คันกั้นน้ำอย่างเดียวไม่พอ

อ่าน: 4004

คลิปข้างบน ขอแก้ข้อความ “..ในการสนองโครงการพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา” หน่อยครับ คำว่าโครงการพระราชดำริ ใช้กับพระราชวงศ์ชั้นสูง

แต่หลักการใหญ่ที่ใช้เครื่องผลักดันน้ำนั้นถูกต้องครับ เพียงแต่ว่าควรจะใช้ในร่องน้ำที่มีอัตราไหลต่ำ เช่นคลอง หรือว่าติดหูช้างของประตูระบายน้ำ เช่น (1) บริเวณตําบลโผงเผง อําเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ซึ่งอัตราไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงเหลือ 1,800 ลบ.ม./วินาที (2) แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำมูล แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำตะกั่วป่า หรือแม่น้ำปิงช่วงผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งคดเคี้ยวมากทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกไปอย่างรวดเร็ว — เครื่องผลักดันน้ำ ควรจะวางอยู่ที่ก้นร่องน้ำสูงกว่าท้องน้ำนิดหน่อย (วางกลางของความลึกจะดีกว่า แต่วางอย่างนี้ไม่ได้หากมีการสัญจรทางเรือ) น่าเสียดายที่โครงการป้องกันน้ำท่วมสามแสนล้านบาท มีขุดลอกคูคลอง ขุดสันดอนพอเป็นกระษัย แต่ไม่ได้มีความพยายามจะตัดร่องน้ำให้ตรงเพื่อลดแรงเสียดทาน เพิ่มอัตราการไหลของน้ำ

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนการทำหนังสือ โมเดลบุรีรัมย์

อ่าน: 10589

เมื่อวาน ส่งต้นฉบับไปโรงพิมพ์และสั่งพิมพ์แล้ว ก็เป็นอันว่ากระบวนการทำหนังสือโมเดลบุรีรัมย์เล่มนี้ จบลงเพราะทำอะไรอีกไม่ได้แล้ว

หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 4 ที่ผมทำทั้งกระบวนการ เขียน-เลือก-รวบรวม-ทำปก-จัดรูปเล่ม-แต่งรูปประกอบ-เรียงพิมพ์-ตรวจ-แก้-ส่งโรงพิมพ์ หนังสือคงจะพิมพ์เสร็จและจัดโดยส่งมาที่ VBAC ได้ในวันที่ 3 ก.ค. หนึ่งวันก่อนการเปิดตัวในงานอะไรสักอย่างของสภาการศึกษา ที่ทำเนียบรัฐบาล

เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำหนังสือแบบของผมเอง ดูได้จากบันทึกเก่าครับ — ควรอ่านทั้งสองบันทึกก่อนอ่านบันทึกนี้ต่อไป

อันนี้แถม

ที่จริงเมื่อวานซืน ไปส่งต้นฉบับที่โรงพิมพ์มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ว่าเนื่องจากก่อนไปส่ง มีการแก้ไขที่ฉุกละหุกมาก แล้วมีจำนวนสั่งพิมพ์ที่มากพอสมควร ผมจึงไม่แน่ใจว่าต้นฉบับนั้นจะมีคุณภาพที่จะพิมพ์ได้ แม้ว่าเวลาจะกระชั้นชิดมาก แต่ก็นัดแนะกับโรงพิมพ์ว่าวานนี้ จะต้องขอตรวจปรู๊ฟก่อน แม้จะเสียเวลา โรงพิมพ์พูดไม่ออก ซึ่งเราก็เข้าใจว่าเวลาไม่มีแล้ว

ดังนั้นเมื่อกลับมาบ้านเมื่อวานซืน จึงลงมือตรวจต้นฉบับอีกครั้งหนึ่งร่วมกับคณะบรรณาธิการ คือครูปู หมอเบิร์ด และฝน ถ้าตรวจแก้ได้เมื่อคืนทั้งหมด เช้าขึ้น เอาต้นฉบับอันใหม่ไปให้โรงพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์เลย จะประหยัดเวลาได้มากกว่าไปตรวจปรู๊ฟที่โรงพิมพ์แล้วแก้ไข

