อบรมนักศึกษาสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ่าน: 2456

นักศึกษาสาขาสาธารณสุขศาสตร์ ปี 1 และ ปี 2 จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาเรียนรู้ที่สวนป่าระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2556 โปรแกรมนี้ ครูบาวางป้า(เก)ษรไว้เป็นโปรแกรมเอก จะให้ป้าษรพาลงชุมชนบ้านหนองเกาะ ไปดูการดูแลสุขภาพที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำร่วมกับผู้รู้ในชุมชน มีการใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาพื้นบ้านร่วมด้วย

ดังนั้นสำหรับรุ่นนี้ ผมรับบทเดิมคือกระตุ้นความคิดในช่วงสั้นๆ ของคืนวันแรกที่มา สงสารเหมือนกันครับ เดินทางมาไกล ฟังบรรยายมาแล้วสองช่วง แล้วมาเจอเรื่องที่ต้องคิดอีก หลังจากก่อกวนความคิดไปสักพัก โชคดีที่ไฟดับ เลยรีบเลิกหลังจากที่สรุปครอบคลุมประเด็นที่ตั้งใจพูดไว้หมดแล้ว ครูบาเขียนเล่าไว้ที่นี่

อ่านต่อ »


อบรมนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ่าน: 3879

นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พร้อมคณาาจารย์นำโดย แพทย์หญิงชลลดา บุษยรัตน์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มาเยี่ยมสวนป่าระหว่างวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2556 ได้เดินทางกลับไปแล้วครับ ภาพกิจกรรมดูได้บนเฟสบุ๊ค

เป็นการอบรม(แบบไม่อบรม)ที่สนุกดีครับ การมาเรียนที่สวนป่านั้น เป็นการเรียนแบบผู้ใหญ่ ต้องสังเกต ฉุกใจคิด และสรุปเอง ผิดถูกไม่เป็นไร ยังได้เรียน ต้องพูด ต้องซักเอง วิทยากรไม่ใช่ผู้มาปล่อยของ ภาวนา โอม…จงเชื่อ จงรู้

วิทยากรชาวเฮมาช่วยกันจากทั่วประเทศ มีหมอจอมป่วน(พิษณุโลก) อาเปลี่ยน(กัมพูชา) พี่หมอเจ๊(กระบี่) พี่สร้อย(เชียงใหม่) พี่ครูอึ่ง(ลำพูน) และครูอาราม(ลำพูน) น้ำอึ่งอ๊อบ(เชียงใหม่)มาไกลจึงจี้มอเตอร์ไซค์เข้ามาสวนป่า ได้เจอกันตอนนักศึกษาจะลากลับ ทีมวิทยากรมีหลากหลายความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์

สวนป่าไม่ใช่โรงเรียนแพทย์ แต่เป็นโรงเรียนชีวิตต่างหาก ห้องเรียนอยู่นอกอาคาร กลุ่มนี้โชคดีที่อากาศไม่ร้อนมาก จึงได้เรียนกันนอกห้องตลอดเวลา

เรียนในห้อง ได้ความรู้
เรียนนอกห้อง ได้ความจริง
เอาความรู้บวกความจริง ได้ความรู้จริง
— ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ หนังสือคนนอกระบบ

อ่านต่อ »


อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

อ่าน: 4497

จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

๑. อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า

“พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่น ปูรณะ กัสสป, มักขละ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และ นิครนถนาฏบุตร สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น ขอจงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด”

อ่านต่อ »


อุดมศึกษาจากหนังสือธรรมาภิธาน

อ่าน: 5204

จากหนังสือ ธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

อุดมศึกษา

การศึกษาทุกอย่างเพื่อให้ขึ้นถึงขั้นสูงสุด  คือ ปัญญา  ปัญญาสิกขาได้แก่ศึกษาปัญญาจึงเป็น   อุดมศึกษา ของคน ข้อที่ควรทราบก่อนคือ ปัญญาได้แก่อะไร? ศึกษาปัญญานั้นศึกษาอย่างไร?

