กระสอบทราย

อ่าน: 6906

เมื่อสักครู่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือกันมานานโทรมาขอความเห็น ได้เรียนท่านไปว่า thaiflood.com มีข้อมูลที่ดีที่สุดในเวลานี้ ส่วนทวิตเตอร์ ขอให้ตามอ่านใน #thaiflood (แต่ในนั้นก็น้ำท่วมเช่นกัน เนื่องจากมีปริมาณข้อความมากมาย); ให้ข้อมูลเรื่องเรือ และเครื่องเรือ+หางเสือ เล่าถึงสถานการณ์ในพื้นที่ที่มีการตัดไฟฟ้าเนื่องจากน้ำท่วมสูง ว่าโทรศัพท์มือถือน่าจะแบตหมดไปแล้ว การที่สามารติดต่อกับคนที่รักได้ จะช่วยลดความเครียด ความท้อแท้สิ้นหวังลงได้บ้าง แถมยังสามารถใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้อีก

จึงเสนอให้ส่งแบตเตอรี่รถยนต์ 12V เข้าไปตามหมู่บ้านที่ถูกตัดขาด และไม่มีไฟฟ้าส่งไปเช้า พอเย็นก็ตามไปเก็บกลับมาชาร์ต พรุ่งนี้ไปที่อื่นต่อชาวบ้านก็จะชาร์ตแบตมือถือได้ ท่านบอกว่างั้นส่งอินเวอร์เตอร์ปั่นไฟเป็น 220V ไปด้วย ให้ใช้เครื่องชาร์ตของตัวเอง ทุกคนที่มีมือถือชาร์ตไฟจากปลั๊กไฟบ้านได้ แต่ถ้าเอาแบตเตอร์รี่รถยนต์ชาร์ตเข้ามือถือ จะมีปัญหาทั้งเรื่องสายต่อและเรื่องแรงดันแบตมือถือแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อที่ไม่เท่ากัน เมื่อชาร์ตแบตมือถือแล้ว จะได้ส่งข่าวถึงผู้ที่ห่วงใยได้ ชาร์ตเสร็จแล้วแบ่งคนอื่นในหมู่บ้านชาร์ตบ้าง

ค น ห นึ่ ง ค น . . . จ ะ ท ำ อ ะ ไ ร ไ ด้

เมื่อคืนค้นข้อมูลเรื่องการควบคุมน้ำท่วม พบว่าในต่างประเทศมีวิธีการสร้างกำแพงกั้นน้ำแบบชั่วคราว ที่สร้างได้เร็ว ราคาถูก และขนส่งได้ง่ายกว่าการใช้กระสอบทรายมาก แทนที่จะใช้ทราย เขาใช้น้ำแทน เอาน้ำมาจากตรงที่ท่วมนั่นแหละ! สูบเข้าไปไว้ในถุง (ฝรั่งใช้พลาสติก แต่เราจะใช้ผ้าใบก็ได้) มีการคำนวณซึ่งผมยังไม่มีเวลาตรวจสอบ ได้แค่เปิดดูผ่านๆ พอเข้าใจ — ตอนนี้ยังไม่ได้เตรียมเรื่องที่จะพูดใน CrisisCamp พรุ่งนี้เลย

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองตัวอย่างที่จะแสดงไว้ข้างล่างนี้ แนะนำว่าไม่ให้ใช้กับระดับน้ำที่เกิน 2-3 ฟุต (1 เมตร) แต่สามารถวางไว้ในพื้นที่ใดก็ได้ ไม่ต้องการพื้นเรียบสำหรับวาง อาจใช้ร่วมกับถนน หรือตลิ่งได้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจหลักการก่อนว่ากระสอบทราย กันน้ำได้อย่างไร

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (6)

อ่าน: 3607

บันทึกที่แล้วเขียนเรื่องที่เมืองไทยน่าจะมี(แต่ดันไม่มี) บันทึกนี้จะขยายสิ่งที่บางประเทศเขาทำกัน และคงเป็นบันทึกสุดท้ายในชุดนี้แล้วครับ

