น้ำมันปาล์ม
เมื่อวานไปประชุมอนุกรรมการมาตรฐานฯ นั่งติดกับเพื่อนที่มาจากต่างประเทศ เค้าเล่าให้ฟังว่ากระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มนั้น แทบไม่ได้พัฒนาเลยตลอด 115 ปีที่ผ่านมา
น้ำมันที่สกัดได้ เป็นเพียง 20% ของน้ำมันที่มีอยู่ ส่วนที่เหลือก็ทิ้งไปเปล่าๆ เค้าเล่าว่าไปดักตรงส่วนที่ทิ้ง นำไปให้ความร้อนอีกรอบหนึ่ง จะสามารถรีเคลมน้ำมันออกมาได้อีก 60% (รวมเป็น 80% ของน้ำหนัก)
ตัวเลขนี้ มาจากแล็ปที่ทดลอง proof of concept เค้ามาเมืองไทยเที่ยวนี้ จะมาทำการทดลองจริง ที่คุยกันนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับงานของกรรมการชุดนั้นเลย
อนุสนธิจากเรื่องนี้ก็คือ
- ทำไมจึงต้องสร้างกำแพงล้อมรอบตัวเอง ว่าเพราะเราเป็น ก จึงจะต้องสนใจแต่เฉพาะเรื่องของ ก เท่านั้น ใครตัดสินว่าเราเป็น ก ที่ไม่ใช่อย่างอื่นอย่างเด็ดขาด
- ทำไมจึงคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
- นี่เราไม่กล้าแม้แต่จะคิดปรับปรุงเชียวหรือ
- ข้อมูลใหม่ เชื่อถือได้หรือไม่ ยังไม่รู้ แต่ถ้าไม่ลองแล้วจะรู้ได้อย่างไร; ก็เป็นความรู้แบบแห้งๆ ตามที่คุ้นเคยกัน คือนึกว่ารู้ แต่ไม่เคยลอง และไม่รู้ว่าเมื่อนำไปปฏิบัติ จะเป็นไปได้หรือไม่
- น่าคิดต่อว่ากระบวนการหีบเย็น (cold press process) เมื่อได้สิ่งที่ต้องการออกมาแล้ว ที่จริงเรายังหลงลืมอะไรเพียงเพราะมองไม่เห็นอีกหรือเปล่า
ความคิด
วิถีแห่งปราชญ์ เป็นปฏิปทา จริยาวัตร ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
๒๙.
ความคิดท่านเจ้าคุณฯ เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความคิดไว้หลายแห่ง ที่สำคัญที่สุดน่าจะได้แก่ “วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ๑๐ ประการ” ในหนังสือ พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ หน้า ๖๗๕-๗๒๗) นอกจากนั้นก็มีปรากฏในปาฐกถาต่างๆ อีกหลายแห่ง
ปาฐกถาหนึ่งที่ขออ้างถึงในที่นี้ เป็นปาฐกถาที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ที่ไหนเลย บรรยายที่ศูนย์วัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หัวข้อว่า “วิธีคิดและแก้ปัญหาแบบพุทธวิธี” มีใจความตอนหนึ่งที่อยากจะนำมาเล่าไว้ ณ ที่นี้
“ควรสอนวิธีคิดที่ถูกต้องให้แก่เด็กตั้งแต่อยู่ในวัยแรก อาจจะโดยการใช้วิธีคำถามคำตอบ ซึ่งเป็นวิธีที่แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ทรงใช้มาก และใช้บ่อย
“บางคนอาจจะนึกว่า ขั้นเด็กเล็กนี่ยังไม่จำเป็น ที่แท้แล้ว การฝึกตั้งแต่เด็กเล็กมีความสำคัญมาก
“ขอยกตัวอย่างของการฝึกเด็กที่นำไปสู่วิถีชีวิตและชะตากรรมของสังคมไทยในสังคมไทย คนมีค่านิยมบบริโภคมาก ไม่ค่อยมีค่านิยมผลิต หรือการไฝ่รู้ มองดูให้ลึกแล้วจะเห็นว่า เริ่มมาตั้งแต่การเลี้ยงดูของพ่อแม่ เพราะเด็กกำลังโตจะมีศักยภาพที่จะเป็นไปได้สองทาง คือ ๑. ศักยภาพในการรับรู้แบบชอบ-ชัง และ ๒. ศักยภาพในการรับรู้ไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ อันนี้สุดแล้วแต่เราจะฝึกเด็กไปทางไหน
ชั่งหัวมัน
เรื่อง ชั่งหัวมัน
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๑๙ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรมะอันเป็นหลักคำสอนในทางพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการฟังตามสมควรแก่เวลา