ปัญญา คือความรู้ทั่วถึงความจริงของ สิ่งที่ควรรู้ทั้งหลาย คำว่า ปัญญา ซึ่งเป็น ภาษามคธ กับคำว่า ปรัชญา ซึ่งเป็นภาษา สันสกฤตเป็นคำเดียวกัน พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า “แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี” เพราะไม่มีแสงอะไรที่จะส่องให้เห็น ความจริงทั้งหลายได้เหมือนอย่างแสง ปัญญา เพียงแต่จะคิดเลขสักข้อหนึ่งจะใช้ แสงอะไรส่องให้เห็นได้นอกจากใช้ปัญญา คิด  ศึกษาปัญญา อันหมายถึงศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญานั้น คือ ศึกษาด้วยการเรียน ๑ การคิด ๑ การทำ ๑

การเรียนดังที่เรียกว่า  โสตศึกษา ศึกษาด้วยการฟังทางหู ดังที่ฟังครูอธิบาย หรือฟังเทศน์นี้ ทัศนศึกษา ศึกษาด้วยการ ดูทางตา เช่นดูหรือเที่ยวดูสิ่งต่างๆ  โดย มากศึกษาด้วยทางทั้งสองนี้ แต่ก็อาจศึกษา ได้ทางอื่นอีก คือ  ฆายนศึกษา ศึกษาด้วย การสูดกลิ่นทางจมูก   สายนศึกษา ศึกษา ด้วยการลิ้มรสทางลิ้น   ผุสนศึกษา ศึกษา ด้วยการถูกต้องทางกาย รวมความว่า ศึกษาด้วยอาศัยประสาททั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่การเรียนอาศัยทางหู ทางตามากกว่าทางอื่น เพราะบุคคลมี ภาษาสำหรับพูดถ่ายทอดความรู้ให้แก่กัน มีตัวหนังสือสำหรับเขียนอ่านแทนภาษา จึงอาจฟังหรืออ่านให้เกิดความรู้ขึ้นได้ ปัญญาที่เกิดจากความรู้ดังกล่าวเรียก สุตมยปัญญา แปลว่า  ปัญญาที่เกิดจาก การฟัง คือ ยกโสตศึกษาขึ้นเป็นที่ตั้งเพราะส่วนใหญ่เรียนด้วยการฟัง ถึงจะดู หนังสือนั้นๆ ก็ใช้แทนภาษาที่พูดกันนั้น เอง จึงอาจนับเข้าในโสตศึกษาได้

อ่านต่อ »


โสเหล่กับผู้ปกครองโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

อ่าน: 4435

วันนี้ อ.วิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ชวนผมไปโรงเรียนตอนช่วงเช้า โดยชวนเมื่อเดือนก่อนตอนที่ครูทั้งโรงเรียนมาเยี่ยมสวนป่า ตอนบ่ายวันนี้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนจะลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นข้าวอินทรีย์ไม่ใช้เคมีเลย ข้าวคุณภาพนี้ สีแล้วนำมาให้เด็กๆ กิน

ทีแรกผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะให้ไปพูดอะไร คาดเอาเองว่าให้ไปแลกเปลี่ยนเรื่องประสบการณ์การเรียนรู้ของผม จนเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา อ.วิเชียรโทรมาคอนเฟิร์มซึ่งผมก็ตอบว่าไปได้ครับ แต่ดันไม่ได้ถามว่าจะให้พูดเรื่องอะไร

นัดแนะกับครูแมวว่าจะออกจากสวนป่า 7น. ออกมาจริงๆ 6:45น. ไปเยี่ยมโรงเรียนด้วยกันแล้วผมจะไปส่งครูแมวขึ้นรถต่อเข้ากรุงเทพ เราไปถึงโรงเรียน 8:15น. (แวะไปซื้อซาละเปากินกันคนละลูกก่อน ก็เลยไปถึงกระชั้นไปหน่อย) ได้พบ อ.วิเชียรอีกครั้งหนึ่ง คุยกันถึงงาน อาจารย์บอกว่าอยากให้คุยกับผู้ปกครอง ขอสัก 30-40 นาทีไหวไหม ให้กวนประสาทได้เต็มที่… แล้วผมก็ยังไม่ได้ถามหรอกครับ ว่าอยากให้พูดเรื่องอะไร

อ่านต่อ »


COMET การศึกษาเรื่องอุตุนิยมวิทยาด้วยตนเอง

อ่าน: 5967

โปรแกรม COMET เป็นโปรแกรมการศึกษาเรื่องอุตุนิยมวิทยาด้วยตนเองของสหรัฐ ผมเรียนๆ หยุดๆ มาสองสามปีแล้วครับ ตั้งแต่เมืองไทยเริ่มมีภัยธรรมชาติคุกคามมากขึ้น

โปรแกรมนี้ต้องลงทะเบียน แต่ทุกอย่างฟรีหมด เรียนทางอินเทอร์เน็ต ถ้าสงสัยอะไร ดูจาก FAQ ของเขาก่อนครับ <– คลิกลิงก์ตรงนี้

ที่นำเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ได้ศึกษากันเอง จะได้เป็นเครื่องป้องกันข่าวลือแปลกๆ อิงวิทยาศาสตร์แบบครึ่งๆ กลางๆ

The COMET® Program was established in 1989 by UCAR and NOAA’s NWS to promote a better understanding of mesoscale meteorology among weather forecasters and to maximize the benefits of new weather technologies during the NWS’s modernization program. The COMET mission has expanded, and today COMET uses innovative methods to disseminate and enhance scientific knowledge in the environmental sciences, particularly meteorology, but also including diverse areas such as oceanography, hydrology, space weather and emergency management.

