ใกล้แต่หาผิดที่

อ่าน: 4161

ผมคิดว่าทั้งสาธารณชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจคำว่าการจัดการภัยพิบัติไขว้เขวไป

การจัดการภัยพิบัติไม่ใช่การนำความช่วยเหลือไปให้ผู้ประสบภัย เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว จะมีความเสียหายเสมอ ไม่ว่าจะเยียวยา หรือแจกถุงยังชีพอย่างไร ก็ไม่เหมือนก่อนเกิดภัย — การบรรเทาทุกข์อย่างที่ทำกันโดยแพร่หลาย เป็นเพียงส่วนจำเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการภัยพิบัติเท่านั้น

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการต่อเนื่อง มีสองส่วน คือการจัดการความเสี่ยง (ครึ่งซ้ายในรูปข้างล่าง) กับการแก้ไขสถานการณ์ (ครึ่งขวา) เป็นกระบวนการที่ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนการยอมรับความจริง เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนกำลังเป็นเรื่องรองลงไปครับ

Disaster Management Cycleกระบวนการจัดการภัยพิบัติตามรูปทางขวา มีอยู่หลายขั้นตอน แต่สิ่งที่เราทำกันคือไปอัดกันอยู่ในช่วงสีแดง แถมยังไม่มีการประสานกันเสียอีก จึงเกิดความอลหม่านขึ้น เกิดเป็นกระแส แย่งกันทำ แย่งกันช่วย ซ้ำซ้อน ทำไปโดยความไม่รู้

ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยหรอกนะครับ… ช่วงที่ผู้คนทุกข์ยาก ก็ต้องช่วยกันให้ผ่านไปได้ไม่ว่าจะทุลักทุเลขนาดไหน… แต่ถ้าหากต้องการจะช่วยจริงๆ แล้ว ไม่ต้องรอให้เกิดเป็นกระแสขึ้นมาก่อนได้หรือไม่ หาความรู้ พิจารณาล่วงหน้าก่อนดีไหมครับ ว่าจะช่วยอย่างไรดี

คลิกบนรูปทางขวาเพื่อขยาย — เมื่อเกิดภัยขึ้น ส่วนของการบรรเทาทุกข์ก็จะต้องทำโดยความเร่งด่วน ซึ่งคำว่าเร่งด่วนหมายถึงช่วยให้ผู้ประสบภัยปลอดภัย และดำรงชีวิตผ่านช่วงวิกฤตไปได้ ความปลอดภัยและปัจจัยสี่ต้องพร้อม

จะเป็นถุงยังชีพหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำไปเถิดครับ ขออนุโมทนาด้วย แต่จะส่งอะไรลงไปยังพื้นที่นั้น ควรจะรู้หรือประเมินล่วงหน้าได้ก่อน ว่าผู้ประสบภัยในพื้นที่ต้องการอะไรเป็นลำดับก่อนหลัง แม้จะฟังดูโหด (ภัยพิบัติเป็นเรื่องโหดร้ายอยู่ดี) แต่การส่งของที่ไม่เป็นที่ต้องการลงไปในพื้นที่ (หรือเรียกว่าองค์ทานไม่มีประโยชน์ต่อปฏิคาหก) กลับจะเป็นภาระต่อผู้ประสบภัย ผู้แจกจ่าย และการขนส่ง ต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ว่าเราต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ใช่เพียงช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีว่าได้ทำอะไรบางอย่างแล้ว

อ่านต่อ »


คันดิน

อ่าน: 3624

เมื่อตอนบ่าย มีโทรศัพท์มาปรึกษาเรื่องน้ำท่วมหนองคาย

สำนักข่าว TNEWS http://tnews.co.th/html/read.php?hot_id=24784แห่งหนึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีน้ำท่วมแต่คราวนี้ท่วม อีกแห่งหนึ่งเป็นเขตชุมชนใกล้แม่น้ำโขงซึ่งน้ำแรงเอ่อล้นตลิ่ง ทั้งสองที่แบนแต๊ดแต๋ เมื่อน้ำท่วมแล้ว ชาวบ้านไม่รู้จะทำอย่างไร ได้แต่ขึ้นไปอาศัยอยู่บนถนนหลวงซึ่งเป็นที่สูงที่สุดในบริเวณนั้น [แผนที่] รถยนต์เข้าออกไม่ได้แล้ว ซึ่งหมายความว่าอพยพออกไปไม่ได้ ความช่วยเหลือก็เข้ามาได้ยากลำบากเนื่องจากน้ำเริ่มท่วมสูง จะทำอย่างไรดี

