กว่าจะได้ความรู้มา

อ่าน: 2862

พระราชดำรัส
ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำผู้เข้าร่วมสัมมนา
และบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวของเฝ้า ฯ เพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการดำเนินงานในช่วงต่อไป
ณ ศาลาดุสิดาลัย
วันศุกร์ ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๑

วันนี้ก็ขอพูดแบบที่เคยทำในระยะที่ผ่านมา คือโดยมากให้ความเห็น ก็ให้ความเห็นตอนที่ไปเยี่ยมศูนย์ศึกษา หรือตอนที่ไปในภูมิประเทศ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าถ้าหากว่าจะมาให้ปาฐกถาเรื่องอะไรก็ตามอย่างนี้ต่อที่ประชุมก็ไม่คอยถนัดนัก แล้วก็ไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ ฉะนั้นที่จะพูดนี้ก็พูดเหมือนเวลาไปเยี่ยมศูนย์ศึกษา

ข้อแรก เรื่องคำว่าศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องจากพระราชดำรินั้น คำนี้ทำให้เข้าใจว่าเป็นการศึกษาการพัฒนาที่เป็นเรื่องของพระราชดำริ ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมายความว่าทั้งอันนี้เป็นศูนย์ศึกษา ทั้งอันนี้เป็นพระราชดำริ แล้วที่ดำเนินงานก็ดำเนินงานตามที่มีพระราชดำริ แต่ชื่อของกิจการก็ชื่อเพียงว่าศูนย์ศึกษาการพัฒนา ซึ่งหมายความว่าเป็นศูนย์หรือเป็นแห่งหนึ่งที่รวมการศึกษาเพื่อดูว่าทำอย่างไรจะพัฒนาได้ผล และแม้กระนั้นที่ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนานี้มิได้ตั้งชื่อก่อน ได้ตั้งศูนย์ก่อนถึงได้ให้ชื่อว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ซึ่งหมายความว่าได้ตั้งกิจการอย่างหนึ่ง และได้ตั้งชื่อซึ่งจะชี้ว่าศูนย์หรือกิจการนี้ทำอะไร

มีคนที่เข้าใจว่าศูนย์ศึกษาการพัฒนานั้น เป็นเหมือนสถานีทดลองหรืออีกอย่างหนึ่งก็เป็นวิทยาลัย ทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่ เป็นสถานที่ที่ผู้ที่ทำงานในด้านพัฒนาจะไปทำอะไรอย่างหนึ่งหรือจะเรียกว่าทดลองก็ได้ เมื่อทดลองแล้วจะทำให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในวิชานั้นได้สามารถเข้าใจว่าเขาทำอะไรกัน อันนี้ก็เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่จะได้จากกิจการศูนย์ศึกษาการพัฒนา คือเป็นการทำอะไรของฝ่ายหนึ่ง และทำให้ฝ่ายอื่นได้เข้าใจว่าคนอื่นเขาทำอะไรกัน เรียกว่าเป็นการทำให้เจ้าหน้าที่ด้านพัฒนาได้มีการร่วมมือสอดคล้องกัน อันนี้ก็เป็นข้อแรกที่สำคัญที่ว่าไม่ใช่สถานีทดลอง ก็เพราะว่าสถานีทดลองในด้านต่างๆ ก็มีอยู่มากแล้ว เช่น ทดลองเพาะพันธุ์ต่างๆ ทดลองพันธุ์ข้าว เป็นต้น นี้มีอยู่หลายแห่งแล้วและทำงานได้ดีมาก ได้ผลได้ประโยชน์มาก

อ่านต่อ »


