คืนชีวิตให้แม่น้ำ

อ่าน: 3409

วันนี้กลับไปที่อิงนที รีสอร์ต ปทุมธานีใหม่อีกครั้งหนึ่ง เรื่องจากเครือข่ายจัดงานคืนชีวิตให้แม่น้ำ โดยมีอาสาสมัครมาร่วมสักสองสามร้อยคน มีนักเรียนจากสองโรงเรียนในท้องถิ่น สององค์การบริหารส่วนตำบล ทหารจากศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก ซึ่งรับผิดชอบในเขตจังหวัดแถวนี้ กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานอยู่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (ในนามส่วนตัว) ผู้ใหญ่บ้านแถวนั้น 4 หมู่บ้าน (มีมูลนิธิอะไรก็ไม่รู้ที่มาถ่ายรูปเสร็จก็หายตัวไป) แล้วก็มีกลุ่มผู้จัดงานคือ อาสาดุสิต PS-EMC และ Thaiflood งานนี้มีคุณปิยะชีพ ส.วัชโรบลเป็นพ่องาน (สงสัยว่า ส. น่าจะเป็นชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็นปิยะชีพ)

คลิปที่ถ่ายในวันนี้ ไม่ค่อยมีเรื่องความรู้หรอกนะครับ เป็นพิธีการและบรรยากาศทั่วๆ ไปเสียมากกว่า

สำหรับเรื่องที่ว่าจัดงานวันนี้ทำไมนั้น โดยส่วนตัว ผมคิดว่าเนื้อเพลงนี้ บอกอะไรหลายส่วน หากผู้คนในวงกว้างเกิดจิตสำนึกรู้คุณ ช่วยกันรักษาแม่น้ำลำคลอง ก็จะเป็นกุศลต่อตัวเอง ผู้ใช้น้ำอื่นๆ สัตว์ต่างๆ จิตสำนึกนี้ ไม่ควรจะเป็นเฉพาะที่อยุธยาตรงจุดที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม ถิ่นฐานบ้านเรือนที่น้ำเสียไหลผ่าน หรือชาวบ้านที่เลี้ยงปลาในกระชังเท่านั้น แต่เป็นทุกคนที่ใช้น้ำ ไม่ว่าจะอยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ ต่างก็มีหน้าที่ที่จะรักษาน้ำ มันไม่ใช่หน้าที่ของผู้ที่อาศัยริมน้ำเท่านั้น

อ่านต่อ »


วันสิ่งแวดล้อมโลก กับ EM Ball

อ่าน: 6044

วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี (เมื่อวาน) สหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งธีมในปีนี้เป็นเรื่องป่า พื้นที่ป่าต้องเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ที่มีอยู่ (ด้วยตัวเลขอย่างเป็นทางการ เมืองไทยมีไม่ถึงหรอกครับ นี่ยังไม่นับการบุกรุก) วิกฤตแต่ละเรื่อง ใหญ่ทั้งนั้น วิกฤตสิ่งแวดล้อมนั้น แก้ไขได้ยากเนื่องจากการทำลายใช้เวลาเดี๋ยวเดียว แต่ว่าการฟื้นฟูนั้นกลับใช้เวลานาน บ่อยไปที่เป็นสิบปี อย่างไรก็ตาม วิกฤตเฉพาะหน้าของเมืองไทยในวันนี้ มีอยู่หลายเรื่อง แก้ไม่จบเสียที (หรือไม่ได้แก้ก็ไม่รู้)

วันนี้ทางศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ThaiFlood.com) อาสาดุสิต (ArsaDusit.com) และ เครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน (PS-EMC) ชวนไปโยนลูกโบกาฉิ (EM Ball) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์พันธุ์พิเศษสำหรับแก้น้ำเสีย หวังว่าจะช่วยให้สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาเน่าจากการที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่มที่อยุธยาดีขึ้นบ้าง แต่เรื่องอย่างนี้ต้องไปดูแห่ เมื่อเจอวิกฤตอยู่ต่อหน้าต่อตา จะน่ิงเฉยทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่ไหวแล้วครับ

อ่านต่อ »


กู้วิกฤตแม่น้ำเจ้าพระยา

อ่าน: 4273

บันทึกนี้ นอกจากจะ open source แล้ว ยัง open thought ด้วย

กรณีเรือบรรทุกน้ำตาลขนาด 2,400 ตัน ล่มตั้งแต่เช้าวันที่ 2 มิถุนายนที่บริเวณใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เรือจมค่อนมาทางตลิ่ง กระแสน้ำที่พัดมาเจอเรือที่ขวางทางน้ำอยู่ ก็แยกอ้อมเรือไปทั้งด้านกลางแม่น้ำและด้านริมตลิ่งด้วยความเร็ว ทำให้เซาะตลิ่งพังไป กระทบต่อบ้านเรือนชาวบ้าน; ตามข่าวบอกว่าสูบน้ำตาลออกจากเรือได้หมดเมื่อวันที่ 3 แล้ว

