โคลงโลกนิติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 August 2008 เวลา 12:37 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5190

โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือคัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่คำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา รวมเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษของไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดั ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานจนปัจจุบัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วันพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวันพระเชคุพนฯ เป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ ให้เรียบร้อยประณีตและไพราะ เพราะของเก่าที่คัดลอกต่อๆ กันมา ปรากฏว่ามีถ้อยคำที่วิปลาสคลาดเคลื่อนไปมาก…

โคลงโลกนิติฉบับศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ มี 436 บท


ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ

อ่าน: 5078

“ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ (จุดบรรจบ: รัฐศาสตร์ กับ นิติศาสตร์)” เป็นหนังสือที่บันทึกแง่คิด มุมมอง ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ที่เมตตาตอบศิษยานุศิษย์เมื่อต้นปี 2549

ผมนำหนังสือเล่มนี้ มาให้อ่านกันอีกครั้งหนึ่ง แต่อยากขอร้องท่านผู้อ่าน ว่าอย่าด่วนสรุปอะไรก่อนจะอ่านจบ เพราะว่าความฉาบฉวย คิดเอาง่ายๆ ความยึดมั่นถือมั่น อัตตา อคติ การติดกับรูปแบบมากกว่าเนื้อหา ได้ทำร้ายสังคมไทยซ้ำแล้วซ้ำอีก

หนังสือนี้ลึกซึ้งแต่ไม่ซับซ้อน และไม่ใช่เรื่องเฉพาะกาลที่นำมาเพื่อตำหนิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อยากให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาเรื่องราวจากหลายๆ มุมมอง อย่าตัดสินอะไรโดยที่ไม่เข้าใจบริบทของเรื่องทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองจากอีกฝั่งหนึ่ง

คำปรารภ

คนไม่น้อย พูดกันบ่อยว่า ให้เอาวิกฤตเป็นโอกาส แต่เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นจริง ก็มักลืมคตินี้ไป หาได้ประโยชน์จากวิกฤตนั้นไม่

หลักพระพุทธศาสนาสอนว่า บรรดาการสูญเสียทั้งหลาย การสูญเสียที่เลวร้ายที่สุด คือการสูญเสียทางปัญญา และในทางตรงข้าม บรรดาการได้เพิ่มขึ้นมา การได้เพิ่มขึ้นซึ่งปัญญา เป็นการได้ที่เลิศสุด (เอตทคฺคํ ภิกฺขเว วุฑฺฒีนํ ยทิทํ ปญฺญาวุฑฺฒิ - องฺ.เอก.๒๐/๓๗/๑๗)

โดยนัยนี้ บรรดาประโยชน์ทั้งหลายที่จะได้จากโอกาสแห่งวิกฤตไม่มีประโยชน์ใดยิ่งใหญ่กว่าการได้ปัญญา

สภาพวิกฤตนั้นเองเป็นโอกาสอันเยี่ยม ซึ่งมีข้อมูลและแบบฝึกหัดมากมายในการเรียนรู้ให้เจริญปัญญา และปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้นั้น แม้อาจจะมิต้องใช้ประโยชน์ในยามวิกฤตเอง ก็มีความสำคัญยิ่งกว่านั้นที่จะเป็นประโยชน์ยั่งยืนนานในกาลระยะยาวเบื้องหน้า

ไม่ว่าคนจะได้ประโยชน์อื่นใดหรือไม่ หรือแม้จะเกิดการสูญเสียใดๆ เมื่อรู้จักคิดพิจารณา มนุษย์ย่อมอาจถือเอาประโยชน์ทางปัญญาได้ทุกโอกาส

เพื่อประโยชน์ทางปัญญาดังว่านี้ จึงร่วมใจให้มีการพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นมา

หลังจากมีผู้ศรัทธามากท่านขอพิมพ์หนังสือนี้เมื่อสิบวันก่อน ได้ทราบว่าหนังสือหมดไปอย่างรวดเร็ว หลายท่านขอพิมพ์ครั้งใหม่ จึงถือโอกาสเพิ่มเติมเล็กน้อยสำหรับการพิมพ์ครั้งปัจจุบัน อันเป็นวาระที่ ๒

ในโอกาสนี้ ขอร่วมตั้งใจปรารถนาดี ให้ทุกท่านตั้งอยู่ในธรรม และประสบประโยชน์สุขจากการดำ เนินตามธรรม และให้ผู้ร่วมสังคมเห็นทางนำประเทศชาติให้ดำ เนินสู่ความสงบสุขโดยธรรม

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙

อ่านต่อ »



Main: 0.027748107910156 sec
Sidebar: 0.04444408416748 sec