เตรียมตัวเป็นไหม

อ่าน: 2909

ชื่อบันทึกนี้ เป็นคำถามที่ผมไม่ต้องการคำตอบ แต่มุ่งให้ผู้อ่านแต่ละท่าน ถามตัวเอง ตอบตัวเอง และกระทำสิ่งที่สมควร

รูปข้างบนเป็นหน้าแรกของหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ ชื่อ ready.gov ด้านล่าง ขึ้นแบนเนอร์ของสามเว็บไซต์ ซึ่งที่จริงแล้ว ทั้งสามก็เป็นเว็บของ FEMA (องค์กรจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ) ทั้งหมด FEMA เองเคยล้มเหลวเรื่องการจัดการภัยพิบัติมาหลายครั้ง แต่เขาเรียนรู้และปรับปรุง คราวนี้ดูดีกว่าเก่าเยอะครับ

อ่านต่อ »


เตือนทำไม ซ้อมทำไม

อ่าน: 3329

ที่จริงใครจะทำอะไร คนอื่นจะไปอธิบายโดยไม่รู้เบื้องหลังนั้น เป็นเพียงการคาดเดาที่มีโอกาสผิดสูง

แต่มีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อมาผสมกับความเชื่อถือส่วนตัวแล้ว ทำให้คนตีความไปในทางร้าย เหตุการณ์เหล่านี้ มีใหญ่ๆ อยู่หลายอัน เช่น

  • องค์กรจัดการภัยพิบัติ (FEMA) จัดการซ้อมรับมือภัยพิบัติทั่วประเทศ (National Level Exercise)
  • กลางเดือนตุลาคมปีที่แล้ว สำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำเนียบขาว ออกจดหมายถึงประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร แสดงความห่วงใยเรื่อง เทหวัตถุใกล้โลก (Near Earth Objects - NEOs) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดาวหาง Comet C/2010 X1 (หรือที่เรียกว่า Elenin) ในขณะที่ขนาดและวงโคจรยังวัดและคำนวณได้ไม่แน่นอน
  • ผู้ที่อ้างว่าติดต่อมนุษย์ต่างดาวได้ ทำนายถึงดวงอาทิตย์ดวงที่สอง (Nibiru) และการสิ้นสุดของโลก
  • นาซา ออกจดหมายเวียนถึงพนักงานทุกคน เรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน (ผมเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ควรทำ ควรย้ำเตือนอยู่แล้ว แต่มีคนมากมายที่เห็นว่าเรื่องตื่นเต้น-เร้าใจ-น่าติดตามนี้ ไม่ปกติ)
  • ภาพยนตร์ “2012″; ปฏิทินชาวมายัน; นอสตราดามุส; ผู้พยากรณ์และผู้สวมรอยทั้งหลาย บอกว่า “โลกแตก”
  • สุริยจักรวาลจะโคจรผ่านระนาบของกาแลกซี่ทางช้างเผือก (จะมีรังสีมาทำลายล้างโลก)
  • ปรากฏการณ์ดาวเรียงตัว (ประมาณว่าทำให้แผ่นดินไหวใหญ่ทั่วโลก; ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เกิดซูเปอร์มูน หมอดูทำนายสึนามิซ้ำ โรงแรมฝั่งอันดามันช้ำ สึนามิไม่เกิด หมอดูทำเนียน ไม่เหมือนกับตอนที่ออกมาเตือนอย่างกระเส่าเร่าร้อน)
  • วัฏจักร Solar Maximum จะมีจุดดับบนดวงอาทิตย์มาก (CME พุ่งมายังโลกทำลายระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร)
  • (Magnetic) Pole Shift ทำให้ เกราะแม่เหล็กที่ปกป้องโลกจากพายุสุริยะ บิดเบี้ยว/เป็นรู ในช่วงการสลับขั้ว

อ่านต่อ »


เก็บตกงานเสวนา สวทช. NAC2011

อ่าน: 4658

หลังจากเขียนบันทึกที่แล้ว เรื่องความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผมก็ไปขึ้นเวทีเสวนาของ สวทช.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญครับ พิลึกจริงๆ

มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่าน คือ

  • รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ - มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมสิรินธร ในพระบรมราชูปถัมป์ของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
  • พลเรือตรีถาวร เจริญดี - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
  • ศ.เกียรติคุณ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว - สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
  • คุณวีระชัย ไชยสระแก้ว - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • คุณมนตรี ชนะชัยวิบูลย์วัฒน์ - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • คุณปรเมศวร์ มินศิริ - ไม่รู้จะลงตำแหน่งอย่างไรเพราะทำเยอะแยะไปหมดเลย แต่เป็นงานในภาคประชาชนทั้งนั้น
  • ผม