แต่ที่เกิดเป็นภัยก็คือน้ำตาลที่รั่วลงน้ำ ทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (dissolved oxygen หรือ DO) ลดลงสู่ระดับวิกฤต บางช่วงต่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร (ต่ำกว่า 2-3 มก./ลิตร หรือ 2-3 ppm ก็เรียกว่าน้ำเน่าแล้ว) สัตว์น้ำที่หากินอยู่แถวผิวน้ำ อาจจะยังพอขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้ แต่ปริมาณ DO ที่ต่ำนั้น กระทบต่อสัตว์น้ำที่หากินอยู่แถวผิวดินก้นแม่น้ำ (ซึ่งปลาเหล่านี้มีลักษณะทางกายภาพแตกต่างออกไป) ตายเสียเป็นส่วนใหญ่เช่น กระเบนราหู ปลาลิ้นหมา ปลาม้า ปลากดคัง ตัวละ 10-30 กก. — น้ำตาลเป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ พอจุลินทรีย์ยิ่งโต ยิ่งแบ่งตัว ก็ยิ่งใช้ DO ในน้ำ ทำให้ DO ลดลงต่ำมากจนสัตว์น้ำอื่นหายใจไม่ได้และตายยกแม่น้ำ

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (2)

อ่าน: 3943

ต่อจากตอนที่แล้ว ในบรรดาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้น ควรหรือไม่ควรจะใช้อะไร ขึ้นกับความเหมาะสมของพื้นที่

โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ทุกวัน เป็นสิ่งที่ถึงไม่ร้องขอก็ได้มาอยู่ดี การพยายามเอาพลังงานเหล่านี้มาใช้ (ซึ่งธรรมชาติได้แปลงไปเป็นรูปแบบต่างๆ แล้ว) เรากลับไปเรียกว่าพลังงานทดแทน

ถึงจะมีต้นทุนในกระบวนการ (A) บ้าง แต่ในระยะยาว เมื่อ Input ได้มา “ฟรี” Output ก็ควรจะ “ถูก” — ซึ่งถ้าหาก output “ไม่ถูก” ก็ไม่รู้จะทำไปทำไมนะครับ

อ่านต่อ »


การจัดการน้ำท่วม

อ่าน: 4047

ไม่ว่าจะเป็นการจัดการใดๆ ก็ต้องเริ่มที่ความเข้าใจที่ถูกต้องครับ

กรณีของน้ำท่วม มีหลายเรื่องประกอบกัน คือ

  1. มีปริมาณน้ำไหลมามาก ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากฝนตกหนักในเวลาไม่นาน หรือว่าฝนตกระยะยาวหลายวันในพื้นที่กว้าง เมื่อฝนตกแล้ว น้ำก็ไหลไปลงแม่น้ำลำธารซึ่งเป็นร่องน้ำตามธรรมชาติ แต่เมื่อการที่เกิดมีน้ำไหลมากขึ้นอย่างฉับพลัน เกินกำลังการระบายของร่องน้ำ น้ำก็จะยกตัวขึ้น หากยกตัวจนพ้นตลิ่ง ก็จะไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนซึ่งมักตั้งอยู่ริมร่องน้ำ — เขื่อนแตกก็มีสภาพเดียวกัน เพียงแต่ว่าเขื่อนในเมืองไทยมักเป็นเขื่อนแกนดินเหนียวดาดคอนกรีต ซึ่งมักจะไม่ระเบิดโพล๊ะเหมือนในหนัง แต่จะปริแทน

  2. เมื่อน้ำปริมาณมหาศาลไหลบ่าลงมาแล้ว ก็จะมาเจอแนวป้องกันซึ่งเป็นถนนหลวง ประเทศไทยมีระดับถนนสูงกว่าพื้นที่รอบข้างติดอันดับโลก (และอาจเป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว) ไม่ว่าจะเอาถนนสูงไว้กั้นน้ำหลาก หรือเอาไว้ให้พวกถมดินได้มีงานทำก็ตาม ถนนสูงขวางทางน้ำธรรมชาติ หากกั้นไว้ไม่ได้แล้วน้ำข้ามถนนมาได้ ทีนี้การระบายน้ำออกจากพื้นที่กลับเป็นเรื่องยาก เนื่องจากถนนกลับเป็นกำแพงกั้นเอาไว้ น้ำไหลออกไม่ได้ — อาจจะเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้ แต่ว่าเขื่อนกั้นสึนามิในญี่ปุ่นซึ่งสูงไม่พอนั้น ทำให้เกิดความเสียหายลึกเข้ามาในแผ่นดินมาก เพราะว่าเมื่อน้ำข้ามเขื่อนเข้ามาแล้ว ไหลย้อนกลับลงทะเลไปไม่ได้ ต้องไหลเข้าไปทางแผ่นดินเรื่อยๆ จนไปไม่ไหว น้ำจึงเข้าไปในแผ่นดินได้ถึงสิบกิโลเมตร

