หน่วงน้ำป่า

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 July 2011 เวลา 2:17 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 3114

สืบเนื่องจากบันทึกเรื่อง [ปัญหาชวนคิดของน้ำป่า] มีการเปลี่ยนแปลงในเขตลุ่มลำตะคองอีกอย่างหนึ่ง คือน้ำป่าไหลจากน้ำตกเหวสุวัต ผ่านหมูสี ขนงพระ หนองน้ำแดง ปากช่อง และจันทึกไปลงเขื่อนลำตะคอง ด้วยอัตราที่เร็วกว่าในอดีตมาก ทำให้ชาวบ้านแถบนั้น มีเวลาขนของและอพยพหนีน้ำไม่มากนัก

วิธีแก้ไขก็น่าจะเป็นการติดตั้งจุดตรวจวัดลึกเข้าไปในป่า เพื่อตรวจจับน้ำป่าให้เร็วขึ้น แต่การติดเครื่องมือวัดในป่านั้น มีปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่ง คือในป่าไม่ใช่เมือง จะไปหวังความสะดวกเรื่องไฟฟ้าและโทรคมนาคมไม่ได้ วิธีที่น่าจะดีคือติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแถวน้ำตกเหวสุวัต ซึ่งมีลานจอดรถ มีร้านขายของ มีไฟฟ้า มีสัญญาณโทรศัพท์ เมื่อพบว่าฝนตกหนัก อาจจะมีเวลาสักชั่วโมงสองชั่วโมงกว่าน้ำป่าจะมาถึงน้ำตกเหวสุวัต แล้วยังมีระยะอีก 6-7 กม.กว่าจะไหลไปถึงหมูสีซึ่งมีบ้านเรือนชาวบ้านตั้งอยู่หนาแน่น เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน ติดอยู่บริเวณที่จอดรถที่มีไฟฟ้าและมีสัญญาณวิทยุได้ แต่ถ้าติดเครื่องวัดระดับน้ำ ต้องลงไปติดแถวน้ำตก ทำให้เสียทัศนียภาพ แถมยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์อีกต่างหาก ปริมาณน้ำฝน x พื้นที่รับน้ำฝน คือปริมาณน้ำที่จะไหลมาเพิ่มในลำน้ำ

ทีนี้ปัญหาคือเมื่อน้ำป่ามา จุดวัดระดับน้ำจุดที่ลึกที่สุดคือหมูสี แต่น้ำไหลเร็วกว่าในอดีตมาก สภาพตลิ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยการถมพื้นที่ชุ่มน้ำ การถางพืชริมตลิ่ง พืชน้ำ การขุดแก่งหินในร่องน้ำเอาไปประดับ เมื่อสภาพนิเวศน์เปลี่ยนแปลงไป ทำให้น้ำไหลได้สะดวกขึ้น น้ำป่าจึงมีความเร็วเพิ่มขึ้นทั้งที่ความลาดเอียงยังเป็นเช่นเดิม

อ่านต่อ »


วัดปริมาณน้ำฝน

อ่าน: 6564

การวัดปริมาณน้ำฝนนั้น วัดความสูงของน้ำฝนในแท่งทรงกระบอก ที่ฝาเปิดแต่ก้นปิด จะกว้างเท่าไหร่ก็แล้วแต่ จะเป็นหลอดก็ได้ เป็นบีกเกอร์ก็ได้ มีปัญหาอย่างเดียวคือต้องเททิ้งบ่อยๆ

ทีนี้หากติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ห่างไกล ใครจะตามไปเทให้ล่ะครับ ก็จึงต้องหาวิธีทำเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่เทน้ำทิ้งเองได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ dissertation ระดับปริญญาเอกหรอกครับ

รูปซ้ายเป็นทรงกระบอกรับน้ำฝน ความลึกไม่สำคัญ เมื่อน้ำฝนตกผ่านปากวงกลม ก็จะไหลไปลงรู หยดลงไปชั้นข้างล่าง ซึ่งคือรูปขวา เป็นรูปสามเหลี่ยมสองอันหันหลังชนกัน เมื่อน้ำหยดจากรูลงมาในสามเหลี่ยม น้ำหนักของน้ำก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากพอที่จะกระดกสามเหลี่ยม (ซ้าย-ขวา) เทน้ำออกจนหมด การนับปริมาณน้ำฝน ก็นับจำนวนครั้งที่กระดก แทนที่จะต้องไปวัดความสูงของน้ำฝน (ซึ่งยากกว่า แพงกว่า)

อ่านต่อ »