ที่เขียนลากยาวมาได้ถึงหกตอนนี้ ก็เพราะรู้สึกดีใจที่ประสบการณ์และแง่คิดที่พยายามเขียนอธิบายออกมานั้น ช่วยให้เครื่องมือที่ประสานเรื่องการจัดการบรรเทาทุกข์จากอุทกภัย ให้ข้อมูลที่มีความหมายขึ้น ขอขอบคุณอาสาสมัครทีมงาน thaiflood.com ที่อ่านแล้วไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆ ครับ

เมื่อสักสี่ปีก่อน ประเทศที่เป็นเกาะในแปซิฟิคใต้ โดนสึนามิเสียหายร้ายแรง สหประชาชาติโดย ITU/UNESCAP จัดประชุมถอดบทเรียนสึนามิ และเน้นย้ำความสำคัญเรื่อง Disaster Communications ที่หอประชุมสหประชาชาติในกรุงเทพ ตอนนั้นศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติก็ชวนพวกผมไปฟัง เพราะว่าเวลามีประชุมนานาชาติในเมืองไทย ผู้แทนจากประเทศเจ้าบ้านมักเปลี่ยนเป็นวาโยธาตุได้อย่างอัศจรรย์

การประชุมในคราวนั้น ผมได้เรียนอะไรหลายอย่าง อย่างผู้แทนอิหร่านเล่าให้ฟังว่าแผ่นดินไหวคนตายหลายแสน นับตั้งแต่เกิดเหตุจนยุติการค้นหาผู้รอดชีวิต ทุกวินาทีที่ผ่านไปมีคนตายเกือบ 4 คน ไม่ว่าจะหยุดกินข้าว นอนพัก หรือรอเครื่องมือ มีคนสองร้อยกว่าคนตายเพิ่มในแต่ละนาทีที่ผ่านไป ฟังแล้วก็อึ้งไปเลย ชีวิตคน(อื่น)สำคัญแค่ไหนสำหรับตัวเรา ความทุกข์ยากของคน(อื่น)สำคัญแค่ไหน เวลาเราบอกว่ารักเพื่อนมนุษย์นั้น มีความหมายอย่างไร

หลังจากงาน ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ UNDP ซึ่งบอกว่า มีระบบงานที่พัฒนาโดยนักวิจัยในประเทศกลุ่มละตินอเมริกาและแคริเบียนน่าสนใจ ก็เลยลองศึกษาดู อืม น่าสนใจจริงๆ ครับ

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (5)

อ่าน: 3642

บันทึกที่แล้วเขียนทิ้งไว้เท่าที่นึกออกครับ บันทึกนี้จะพยายามเรียบเรียงความคิดว่าอะไรที่น่าจะมี เพราะอะไร

การพยากรณ์อากาศ

วิถีชีวิตคนไทยขึ้นกับลมฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก เราจำเป็นต้องพยากรณ์อากาศล่วงหน้าให้ได้ระยะหนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลจากประเทศต่างๆ เท่านั้น ยังเป็นแหล่งความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาของภูมิภาคอีกด้วย

กรมอุตุฯ ทำการทำนายสภาวะอากาศวันละสองครั้ง คือเที่ยงคืนและเที่ยงวันตามเวลามาตรฐานสากล เราจึงเห็นกรมอุตุฯ ออกรายงานสภาพอากาศวันละสองครั้ง ตอนเจ็ดโมงเช้ากับหนึ่งทุ่ม เนื่องจากเวลาเมืองไทยเร็วกว่า UTC อยู่ 7 ชั่วโมง การพยากรณ์อากาศต้องอาศัยข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน การตรวจวัดอุณหภูมิ ความดัน ความชื้น อุณหภูมิของน้ำทะเล ในแต่ละประเทศโดยไม่สนใจบริเวณข้างเคียง ย่อมไม่แม่นยำเพราะว่าสภาวะอากาศเกี่ยวพันกันข้ามพรมแดนประเทศ

แต่ว่าการพยากรณ์อากาศวันละสองครั้งในภาวะที่อากาศแปรปรวนนั้น ไม่พอหรอกนะครับ ผมคิดว่ากรมอุตุฯ ก็ทราบดี จึงได้มีความพยายามจะพัฒนาสมรรถนะ แล้วก็ดันเกิดเป็นปัญหาการจัดซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันลือลั่นเมื่อหลายปีก่อน จนปัจจุบันทางกรมก็ยังไม่มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้งาน ยังใช้แผนที่อากาศเหมือนเมื่อสี่ห้าสิบปีก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (4)