ในระยะสองสามวันมานี้พวกเราคงจะได้ยินข่าวอันหนึ่ง คือข่าวว่าประธานเหมาเจ๋อตุงถึงแก่ความตาย ที่เอาเรื่องประธานเหมาเจ๋อตุงมาพูดกับโยม อย่านึกว่าพูดการบ้านการเมือง ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการเมือง แต่ว่าเป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นถึงชีวิตว่า คนเรานี้แม้จะยิ่งใหญ่ขนาดไหน มีอำนาจราชศักดิ์สักเท่าใดก็ตาม ก็ย่อมจะถึงจุดจบลงไปสักวันหนึ่ง จุดจบนั้นคือความตายนั่นเอง ความตายของคนคนหนึ่งเกิดขึ้น ก็ย่อมมีข่าวไปทั่วโลก เพราะว่าคนคนนั้นมีชื่อมีเสียงในทางการบ้านการเมือง
ข่าวที่ปรากฎออกไปนั้น มีคนเสียดายก็มี มีคนดีใจก็มีเหมือนกัน เช่นว่าจากเกาะไทเป (ไต้หวัน) หนังสือพิมพ์เขาดีใจ เขาดีใจว่าตายเสียทีก็ดีแล้ว แต่ว่าในส่วนอื่นๆ ของโลกนั้นเขาเสียใจกัน เพราะว่าเป็นเรื่องธรรมดา คนเราย่อมมีคนรักบ้าง มีคนชังบ้าง
เรื่องความรักความชังของมนุษย์นี้ เป็นเรื่องที่จะต้องเกิดต้องมี หนีไม่พ้น ในทางธรรมท่านจึงบอกให้รู้ว่า มันเป็นโลกธรรม คือเป็นธรรมสำหรับชาวโลกทั่วๆ ไป คือว่าบางสิ่งก็เป็นที่พอใจ เช่นในดิลกธรรม ว่าถึงเรื่องความมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีความสุข อันนี้เป็นอิฏฐารมณ์ เป็นสิ่งที่น่าพอใจพึงใจ ใครๆ ก็อยากจะมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีความสุข แต่ในอีกด้านหนึ่งในความไม่มีลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ อันนี้ไม่มีใครต้องการ
แต่ว่าเราอยู่ในโลกจะหนีพ้นไปจากสิ่งนี้ไม่ได้ ธรรมทั้งแปดประการนี้ เป็นกระแสของโลก เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า เป็นโลกธรรม คือมีอยู่ในโลกตลอดเวลา เราเกิดมาในโลกก็ต้องพบกับสิ่งหล่านี้ ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ญาติโยมทุกคนลองคิดดู ว่าในชีวิตของเรานี้ เราเคยมีลาภ เราเคยเสื่อมลาภ เราเคยมียศ เราเคยสรรเสริญ มีความทุกข์ มีความสุข ได้รับการสรรเสริญ ได้รับการนินทา ใครๆ ก็เหมือนกันทั้งนั้น คนเราจะเป็นคนที่ดีส่วนเดียวก็ไม่ได้ การดีการเสียของบุคคลนั้น มันขึ้นอยู่กับการกระทำเป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าคนอื่นนั้นเขาอาจจะมองเราในทางใดก็ได้ เพราะการเพ่งมองของคนอื่นนั้น เป็นสิทธิของเขา เป็นสิทธิในการที่จะมอง ในการที่จะพูด ในการทีจะแสดงออก ถึงความรู้สึกนึกคิดของเขา เราจะไปห้ามก็ไม่ได้
งานท่วม
อ่าน: 2913แปลกดีเหมือนกันนะครับ พอลาออกจากงานบริหาร กลับมีนัดหมายมากยิ่งกว่าเก่า เวลามีเท่าเดิม จะทำยังไงหมดเนี่ย
- เพื่อนฝูง อนุมาณเอาว่าในขณะที่ทำงานบริหาร งานคงยุ่งมาก (ซึ่งก็ยุ่งจริง ในบางขณะ) พอไม่ทำงานบริหาร ก็เลยนึกเอาว่าว่าง กลัวเหงา เลยระดมกันขอให้ไปช่วย หลายอย่างประดังเข้ามาในเวลาเดียวกัน ทำให้ว่างน้อยลงกว่าเดิมอีก
- มีเพื่อน ดีกว่าไม่มีเพื่อน หรือนึกว่ามี แต่ที่จริงไม่มีครับ
- คนที่ไม่เคยติดต่อ ก็ติดต่อมา ไม่รู้ไปเอาอีเมลมาจากไหน — ไม่ได้บ่นหรอกนะครับ เพียงแต่แปลกใจ
- นักข่าว ขอความเห็นมากกว่าสมัยยังมีตำแหน่งใหญ่โตซะอีก
- สมาคมต่างๆ ก็พยายามมาล่อลวงไปช่วยงาน