เฝ้าระวังความสั่น

อ่าน: 4493

ก็เรื่องแผ่นดินไหวนั่นล่ะครับ

จนปัจจุบัน ยังไม่มีใครทำนายแผ่นดินไหวได้แม่นยำ — ทำนายได้ แต่มักไม่ถูก; “มักไม่ถูก” แปลว่าทำนายไปเรื่อยๆ คงมีถูกบ้างเหมือนกัน — ซึ่งการทำนายด้วยความรู้จริงนั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสองสามเรื่อง คือ (1) เกิดที่ไหน (2) เกิดเมื่อไหร่ในอนาคต [และ (3) เกิดแรงแค่ไหน] ด้วยความซับซ้อนและแตกต่างของโครงสร้างของดิน+แผ่นเปลือกโลก แผ่นดินไหวเกิดได้จากหลายสาเหตุ มีผู้สังเกตสิ่งบอกเหตุซึ่งใช้ได้เป็นบางกรณี แต่ยังไม่มีวิธีการใดๆ ที่จะทำนายแผ่นดินไหวได้ถูกต้องแม่นยำ

ถึงจะไม่มีสูตรทำนายแผ่นดินไหวแบบครอบจักรวาล หมั่นสังเกตสิ่งบอกเหตุรอบตัว ก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย เช่น earth sounding ช้างกับ ELF เมฆแผ่นดินไหว การศึกษาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วย GPS ฯลฯ ส่วนสัญญาณจากอวกาศ มีผู้พยายามศึกษาเช่นกัน (ข้อมูลที่ผมเห็น ก็พบว่ามี correlations สูง แต่ยังไม่มีการตั้งทฤษฎี) และได้ร้องขอให้ช่วยกันสังเกต

ถ้าหากมีการทำนายแผ่นดินไหวที่แม่นยำก็ดีไป แต่ในเมื่อไม่มี ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กำหนดขอบเขตการเฝ้าระวังเอาไว้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นลักษณะ reactive ก็ตาม

อ่านต่อ »


น้ำกำลังจะท่วม ทำอะไรดี

อ่าน: 3643

ถ้าไม่ถูกตัดขาดจากโลกและรับฟังข่าวสารบ้าง คงมีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างน้อย 5-7 วัน สำหรับภัยฝนถล่มครับ และอาจจะเป็น 1-2 วันสำหรับพายุลมกรรโชก

แต่ปัญหาใหญ่ก็คือเรามักไม่ค่อยเตรียมตัวอะไร หวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้นกับเรา เพราะว่าในอดีตก็คลาดแคล้วมาได้ทุกที … ลืมความเป็นอนิจจตาไป ถ้าคราวก่อนๆ รอดตัวไป ก็ไม่ได้แปลว่าคราวนี้จะแคล้วคลาด เพราะเป็นคนละคราว

เมื่อน้ำเหนือกำลังมา ชะลอน้ำไว้ทางต้นน้ำไม่ได้เพราะไม่ได้เตรียมไว้ก่อน ทางเหนือจึงท่วมไปเรียบร้อยแล้ว จากนั้นน้ำก็จะไหลลงมาตามความลาดเอียงของภูมิประเทศ น้ำจะไม่ระเหยไปเฉยๆ น้ำมาแน่ๆ (แต่จะท่วมหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง) เมื่อน้ำเหนือจะมา น้ำทะเลหนุนอีกต่างหาก ทีนี้จะทำอะไรดีครับ

อ่านต่อ »


ใกล้แต่หาผิดที่

อ่าน: 4034

ผมคิดว่าทั้งสาธารณชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจคำว่าการจัดการภัยพิบัติไขว้เขวไป

การจัดการภัยพิบัติไม่ใช่การนำความช่วยเหลือไปให้ผู้ประสบภัย เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว จะมีความเสียหายเสมอ ไม่ว่าจะเยียวยา หรือแจกถุงยังชีพอย่างไร ก็ไม่เหมือนก่อนเกิดภัย — การบรรเทาทุกข์อย่างที่ทำกันโดยแพร่หลาย เป็นเพียงส่วนจำเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการภัยพิบัติเท่านั้น

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการต่อเนื่อง มีสองส่วน คือการจัดการความเสี่ยง (ครึ่งซ้ายในรูปข้างล่าง) กับการแก้ไขสถานการณ์ (ครึ่งขวา) เป็นกระบวนการที่ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนการยอมรับความจริง เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนกำลังเป็นเรื่องรองลงไปครับ

