นาวาฝ่าวิกฤต: Mobility in the time of flood

อ่าน: 2856

เรื่องนี้รู้มาสักพักหนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้เขียนถึงแม้จะคิดว่าเป็นไอเดียที่ดีมากก็ตามครับ

https://www.facebook.com/groups/floodcontest/

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ “นาวาฝ่าวิกฤต: Mobility in the time of flood” เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ ประสบภัย ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน โดยกำหนดให้การพัฒนาต้นแบบต้องเสร็จสิ้น ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน เพื่อส่งเข้าในรอบชิงชนะเลิศวันที่ 11 พฤศจิกายน ศกนี้ ชิงเงินรางวัลและเงินทุนพัฒนาโครงการมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท โดยผลงานที่สำเร็จจะนำมาสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยต่อไป ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ e-mail: floo...@nectec.or.th หรือ Facebook: “Flood Mobile Contest Thailand”

…สำหรับโจทย์ของการประกวดในครั้งนี้ คือ เราจะช่วยผู้คนเดินทางสัญจรทางน้ำได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือใกล้ตัวที่เหลือใช้ หาได้ง่ายได้อย่างไร ผู้สนใจจะต้องพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในการเคลื่อนย้ายซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ที่ 160 กิโลกรัมในพื้นที่น้ำท่วมโดยสะดวกและปลอดภัย ซึ่งอาจจะเป็นแพและ/หรือใช้จักรยานที่สามารถขับเคลื่อนหรือปั่นในน้ำ แทนที่จะใช้การพาย มีความถ่วงสมดุลและสามารถลอยน้ำได้ โดยใช้วัสดุทั่วไปที่ต้นทุนต่ำ หาง่ายและมีอยู่ในท้องถิ่น สร้างขึ้นโดยง่ายเพื่อให้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานที่ใดก็ได้ในประเทศไทย ทั้งนี้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของผู้ประดิษฐ์ แต่ผลงานต้องเปิดเผยและเผยแพร่ให้เป็นสมบัติสาธารณะ และอนุญาตให้คนไทยใช้งานได้ทั่วไป และสามารถนำไปผลิตเพื่อใช้งานจริงได้…

กล่าวคือเป็นพาหนะลอยน้ำ น้ำหนักบรรทุก 160 กก. เสถียรภาพดี ไม่ใช้เครื่องยนต์ เป็นเทคโนโลยีชาวบ้านซึ่งใครๆ ที่ไม่งอมืองอเท้า สามารถสร้างได้เองโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือ — ความคิดอย่างนี้น่ายกย่องครับ

ขอแสดงความยินดีกับทีมที่ผ่านการคัดเลือกทุกทีม ท่านใช้รอยหยักในสมองให้เป็นประโยชน์แล้ว

อ่านต่อ »


มีดี…ก็งัดออกมาเลย

อ่าน: 2775

เมื่อวานเข้ากรุงเทพไปทำเรื่องบัญชีการรับบริจาคซึ่งติดขัดอยู่ แก้ไขจนเรียบร้อยแล้วครับ หมดเวลาไปทั้งวันทั้งคืนจนไม่ได้เขียนบันทึก

บ้านอยู่ปากเกร็ดฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางตะวันตกห่างเพียง 1 กม. ทางตะวันออกเป็นคลองประปา ทางเหนือเป็นแนวคันดินพระราชดำริ (ถนนประชาชื่นปากเกร็ดหรือศรีสมาน) น้ำยังไม่ท่วม ก็ต้องยกความดีให้กับเทศบาลนครปากเกร็ดและชาวบ้านปากเกร็ดที่ป้องกันเขื่อนอย่างเข้มแข็ง