อ่าน: 3747

บันทึกนี้ ต่อจากตอนที่ 3

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 23-24 ที่จะถึงนี้ จะมีงาน BarCamp Bangkok ครั้งที่ 4 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน

งาน BarCamp เป็นงานชุมนุม geek จะมีผู้ที่มีความรู้ทางไอที มารวมกันเพื่อแลกเปลี่ยนแง่คิด มุมมอง ประสบการณ์ และเป็นโอกาสที่จะระดมสรรพกำลัง ไปร่วมกันทำงานที่มีประโยชน์

ในงานนี้ สปอนเซอร์รายหนึ่งบอกว่าจะจัด Crisis Camp ระดมคนทำงานเรื่องข้อมูลเชิงแผนที่ของวิกฤตการณ์ครั้งนี้

@thaiflood “ตลาดนัดจิตอาสาช่วยเหลือภัยพิบัติ” เสาร์-อาทิตย์ 23-24 นี้ (ข้ามคืน) ที่ม.ศรีปทุมบางเขน

ที่มา twitter

ผมคงไปร่วมไม่ได้หรอกครับ สวนป่ามีอบรมนักศึกษาจากคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชนกันพอดี ก็ไปช่วยไม่ได้เลย ดังนั้นบันทึกนี้ ก็จะพยายามเรียบเรียงแง่คิดมุมมอง และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติเอาไว้ หวังว่าจะมีใครได้ประโยชน์บ้าง ส่วนเกี่ยว-ไม่เกี่ยว ทำ-ไม่ทำ ใช่-ไม่ใช่ ขึ้นกับบริบทครับ

เรื่องระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจนี้ คงไม่จบในบันทึกเดียว บันทึกนี้ จะพาขี่ม้าเลียบค่ายก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (3)

อ่าน: 4662

บันทึกนี้เขียนต่อจาก ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 พูดถึงแนวทางในการฟื้นฟูครับ พื้นที่ไหนน้ำลดแล้ว เริ่มใช้ได้เลย

เมื่ออาทิตย์ก่อน ครูบาไปเป็น Igniter ในงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2 ที่หอประชุมจุฬาลงกรน์มหาวิทยาลัย [งาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2] เกิดอุบัติเหตุทางเทคนิคขึ้น สไลด์ติดอยู่ที่สไลด์ที่สอง นานสองนาทีกว่า ที่เตรียมไป 20 สไลด์ พูดได้แค่ 8 สไลด์เท่านั้น หมดเวลาแล้ว

ในส่วนที่ไม่มีโอกาสได้พูดนั้น มีเรื่องน่าสนใจอีกหลายอย่าง แต่ผมยกมาเขียนเรื่องเดียวนะครับ

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2)

อ่าน: 4495

เขียนต่อจากบันทึกที่แล้วครับ บันทึกนี้เป็นเรื่องของการชะลอน้ำหลาก/น้ำป่า/runoff ลองดูภาพเงินเขาที่ถูกถางจนเรียบนะครับ

บนเนินเขา เราจะเห็นพื้นที่สองแบบ คือบริเวณที่มีต้นไม้ และบริเวณที่ถูกถางจนเรียบ ทั้งสองพื้นที่อยู่บนเนินเดียวกัน มีความลาดเอียงพอๆ กัน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (1)

อ่าน: 5637

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นอู่ข้าวสำคัญของไทย ตามการกำหนดขอบเขตของกรมพัฒนาที่ดิน ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่ 2,107,690 ไร่ใน 5 จังหวัด 10 อำเภอ 79 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน เป็นนาปลูกข้าวหอมมะลิอันเลื่องชื่อ 1,266,103 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 4 แสนกว่าตัน เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 47,0961 ไร่ มีวัวควายอยู่ราว 270,000 ตัว มียูคาลิปตัสราว 60 ล้านต้น ให้ผลผลิตไม้ปีละราว 2 ล้านตัน มีแหล่งโบราณคดี 408 แห่ง มีคนอยู่อาศัยราว 620,000 คน — ข้อมูลจากวารสารสารคดี ฉบับเมษายน 2552