Disaster Management Cycleกระบวนการจัดการภัยพิบัติตามรูปทางขวา มีอยู่หลายขั้นตอน แต่สิ่งที่เราทำกันคือไปอัดกันอยู่ในช่วงสีแดง แถมยังไม่มีการประสานกันเสียอีก จึงเกิดความอลหม่านขึ้น เกิดเป็นกระแส แย่งกันทำ แย่งกันช่วย ซ้ำซ้อน ทำไปโดยความไม่รู้

ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยหรอกนะครับ… ช่วงที่ผู้คนทุกข์ยาก ก็ต้องช่วยกันให้ผ่านไปได้ไม่ว่าจะทุลักทุเลขนาดไหน… แต่ถ้าหากต้องการจะช่วยจริงๆ แล้ว ไม่ต้องรอให้เกิดเป็นกระแสขึ้นมาก่อนได้หรือไม่ หาความรู้ พิจารณาล่วงหน้าก่อนดีไหมครับ ว่าจะช่วยอย่างไรดี

คลิกบนรูปทางขวาเพื่อขยาย — เมื่อเกิดภัยขึ้น ส่วนของการบรรเทาทุกข์ก็จะต้องทำโดยความเร่งด่วน ซึ่งคำว่าเร่งด่วนหมายถึงช่วยให้ผู้ประสบภัยปลอดภัย และดำรงชีวิตผ่านช่วงวิกฤตไปได้ ความปลอดภัยและปัจจัยสี่ต้องพร้อม

จะเป็นถุงยังชีพหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำไปเถิดครับ ขออนุโมทนาด้วย แต่จะส่งอะไรลงไปยังพื้นที่นั้น ควรจะรู้หรือประเมินล่วงหน้าได้ก่อน ว่าผู้ประสบภัยในพื้นที่ต้องการอะไรเป็นลำดับก่อนหลัง แม้จะฟังดูโหด (ภัยพิบัติเป็นเรื่องโหดร้ายอยู่ดี) แต่การส่งของที่ไม่เป็นที่ต้องการลงไปในพื้นที่ (หรือเรียกว่าองค์ทานไม่มีประโยชน์ต่อปฏิคาหก) กลับจะเป็นภาระต่อผู้ประสบภัย ผู้แจกจ่าย และการขนส่ง ต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ว่าเราต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ใช่เพียงช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีว่าได้ทำอะไรบางอย่างแล้ว

อ่านต่อ »


คันดิน

อ่าน: 3489

เมื่อตอนบ่าย มีโทรศัพท์มาปรึกษาเรื่องน้ำท่วมหนองคาย

สำนักข่าว TNEWS http://tnews.co.th/html/read.php?hot_id=24784แห่งหนึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีน้ำท่วมแต่คราวนี้ท่วม อีกแห่งหนึ่งเป็นเขตชุมชนใกล้แม่น้ำโขงซึ่งน้ำแรงเอ่อล้นตลิ่ง ทั้งสองที่แบนแต๊ดแต๋ เมื่อน้ำท่วมแล้ว ชาวบ้านไม่รู้จะทำอย่างไร ได้แต่ขึ้นไปอาศัยอยู่บนถนนหลวงซึ่งเป็นที่สูงที่สุดในบริเวณนั้น [แผนที่] รถยนต์เข้าออกไม่ได้แล้ว ซึ่งหมายความว่าอพยพออกไปไม่ได้ ความช่วยเหลือก็เข้ามาได้ยากลำบากเนื่องจากน้ำเริ่มท่วมสูง จะทำอย่างไรดี

เรื่องนี้ลำบากครับ เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น จะเกินกำลังของท้องถิ่นที่จะจัดการเสมอ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เรียกว่าภัยพิบัติ แต่ถ้าเตรียมการล่วงหน้า ยังพอประทังได้ ซึ่งนั่นก็เป็นความสำคัญของการเตือนภัย ซึ่งไม่ใช่เตือนเพื่อให้รอลุ้น หรือตกใจจนเกิดเหตุ แต่เพื่อให้ทำอะไรบางอย่างที่เหมาะสมล่วงหน้า เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ตามความจำเป็นของพื้นที่