เรื่องนี้ลำบากครับ เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น จะเกินกำลังของท้องถิ่นที่จะจัดการเสมอ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เรียกว่าภัยพิบัติ แต่ถ้าเตรียมการล่วงหน้า ยังพอประทังได้ ซึ่งนั่นก็เป็นความสำคัญของการเตือนภัย ซึ่งไม่ใช่เตือนเพื่อให้รอลุ้น หรือตกใจจนเกิดเหตุ แต่เพื่อให้ทำอะไรบางอย่างที่เหมาะสมล่วงหน้า เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ตามความจำเป็นของพื้นที่

อ่านต่อ »


สร้างนิสัยใน 30 วัน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 July 2011 เวลา 1:50 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3549

คลิปข้างบนนี้ เลือกคำบรรยายไทยได้นะครับ

อ่านต่อ »


เงินบริจาคสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 July 2011 เวลา 0:47 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3147

ผมไม่ได้ติดแหงกอยู่กับเรื่องเงินหรือเรื่องภาษีหรอกนะครับ การบริจาคเป็นเรื่องของน้ำใจ ซึ่งผู้บริจาคก็คงไม่คิดเล็กคิดน้อย แต่ที่ต้องพูดเรื่องนี้บ่อย เพราะนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือสิ่งของไปช่วยผู้ประสบภัย ถ้าหากไม่มีกฏเกณฑ์รองรับ อาจจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามไปเสียอีก น้ำใจคิดเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้ และหักภาษีไม่ได้!

จากมติ ครม. ตามที่เขียนไว้ในบันทึก [มาตรการทางภาษีเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554] ขณะนี้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลใช้บังคับแล้ว รายละเอียดสามารถอ่านได้ตามลิงก์ที่ให้ไว้และต้องยึดตามพระราชกฤษฎีกาครับ

ใจความสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ โดย “ภัย” ที่เกิดขึ้นนั้น หมายถึงอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป

อ่านต่อ »


ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก…

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 July 2011 เวลา 1:42 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3470

“ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก..
มันเหมือนนกที่อยากรู้เรื่องของปลาในน้ำ
ถึงปลาบอกความจริงว่า……
อยู่ในน้ำเป็นอย่างไร
นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้
ตราบใดที่นกยังไม่เป็นปลา”

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

อ่านต่อ »


เจาะรูในดิน

อ่าน: 4180

เมื่อน้ำท่วม ผิวดินจะมีสภาพชุ่มน้ำ ทำให้น้ำซึมผ่านลงดินไปได้ยากขึ้น ดังนั้นน้ำที่ท่วมก็จะไหลไปตามความลาดเอียงไปท่วมที่อื่น หรือว่าหากพื้นที่ที่น้ำท่วมมีสภาพเป็นแอ่ง น้ำก็จะท่วมขังอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน เรื่องนี้มองอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นการเสียโอกาสที่จะเติมน้ำใต้ดินหรือทำฝายใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร

น้ำที่เราใช้กันและโวยวายว่ามากเกินไปหรือไม่พอใช้นั้น หมายถึงน้ำผิวดิน ซึ่งว่ากันที่จริงแล้วเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำจืดทั้งหมด สาเหตุส่วนหนึ่งของทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ก็เป็นเพราะเราไม่รู้จักกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาเอาไว้ใช้นั่นเอง

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (3)

อ่าน: 3393

เขียนต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)] ครับ

รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก ที่ต้องขนน้ำดื่มไปหลายร้อยกิโลเมตรไป ช่วยคนที่ติดอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยซึ่งไม่มีน้ำดื่ม ในภาวะแบบนั้น น้ำประปามักหยุดให้บริการ จะเอาน้ำแถวนั้นมาดื่มประทังกันตาย ก็ยิ่งจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จะต้มก็ติดไฟลำบาก ดื่มน้ำท่วมขัง เหมือนดื่มน้ำเน่า… “เหตุผล” เยอะแยะไปหมด

ถ้าฝนยังตกอยู่ รองน้ำฝนเอาไว้ดื่มครับ ถ้ายอมอพยพไปสู่พื้นที่ปลอดภัย (ซึ่งพื้นที่ไหนก็ที่นั้น ต่่างไม่ยอมอพยพกันทั้งนั้น) ก็อาจจะใช้แสงแดดกลั่นน้ำเอาไว้ดื่มได้ ถ้าน้ำท่วมไหลมาจากที่อื่น มาขังอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง อันนี้ล่ะน่ากังวลที่สุดครับ

อ่านต่อ »