COMET has an outstanding, highly trained team of instructional designers, meteorologists, environmental scientists, graphic artists, multimedia developers, and information technology and administrative professionals. A COMET strength is the flexibility of its staff, which allows effective use of program funds and efficient production.

อ่านต่อ »


เตาเผาถ่านไบโอชาร์รุ่นพัดลม

อ่าน: 10236

แรกทีเดียว สองจิตสองใจอยู่ว่าจะลองที่บ้านซึ่งหาอุปกรณ์ได้ง่ายหรือว่าจะยกไปทำที่สวนป่าซึ่งขนเครื่องมือไปแล้วบางส่วน

ในที่สุดก็คิดว่าไปทำที่สวนป่าดีกว่าครับ จะได้มีคนช่วยกันดูหลายๆ คน

เตาเผาถ่านไบโอชาร์แบบพัดลมนี้ เป็นถังทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแตกต่างกัน (แต่ความสูงเท่ากัน) ซ้อนกันอยู่สามถัง เมื่อมองจากด้านบน (Top View) ก็จะเห็นเป็นวงกลมสามวงซ้อนกันอยู่โดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน

image

ถังนอก เราติดพัดลม (กระแสตรงสำหรับคอมพิวเตอร์) เป่าลมเข้าถังนอกในแนวเฉียง เพื่อให้ลมที่วิ่งในถังนอก (พื้นที่สีน้ำเงิน วงนอกสุด) หมุนทวนเข็มนาฬิกา ลมที่เป่านี้ เป่าในจุดเดียวก็ได้ อากาศในถังนอกซึ่งไม่มีที่ไป ก็จะพาทุกอณูหมุนตามกันไปทวนเข็มนาฬิกาตามแรงลมเป่า

ถังกลาง ผมจะเจาะร่องสูงสัก 1 นิ้วจากของล่าง ดัดให้ลมหมุนจากถังนอก รั่วเข้าไปถังกลางได้ และเหนี่ยวนำให้อากาศในถังกลาง (พื้นที่สีแดง วงกลาง) หมุนทวนเข็มนาฬิกาเช่นกัน

ส่วนถังใน เจาะช่องเปิดเล็กๆ แล้วดัดจนลมจากถังใน (พื้นที่สีเทา วงในสุด) ไหลมมองมาถังกลาง (พื้นที่สีแดง) ได้โดยไหลทวนเข็มนาฬิกาเช่นกัน

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนการทำหนังสือ โมเดลบุรีรัมย์

อ่าน: 10736

เมื่อวาน ส่งต้นฉบับไปโรงพิมพ์และสั่งพิมพ์แล้ว ก็เป็นอันว่ากระบวนการทำหนังสือโมเดลบุรีรัมย์เล่มนี้ จบลงเพราะทำอะไรอีกไม่ได้แล้ว

หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 4 ที่ผมทำทั้งกระบวนการ เขียน-เลือก-รวบรวม-ทำปก-จัดรูปเล่ม-แต่งรูปประกอบ-เรียงพิมพ์-ตรวจ-แก้-ส่งโรงพิมพ์ หนังสือคงจะพิมพ์เสร็จและจัดโดยส่งมาที่ VBAC ได้ในวันที่ 3 ก.ค. หนึ่งวันก่อนการเปิดตัวในงานอะไรสักอย่างของสภาการศึกษา ที่ทำเนียบรัฐบาล

เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำหนังสือแบบของผมเอง ดูได้จากบันทึกเก่าครับ — ควรอ่านทั้งสองบันทึกก่อนอ่านบันทึกนี้ต่อไป

อันนี้แถม

ที่จริงเมื่อวานซืน ไปส่งต้นฉบับที่โรงพิมพ์มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ว่าเนื่องจากก่อนไปส่ง มีการแก้ไขที่ฉุกละหุกมาก แล้วมีจำนวนสั่งพิมพ์ที่มากพอสมควร ผมจึงไม่แน่ใจว่าต้นฉบับนั้นจะมีคุณภาพที่จะพิมพ์ได้ แม้ว่าเวลาจะกระชั้นชิดมาก แต่ก็นัดแนะกับโรงพิมพ์ว่าวานนี้ จะต้องขอตรวจปรู๊ฟก่อน แม้จะเสียเวลา โรงพิมพ์พูดไม่ออก ซึ่งเราก็เข้าใจว่าเวลาไม่มีแล้ว