การเสวนาครั้งนี้ เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๑ - บทเรียนจากญี่ปุ่นสู่การเตรียมพร้อมของไทย มี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.เป็นผู้ดำเนินการเสวนาเอง มีผู้ฟังก็เต็มออดิทอเรียมของ สวทช. และมีผู้ฟังการถ่ายทอดสดทางอินเทอร์เน็ตอีกประมาณ 400 ท่าน

ด้วยความผูกพันกับ สวทช. ซึ่งกาลครั้งหนึ่งผมเคยเป็นอาสาสมัครที่เนคเทคอยู่หลายปี เมื่อชวนมายังไงผมก็ไปร่วมด้วยแน่นอนครับ แต่ยอมรับว่าหนักใจเรื่องเวลา ฮี่ฮี่ เพราะเวลาสามชั่วโมง วิทยากรสามท่าน-ท่านใดก็ได้ สามารถจะให้ได้ทั้งภาพกว้างและลึกได้อย่างถี่ถ้วน แถมยังเหลือเวลาตอบคำถามได้อีกนิดหน่อย ทีนี้พอมีวิทยากรอยู่แปดท่าน จึงเหลือเวลาสั้นมาก ผมตัดประเด็นที่เตรียมไปทิ้งไปประมาณสองในสาม แล้วต้องพูดที่เหลืออย่างเร็วจี๋ ก็เลยอาจจะปัญหาสำหรับผู้ที่ทำ Live tweet (ขออภัยเป็นอย่างยิ่งนะครับ)

อ่านต่อ »


จะเอาอะไรไปเลี้ยงโลก

อ่าน: 4125

เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2554 โลกมีประชากรกว่า 6,890 ล้านคน

ด้วยอัตราการเพิ่มของประชากร จะโตเป็นเจ็ดพันล้านคนในปี 2555 และเป็นเก้าพันล้านคนในปี 2587… เฮ้อ ตอนนั้นถ้าผมยังอยู่ ก็คงแก่หง่อมไม่รู้เรื่องแล้ว ดังนั้น มีอะไรจะพูดก็ควรรีบพูดซะก่อนจะเลอะเลือน

น้ำจืด

อากาศแปรปรวน อากาศร้อนตับแตกสล้บหนาวเย็น ฝนแล้งสลับท่วมหนัก เอาแน่เอานอนไม่ได้ เมืองไทยไม่มีภูเขาสูงที่จะคอยดักจับเมฆ ความชื้น และหิมะ พูดง่ายๆ ก็คือเราพึ่งน้ำฝนอย่างเดียวครับ แต่พอฝนตกหนัก เรากลับเร่งระบายปล่อยทิ้งไปเฉยๆ

น้ำท่วมเกิดมาจากปริมาณน้ำผิวดินมีมากเกินไป เมื่อฝนตกในที่สูง เราเก็บกักน้ำจืดเอาไว้ไม่ได้ สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ก็ไม่ได้ ที่ดินมีราคาแพง จะเอาไปทำแก้มลิงก็ทำไม่ไหว ที่สำคัญคือต้นไม้ตามภูเขาก็ตัดเสียโกร๋นหมด เมื่อไม่มีต้นไม้ไว้ชะลอน้ำ น้ำก็ไหลลงมาที่ต่ำอย่างรวดเร็ว

จริงอยู่ที่การชะลอน้ำก็แค่ถ่วงเวลาไว้ ไม่ได้ทำให้ปริมาณน้ำมากมายหายไป แต่ถ้าน้ำไหลช้าลง ดินมีโอกาสดูดซึมน้ำไว้มากขึ้นนะครับ

เมื่อฝนตกลงมา ชะลอน้ำหลากเอาไว้ เอาน้ำส่วนนี้ไปเติม [น้ำใต้ดิน] น้ำใต้ดินในที่สูง จะกลายเป็นน้ำผุด เป็นต้นน้ำลำธาร ที่ค่อยๆ ปล่อยลงมา (ค่อนข้าง) สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ทำให้หน้าฝนไม่มีน้ำหลากมากนัก ส่วนหน้าแล้งยังมีน้ำอยู่

ผู้กำหนดนโยบายอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ใช้น้ำประปากันทั้งนั้น อาจจะไม่ค่อยรู้สึกถึงความสำคัญของน้ำใต้ดิน แต่ประปาชนบทจำนวนมาก ต้องพึ่งน้ำบาดาล เวลาเราใช้น้ำบาดาลกันเยอะๆ คิดจะเติมแหล่งน้ำใต้ดินกันบ้างหรือเปล่าครับ