ในการตรวจแก้ขั้นสุดท้าย มีรายการส่งมาแก้ไขตลอดช่วงค่ำ แต่เวลาสำคัญคือตั้งแต่ช่วงห้าทุ่มจนแปดโมงเช้า ผมมีโอกาสอีกรอบหนึ่งที่ได้แก้ไขเรื่องการแบ่งคำทางขอบขวาของหน้า และการจัดรูปประโยคใหม่ทั้งเล่ม โปรแกรมเรียงพิมพ์ตัดคำได้ดีครับ แต่ตัดประโยคไม่ดี ต้องมาไล่ปรับเองทั้งเล่ม

ผมตรวจแก้มาทั้งคืน คิดว่าโอเคแล้ว แปดโมงเช้าจึงเตรียมดิสก์เพื่อส่งโรงพิมพ์ เจอรายการแก้ไขหมอเบิร์ดสุดละเอียดอีก ก็เลยแก้อีกครับ

แก้ไปจน 9 โมง มีความเห็นร่วมกันว่าพอแล้ว ต้องเตรียมดิสก์ไปส่งโรงพิมพ์แล้ว ถ้าทำจนสมบูรณ์แบบ จะเป็นการผิดปกติ ความสมบูรณ์แบบไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าส่งงานไม่ได้ แต่เชื่อว่าด้วยความทุ่มเทของคณะบรรณาธิการที่ทำอย่างเต็มที ทำให้หนังสือนี้ มีคุณภาพดีเกินพอที่จะตีพิมพ์แล้ว

ผมได้อ่านหนังสือนี้หลายรอบมากๆ ชอบทั้งเนื้อหา ชอบทั้งความไหลลื่นของเรื่อง (คนเรียงเรื่องเก่ง) ชอบรูปประกอบ (คนถ่ายรูปเก่ง และคนเลือกรูปมาใช้เก่งมาก) อ่านไปทุกรอบ สะดุดใจประเด็นความรู้ใหม่ทุกรอบ

อ่านต่อ »


หมู่บ้านโลก (4)

อ่าน: 3947

ผู้ที่ศึกษาทางพุทธมาบ้าง จะเข้าใจว่าชีวิตเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่สามารถกำหนด บังคับ ควบคุมได้ หากแต่ชีวิตนั้นมีค่า ไม่ควรปล่อยเวลาและศักยภาพทิ้งให้สูญเปล่า (”เรื่องใหญ่ของมนุษย์ มีอยู่แค่เรื่องเดียว คือเรื่องความไม่รู้ ว่าเรื่องใดน่ารู้” — คิดจากความว่าง โดยดังตฤณ)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เมื่อนำมาปฏิบัติให้ได้ผลแล้ว ชีวิตจะไม่ตกต่ำลง เนื่องจากปัจจัยสี่มาจากดิน เป็นการเก็บกินไม่ใช่ทำกิน ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเป็นลูกจ้าง ในเมื่อมีชีวิตอยู่ได้ หากสิ่งใดที่ทำแล้วเกิดคุณค่า ต่างเป็นกำไรของชีวิตทั้งนั้น ในเมื่อทุกคนเป็นนายจ้างของตนเอง จะทำกำไรได้มากเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ว่าทำสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นหรือไม่ และขยันขันแข็งเพียงใด

แต่ว่าร่างกายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา คนจำเป็นต้องหาเครื่องมือผ่อนแรงช่วยให้ เครื่องมือเหล่านี้จะเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่งเป็นอีกรูปหนึ่ง มีส่วนต่างที่เกิดเป็น “งาน” ขึ้น ซึ่งงานตรงนี้ เรานำเอามาใช้ผ่อนแรง เช่นแทรกเตอร์ ปั้นจั่น ปั๊มน้ำ ลิฟต์ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ​ เตา ฯลฯ คงจะพูดไม่ได้ว่าอะไรจำเป็นกว่าอะไร เนื่องจากแต่ละคนมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน

ที่กลับมาอัพเดตความคืบหน้าของโครงการหมู่บ้านโลกหลังจากไม่ได้เขียนมาปีหนึ่งนี้ ผมไม่ได้ตั้งใจจะทำให้ใครเสียกำลังใจ ตรงกันข้ามเลยครับ ตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มทำโครงการนี้มาอย่างเงียบๆ (ซึ่งเพิ่งประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อสิ้นปีที่แล้ว) ผมได้เรียนรู้อะไรมากมาย อยากนำประสบการณ์นี้มาแบ่งปัน เพื่อให้ผู้ที่คิดจะออกจากระบบเมืองแล้วกลับสู่วิถีธรรมชาติ ได้มองเห็นประเด็นและเตรียมตัวต่างๆ ล่วงหน้า ตั้งความคาดหวังให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เมื่อพาครอบครัวออกไปสู่วิถีนี้แล้ว จะได้ไม่ต้องผิดใจกันว่ามันไม่เป็นอย่างฝันที่โรแมนติค มีอะไรจะต้องทำอีกเยอะเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ถ้าคิดว่าจะไปตายเอาดาบหน้า อาจได้เจอดาบเร็วกว่าที่คิดเพราะความไม่รอบคอบครับ