อีสานใต้ที่ท่วมหนักอยู่ในตอนนี้ เป็นขอบอ่างโคราช ซึ่งเป็นที่สูง น้ำไหลลงที่ต่ำไม่ได้เนื่องจากทางน้ำถูกขวางอยู่ อบต.ก็ชอบสร้าง+ซ่อมเหลือเกิน แต่โดยเฉลี่ยมีงบจัดการน้ำเพียง 2.15%

แผนที่ทางขวานี้ ต้องขอขอบคุณผู้จัดทำนะครับ ผมมองว่าให้ภาพหยาบๆ ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหน (ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี) ทั้งนี้ตามรายงานข่าวในโทรทัศน์ซึ่งก็พูดกว้างๆ อยากเห็นสถานีโทรทัศน์ ใช้แผนที่สถานการณ์ให้มากกว่านี้ครับ

อย่างไรก็ตาม ทางส่วนของราชการ ผมยังไม่เห็นแผนที่สถานการณ์ตัวจริงเลยครับ ภาพถ่ายดาวเทียมก็ได้ หากทางราชการมีแผนที่ว่า ณ.เวลาหนึ่ง เกิดน้ำท่วมขึ้นที่ไหนบ้าง ระดับน้ำสูงเท่าไร จะได้เตรียมแผนช่วยเหลือได้เหมาะสม ตลอดจนเป็นการแจ้งให้ผู้ที่อยู่ปลายน้ำ ได้เข้าใจสถานการณ์ตามที่เกิดขึ้น

เป็นเรื่องฝืนธรรมชาติที่น้ำท่วมอยู่ในที่สูง ในที่สุดน้ำก็จะไหลลงไปตามร่องน้ำธรรมชาติครับ ซึ่งสำหรับอีสานใต้คือแม้น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดไม่ใหญ่ มีอัตราไหลต่ำ และคดเคี้ยวไปมา ดังนั้นจำหวังให้น้ำปริมาณมหาศาลลดลงอย่างรวดเร็วนั้น คงจะยากเหมือนกัน

อ่านต่อ »


เข้าถึงผู้ประสบอุทกภัย

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 October 2010 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3372

เมื่อไม่กี่วันก่อน เกิดฝนตกหนักในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นวงกว้าง น้ำฝนที่ตกลงมา ถ้าไม่ถูกดินดูดซับไว้ ก็จะไหลลงที่ต่ำตามธรรมชาติ บ้านเรือนชาวบ้านเทือกสวนไร่นาที่ตั้งอยู่ใกล้น้ำ ก็มีความเสี่ยงแบบนี้อยู่เป็นธรรมดา

สำหรับปีนี้ อุทกภัยใหญ่ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดขึ้น อ.บางระกำ พิษณุโลก ซึ่งรับน้ำจากอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ก็ท่วมมาสองเดือนกว่าแล้ว! ในขณะที่เขียนนี้ ลุ่มน้ำป่าสักก็ล้นตลิ่ง บนลุ่มเจ้าพระยาน้ำเหนือกำลังไหลบ่าลงมาเช่นกัน

น้ำท่วมคราวนี้ มีผลกระทบมาก ข้าวอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยว ที่นาซึ่งอาจใช้เป็นพื้นที่แก้มลิงได้ชั่วคราว คราวนี้ก็ใช้ไม่ได้ ขืนเอาน้ำเข้าไปเก็บในนา จะเก็บเกี่ยวพืฃผลได้อย่างไร ถึงเกี่ยวข้าวได้ ความชื้นจะสูงปรี๊ด ราคาตกหัวทิ่มอีกต่างหาก — ซึ่งถ้าน้ำท่วมนาเอง อาการยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ นั่นหมายความว่าปริมาณน้ำมีมหาศาลจริงๆ

ถ้าจะให้น้ำลดเร็ว ก็ต้องทำสองอย่างครับ คือทำให้น้ำไหลออกจากพื้นที่เร็วขึ้น (คือมีแก้มลิงเฉลี่ยน้ำออกไป) และชะลออัตราที่น้ำฝนตกใหม่ไหลลงมา (เช่น ร่องดักน้ำฝน) ถ้าจะทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างหนึ่งนั้น ก็จะขึ้นกับธรรมชาติว่าจะปราณีขนาดไหนครับ