  3. แก้มลิง เป็นพื้นที่ที่พักน้ำเอาไว้ รอระบายในจังหวะที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่เป็นปลายเหตุนะครับ เรื่องของเรื่องคือน้ำไหลมาจากต้นน้ำในปริมาณมากจนเกินรับ

อ่านต่อ »


เขื่อนใหญ่บนรอยแยก

อ่าน: 3505

จนปัญญาที่จะหาเหตุผลว่าทำไมจึงไปสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไว้บนรอยแยก ถ้าจะเดาเอา ก็คงมีอยู่สองกรณี คือ (1) ไม่รู้ว่ามีรอยแยก และ (2) มีการสำรวจจนมั่นใจแล้ว ว่ารอยแยกนั้นไม่มีพลังแล้ว ดับแล้ว

ในเมืองไทยมีอยู่สองเขื่อนทางทิศตะวันตก คือเขื่อนศรีนครินทร์บนรอยแยกศรีสวัสดิ์ และเขื่อนวชิราลงกรณใกล้รอยแยกเจดีย์สามองค์ (อนึ่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตสะกดชื่อเขื่อนวชิราลงกรณ ไม่มีการันต์ แต่วิกิพีเดียสะกดแบบมีการันต์ ซึ่งผมเชื่อ กฟผ.ผู้ดูแลเขื่อนครับ)

ที่พูดกันมากคือความเป็นไปได้ของกรณีเขื่อนแตก แล้วน้ำในเขื่อนไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน ว่ากันว่ากาญจนบุรีจะจมน้ำสูง 25 เมตร แล้วน้ำจะไหลมาตามแม่กลองและคลองต่างๆ ทำให้ อ.บ้านโป่งท่วมสูง 7.5 เมตร ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพท่วมสูง 2 เมตร

ถ้าอยู่ดีๆ ถามว่ามีโอกาสที่เขื่อนจะแตกไหม ก็ต้องบอกว่ามีครับ ไม่มีอะไรที่คงอยู่ตลอดไปแน่นอน แต่ผมคิดว่ามีเรื่องที่น่าจะทำความเข้าใจกันก่อนหลายประเด็น…

อ่านต่อ »


ฝนตก น้ำท่วม กระสอบทราย

อ่าน: 4247

ช่วงนี้สภาวะอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนแล้งก็แล้งจัด ส่วนเมื่อฝนมา กลับมาหนักเสียจนเกินต้านทาน

คลิปนี้ เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะลดภาระในการทำกระสอบทราย เอาไว้ป้องกันอาณาเขตที่ต้องการจากน้ำ

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)

อ่าน: 7772

บันทึกนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)] ซึ่งใช้กระถางดินเผา ที่เรียกแบบโก้ว่า ceramic filter มาเป็นตัวกรองสารแขวนลอย แล้วใช้ silver colloid หรือซิลเวอร์นาโนในเครื่องซักผ้าบางยี่ห้อ มาฆ่าเชื้อโรค — วิธีการดังกล่าว ถึงดูดีมีสกุล แต่ก็ดูจะเกินเอื้อมของชาวบ้าน บันทึกนี้ จึงเสนอความคิดแบบง่ายๆ ชาวบ้านสร้างเองได้ เรียกในภาษาต่างประเทศว่า Biosand filter

Biosand filter เป็นเครื่องกรองน้ำชนิดกรองช้า ให้น้ำค่อยๆ ไหลผ่านเครื่องกรองซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติเป็นตัวกรอง มีทราย กรวด ถ่าน เป็นเครื่องกรองสารแขวนลอย และใช้เมือกชีวภาพ Schmutzdecke ซึ่งเป็นเมือกของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ (แบคทีเรีย รา โปรโตซัว โรติเฟอรา) คอยจับกินเชื้อโรคอื่นๆ ที่ปนเปื้อนมาในน้ำ

เมือกชีวภาพ biofilm ที่เรียกว่า Schmutzdecke ต้องอาศัยเวลา 20-30 วัน จึงจะเติบโตเป็นชั้นหนาพอที่จะกรองเชื้อได้ ดังนั้น หากต้องการน้ำดื่มในปัจจุบันทันด่วน ก็ต้องมีมาตรการอื่นมาเสริมด้วย เช่นเอาตากแดดไว้วันหนึ่ง [แสงแดดฆ่าเชื้อโรค] [อีกด้านหนึ่งของน้ำ]