ปัญหาชวนคิดของน้ำป่า

อ่าน: 3601

อนุสนธิจากการประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชเมื่อวันอาทิตย์ (บันทึกที่แล้ว) มีข้อมูลของคุณอลงกต ผอ.กองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย

คุณอลงกตอยู่ในพื้นที่ เดินป่า และรู้จักเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ป่ารุ่นบุกเบิกมากมาย เล่าให้ฟังว่าน้ำท่วมคราวที่แล้ว ท่วมมิดหลังช้างซึ่งติดอยู่กับกอไผ่ ช้างต้องชูงวงขึ้นเหนือน้ำเอาตัวรอด จนเจ้าหน้าที่ไปช่วยแก้ไขนำออกมา

ในป่าเขาใหญ่ ลำน้ำที่ไปลงลำตะคองผ่านปากช่องนั้น ต้นน้ำอยู่ลึกเข้าไปในป่า กลางทางเป็นน้ำตกเหวสุวัต ความเร็วของกระแสน้ำตั้งแต่ต่นน้ำจนถึงน้ำตกเหวสุวัต พวกเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ป่าเก่าๆ บอกว่าไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่กระแสน้ำมีความเร็วสูงขึ้นมาก ตั้งแต่น้ำตกเหวสุวัตลงไปยังเขื่อนลำตะคอง ผ่านหมูสี ขนงพระ หนองน้ำแดง ปากช่อง จันทึก ทั้งนี้เป็นเพราะผู้คนเข้ามาตั้งบ้านเรือน ทำให้สภาพริมตลิ่งเปลี่ยนแปลงไป

เปลี่ยนอย่างไร: คุณอลงกตอธิบายว่าเมื่อก่อน ริมตลิ่งมี swamp (พื้นที่ปะทะของน้ำ) เมื่อน้ำป่าไหลบ่ามาชนตลิ่งที่คดเคี้ยว ก็จะไหลท่วมตลิ่งเข้าสู่ที่ลุ่มชุ่มน้ำ ลดความรุนแรงลง แล้วก็จะไหลออกไปตามแรงดึงดูด

ต่อมาเมื่อมีการตั้งบ้านเรือน พื้นที่ swamp ถูกปรับปรุง ถูกถม มีเขื่อน ทำให้น้ำป่าไหลบ่าไปตามทางน้ำ โดยไม่มีอะไรมาชะลอความเร็วลง ดังนั้นเมื่อฝนตกหนัก น้ำป่าใช้เวลาไม่นานที่จะไหลเข้าท่วมชุมชนในที่ต่ำกว่า ทำให้ชาวบ้านมีเวลาในการขนของหนีน้ำน้อย ข้าวของจึงเสียหายมาก

อ่านต่อ »


การประชุมกับ CSR โคราช

อ่าน: 3284

วันนี้ประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชที่เขาใหญ่ ที่บ้านคุณเหน่งแม่ยกของกลุ่ม เริ่มประชุมตอนบ่ายสองโมง กลับออกจากเขาใหญ่เกือบสามทุ่ม จากการที่ได้พูดคุยเป็นเวลานาน พบว่ากลุ่มนี้ตั้งใจและทำงานจริงครับ (ถึงจะไม่เชื่อว่าผมถือศีล ๕ ซึ่งไม่ค่อยขาด ก็ขอให้เข้าใจด้วยว่าผมไม่ต้องอวยใครนะครับ อิอิ)

ไปโคราชคราวนี้ @iwhale ชวนไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มกลุ่มเครือข่ายเพื่อสังคมโคราช หรือเรียกง่ายๆ ว่ากลุ่ม CSR โคราช — เช่นเดียวกับในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มที่มีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นนั้นมีกันอยู่มากมาย กลุ่ม CSR โคราชทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยไม่ได้แอ๊บประชาสัมพันธ์ธุรกิจหรือตัวบุคคล มีโครงสร้างจากหลากหลายกลุ่มย่อย มาร่วมกันทำงานพัฒนาท้องถิ่น; ถ้าหากกลุ่มต่างๆ ในท้องถิ่นสามารถรวมตัวกันเป็นภาคี (หมายความว่าทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน แต่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน) ก็จะเกิดการรวมพลังพัฒนาท้องถิ่นได้ โดยไม่ต้องแบ่งแยกว่าใครใหญ่ ใครดัง ผลงานของใคร