อ่านต่อ »


ข้อมูลน้ำจากระบบโทรมาตรของกรมชลประทาน

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 October 2010 เวลา 0:05 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 4588

กรมชลประทานได้ติดตั้งระบบโทรมาตร 200 แห่งกระจายกันอยู่ทั่วประเทศครับ ระบบโทรมาตร (telemetry) แปลว่าระบบวัดอะไรบางอย่าง แล้วส่งข้อมูลการวัดไปไกลๆได้ ไม่ต้องไปอ่านผลการวัดที่เครื่องวัด

ผมรู้สึกดีใจที่งบประมาณที่ลงไปนั้น ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับมา ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลของระดับน้ำเมื่อเทียบกับระดับตลิ่ง ดูแล้วเราก็รู้ได้ว่าน้ำท่วมในบริเวณนั้นหรือไม่ ถ้าระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งแปลว่าน้ำท่วมแล้ว เว็บนี้เขียนไว้ว่า “บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมรายงานผลของการวัดค่าทั้งระดับน้ำ ปริมาณน้ำฝน และคุณภาพอากาศ” หมายความว่าดูได้ ไม่ปิดบังครับ

ทีแรกผมคิดว่าบางทีอาจจะปรับปรุงได้ในแง่ที่ว่า แทนที่จะแสดงสถานะของเครื่องวัด ก็น่าจะแสดงสถานการณ์น้ำมากกว่า

ตอนนี้มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ก็คิดว่าไม่รอดีกว่าครับ ยิ่งให้ข้อมูลแก่สาธารณชน ชาวบ้านก็ยิ่งเตรียมตัวได้ดี เพราะเห็นว่าทางต้นน้ำ(น้ำที่จะไหลมาเพิ่ม)/ปลายน้ำ(น้ำที่จะระบายออกไป)เป็นอย่างไร จะได้เตรียมตัวให้เหมาะสม

ข้อมูลที่วัด ส่วนใหญ่เป็นการวัดระดับน้ำ เป็นความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (ย่อว่า รทก.) บางทีก็มีเครื่องวัดปริมาณฝน แต่ผมคิดว่ารูปในแต่ละหน้าของลานซักล้างนี้ (ซึ่งมาจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร) น่าจะดูได้ง่ายกว่านะครับ

สำหรับข้อมูลจากระบบโทรมาตรของกรมชลประทาน ดูได้ที่นี่ครับ ซูม/แพนดูบริเวณที่สนใจได้เองครับ


ประชุมภาคี OpenCARE

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 September 2010 เวลา 18:17 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4352

วันนี้มูลนิธิโอเพ่นแคร์จัดประชุมภาคี ที่ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลในเครือข่ายโอเพ่นแคร์ ที่เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software Park Thailand) ซึ่งเป็นการออกงานครั้งสุดท้ายในตำแหน่งของผู้อำนวยการซอฟต์แวร์ปาร์ค ซึ่งท่านจะไปรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในอีก 4 วันข้างหน้า ขอถือโอกาสขอบคุณและแสดงความยินดีอีกครั้งหนึ่งครับ มอบหนังสือเจ้าเป็นไผให้สองเล่ม

ตอนจัดประชุมแบบนี้ครั้งก่อน มีภาคีรุ่นบุกเบิกที่เป็นหน่วยงานจัดการเกี่ยวกับภัยพิบัติและบรรเทาทุกข์มาร่วมประชุมด้วย 6 หน่วยงานคือศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงไอซีที, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย, สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, บมจ.กสท โทรคมนาคม (รับผิดชอบเรื่องภัยทางทะเลตามมติ ครม.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

ผ่านไปสองปี โอเพ่นแคร์มีภาคีใหม่มาร่วมเพิ่มขึ้น ก็น่าจะเปิดโอกาสให้ทำความรู้จักกัน และอธิบายเป้าหมายร่วมกันสักทีครับ โดยในคราวนี้ ภาคีใหม่และผู้สังเกตุการณ์ประกอบไปด้วย

อ่านต่อ »



Main: 0.049415111541748 sec
Sidebar: 0.13839483261108 sec