- พอถอดหัวโขนออก มีคนเสนอความเห็นดีๆ เยอะเลย เดิมคงเกร็งไปเองจึงไม่เสนอ ผมก็เป็นคนเดิมนะครับ ผมคิดว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับ “หนูแข็งแรง” ที่มีภาพลักษณ์เป็นอินทรีมากที่สุด (เนื่องจากหัวโขนและวุฒิต่างๆ) และเชื่อว่าคนที่รู้จัก ไม่มีใครมองผมเป็นหมีหรือกระทิงอย่างแน่นอน ทั้งที่จริงแล้ว มีนิสัยทั้งสี่ผสมปนเปกันอยู่ในตัว แล้วสำหรับผู้ที่ตาไม่ฝ้าฟางจนเกินไป คงเห็นผมเป็นคนธรรมดา
- คนเรามักถูกตัดสินจากสิ่งภายนอก ถูกพิพากษาโดยคนที่ไม่เข้าใจบริบท
- ผมคิดว่าผมรู้จักตัวเองดีพอที่จะรู้ทั้งข้อดีและข้อด้อยครับ ไม่ว่าใครจะคิดว่าผมเป็นอย่างไร ไม่ว่าเปลือกจะเปลี่ยนไปเป็นอะไร ผมก็ยังเป็นผมอยู่ดี ผมมักสังเกตเห็นและยอมรับคนได้ในหลายมุม ไม่เฉพาะมุมที่พยายามจะแสดงออก
- เขียนบันทึกได้บ่อยขึ้น มีเวลาได้คิดทบทวนอะไรหลายอย่าง ไม่ต้องรีบเร่งมากนัก เพราะว่าตอนนี้ไม่ต้องแบกอะไรไว้เกินตัว หนักนักก็วางไว้
- เปลือกไม่ใช่แก่นครับ เขียนไม่เหมือนกัน อ่านไม่เหมือนกัน ความหมายไม่เหมือนกัน ว่าแต่ว่าเรารู้หรือไม่ ว่าอะไรเป็นเปลือก อะไรเป็นแก่น
Teach & Learn
ลำดับความฉลาดของสุนัข จำแนกตามสายพันธุ์
อ่าน: 8043สิบอันดับแรกของสุนัขสายพันธุ์ฉลาด
- เข้าใจคำสั่งใหม่อย่างรวดเร็ว สอนซ้ำๆ ไม่เกินห้าครั้ง
- เชื่อฟังคำสั่งครั้งแรกโดยไม่ต้องสั่งซ้ำเกินกว่า 95%
- Border Collie
- Poodle
- German Shepherd
- Golden Retriever
- Doberman Pinscher
- Shetland Sheepdog
- Labrador Retriever
- Papillon
- Rottweiler
- Australian Cattle Dog
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร เลี้ยงแล้ว เราก็รักมันอย่างไม่มีเงื่อนไขครับ
พระเมรุมาศ
อ่าน: 4724วันนี้ ฝนไม่ตกตอนค่ำ จึงชวนน้องชายไปถ่ายรูปที่พระเมรุมาศครับ นึกว่าขับรถไปครึ่งชั่วโมง ถ่ายรูปครึ่งชั่วโมง ขับกลับอีกครึ่งชั่วโมง ที่ไหนได้ อยู่ที่สนามหลวงสองชั่วโมงกว่า ไม่รวมเวลาขับรถ
ได้กล้องมาใหม่ครับ ยังใช้ไม่คล่อง จึงเอาไปลองถ่ายกลางคืน หาความรู้สึกหน่อย ลืมโน่น ลืมนี่ตามเคย
รูปไม่สวยครับ แต่คงไม่แย่เกินไป
รูปนี้ตั้งเป็นขาวดำ แล้วดันลืมปลดออก
ยังดีที่ไม่ลืมว่าจะปลดขาวดำยังไง อิอิ
หนึ่งในร้อย: กตัญญู
หนังสือใหม่ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ขอให้อ่านเถิดครับ ถ้าเชื่อถือการเลือกสรรของผม อ่านเล่มนี้แล้ว รับประกันว่าจะไม่เสียใจอย่างแน่นนอน
โมทนียพจน์
สังคมไทยในยุค “โลภาภิวัตน์” (ประชาชนตกเป็นทาสของความโลภ) เต็มไปด้วยความขัดแย้ง แตกสามัคคี ประชาชนทั่วทุกภาคแบ่งกันออกเป็นสามฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเลือกข้างรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งเลือกข้างพันธมิตร อีกฝ่ายหนึ่งไม่เลือกข้างไหนได้แต่เก็บตัว เป็นพลังเงียบด้วยความเบื่อหน่ายต่อความเป็นไปของการเมืองที่มองไม่เห็นว่า จุดสิ้นสุดยุติจะอยู่ตรงไหน ท่ามกลางความขัดแย้งแตกแยกนี้เอง มีการเพรียกหา “คนดี” ให้เข้ามาเป็นอัศวินม้าขาวเพื่อเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ “การเมืองใหม่” ดังกึกก้องไปทั่วทุกหัวระแหง แต่ยิ่งเพรียกหาคนดี ก็ดูเหมือนว่า คนดีในเมืองไทยในยามนี้จะหายากเสียเหลือเกิน เพราะเมื่อมีฝ่ายใดก็ตามเสนอ “คนดี” ของตนขึ้นมา ให้เป็นตัวเลือก ก็มักถูกอีกฝ่ายหนึ่งตีให้ตกไปด้วยการให้เหตุผลว่า คนดีที่ว่านั้นเป็นคนดีที่ไม่มีความเป็นกลาง