เรื่องความมั่นคงสามแนวทางสำหรับสวนป่าและหมู่บ้านโลกนั้น กล่าวไปแล้วในบันทึกที่แล้วว่าอาหารไม่เป็นห่วงเลย น้ำมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงและปรับปรุงได้ไม่ยาก ส่วนเรื่องที่ยังไม่ได้พูดนั้นคือเรื่องพลังงาน

อ่านต่อ »


งานวันรวมพลังรับมือภัยพิบัติ

อ่าน: 4995

เมื่อวาน โครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. จัดงานวันรวมพลังรับมือภัยพิบัติขึ้นเป็นครั้งแรก ที่หอประชุมใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผมไปงานนี้ในฐานะเพื่อนของผู้จัด

เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยจะไปงานไหนเนื่องจากจะเตรียมตัวไปอยู่สวนป่า ไม่อยากให้เกิดงานผูกพันมากเกินไปเนื่องจากข้อจำกัดของระยะทาง แต่ที่เลือกไปงานนี้ก็มีหลายเหตุผลครับ

  1. งานนี้ไม่ใช่งานปล่อยของ ไม่ใช่งานโปรดสัตว์ซึ่งผู้รู้มาบรรยายโดยมีผู้ฟังเป็นตัวประกอบเหมือนงานสัมนาทั่วไป ช่วงเช้าเป็นพิธีการและการติดเครื่อง ส่วนช่วงบ่ายเป็นเวทีของความคิดอิสระซึ่งผู้เข้าร่วมงานเสนอเรื่องเอง พูดเอง ฟังเอง สรุปเอง เลือกหัวข้อที่อยากมีส่วนร่วมเอง (Open-space Meeting) โดยผู้จัดไม่ปักธงมาล่วงหน้า แต่ปล่อยให้เป็นไปตามพลวัตของกลุ่มและผู้ที่มาเข้าร่วม
  2. ผมพอรู้เรื่องภัยพิบัติอยู่บ้าง และผมศึกษาเรียบเรียงแผนการรับมือภัยพิบัติที่มีความซับซ้อนมานานหลายปีแล้ว ใครจะเรียกผมว่าผู้เชี่ยวชาญก็เป็นเรื่องของเขานะครับ ผมรู้หลายอย่างแต่ไม่ได้รู้ทุกอย่างและไม่ได้หลงแสดงตนว่ารู้ไปหมดทุกเรื่องทำได้หมดทุกเรื่อง ผมเพียงแต่พอจะให้แง่คิดในเรื่องที่ผมศึกษามาแล้วได้เหมือนกันถ้าบริบทเหมาะสม
  3. ผมอยากไปฟังว่าคนทำงานในภาคประชาชน คิดอย่างไร เตรียมตัวในเรื่องการจัดการภัยพิบัติอย่างไร

ถึงตั้งใจไว้อย่างนั้น แต่ทำไม่ได้ ถูกแซวตั้งแต่เช้าเลยว่าสลึมสลือมางาน เห็นอัพเดต status ตั้งแต่เช้ามืดเลย นอนดึกตื่นเช้าอย่างนี้ จะไหวหรือ… ผมไม่ได้นอนดึกตื่นเช้าหรอกนะครับ ผมไม่ได้นอนต่างหาก จึงไม่ได้ทั้งนอนดึก นอนไม่พอ หรือว่าตื่นเช้า ถึงอย่างไรช่วงเย็นก็ต้องกลับบ้านก่อนเนื่องจากอายุอย่างผมนี่ไม่ควรขับรถในช่วงที่แสงน้อยแล้ว จึงไม่สามารถอยู่ร่วมจนจบได้อยู่ดีนั่นแหละ

อ่านต่อ »