ดังนั้นเมื่อกลับมาบ้านเมื่อวานซืน จึงลงมือตรวจต้นฉบับอีกครั้งหนึ่งร่วมกับคณะบรรณาธิการ คือครูปู หมอเบิร์ด และฝน ถ้าตรวจแก้ได้เมื่อคืนทั้งหมด เช้าขึ้น เอาต้นฉบับอันใหม่ไปให้โรงพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์เลย จะประหยัดเวลาได้มากกว่าไปตรวจปรู๊ฟที่โรงพิมพ์แล้วแก้ไข

ในการตรวจแก้ขั้นสุดท้าย มีรายการส่งมาแก้ไขตลอดช่วงค่ำ แต่เวลาสำคัญคือตั้งแต่ช่วงห้าทุ่มจนแปดโมงเช้า ผมมีโอกาสอีกรอบหนึ่งที่ได้แก้ไขเรื่องการแบ่งคำทางขอบขวาของหน้า และการจัดรูปประโยคใหม่ทั้งเล่ม โปรแกรมเรียงพิมพ์ตัดคำได้ดีครับ แต่ตัดประโยคไม่ดี ต้องมาไล่ปรับเองทั้งเล่ม

ผมตรวจแก้มาทั้งคืน คิดว่าโอเคแล้ว แปดโมงเช้าจึงเตรียมดิสก์เพื่อส่งโรงพิมพ์ เจอรายการแก้ไขหมอเบิร์ดสุดละเอียดอีก ก็เลยแก้อีกครับ

แก้ไปจน 9 โมง มีความเห็นร่วมกันว่าพอแล้ว ต้องเตรียมดิสก์ไปส่งโรงพิมพ์แล้ว ถ้าทำจนสมบูรณ์แบบ จะเป็นการผิดปกติ ความสมบูรณ์แบบไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าส่งงานไม่ได้ แต่เชื่อว่าด้วยความทุ่มเทของคณะบรรณาธิการที่ทำอย่างเต็มที ทำให้หนังสือนี้ มีคุณภาพดีเกินพอที่จะตีพิมพ์แล้ว

ผมได้อ่านหนังสือนี้หลายรอบมากๆ ชอบทั้งเนื้อหา ชอบทั้งความไหลลื่นของเรื่อง (คนเรียงเรื่องเก่ง) ชอบรูปประกอบ (คนถ่ายรูปเก่ง และคนเลือกรูปมาใช้เก่งมาก) อ่านไปทุกรอบ สะดุดใจประเด็นความรู้ใหม่ทุกรอบ

อ่านต่อ »


แนวคิด permaculture ในหมู่บ้านโลก

อ่าน: 5189

ทีแรก จะเขียนเรื่องแนวคิด permaculture ในสวนป่าครับ แต่สวนป่าเป็นอย่างนี้อยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านโลก เนื่องจากจะมีการทดลองอะไรแปลกๆ ที่นี่ด้วย เพื่อเสริมให้ให้สวนป่ายืนอยู่บนวิถีที่พึ่งพาตัวเองได้ยิ่งกว่านี้ ถ้าไปถึงขั้นไม่ต้องซื้ออะไรเลย ก็จะยอดมาก

คำว่า permaculture นี้ อ.วิทยากร เชียงกูลแปลไว้ว่า “ระบบการวางแผนและออกแบบการเพาะปลูก การจัดการผลผลิตและชุมชนที่มุ่งให้เกิดการใช้แรงงาน ทรัพยากรและพลังงานอย่างเหมาะสม เพื่อความยั่งยืนและเกื้อกูลกันของสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการทำลายความสมดุล หรือก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ คำนี้เป็นคำย่อมาจาก permanent agriculture (การเกษตรแบบถาวร) และ permanent culture (วัฒนธรรมแบบถาวร)”… ครั้นจะใช้คำว่าการเกษตรแบบถาวร หรือวัฒนธรรมแบบถาวร ก็ขัดกับความเชื่อส่วนตัวว่าไม่มีอะไรถาวรหรอกครับ เลยใช้คำภาษาอังกฤษไปก่อน

Permaculture ใช้ 7 หลักการ ซึ่งโดยรวมแล้วคือ ทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าที่มีอยู่อย่างจำกัด ใช้ได้แต่ใช้ให้คุ้มค่าที่สุด และไม่มีของเหลือครับ