อ่านต่อ »


ตรวจปริมาณฝนระยะไกล

อ่าน: 2941

ไปเจอข้อมูลการตรวจปริมาณฝนจาก Tropical Rainfall Measuring Mission ซึ่งเป็นภารกิจร่วมระหว่าง NASA และ JAXA ใช้เครื่องมือวัดต่างๆ ในดาวเทียมวัดปริมาณฝน ซึ่งเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ให้ข้อมูลออกมาว่าเกิดฝนตก 1200 มม. ใน 24 ชั่วโมง อันเป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกต้อง

การวัดปริมาณฝนในลักษณะนี้ จึงน่าสนใจกว่าการดูภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยแสงอินฟราเรด ภาพสีจริง หรือภาพเรดาร์ตรวจอากาศในลักษณะที่ว่าเมื่อเห็นเมฆ ไม่ได้แปลว่าฝนตก; ผู้เชี่ยวชาญทางอุตุนิยมวิทยา ใช้ข้อมูลอื่นประกอบจนพอบอกได้ว่าอะไรเป็นเมฆ อะไรเป็นฝน มีปัญหาสองอย่างคือ (1) ผู้เชี่ยวชาญ ผิดได้เหมือนกัน (2) เราตรวจสอบเองไม่ได้ โดยปกติก็มักจะเชื่อและระวังตัวไว้ก่อน

เมืองไทยตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร มีทะเลใหญ่ขนาบข้างทั้งสองด้าน อุณหภูมิของน้ำทะเลมีความสำคัญ เพราะน้ำทะเลเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ได้มาก ความร้อนเหล่านี้สามารถถ่ายไปเป็นความร้อนแฝง ทำให้น้ำทะเลกลายเป็นไอ เป็นเมฆ เติมเชื้อปริมาณน้ำและความรุนแรงให้กับพายุที่พัดผ่านมาในทะเลแถวนี้ได้ (ที่ไหนๆ ก็เป็นอย่างนี้)

ตัวอย่างของการเติมปริมาณน้ำและความรุนแรงที่เห็นชัด ก็คือพายุไซโคลนนาร์กีสในปี 2551 เส้นทางของพายุ พัดเลียบฝั่งพม่า ตาพายุอยู่ชายฝั่งบนบก รัศมีของพายุครอบคลุมทั้งบนบกและในน้ำ ดังนั้นนาร์กีส จึงได้รับน้ำและพลังงานจากส่วนที่อยู่ในน้ำ เติมความรุนแรงลงไปเรื่อยๆ จนพม่าตอนล่างแหลกราญไป แต่เมื่อตาพายุเคลื่อนตัวลึกเข้ามาในแผ่นดินจนจะเข้าเขตพรมแดนไทย พายุอยู่ห่างฝั่งมากแล้ว อ่าวเบงกอลไม่สามารถเติมพลังงานให้กับพายุได้อีก นาร์กีสจึงสลายตัวไป ก่อนที่จะทำความเสียหายแต่แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่

อ่านต่อ »


แผ่นดินเคลื่อนสับสน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 April 2011 เวลา 3:50 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 5498

บันทึกนี้ คงเป็นตอนต่อมาของ [แผ่นดินบิด] แต่เรามองการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกในมุมที่กว้างกว่า

NASA JPL ได้วัดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก และพบการเคลื่อนตัวด้วยความเร็วที่ไม่เท่ากัน และมีทิศทางกลับไปกลับมา เมื่อเกิดเหตุอย่างนี้ เนื้อแผ่นดิน (แผ่นเปลือกโลก) ก็จะมีการปะทะ การบิด และการแยกเป็นธรรมดา

จุดเขียวคือตำแหน่งที่วัด ส่วนแขนสีเหลืองแสดงความเร็วและทิศทางที่แผ่นดินเคลื่อนที่ไป แขนยิ่งยาว ก็ยิ่งเคลื่อนตัวเร็ว ถ้าสองแขนสวนทางกัน ก็เป็นการปะทะกัน ซึ่งเป็นลักษณะแผ่นเปลือกโลกมุดตัว รูปจริงๆ ที่ JPL แบบคลิกได้ ดูตรงนี้ครับ เมื่อคลิกบนจุดเขียว จะเห็นข้อมูลการเคลื่อนที่ในรอบสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งพอที่จะหาความเร็วเฉลี่ยได้แล้ว

อ่านต่อ »



Main: 0.055713176727295 sec
Sidebar: 0.16271305084229 sec