แนวคิด permaculture ในหมู่บ้านโลก

อ่าน: 5077

ทีแรก จะเขียนเรื่องแนวคิด permaculture ในสวนป่าครับ แต่สวนป่าเป็นอย่างนี้อยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านโลก เนื่องจากจะมีการทดลองอะไรแปลกๆ ที่นี่ด้วย เพื่อเสริมให้ให้สวนป่ายืนอยู่บนวิถีที่พึ่งพาตัวเองได้ยิ่งกว่านี้ ถ้าไปถึงขั้นไม่ต้องซื้ออะไรเลย ก็จะยอดมาก

คำว่า permaculture นี้ อ.วิทยากร เชียงกูลแปลไว้ว่า “ระบบการวางแผนและออกแบบการเพาะปลูก การจัดการผลผลิตและชุมชนที่มุ่งให้เกิดการใช้แรงงาน ทรัพยากรและพลังงานอย่างเหมาะสม เพื่อความยั่งยืนและเกื้อกูลกันของสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการทำลายความสมดุล หรือก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ คำนี้เป็นคำย่อมาจาก permanent agriculture (การเกษตรแบบถาวร) และ permanent culture (วัฒนธรรมแบบถาวร)”… ครั้นจะใช้คำว่าการเกษตรแบบถาวร หรือวัฒนธรรมแบบถาวร ก็ขัดกับความเชื่อส่วนตัวว่าไม่มีอะไรถาวรหรอกครับ เลยใช้คำภาษาอังกฤษไปก่อน

Permaculture ใช้ 7 หลักการ ซึ่งโดยรวมแล้วคือ ทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าที่มีอยู่อย่างจำกัด ใช้ได้แต่ใช้ให้คุ้มค่าที่สุด และไม่มีของเหลือครับ

  1. ใช้อย่างอนุรักษ์ - ใช้เฉพาะที่จำเป็น ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น การใช้อย่างอนุรักษ์ไม่ได้หมายถึงการไม่ใช้ แต่เป็นการ
  2. ใช้ให้เกิดประโยชน์หลายทาง - เช่นน้ำอาบแล้วแทนที่จะทิ้งไปเฉยๆ ก็นำไปรดต้นไม้ หรือลงบ่อน้ำเพื่อเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกต้นไม้ ให้ร่มเงา รักษาดิน ใบไม้นำไปหมักเป็นปุ๋ย ให้ผล ให้เนื้อไม้
  3. ไม่พึ่งทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ - ไม่ให้ระบบใดระบบหนึ่งเป็นจุดตาย เช่นแหล่งน้ำ ก็มีน้ำประปา น้ำผิวดิน น้ำบาดาล และน้ำฝน ถ้าประปาหยุดไหล ก็ยังพึ่งแหล่งน้ำอื่นๆ ได้
  4. แทรกอยู่ในธรรมชาติ - ในธรรมชาติทุกสิ่งพึ่งพากันและกันทั้งนั้น วิถีชีวิตมนุษย์ก็ทำได้เช่นกัน เช่นเศษอาหารนำไปหมักเป็นปุ๋ย ปุ๋ยนำไปบำรุงต้นไม้ ต้นไม้ให้อาหาร อาหารหลังจากบริโภคแล้ว นำเศษอาหารไปหมักเป็นปุ๋ย; เศษใบไม้ ถ้าคิดว่ามันไม่สวย อย่าเก็บกวาดเพื่อเผาทิ้ง แต่นำเศษใบไม้ไปหมักเป็นปุ๋ย เพื่อไปบำรุงต้นไม้อีกที
  5. ทำในขนาดที่เหมาะสม - สามารถทำงานได้ ด้วยเวลา ทักษะ และเงินที่มี ไม่ทำมากเกินไป หัดพอเสียบ้าง ไฟฟ้าถึงจะใช้ไฟจากการไฟฟ้าได้ แต่ก็ควรหาทางปั่นไฟเอง ถ้าไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าที่ปั่นเองเพียงพอสำหรับอะไรบ้าง เราก็จะพบว่าเราจะใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งก็ควรมองกลับว่าแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ เป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่
  6. มีความหลากหลาย - ธรรมชาติพึ่งพากันเสมอ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงเกษตรเชิงเดี่ยว; แม้แต่สวนดอกไม้ ก็ยังไม่มีดอกไม้ชนิดเดียว แล้วทำไมจึงควรจะปลูกพืชเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นเรื่องที่นายทุนเค้าผลักดันเพื่อที่จะสะดวกในการมากว้างซื้อผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งลดลง; โลกร้อน ลมฟ้าอากาศแปรปรวน ปีแล้งมีศัตรูพืชชนิดหนึ่งรบกวน แต่ปีที่น้ำฝนมาก กลับมีศัตรูพืชอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นการปลูกพืชที่มีความหลากหลายจะช่วยให้มีผลผลิตออกมาสม่ำเสมอ
  7. ถ้าผลผลิตดี มีเหลือ ก็แจกจ่าย - แม้แต่ต้นไม้ ถ้าเพาะมาเผื่อจนเกินเนื้อที่ปลูก ก็อาจจะนำไปปลูกในชุมชน เป็นการปรับปรุงชุมชนนั้นให้ดีขึ้น