เมื่อน้ำทะลักแนวป้องกันเข้ามา เป็นเรื่องใหญ่ เพราะว่าพื้นที่ไม่ได้ราบเรียบ น้ำที่ขังอยู่ในที่ต่ำจะไม่ระเหยไปเอง แต่จะต้องสูบออก สถานการณ์นี้ เจอกันมาทุกจังหวัดตามแนวการไหลของน้ำ การยกน้ำปริมาณ 1 ลิตร (ซึ่งหนัก 1 กก.) ขึ้นสูง 1 เมตร ใช้กำลัง 1 วัตต์ บกน้ำหนึ่งคิวขึ้นสูงหนึ่งเมตร ใช้กำลัง 1 กิโลวัตต์ แต่น้ำที่ทะลักเข้ากรุงร้อยล้านคิว ที่ต้องสูบออก ใช้พลังงานอีกมหาศาลครับ

บ้านเรือนริมคลองที่น้ำยังไม่ท่วม พยายามกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้หมด ผักตบชวา และกอหญ้าริมตลิ่ง เอาออกนะครับ จะช่วยให้น้ำผ่านไปเร็วที่สุด

อ่านต่อ »


เข้ากรุงเทพ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 November 2011 เวลา 16:43 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2864

อ้าว โพสต์ไปแล้ว เน็ตไม่ดี หายไปหมดเลย เขียนใหม่ก็ได้

พรุ่งนี้ผมตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพครับ เรื่องของเรื่องก็คือตั้งแต่อพยพมาอยู่หัวหินนี้ เกือบสองอาทิตย์แล้ว มีปัญหาการเบิกจ่ายเงินบริจาคที่เกิดติดขัด ได้พยายามหาทางออกที่โปร่งใสที่สุดแต่ก็ติดขัดไปหมด บัญชีของมูลนิธิที่เปิดไว้สำหรับรับบริจาค SCB 402-177853-3 เป็นบัญชีนิติบุคคลซึ่งจะต้องเบิกจ่ายจากสาขาที่เปิดบัญชีเอาไว้เท่านั้น ทีนี้สาขาที่เปิดบัญชีไว้ ก็อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง พ่อแม่ผมอายุมากแล้ว ไม่อยากให้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสูง ดังนั้นจึงอพยพพ่อแม่มาอยู่หัวหินเกือบสองอาทิตย์แล้ว

ระหว่างนี้ได้พยายามจะหาทางให้เบิกจ่ายจากหัวหินให้ได้ แต่ก็ดูจะไม่มีทางเสียเลย ครั้นจะขับรถลุยน้ำไปกลับห้าร้อยกิโลเพื่อไปทำธรุกรรมทางการเงิน 15 นาทีทุกครั้งที่มีการเบิกเงิน ก็ดูจะวิปลาสเกินไป

ลองมาหมดทุกทางที่นึกออกแล้วครับ

  • ให้สาขาหัวหินขอตัวอย่างลายเซ็นและเอกสารที่จำเป็นจากสาขาที่เปิดบัญชีไว้ — สาขาหัวหินไม่ทำให้
  • เปิดบัญชีสั่งจ่ายทางอินเทอร์เน็ต — เอกสารไม่ครบ แล้วในขณะที่บ้านกรรมการมูลนิธิน้ำท่วมนี่ จะไปตามตัวท่านมาเซ็นก็ดูจะเลือดเย็นไปหน่อยนะ

ดังนั้นเพื่อให้เบิกจ่ายเงินบริจาคได้ พรุ่งนี้ผมก็จะเข้าไปที่ธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ เพื่อเปิดบัญชีอีกอันหนึ่ง เป็น Petty Cash และเบิกจ่ายเงินบริจาคจากบัญชีใหม่นี้ทางอินเทอร์เน็ตแทนชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์อุทกภัยจะดีขึ้น การทำอย่างนี้เพิ่มงานเป็นสองเท่าแต่ก็ต้องทำ เพราะเงินบริจาคคือน้ำใจที่มอบให้แก่ผู้ประสบภัย ไม่มีเหตุผลที่จะเอามาถือไว้เฉยๆ มีเงินบริจาคมา ก็ต้องจ่ายออกไปเพื่อผู้ประสบภัย อย่างเหมาะสมและโปร่งใส