ในทางโลกียวิสัย การหาคนดีที่มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในทางธรรมวิสัย การหาคนดีไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด ด้วยในพุทธศาสนานั้น ท่านมีหลักการวัดคนดีเอาไว้อย่างชัดเจนผ่านพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า
“นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา”
“ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี”คนดีตามนัยทางพุทธศาสนา ท่านนิยามสั้นๆว่าคือ คนที่มี “ความกตัญญู กตเวที” ใครมีคุณสมบัติข้อนี้เพียงข้อเดียว ก็นับเป็นคนดีที่ประเสริฐเลิศล้ำ
จริงอยู่ แม้ความเป็นคนกตัญญูกตเวที จะเป็นคุณสมบัติพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป แต่หากนำมาใช้ในทางบ้านเมือง ความกตัญญูกตเวที ก็สามารถนำพาเมืองไทยให้ก้าวพ้นวิกฤติได้เหมือนกัน เนื่องเพราะคนที่มี “ความกตัญญูกตเวที” นั้น ไม่มีทางเลยที่เขาจะเป็นคนเลวที่มุ่งแต่การทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง ตรงกันข้าม คนกตัญญูกตเวที จะเป็นคนที่พิทักษ์รักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดินเอาไว้ด้วยชีวิตเสียด้วยซ้ำ
หนังสือชื่อ “หนึ่งในร้อย” ที่จัดพิมพ์โดย “กลุ่มกัลยาณธรรม” ซึ่งนำโดย ทันตแพทย์หญิงอัจฉรา กลิ่นสุวรรณ และกัลยาณมิตรเล่มนี้ เกิดขึ้นจากการถอดเทปบันทึกเสียงของผู้บรรยายสองเรื่องด้วยกัน กล่าวคือ
(๑) มารดามหาบุรุษ
(๒) ร้อยความดี ความกตัญญูมาเป็นที่หนึ่งสาระสำคัญว่า ด้วยความหมาย ความสำคัญ ของความกตัญญูในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวาง หวังว่า ทุกถ้อยกระทงความในผลงานเล่มนี้ คงจะเป็นประทีปธรรม นำทางให้คนไทยได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความกตัญญูกตเวทีเพิ่มขึ้นเป็นอย่างดี และหากจะมีคนกตัญญูกตเวทีเพิ่มขึ้นมาอีกมากมายหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว คณะผู้จัดทำทุกคนก็คงจะมีความสุขในหัวใจเป็นอย่างยิ่ง
ว.วชิรเมธี
๖ ตุลาคม ๒๕๕๑
หมอผ่าตัด
อ่าน: 2989ไม่แปลหรอกครับ ผมไม่ใช่ศัลยแพทย์ เดี๋ยวแปลศัพท์เทคนิคผิด
Five surgeons are discussing who has the best patients to operate on.
The first surgeon says, “I like to see accountants on my operating table because when you open them up, everything inside is numbered.”
The second responds, “Yeah, but you should try electricians! Everything inside them is colour-coded.”
The third surgeon says, “No, I really think librarians are the best; everything inside them is in alphabetical order.”
The fourth surgeon chimes in, “You know, I like construction workers. Those guys always understand when you have a few parts left over at the end, and when the job takes longer than you said it would.”
But the fifth surgeon shut them all up when he observed, “You’re all wrong.
Politicians are the easiest to operate on. There’s no guts, no heart, no balls, no brains and no spine, and there are only two moving parts, the mouth and the asshole - and they are interchangeable.”