  1. ใช้อย่างอนุรักษ์ - ใช้เฉพาะที่จำเป็น ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น การใช้อย่างอนุรักษ์ไม่ได้หมายถึงการไม่ใช้ แต่เป็นการ
  2. ใช้ให้เกิดประโยชน์หลายทาง - เช่นน้ำอาบแล้วแทนที่จะทิ้งไปเฉยๆ ก็นำไปรดต้นไม้ หรือลงบ่อน้ำเพื่อเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกต้นไม้ ให้ร่มเงา รักษาดิน ใบไม้นำไปหมักเป็นปุ๋ย ให้ผล ให้เนื้อไม้
  3. ไม่พึ่งทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ - ไม่ให้ระบบใดระบบหนึ่งเป็นจุดตาย เช่นแหล่งน้ำ ก็มีน้ำประปา น้ำผิวดิน น้ำบาดาล และน้ำฝน ถ้าประปาหยุดไหล ก็ยังพึ่งแหล่งน้ำอื่นๆ ได้
  4. แทรกอยู่ในธรรมชาติ - ในธรรมชาติทุกสิ่งพึ่งพากันและกันทั้งนั้น วิถีชีวิตมนุษย์ก็ทำได้เช่นกัน เช่นเศษอาหารนำไปหมักเป็นปุ๋ย ปุ๋ยนำไปบำรุงต้นไม้ ต้นไม้ให้อาหาร อาหารหลังจากบริโภคแล้ว นำเศษอาหารไปหมักเป็นปุ๋ย; เศษใบไม้ ถ้าคิดว่ามันไม่สวย อย่าเก็บกวาดเพื่อเผาทิ้ง แต่นำเศษใบไม้ไปหมักเป็นปุ๋ย เพื่อไปบำรุงต้นไม้อีกที
  5. ทำในขนาดที่เหมาะสม - สามารถทำงานได้ ด้วยเวลา ทักษะ และเงินที่มี ไม่ทำมากเกินไป หัดพอเสียบ้าง ไฟฟ้าถึงจะใช้ไฟจากการไฟฟ้าได้ แต่ก็ควรหาทางปั่นไฟเอง ถ้าไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าที่ปั่นเองเพียงพอสำหรับอะไรบ้าง เราก็จะพบว่าเราจะใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งก็ควรมองกลับว่าแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ เป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่
  6. มีความหลากหลาย - ธรรมชาติพึ่งพากันเสมอ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงเกษตรเชิงเดี่ยว; แม้แต่สวนดอกไม้ ก็ยังไม่มีดอกไม้ชนิดเดียว แล้วทำไมจึงควรจะปลูกพืชเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นเรื่องที่นายทุนเค้าผลักดันเพื่อที่จะสะดวกในการมากว้างซื้อผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งลดลง; โลกร้อน ลมฟ้าอากาศแปรปรวน ปีแล้งมีศัตรูพืชชนิดหนึ่งรบกวน แต่ปีที่น้ำฝนมาก กลับมีศัตรูพืชอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นการปลูกพืชที่มีความหลากหลายจะช่วยให้มีผลผลิตออกมาสม่ำเสมอ
  7. ถ้าผลผลิตดี มีเหลือ ก็แจกจ่าย - แม้แต่ต้นไม้ ถ้าเพาะมาเผื่อจนเกินเนื้อที่ปลูก ก็อาจจะนำไปปลูกในชุมชน เป็นการปรับปรุงชุมชนนั้นให้ดีขึ้น

อ่านต่อ »


พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

อ่าน: 5275

วันนี้กะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปถึงที่ครับ แต่ไม่ได้เที่ยวเพราะเขาปิดพอดี

ที่ไปช้าเพราะผมมัวแต่โอ้เอ้เขียนเรื่องหมู่บ้านโลกบนเฟสบุ๊ค โพสต์เสร็จก็ไปบ้านน้องก้อยเอาหนังสือไปให้นักเขียนเซ็นให้ เสร็จแล้วรีบไปคลองหลวงเพื่อดูพิพิธภัณฑ์ครับ ไปถึงเอาบ่ายสามโมงกว่าแล้ว เค้าปิดพอดี เลยดูอะไรได้นิดหน่อยเท่านั้นเอง

ตัวอาคารใหญ่โตมโหฬาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2545 โดยหน่วยงานในกระทรวงเกษตรช่วยกันทำ ต่อมาในปี 2552 ก็เปลี่ยนรูปแบบเป็นองค์การมหาชนตามพระราชกฤษฎีกา

อ่านต่อ »



Main: 0.31889390945435 sec
Sidebar: 3.3499240875244 sec