อ่านต่อ »


หลังคาโค้งคาตาลัน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 February 2012 เวลา 7:15 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4078

หลังคาโค้งคาตาลัน เป็นเทคนิคการก่อสร้างโบราณซึ่งว่ากันว่ากำเนิดในอียิปต์โบราณแต่ไม่สามารถยืนยันได้ ใช้กันอย่างแพร่หลายในแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวคาตาโลเนียในสเปน

ต่อมาเมื่อเทคนิคการก่อสร้างสมัยใหม่เริ่มใช้เหล็กซึ่งมีความแข็งแรง หลังคาโค้งก็เริ่มหมดความหมายไปเนื่องจากสามารถก่อสร้างหลังคาที่กว้างและยาวมากๆ ได้ ทำให้ช่างก่อสร้างและสถาปนิกลืมวิธีการก่อสร้างหลังคาโค้งไปหมด กลายเป็นเทคโนโลยีที่สูญหาย (ที่จริง เห็นอยู่ว่ามีจริงแต่สร้างไม่เป็นต่างหาก)

จนเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 นาย Raphael Guastavino ได้ทำการศึกษา ปรับปรุง และจดสิทธิบัตรในสหรัฐถึงวิธีการก่อสร้างหลังคาโค้งแบบคาตาลัน โดยเขาใช้กระเบื้องหรืออิฐมอญเชื่อมด้วยปูน วางไปบนไม้แบบโค้ง จากนั้นก็วางกระเบื้องชั้นที่สองซ้อนไปบนกระเบื้องชั้นแรกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ก็สามารถจะสร้างหลังคาโค้งขึ้นมาได้ มีการนำหลังคาโค้งนี้มาศึกษาใหม่ทั้งในสหรัฐ (โดย MIT) และยุโรป (โดย ETH Zürich)

หลังคาโค้ง เริ่มน่าสนใจมากขึ้นด้วยเหตุผลหลายอย่าง รูปทรงกลมจะมีพื้นผิวน้อยกว่ารูปทรงอื่นๆ เมื่อปิดล้อมปริมาตรเท่ากัน เช่นครึ่งทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เมตร (สูง 4 เมตร) จะมีพื้นผิวน้อยกว่ากล่องสี่เหลี่ยมที่มีปริมาตรเท่ากัน สูง 4 เมตร กว้างและยาว 5.78 เมตรอยู่ ¼ เมื่อพื้นผิวน้อยกว่า ก็หมายความว่า ใช้วัสดุน้อยกว่า เบากว่า ถูกกว่า แต่แข็งแรงกว่าเนื่องจากผิวโค้งกระจายน้ำหนักของโครงสร้างออกไปทั่ว ทำให้ทนแผ่นดินไหว และพายุได้ดีกว่าสักษณะของกล่องมาก

งานวิจัยของ ETH-Z ใช้กระดาษลูกฟูกขึ้นแบบ (รูปที่ 9-12,15) ซึ่งน่าจะถูกกว่าการใช้ไม้แบบอยู่พอสมควร

อ่านต่อ »


ทริปดูฮวงจุ้ยที่สวนป่า 9-11 กพ 2555

อ่าน: 2881

ไม่ได้ไปดูฮวงจุ้ยหรอกครับ ในเมื่อจะสร้างบ้าน ก็ต้องเตรียมการเยอะ

ประเด็นสำคัญของทริปนี้คือพาน้องชายไปดูสถานที่จริง เพื่อที่จะได้วางผังหลักของหมู่บ้านโลก เขาก็มีไอเดียของเขาตามประสาคนที่มีประสบการณ์มากมายในโครงการทุกขนาด ส่วนผมก็มีความฝันของผม ถึงเป็นพี่น้องกัน ก็ต้องคุยกันเยอะๆ เพื่อปรับจูนความคิดให้เข้ากันได้นะครับ ถึงอย่างไรก็ทำโครงการเดียวกัน (หมู่บ้านโลก) ประสบการณ์ของน้องเป็นสิ่งที่มีค่า เมื่อเขาเตือนอะไรก็ต้องฟังไว้… ไปเที่ยวนี้ก็ถือโอกาสคุยกับครูบา+แม่หวีในฐานะเจ้าของที่ด้วย ว่าคิดอะไร จะทำอะไร เพื่ออะไร