งานของกลุ่ม CSR โคราช ทำเรื่องเด็กและเยาวชนกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ที่ผมได้ข่าวคราวของกลุ่มนี้มาครั้งแรก ก็เป็นเมื่อตอนน้ำท่วมโคราชเมื่อปีที่แล้ว เขาระดมสรรพกำลังมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทั้งรถออฟโรดที่เข้าพื้นที่ห่างไกล โครงการกู้นาฝ่าวิกฤตที่จัดการเรื่องพันธุ์ข้าวหลายสิบตันสำหรับนาที่ล่ม เจอกันในเวทีของภาคประชาชนหลายครั้ง ได้รับโอกาสเข้าไปเสนอ “โคราชโมเดล” ใน คชอ. เป็นต้น ตลอดจนเมื่อสถานการณ์ของโคราชพ้นวิกฤตแล้ว ก็ยังส่งความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ประสบภัยอื่นๆ ด้วย มีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือภาคประชาชนกันเอง เมื่อตอนน้ำท่วมโคราช ชาวสุราษฎร์ยกมาช่วย เมื่อคราวน้ำท่วมสุราษฎร์ ชาวโคราชก็ยกไปช่วย ฯลฯ

อ่านต่อ »


แนวกันคลื่น

อ่าน: 3804

ถ้าน้ำไม่ท่วมได้ก็ดีหรอกครับ แต่ไม่รู้จะมาบ่นตอนนี้ไปทำไม ในเมื่อน้ำท่วมแล้ว เป็น Reactive approach เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

ในหนึ่งปีที่ผ่านมา ผมเขียนเรื่องบ้านๆ มาเยอะแล้ว วันนี้จะลองเรื่องภัยในเมืองบ้าง คำว่าเมืองไม่ได้หมายถึงจังหวัดใหญ่ แต่หมายถึงชุมชนเมืองขนาดต่างๆ ที่มีถนนหนทางผ่านสะดวก จะเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอน้อยใหญ่ ต่างก็มีลักษณะของเมืองทั้งนั้น

เพราะว่าเราไม่มีแผนที่ความสูง การป้องกันน้ำท่วมจึงวางแนวป้องกันชั่วคราวได้ลำบากมาก เพราะไม่รู้ที่ไหนสูงที่ไหนต่ำ หากน้ำไหลเข้าท่วมเมือง ก็จะมีภัยซ้ำซ้อนจากคลื่นที่เกิดจากรถราวิ่งกันแบบไม่เกรงใจใคร บางทีก็เป็นคลื่นจากเรือ คนจะไปช่วยแต่รีบร้อน ดันไปสร้างคลื่นกระแทกบ้านเรือน เข้าใจได้ว่ามันเครียดมากครับ น้ำท่วม แถมมีคลื่นซัดมาโครมๆ บ้านจะทนไหวหรือไม่

สงสัยเหมือนกันว่าคลื่นทำงานอย่างไร หากทำแนวป้องกันเฉพาะบริเวณผิวน้ำ ให้มีส่วนจมน้ำ+เหนือน้ำสูงกว่ายอดคลื่นแต่ข้างล่างโบ๋ๆ แนวป้องกันแบบนี้จะดูดซับพลังงานของคลื่นได้มากน้อยแค่ไหน ก็ไม่ใช่ความคิดอันยิ่งใหญ่อะไรหรอกครับ แล้วก็ไม่ใช่ความคิดใหม่ในโลกด้วย

อ่านต่อ »


น้ำเริ่มลด งานจริงๆ เพิ่มเริ่ม

อ่าน: 3460

กรณี #น่านนะซิ เป็นกรณีที่ยาก เมืองน่านไม่ใช่เมืองผ่าน แม้จะเอาของไปบริจาค ก็จะต้องตีรถเปล่ากลับมา ทำให้ค่าขนส่งแพง(มาก)

เมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ที่น่านปี 2549 คราวนั้นใช้พันธุ์ข้าว 16 ตัน ผมโทรไปขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มฮักเมืองน่าน “คราวนี้เสียหายถึง 70 ตำบล เฉพาะตำบลที่ผมอยู่ ก็ต้องการพันธ์ุข้าวน่าจะถึง 4 ตัน” พันธุ์ข้าวที่ปลูกและกินกันในพื้นที่ เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวสะเมิง แต่ทางกลุ่มฮักเมืองน่านติดต่อไปทางสะเมิงแล้ว ยังไม่ได้คำตอบ จึงต้องดิ้นรนหาทางอื่น ซึ่งทางกลุ่มได้ทราบจากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวอุบลราชธานี แนะนำข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 ตรวจสอบต่อ พบว่ามีอยู่ที่ศูนย์ฯ ที่ชุมแพ แต่อาจจะมีเพียง 700 กก. ถึง 1 ตันเท่านั้น — #ArsaDusit เช็คราคาค่าขนส่งอย่างรวดเร็ว ในเบื้องต้น รถบรรทุกจากเชียงใหม่ไปน่านหมื่นสาม แต่จากชุมแพ(ขอนแก่น)ไปน่านแค่เจ็ดพัน หึหึ ค่าครองชีพไม่เหมือนกันมั๊งครับ มีอาสาสมัครจากเชียงรายบอกจะขนให้ฟรี ขออนุโมทนาด้วยนะครับ เรื่องนี้ยังต้องรอความชัดเจนว่าจะมีพันธุ์ข้าวจากเชียงใหม่หรือไม่

