและกัน
  4. ความเท่าเทียม และประโยชน์ร่วมกัน
  5. ความคงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ผมคิดว่าหลักทั้งห้าข้อนี้ แม้จะทำให้เหตุการณ์ไม่ลุกลาม แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เพียงแต่เป็นการเลื่อนปัญหาออกไปในอนาคต ดังกรณีพิพาทพรมแดนอินเดีย-ทิเบต ในที่สุดก็เกิดสงครามระหว่างจีนและอินเดียขึ้นในปี 2505

ว่าแต่เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้างครับ



Main: 0.30050110816956 sec
Sidebar: 0.75735807418823 sec