มีผู้ใกล้ชิดครูบาบอกกับผมว่าเป็นห่วง ปัจจุบันนี้สวนป่ามีค่าใช้จ่ายซึ่งผู้มาเยือนมองไม่เห็น คือค่าจ้างคนงานซึ่งก็หนักเอาการ ครูบาท่านไม่รับผู้มาเยือนที่ไม่ได้ตั้งใจมาเรียนรู้แล้วครับ อยากไปอบรมที่ไหนก็ไป ถ้ามาสวนป่าแล้วไม่ได้ตั้งใจมาเรียนรู้ก็อย่าเสียเวลาด้วยกันทั้งสองฝ่ายเลยนะครับ… เรื่องจ้างคนงานนี้ ทั้งครูบาและแม่หวีอายุมากขึ้น สุขภาพก็ต้องซ่อมแซม ไม่จ้างคนงานก็ไม่ไหวหรอกครับ ครั้นจะจ้างก็เป็นภาระหนักเหมือนกัน เรื่องที่จะปรับปรุงที่พักก็เป็นเรื่องตึงมือเข้าไปอีก ผมอยากให้ครูบา+แม่หวีได้พักผ่อนบ้าง ไม่อยากให้มาเป็นกังวลกับการลงทุนใหม่ๆ อีก

ดังนั้นเรื่องที่พัก ก็คงโยนไปทางหมู่บ้านโลกซึ่งอยู่ห่างออกไปร้อยห้าสิบเมตร ให้เดินไปนอน มีที่พักเอาไว้นอน ติดเครื่องปรับอากาศให้ ในแต่ละหลังมีที่นอนเป็นสัดเป็นส่วน เข้านอนแล้วมองไม่เห็นกัน แต่ละหลัง พักหนึ่งคนหรือพักสิบคนคิดราคาเดียวกันหมด มีอย่างนี้สักสามหลัง ก็จะรับกลุ่มใหญ่ขึ้นได้อีกมาก ตื่นเช้า ก็เดินไปเรียน ไปทำกิจกรรม คิดว่าปูพรมสวนป่าด้วย wi-fi mesh อยู่ตรงไหนก็ถ่ายรูปแล้วอัพโหลดขึ้นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ กูเกิลพลัส) ได้เลย

อ่านต่อ »


เวทีเสวนาสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการรับมือภัยพิบัติในอนาคต

อ่าน: 3389

คุยกันเช้านี้ เม้งบอกว่าว่าขึ้นมากรุงเทพ มาบรรยายในเวทีเสวนาสมัชชาสุขภาพ สนุกมาก (คนพูดสนุก!)

ผมก็เลยหาวิดีโอคลิป ปรากฏว่าเจอครับ ดูเลยก็แล้วกัน ยาวหน่อย แต่สนุกดี

ดร.สมพร ช่วยอารีย์
ดร.ธรณ์​ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ดร.เสรี ศุภาราทิตย์
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

embed code ของเว็บ ไม่มีให้ปิด autoplay ซะด้วย (อย่าทำเว็บอย่างนี้) ดังนั้นพอเปิดหน้านี้แล้ว ปิดคลิปที่ 2 เอาไว้ก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.

อ่าน: 4193

ระหว่างวันที่ 6-8 ที่ผ่านมา ผมชวนทีมบริหาร thaiflood (เว็บไซต์) และทีมบริหารกลุ่มอาสาดุสิตประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม (เว็บไซต์) ไปถ่ายทำความรู้เกี่ยวกับชีวิตที่สวนป่า ยกทีมกันไปสิบสองคน

ความจริงทีมนี้เป็นทีมบริหารโครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ ซึ่งทำงานทั้งป้องกัน เฝ้าระวัง รับมือและบรรเทา ตลอดจนฟื้นฟูเหตุจากสถานการณ์ภัยพิบัติ (2P2R)

กิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ ที่เราเห็นกันโดยทั่วไป มักเป็นการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน แต่โครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ เป็นการรวมรวมความรู้ประสบการณ์และทำงานเพื่อช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถรับมือและผ่านภาวะวิกฤตได้ดีกว่านั่งรอความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างเดียว

พอไปถึง ก็ชวนไปดูต้นเอกมหาชัยก่อนเลย เอกมหาชัยเป็นไม้พันธุ์มะกอก เมล็ดให้น้ำมันคุณภาพดี (แบบเดียวกับน้ำมันมะกอก ซึ่งใช้แทนน้ำมันพืช และใส่เครื่องยนต์ดีเซลได้) แต่จุดสำคัญคือต้นเอกมหาชัยมีระบบรากที่แข็งแรงมาก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ฝนตกหนัก เติบโตได้ดีในพื้นที่ลาดเอียง ดังนั้นหากปลูกต้นเอกมหาชัยไว้ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อดินถล่ม ก็น่าจะลดความเสี่ยงของดินถล่มได้ และอาจใช้ได้ทั้งภาคใต้และภาคเหนือ ทางสวนป่ากำลังเร่งขยายพันธุ์อยู่

อ่านต่อ »


กลับสู่ความคุ้นเคยเก่าๆ

อ่าน: 3111

หลังจากที่พาพ่อแม่อพยพไปอยู่หัวหินเสีย 44 คืน วันนี้ก็อพยพกลับบ้านแล้วครับ

ที่ต้องอพยพไปก็เพราะพ่อแม่ผมอายุมากแล้ว สองท่านอายุรวมกัน 155 ปีแล้วครับ ดังนั้นจึงไม่ควรเอา สว.มาเสี่ยงกับน้ำท่วมด้วย จริงอยู่ แม้ว่าที่บ้านจะไม่ท่วม แต่ก็ต้องเผชิญกับความขาดแคลนและความไม่สะดวกทั้งปวง ไปหัวหินคราวนี้ ที่จริงพ่อแม่ยังไม่อยากกลับ แต่เผอิญผมมีงานในวันที่ 8 ธค. แล้วไม่อยากให้พ่อกับแม่อยู่กันตามลำพัง เลยพากันกลับบ้านก่อนดีกว่า ถ้าจะกลับไปอีกค่อยหาเวลาเหมาะๆ อีกที

นอกจากแผลที่ได้มากจากหัวหินแล้ว การไปอยู่หัวหินก็ยังเขียนบันทึกอยู่สม่ำเสมอ (เขียนเป็นวรรคเป็นเวร และอ่านยาก) เหมือนเดิม ผมเขียนเพราะรู้สึกว่ามีประเด็นที่ควรจะเขียน หัวหินมี 3G เมื่อกลับมาบ้านแล้วจึงพบว่าที่บ้านก็มี 3G แล้วเหมือนกัน (ก่อนไปยังไม่มี) แต่ถึงหัวหินจะมี 3G มี Wifi ก็ยังไม่จุใจเหมือนใช้เน็ตที่บ้านหรอกครับ

เรื่องสำคัญคือได้ไฟเขียวอ่อนๆ ว่าไปอยู่สวนป่าและทำอย่างที่อยากจะทำได้ แผนเดิมของสวนป่าคือหมู่บ้านเฮ ซึ่งยังไม่ได้เรียนปรึกษาครูบาอย่างเป็นกิจลักษณะ แต่ก็เข้าใจว่ารู้กันอยู่ในที ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมก็พยายามชี้ความเสี่ยงต่อการดำรงชีวิตเท่าที่นึกออก [ความมั่นคงสามแนวทาง] ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ แต่หลังจากเกิดอุทกภัยใหญ่ในปีนี้ ผมคิดว่ามีเงื่อนไขของความไม่ปกติเกิดขึ้นมาก จนคิดว่าไม่ควรปล่อยเวลาให้เนิ่นนาน ควรหาสถานที่ที่ดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืนอย่างจริงจังได้แล้ว พ่อแม่อายุมากแล้ว ไม่อยากให้ไปลำบากในบั้นปลายของชีวิต แต่บรรดาผู้ที่ยังพอมีกำลังวังชาอยู่และตั้งใจจะฟื้นฟูบ้านเมือง ก็ควรจะดำรงชีวิตต่อไปได้

อ่านต่อ »



Main: 2.3802330493927 sec
Sidebar: 1.107460975647 sec