อ่านต่อ »


ฝายใต้ดิน

อ่าน: 5540

ช่างพิลึกพิลั่นเสียจริง เมืองไทยฝนตกเยอะ (เฉลี่ย 1800 มม.; ปีนี้คงมากกว่านั้น) แต่น้ำไม่พอ ที่น้ำไม่พอเพราะไม่รู้จักเก็บกักไว้ใช้มากกว่าครับ

มีปัญหาซ้ำสองคือที่ดินราคาแพง นายทุนมากว้านซื้อไปหมด เอาไปขายต่อ ทำรีสอร์ต เอาไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวขายโรงงาน ส่วนคนใจแข็งที่ไม่ขายที่ ถ้าจะขุดสระน้ำพึ่งตนเอง เวลาแดดร้อนน้ำแห้งไปหมด จะกันพื้นที่ไปทำแก้มลิง ที่ดินก็แพงจับใจ

ยิ่งเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ได้แบบสวนป่า ยิ่งไปกันใหญ่… แต่อาจจะยังพอมีทางออกครับ เพียงแต่ใช้ไม่ได้ทุกพื้นที่ กล่าวคือแทนที่จะเก็บน้ำไว้ที่ผิวดิน เราเอาน้ำลงไปเก็บใต้ดินตื้นๆ ได้ จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีชั้นของดินดานหรือหินอยู่ไม่ลึกนัก และห้ามทำในพื้นที่ที่ที่มีความลาดเอียงสูงหรือมีหินปูน

หลักการก็คือใช้ที่ดินนั้นเป็นพื้นที่รับน้ำฝน เราจะพยายามทำให้น้ำฝนที่ตกลงบนที่ดินนั้น ซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด โดยชักน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่มาหาบ่อซึม ซึ่งเป็นหลุมเล็กๆ อาจจะมีปริมาตรคิวหรือครึ่งคิวก็น่าจะพอ จากหลุมนี้ ต่อท่อใต้ดินออกไปเพื่อกระจายน้ำให้ซึมไปกับดิน (ถ้ายุ่งยากก็ไม่ต้องต่อท่อ แต่ว่าน้ำจะซึมออกได้ช้ากว่า)

อ่านต่อ »


ร่วมใจปลูกป่าหลังคาโคราช

อ่าน: 3247

วันนี้ (23) โดยการผลักดันอย่างแข็งขันของนายอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว และชาวบ้านที่รู้สึกว่าไม่ทำอะไรไม่ได้แล้ว ได้ร่วมใจกันปลูกป่า ในพื้นที่เขาสะเดา ทางด้านเหนือของเขื่อนลำตะคอง พื้นที่นี้มีความสูงห้าร้อยกว่าเมตร เรียกได้ว่าเป็นหลังคาโคราช


คลิกบนรูปเพื่อดูภาพขยาย

อ่านต่อ »


เตือนภัยน้ำป่า

อ่าน: 3436

คนมีความรู้ ถ้ารู้จริงมักก้าวข้ามอุปสรรคได้ง่าย คนที่เรียนรู้เป็น เมื่อไม่รู้อะไรก็สามารถไปหาความรู้เพิ่มเติมได้ ส่วนคนมีเงิน ก็มีกำลังในการซื้อของที่มีขายได้สะดวก แต่ถ้าดันมีพร้อม อะไรๆ ดูเหมือนจะง่ายไปหมด ซึ่งนั่นไม่แน่ว่าจะจริงหรอกครับ มีทางเลือกมากมาย เลือกบางอย่างก็เว่อร์ บางอย่างทำอะไรได้มากมายเกินวัตถุประสงค์ แล้วบางอย่างทำอะไรไม่ได้มากแต่ชาวบ้านดูแลเองได้ ฯลฯ น้ำป่าฆ่าคนและทำความเสียหายได้มากมาย จะนั่งดูเฉยๆ ในข่าวทีวีก็ใช่ที่ หากมีเครื่องมือตรวจจับน้ำป่่าง่ายๆ ถูกๆ ไม่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงปรี๊ด ให้ชาวบ้านดูแลได้เองและเตือนภัยอย่างง่าย ไม่ต้องตีความมากได้ก็น่าจะดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เรื่องอย่างนี้ ต้องถามความเห็นชาวบ้านด้วยครับ ถึงอย่างไรก็ชีวิตเขานะ