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

อ่านต่อ »


หากเดินทางไปซื้อของไม่ได้…

อ่าน: 4120

ดีทรอยต์ เมืองใหญ่ที่สุดของมลรัฐมิชิแกน เป็นสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐ เกิดมีข่าวประหลาดว่าเมืองดีทรอยต์ทั้งเมือง ไม่มีร้านขายอาหารสด/ร้านขายของชำ/ซูเปอร์มาร์เก็ตมาสามปีแล้ว!!! ทั้งนี้ตั้งแต่อุตสาหกรรมรถยนต์เกิดตกต่ำ ตามด้วยวิกฤตทางการเงินครั้งร้ายแรง กิจการขนาดใหญ่ล้มละลายกันแทบทั้งหมด คนตกงาน

Detroit lost its last chain grocery store three years ago when the last two Farmer Jack’s groceries closed. This seems incredible—a city of nearly 1 million people without a supermarket—but it’s true. No A&P. No Meijer’s. Not even a Wal-Mart. Any Detroiters who want fresh store-bought fruits and vegetables or wrapped meats have to get in their car and drive to the suburbs. That is, if they have a car.

In this food desert, some Detroiters have taken to growing their own produce. This has received a great deal of good press from advocates of local food movements, opponents of factory farming, back-to-the-land activists and others who see urban and small-scale farming as the future of American agriculture.

ใครจะซื้ออาหารสด ก็ต้องขับรถไปเมืองใกล้ๆ; ชาวเมืองทางฝั่งใต้ (จน) ต้องหันมาปลูกพืชกินเอง ส่วนทางด้านเหนือ (รวย) ก็เรียกร้องซูเปอร์สโตร์

ทีนี้ลองคิดถึงเมืองไทยนะครับ จากการศึกษาขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เมื่อหลายปีก่อน ร้อยละ 25 ของราคาสินค้าไทย เป็นค่าโลจิสติกส์! ในขณะที่สินค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว มีสัดส่วนแค่ครึ่งเดียวหรือน้อยกว่าไทย… ถ้าขืนยังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ ราคาสินค้าซึ่งถูกกำหนดโดยราคาตลาด ขายแพงนักก็ส่งออกไม่ได้ ส่วนค่าขนส่งก็ลดไม่ได้เหมือนกัน อย่างนี้อุตสาหกรรมต้นน้ำก็โดนกดราคา เหมือนกับที่เป็นมาน่ะซิครับ

อ่านต่อ »


จะบิน

อ่าน: 7965

ถ้าจะบิน ก็แค่หาแรงยกให้ได้มากกว่าน้ำหนักตัวเท่านั้นเองครับ

ไม่ยากเกินไปที่จะบิน แต่บินให้ปลอดภัย ยากกว่าเยอะเลย

อ่านต่อ »


การให้

อ่าน: 4020

การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจนั้น ไม่สำคัญหรอกครับว่าจะเป็นข่าว ไม่จำเป็นว่าจะต้องได้รับการยกย่อง ถ้าจะให้ก็ไม่ต้องมีเหตุผลอะไร หรือแม้แต่ตั้งเงื่อนไขว่าผู้รับจะต้องสำนึกหรือจดจำชื่อของท่านได้ ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น ท่านจะไปบังคับกะเกณฑ์ไม่ได้ แต่ท่านถามตัวเองได้เสมอว่าการให้ของท่านนั้น ได้ให้ไปจริงๆ แล้วหรือไม่

เมื่อให้ไปแล้ว สิ่งที่ให้ไปก็เป็นของผู้อื่นแล้ว — ถ้ายังติดใจอยู่ว่าอันนี้ฉันให้นะ กรณีอย่างนั้นเรียกได้ว่า ท่านยังไม่ได้ให้ไป เพราะยังคิดว่าเป็นของท่านอยู่ (แต่ท่านเก็บความภูมิใจ เก็บมิตรที่ได้พบปะไว้ในใจได้)