อ่านต่อ »


EM น้ำ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 November 2011 เวลา 21:26 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3444

ได้ยินแต่คนขอ EM Ball แต่ไม่ค่อยมีใครคิดทำหัวน้ำเชื้อ EM ขึ้นมา ทีอย่างนี้ละ ไม่รู้จัก viral จะซื้อแหลกเหมือนเดิม

คำว่า EM นั้นมีลิขสิทธิ์ ควรเลี่ยงไปใช้คำว่าน้ำหมักชีวภาพหรือคำอะไรก็แล้วแต่ผู้รู้จะบัญญัติขึ้นมาแทน

EM Ball เป็นการปั้นดินทรายที่ชโลมด้วยหัวน้ำเชื้อ EM จนเข้าเนื้อใน เมื่อโยนลงไปในแหล่งน้ำเสีย จุลินทรีย์ที่อยู่ใน EM Ball ก็จะค่อยๆ ละลายออกมา บำบัดสภาพน้ำเสียให้ทุเลาลงเยอะ แต่ EM Ball มีข้อเสียเหมือนกัน คือดินทรายที่ปั้นเป็นลูก พอละลายแล้ว ก็อาจจะไปขวางทางระบายน้ำ

สำหรับพื้นที่น้ำขังและเน่าเสีย แนะนำให้พิจารณา EM น้ำแทน เมื่อโรย EM น้ำลงไป จุลินทรีย์ทำงานทันที

สูตรและวิธีการทำ EM น้ำอยู่ตรงนี้ ที่จริงแล้วไม่ยาก ใช้น้ำสะอาด ผสมหัวเชื้อในสัดส่วน ผสมน้ำตาลทรายแดงในสัดส่วนที่เป็นครึ่งหนึ่งของกากน้ำตาลในสูตร(ซึ่งหาได้ยากกว่า) หมักไว้ในภาชนะปิดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์

อย่าบ่นเลยว่าทำไมต้องใช้เวลาตั้งหนึ่งสัปดาห์ น้ำเหนือมาครั้งนี้ มีสัญญาณเตือนมาล่วงหน้าเป็นเดือน เรายังไม่ทำอะไร ทำไมรอแค่ 7 วันจะรอไม่ได้!

โรงงานผลิตหัวน้ำเชื้อ EM ซึ่งมีห้องแล็ปควบคุมคุณภาพ คัดเลือกและผสมจุลินทรีย์ในสัดส่วนที่วิจัยแล้วว่าได้ผลดีที่สุด ตั้งอยู่ในจังหวัดอยุธยาซึ่งน้ำท่วมไปแล้ว ดังนั้นหัวน้ำเชื้อคุณภาพ จึงมีหมุนเวียนอยู่ในตลาดไม่มากนัก จำเป็นต้องหมักเพิ่มแทนที่จะรีบใช้ให้หมดนะครับ


ทำไมน้ำท่วมกรุงเทพแค่เข่า จึงวุ่นวายได้ขนาดนี้

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 November 2011 เวลา 18:41 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 6034

ตามข้อมูลของกรมการปกครองเมื่อสิ้นปี 2553 กรุงเทพและปริมณฑล มีประชากร 10.3 ล้านคน และจากรายงานประจำปีของกรมสรรพากร ทางกรมเก็บภาษีเงินได้จากกรุงเทพ (ไม่รวมจังหวัดปริมณฑล) ได้ 49.9% ของภาษีเงินได้ทั้งประเทศ

ผมไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพ แต่เข้าใจกรุงเทพดีพอ ระบบการขนส่งของกรุงเทพนั้น ใช้การขนส่งทางบกเป็นหลักไม่ว่าจะขนคนหรือขนของ เมื่อน้ำท่วม การขนส่งหยุดชะงัก ทำให้มีคนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ชานเมือง ห่างไกลจากที่ทำงาน ที่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเม้นท์หรือคอนโดมิเนียมในเมืองก็มีสภาพติดเกาะ

ภาพประกอบจากเฟสบุ๊คดังนั้นคนกรุงเทพถ้ามีกำลังพอก็จะใช้รถยนต์ ในเมื่อรถยนต์ใช้ไม่ได้จึงลำบาก ยิ่งกว่านั้นกรุงเทพเป็นเมืองที่ไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอ ตลาดใกล้บ้านก็พึ่งพาการขนส่งทางบกเช่นกัน ในเมื่อถนนหนทางถูกน้ำท่วม ขนส่งไม่ได้ ข้าวปลาอาหารจึงขาดแคลน การปล่อยให้กรุงเทพน้ำท่วมจึงเป็นฝันร้ายของผู้บริหาร เพราะการปล่อยให้ประชากรหนึ่งในหกของประเทศที่มีฐานภาษีเงินได้ครึ่งหนึ่งของประเทศเดือดร้อนนั้น เกินกำลังของมนุษย์ปกติที่จะจัดการได้

น้ำเหนือปริมาณมหาศาลหลากมา ยังไงน้ำก็ต้องไหลลงทะเลครับ และจะต้องผ่านกรุงเทพและปริมณฑลแน่นอน จะมาตีโพยตีพายร้องแรกแหกกะเชอไม่มีประโยชน์อะไร ต้องพยายามจำกัดปริมาณน้ำที่ทะลักเข้ามาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล คำว่าทะลักนี้ไม่ได้หมายความว่ากันไม่ให้เข้าเลย แต่ให้ไหลผ่านไปในปริมาณที่ควบคุมเอาไว้ไม่ให้ท่วมถนนหนทาง ไม่ท่วมจนรถวิ่งไม่ได้

การควบคุมก็ต้องซ่อมคันกั้นน้ำที่รั่วอยู่ ป้องกันคลองประปาเพื่อให้เป็นแหล่งจ่ายน้ำสะอาดให้คนหลายล้านคน จริงอยู่ที่น้ำท่วมทีไร ประปาเจ๊งทุกที แต่ประปาของกรุงเทพมีระบบป้องกันที่ดีพอสมควร แม้จะมีคนไม่มีความรู้และเห็นแก่ตัวไปทำลาย (ซึ่งไม่ได้ช่วยให้น้ำที่ท่วมอยู่ลดลงเลย แต่ทำให้คนอีกหลายล้านคนเดือดร้อน)

อ่านต่อ »


ทีละหลังสองหลัง

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 October 2011 เวลา 0:22 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2859

บันทึกนี้เป็นบันทึกที่พันสามร้อยของลานซักล้าง ไม่ใช่โอกาสที่จะฉลองอะไรหรอกนะครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่าเรื่องราวที่เขียนทุกวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่หน่อมแน้มเรื่อยเจื้อยแบบนี้ เขียนไม่ยาก เพียงแต่สังเกตเหตุการณ์รอบตัว พยายามแยกประเด็นออกมาให้ชัดเพื่อให้บันทึกทันสมัยอยู่เสมอ… ส่วนบันทึกอ่านยากก็ไม่เป็นไร มีคนอ่านแล้วได้ประโยชน์ก็พอ ถ้าเขียนแล้วไม่มีใครได้อะไรเลย เสียเวลาเปล่า

หลายวันที่ผ่านมา ได้รับรู้เรื่องราวว่าบ้านเพื่อน บ้านลูกน้องเก่า จมไปทีละหลังสองหลัง ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ที่บ้านยังไม่ท่วม แต่ก็ไม่รู้ว่าจะอีกนานเท่าไร น้ำเหนือยังมีปริมาณมหาศาล เขื่อนทานแรงน้ำอยู่เป็นเดือนแล้วว กลัวใจเลยว่าพอเห็นว่าทนได้ ก็จะไม่เสริมความแข็งแรง และความประมาทนี้จะนำไปสู่ความพินาศ