การตรวจจับน้ำป่า

น้ำป่าเกิดจากฝนตกหนักในพื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำฝนที่ตกลง ไหลไปสู่ที่ต่ำ ไปรวมกันตามร่องน้ำ เมื่อรวมกันมามากๆ เข้า ก็เป็นมวลน้ำมหาศาล สามารถกระแทกสิ่งกีดขวางให้พังทลายได้ น้ำปริมาณมากที่ไหลมาในเวลาเดียวกัน จะยกตัวพ้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนเทือกสวนไร่นาของชาวบ้าน กลายเป็นน้ำท่วม

อ่านต่อ »


เสริมตลิ่ง

อ่าน: 3929

เรื่องเขื่อนเขียนไว้หลายบันทึกแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง [กระสอบทราย]

เนื่องจากวันนี้ จะต้องไปประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชเรื่องแผนป้องกันน้ำป่าแถบเขาใหญ่ ก็ขอเอาตัวอย่างของเขื่อนผ้าใบ(แบบใหม่)มาเล่าอีกทีนะครับ หาเรื่องมาเขียนใหม่ทั้งหมดไม่ทันแล้ว

เขื่อนผ้าใบมีหลักการเหมือนกระสอบทราย ตือใช้น้ำหนักของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน กดลงดิน ใช้ความเสียดทานกั้นน้ำไว้ไม่ให้แทรกเข้ามาหลังเขื่อน มีข้อดีคือใช้วางบนภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ ได้ ไม่ต้องปรับฐานให้เรียบ ภายในแทนที่จะใส่ทราย ก็ใส่น้ำลงไปแทน เอาน้ำที่ท่วมนั่นแหละเติมครับ วางแนวต่อกันเป็นแถวยาวๆ ได้ การต่อระหว่างชุด เมื่อใสน้ำแล้ว ถึงจะปลิ้นออกเล็กน้อย ทำให้แนวสองชุดเบียดประกบ กั้นน้ำได้

ตามความเห็นที่ให้เอาไว้ในบันทึกกระสอบทราย ถ้าใช้สัณฐานสามเหลี่ยม ระดับน้ำหน้าเขื่อน ไม่ควรจะเกินครึ่งหนึ่งของความสูง แต่เมื่อใช้สัณฐานเป็นลูกซาละเปาแบบในบันทึกนี้ ก็อาจสูงขึ้นได้อีกครับ [รูปการใช้งาน]

อ่านต่อ »


เตรียมตัวเป็นไหม

อ่าน: 2771

ชื่อบันทึกนี้ เป็นคำถามที่ผมไม่ต้องการคำตอบ แต่มุ่งให้ผู้อ่านแต่ละท่าน ถามตัวเอง ตอบตัวเอง และกระทำสิ่งที่สมควร

รูปข้างบนเป็นหน้าแรกของหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ ชื่อ ready.gov ด้านล่าง ขึ้นแบนเนอร์ของสามเว็บไซต์ ซึ่งที่จริงแล้ว ทั้งสามก็เป็นเว็บของ FEMA (องค์กรจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ) ทั้งหมด FEMA เองเคยล้มเหลวเรื่องการจัดการภัยพิบัติมาหลายครั้ง แต่เขาเรียนรู้และปรับปรุง คราวนี้ดูดีกว่าเก่าเยอะครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.81811213493347 sec
Sidebar: 0.50615096092224 sec