ผมติดต่อป้าจุ๋มในลานปัญญาว่ามีทางช่วยเหลือชาวบ้านได้หรือไม่ มีหรือที่เห็นคนเดือดร้อนแล้วป้าจุ๋มจะไม่ช่วย ได้เรื่องอย่างไรแล้วจะติดต่อกลับมา ถ้าให้ก็จะจัดการเรื่องการขนส่งไปยังน่าน ถ้าขายก็จะซื้อครับ (ตอนนี้คงติดต่อกันวุ่นทั่วประเทศ เสาะหาพันธุ์ข้าวที่ต้องการ) ทางกลุ่มฮักเมืองน่านจะติดต่อกลับมาเย็นนี้

อ่านต่อ »


ฉุกละหุกอีกแล้ว #น่านนะซิ

อ่าน: 3624

วันนี้มีกำหนดนัดหมายตอนบ่ายโมงที่วัดบัวหลวง อ.สามโคก ปทุมธานี ในการอบรมการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ และ EM Ball โดยการสนับสนุนของการประปานครหลวง #SaveTheRiver จึงนอนเอาแรงไปสักพัก ตื่นขึ้นมาเพราะโทรศัพท์ ดูนาฬิกานึกว่าเก้าโมงกว่า (ที่จริงบ่ายโมงสี่สิบห้าแล้ว!) ได้รับแจ้งข่าวฉุกเฉินถึงสถานการณ์น้ำท่วมหนักในจังหวัดน่าน ต้องรีบประสานการจัดเตรียมระดมความช่วยเหลือโดยด่วน

ที่ว่าฉุกละหุกนี้ ไม่ใช่ว่าไม่มีการเตือนหรือการคาดคะเนภัยล่วงหน้า เป็นเพราะมีการคาดการณ์ล่วงหน้าแต่ไม่ได้ทำอะไรต่อหลังจากนั้น มัวแต่มาลุ้นว่าแม่นหรือไม่แม่น ถ้าหากเรามีความสามารถและมีความมั่นใจในการคาดการณ์จริง ไม่ควรนั่งรอภัยพิบัติให้เกิดขึ้นหรอกนะครับ ควรจะเตรียมรับผลกระทบล่วงหน้า มนุษย์กระจ้อยร่อย ไม่มีกำลังที่จะต่อกรกับธรรมชาติได้ แต่หากได้เตรียมการเอาไว้ล่วงหน้า ก็จะบรรเทาผลกระทบไปได้บางส่วน

ที่จริงจะว่าไม่ทำอะไรเลยนั้น คงไม่ถูกเสียทีเดียว เพียงแต่การเตรียมการนั้นยังไม่พร้อม วอร์รูมภาคประชาชนยังไม่มี แบนด์วิธอินเทอร์เน็ตยังไม่มี อุปกรณ์สำหรับทำแผนที่สถานการณ์กำลังทำแต่ยังไม่เสร็จ ส่วนภาครัฐนั้นมีมติ ครม.ออกมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน [มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554] ผ่านไปเกือบสามเดือนแล้ว ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศออกมา อันนี้ทำให้การให้ความช่วยเหลือของนิติบุคคลซึ่งมีกำลังมากต่อประชาชน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านตัวแทน แทบทำไม่ได้เนื่องจากจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม (เป็นศัพท์ทางบัญชีแต่จะไม่อธิบายล่ะ)

อ่านต่อ »


EM ในคลอง

อ่าน: 3886

ใครบอกว่าคนที่ไม่ทำงานประจำแล้วจะว่าง ไม่จริงหรอกครับ

บ่ายวานนี้ ผมลืมไปว่าอาสาดุสิต มีภารกิจครั้งที่ 5 ของโครงการคืนชีวิตให้แม่น้ำ โดยไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนธนินทรวิทยา เขตดอนเมือง [แผนที่] ไม่ไกลจากโรงเรียนนี้ เป็นคลองเปรมประชากร ซึ่งเน่าเสียอย่างเรื้อรังมานาน เนื่องจากโรงเรียนอยู่ห่างบ้านไม่เกินเก้ากิโลเมตร ผมก็เลยบึ่งไปเลย