วันนี้ไปบ้านน้องก้อย [กำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัย] สองครั้ง จะเอารูปหมวกไหมพรมไปให้ดู [ถักหมวกแบบง่าย] ว่าที่ขายให้ถูกๆ และบริจาคสมทบไปเมื่อเดือนก่อน ออกมาเป็นอย่างนี้; ครั้งแรกไปก่อนเที่ยง ปรากฏว่าไม่มีใครอยู่บ้านเลย ยังไม่กลับจากหัวหินกัน ไปอีกครั้งตอนบ่าย คุณแม่น้องก้อยบอกว่าเมื่อออกมาจากโรงเรียน(เนื่องจากป่วย)แล้วมาเรียนที่บ้านแล้วนั้น น้องก้อยมีความสุขขึ้นมาก ปีหน้าจะเรียนวิศวะธรรมศาสตร์ เร็วกว่าเพื่อนๆ หนึ่งปี ในเมื่อจะเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว คงไม่ค่อยมีเวลาจะทำร้านขายไหมพรม จึงอยากบริจาคไหมพรมไปถักให้เกิดประโยชน์ ผมขอว่าให้ผมได้ช่วยบ้างเถิด คุณแม่บอกว่าในเมื่อน้องก้อยอยากบริจาค ก็ขอให้เขาได้ทำตามความตั้งใจดีกว่า นัดกันว่าอีกสองสามวันจะโทรมาตาม เมื่อมีเวลาเช็คสต็อคก่อน

ผมบอกน้องก้อยไปว่าเขียนเรื่องของน้องก้อยเอาไว้บนบล็อกด้วย แล้วเปิดลานซักล้างให้ดู ในนั้นมีลิงก์ไปทวิตเตอร์อยู่ น้องก้อยก็ขอ follow แล้วก็คลิกไปที่ facebook ของผม ปรากฏว่ารู้จัก kaiwan.h เหมือนกัน โลกกลม!

อีกสองสามวัน ผมจะเอา DVD งาน Ignite Thailand++ ครั้งที่สองไปให้ด้วยครับ คราวนี้ไม่ได้ลืม แต่ไม่มีเวลาทำให้ ได้ชวนแล้วว่าถ้าเหงา ก็ให้มาสมัครที่ลานปัญญาได้ จะได้เห็นว่า สว.เค้าคุยอะไรกัน

การให้โดยช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ถึงใครจะไม่เห็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นครับ

อ่านต่อ »


น้ำท่วมขัง (1)

อ่าน: 5613

เขียนเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วครับ เขียนอีกก็ไม่เป็นไร เป็นเหมือนสิทธิ์ของ สว.ที่บ่นได้โดยผู้คนไม่ถือสา (ถึงถือสาผมก็ไม่ได้ยินอยู่ดี แล้วผมเขียนไว้ในบล็อกของผมเฉยๆ มาอ่านกันเองนะ)

น้ำท่วมนั้น เกิดจากอัตราที่น้ำไหลเข้าพื้นที่มากกว่าน้ำไหลออก เมื่อเข้ามามากแล้วออกไปได้น้อย ปริมาตรของน้ำที่อยู่ในพื้นที่นั้น ก็ยกตัวเอ่อขึ้นพ้นตลิ่ง อปท.ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ตลอดจนชาวบ้าน และหน่วยราชการ ไม่ยืนดูเฉยๆ หรอกนะครับ เขาก็พยายามป้องกันพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วมเหมือนกัน มีถนนเป็นแนวป้องกันหลักเสมอ

เรื่องนี้มีผลข้างเคียง กล่าวคือเมื่อน้ำมีปริมาณมาก จนท่วมข้ามแนวป้องกันมาแล้ว ทีนี้น้ำไหลไปไหนไม่ได้ จะเห็นได้จากภาพข่าวโทรทัศน์ ว่าภาคเหนือตอนใต้กับที่ราบลุ่มภาคกลางที่ประสบอุทกภัยอยู่ในเวลานี้ น้ำไม่ค่อยไหลไปไหน พอน้ำไม่ไหลประกอบกับท่วมไร่นา พืชที่จมน้ำก็เน่า ทำให้น้ำเริ่มเน่าอีกต่อหนึ่ง

อ่านต่อ »


อย่ารอ: เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกอนาถาเพื่อช่วยชาวนาที่น้ำท่วม

อ่าน: 3924

เทคโนโลยีชาวบ้าน ทำได้เองง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งใคร ไม่ต้องรอใคร (ไม่ทำก็ไม่เป็นไรครับ)

อ่านต่อ »


อย่ารอ: การสร้างแพลอยน้ำเพื่อช่วยน้ำท่วมด้วยท่อพีวีซี…อีกหนึ่งทางเลือกที่ง่ายๆ

อ่าน: 6991

จดหมายส่งต่อครับ เมืองไทยมีคนที่คิดว่าตัวมีความรู้ตั้งมากมาย แต่ความรู้นั้นถ้าใช้ประโยชน์ไม่ได้ จะมีความหมายอะไรครับ มีความรู้แล้วควรช่วยคนอื่นด้วย

การสร้างแพลอยน้ำเพื่อช่วยน้ำท่วมด้วยท่อพีวีซี…อีกหนึ่งทางเลือกที่ง่ายๆ

อ่านต่อ »



Main: 0.058044195175171 sec
Sidebar: 0.15740585327148 sec