ฝายใต้ดิน

อ่าน: 5694

ช่างพิลึกพิลั่นเสียจริง เมืองไทยฝนตกเยอะ (เฉลี่ย 1800 มม.; ปีนี้คงมากกว่านั้น) แต่น้ำไม่พอ ที่น้ำไม่พอเพราะไม่รู้จักเก็บกักไว้ใช้มากกว่าครับ

มีปัญหาซ้ำสองคือที่ดินราคาแพง นายทุนมากว้านซื้อไปหมด เอาไปขายต่อ ทำรีสอร์ต เอาไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวขายโรงงาน ส่วนคนใจแข็งที่ไม่ขายที่ ถ้าจะขุดสระน้ำพึ่งตนเอง เวลาแดดร้อนน้ำแห้งไปหมด จะกันพื้นที่ไปทำแก้มลิง ที่ดินก็แพงจับใจ

ยิ่งเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ได้แบบสวนป่า ยิ่งไปกันใหญ่… แต่อาจจะยังพอมีทางออกครับ เพียงแต่ใช้ไม่ได้ทุกพื้นที่ กล่าวคือแทนที่จะเก็บน้ำไว้ที่ผิวดิน เราเอาน้ำลงไปเก็บใต้ดินตื้นๆ ได้ จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีชั้นของดินดานหรือหินอยู่ไม่ลึกนัก และห้ามทำในพื้นที่ที่ที่มีความลาดเอียงสูงหรือมีหินปูน

หลักการก็คือใช้ที่ดินนั้นเป็นพื้นที่รับน้ำฝน เราจะพยายามทำให้น้ำฝนที่ตกลงบนที่ดินนั้น ซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด โดยชักน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่มาหาบ่อซึม ซึ่งเป็นหลุมเล็กๆ อาจจะมีปริมาตรคิวหรือครึ่งคิวก็น่าจะพอ จากหลุมนี้ ต่อท่อใต้ดินออกไปเพื่อกระจายน้ำให้ซึมไปกับดิน (ถ้ายุ่งยากก็ไม่ต้องต่อท่อ แต่ว่าน้ำจะซึมออกได้ช้ากว่า)

อ่านต่อ »


สถานการณ์ SHTF

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 July 2011 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3324

SHTF เป็นคำแสลง ย่อมาจาก (when the) Shit Hit(s) The Fan เมื่อกลิ่นอึไปถึงพัดลม ทีนี้พัดลมพัดก็จะกลิ่นขจรขจาย ถ้าปาอึไปถูกพัดลม ใบพัดก็จะสลัดอึเลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปทั่ว (คนปามือเลอะไปแล้วคงไม่เท่าไหร่ แต่คนอื่นเละไปด้วย)… เอาใหม่ไม่ได้ ไม่เอาก็ไม่ได้

เรื่องนี้ผมไม่แปล+ไม่ถอดความหรอกครับ เข้าใจก็เข้าใจ ไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจ และถ้าอยากดูต่อ ก็คลิกบนคลิปเพื่อไปดูบน Youtube ซึ่งจะมีคลิปที่เกี่ยวข้องให้ดูอีกมากมาย (ไม่ควรเชื่อก่อนที่จะพิจารณา)

อ่านต่อ »


ในพื้นที่ประสบภัย มองหาอะไรดี

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 July 2011 เวลา 4:25 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 2907

การทำอะไรไปโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง การคิดแทนชาวบ้านโดยคิดแบบคนเมือง การให้โดยไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องการหรือไม่ ทั้งหมดนี้ เริ่มจากอคติ+มานะ และเป็นมิจฉาทิฐิ แต่ว่าการลงมือทำสิ่งที่เชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรนะครับ

ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าสิ่งที่เชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์นั้น เมื่อทำไปแล้วเบียดเบียนใครหรือไม่ ก่อประโยชน์จริงหรือไม่ เกิดประโยชน์สมดังความตั้งใจหรือไม่… คือว่าถ้าทำกับไม่ทำมีผลเท่ากัน ไม่ทำจะประหยัดกว่าและไม่เพิ่มเอนโทรปีด้วยครับ

เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่ ผมคิดว่าน่าจะมี app ในมือถือจำพวกสมาร์ตโฟนคอยช่วยครับ

แน่นอนล่ะ ไม่ใช่ว่าทุกคนมี (หรือควรมี) แต่การที่จะบอกว่าทุกคนไม่มีนั้น ก็คงไม่จริงเช่นกันหรอกครับ ถึงชาวบ้านในพื้นที่จะไม่มี คนที่ลงพื้นที่ไปช่วยเหลือ ก็อาจจะมีติดไปบ้าง

อ่านต่อ »



Main: 0.16626501083374 sec
Sidebar: 0.20172595977783 sec