การอบรมครั้งนี้ อาจารย์พัฒน์พงษ์ บุญเลิศ จากมูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาบรรยายให้เด็กชั้น ป.4 ป.5 และ ป.6 ฟัง หลังจากบรรยายแล้ว ก็ลงมือปั้น EM Ball กันอย่างสนุกสนาน

หัวน้ำหมัก EM ที่ใช้นี้ ไม่ใช่ EM ที่เอามาหมักเศษอาหารนะครับ แล้วก็ไม่ใช่ปุ๋ยหมักชีวภาพด้วย (แม้ว่าจะเอาไปทำได้) แต่ EM นี้ ผ่านการคัดเลือกพันธุ์ออกจากแล็ป และควบคุมคุณภาพโดยโรงงานผลิตแถวอยุธยา ทำธุรกิจในลักษณะเป็น social enterprise

อ่านต่อ »


คืนชีวิตให้เจ้าพระยา ช่วยปลา รักษา แม่น้ำ

อ่าน: 4166

หลังจากที่โยน EM Ball ลงแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อบรรเทาผลของน้ำเสียจากเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม ซึ่งภาคีอาสาสมัครภาคประชาชนได้ร่วมกันทำไปแล้วในวันที่ 4 5 6 7 มิถุนายนที่ผ่านมา วันนี้ (10) ก็มีกรณีศึกษาที่ดี กล่าวคือ

[กรุณาคลิกเพื่อเปิดดูแผนที่] เมื่อวันที่ 7 เราพาภาคีจำนวนเป็นร้อยคน ไปโยนและผลิต EM Ball ที่วัดไก่เตี้ย ต.กระแซง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านซ้ายของแผนที่) ก่อนหน้านั้นสองวัน (5) เราไปโยน EM Ball ที่หน้า อิงนที รีสอร์ต เยื้องกับวัดไก่เตี้ย ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ทั้งสองวัน นายก อบต. เชียงรากใหญ่ไปร่วมด้วย และอยู่คุยเป็นเวลานาน

แล้วเราก็พบกรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือเหนือ อิงนที รีสอร์ต ขึ้นไปเล็กน้อย เป็นคลองบ้านพร้าว คลองนี้เมื่อเกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลล่มที่อยุธยา ทำให้น้ำเสียและสัตว์น้ำตายหมู่ กรมชลประทานปิดประตูระบายน้ำที่ปากคลองเอาไว้ เพื่อไม่ให้น้ำเสียไหลเข้ามาในคลอง ทีนี้พอปิดประตูระบายน้ำ น้ำในคลองก็นิ่ง แล้วก็เริ่มออกอาการ เราโยน EM Ball ทำเองลงตรงนี้ หากคุณภาพน้ำดีขึ้น ก็แปลว่า EM แก้ไขปัญหาน้ำเสียได้จริง เพราะว่าประตูระบายน้ำยังไม่เปิด

วันนี้ภาคีก็ยกทีมกับไปที่โรงเรียนวัดบ้านพร้าวใน ซึ่งอยู่ติดกับวัดบ้านพร้าวใน โรงเรียนนี้ทำการสอนจนถึงชั้น ป. 6 ทั้งโรงเรียนมีนักเรียนอยู่ 78 คน เชิญวิทยากรจากมูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาจารย์พัฒน์พงษ์ บุญเลิศ เลขาธิการมูลนิธิฯ มาสอนวิธีทำ EM Ball ให้กับเด็กและผู้ปกครองในโรงเรียน ทาง อบต.ยกทีมมาช่วยเป็นเจ้าภาพ ท่านนายก อบต. ก็มาเอง พร้อมทั้งลงมือทำ EM Ball ด้วย

อ่านต่อ »


ปฏิญญาเจ้าพระยา

อ่าน: 3129

เมื่อวาน พอจบเรื่องพิธีการทางฝั่งวัดไก่เตี้ย เดินไปเดินมาได้สักพัก เราก็ข้ามฝั่งมาที่รีสอร์ตมาประชุมเรื่องปฏิญญาเจ้าพระยา เป็นเรื่องของความตั้งใจร่วมกันที่จะอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่างจริงจัง ไม่นั่งงอมืองอเท้ารอ “ผู้รับผิดชอบ” ลงมือทำ

ที่จริงแล้ว คุณภาพของน้ำเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน — ชื่อปฏิญญามักเป็นชื่อสถานที่ที่ร่างปฏิญญาขึ้นมา ดังนั้นแม้จะชื่อปฏิญญาเจ้าพระยา แต่ความหมายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา

อ่านต่อ »



Main: 0.062713146209717 sec
Sidebar: 0.28014302253723 sec