ผมพาพ่อแม่ออกมาอยู่หัวหิน คนเป็นล้าน แต่ก็อยู่สุขสบายดี ยังมีคนที่เป็นห่วงอยู่ในพื้นที่ประสบภัยและพื้นที่เสี่ยงอีกมาก แต่ทุกอย่างก็ต้องจัดลำดับความสำคัญทั้งนั้นละครับ สิ่งใดติดขัดก็หาทางแก้ไขไปทีละเปลาะ

ถ้าผมยังบริหารอยู่ คงประกาศปิดบริษัทในส่วนที่ไม่จำเป็นไปแล้ว นึกถึงใจเชาใจเรานะครับ ถ้าบ้านพนักงานน้ำท่วม จะเดินทางมาทำงานลำบากมาก มีครอบครัว มีทรัพย์สินที่ต้องดูแล จะถือว่าบริษัทจ่ายเงินเดือนแล้วต้องมาทำงาน ดูจะเป็นความเลือดเย็นเกินไป ส่วนใครจะบอกว่าบริษัทจดทะเบียนต้องโกยกำไรให้ผู้ถือหุ้นให้มากที่สุด ดังนั้นต้องทำงานไปเรื่อยๆ ก็เป็นแนวคิดทุนนิยมแบบไร้วิญญาณ ลืมคิดไปว่าถ้าพนักงานที่ไม่มีกะใจทำงาน ไม่น่าจะได้ผลงานที่ดี

อ่านต่อ »


วงจรน้ำขึ้น-น้ำลง

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 October 2011 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3198

ประมาณการน้ำขึ้นสูงสุดพรุ่งนี้ หลังจากนั้น น้ำทะเลก็จะหนุนน้อย — น้ำขึ้นสูงในวันขึ้นแรม 15 ค่ำ และน้ำลงต่ำสุดในวันขึ้นแรม 8 ค่ำ — แม้เขื่อนยังไม่พัง ก็อย่างเพิ่งดีใจว่าจะรอด

ในช่วงที่น้ำทะเลหนุนน้อยลง เป็นจังหวะของการระบายน้ำ ซึ่งมีเรื่องที่ยังต้องทำอีกเยอะ ก่อนที่น้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน

พื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหลผ่าน ก็จะยังมีน้ำไหลผ่านไปอีกนานครับ ระดับน้ำจะไม่ได้ลดลง น้ำเหนือยังมีปริมาณอีกมากมายที่นังต้องระบายไปลงทะเลครับ

ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ไปพังคันกั้นน้ำที่คลองประปานั้น ทำให้การผลิตน้ำประปาเป็นปัญหาไปทั่วทั้งกรุงเทพ ฉลาดซะทีดีไหมครับ พังคันกั้นน้ำลงไป ก็ไม่ได้ทำให้น้ำที่ท่วมบ้านท่านอยู่ลดลงไป

ถ้าจะให้น้ำลด ต้องไปกู้คันกั้นน้ำที่แตกไปแล้วขึ้นมาใหม่ แล้วระบายเอาน้ำที่ขังอยู่ออกไปจากพื้นที่ ถ้ามีแรงเหลือ กรุณาใช้แรงย่ด้วยครับ

สำหรับคันกั้นน้ำและแนวกระสอบทรายที่ยังทานแรงน้ำอยู่ อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะคันดินและแนวกระสอบทรายต้านทานน้ำมาเป็นเดือนแล้ว ย่อมเปียก เปื่อย มีน้ำซึม ทำให้สูญเสียความแข็งแรง จังหวะที่น้ำลงนี้ เป็นจังหวะที่ต้องเสริมความแข็งแรงของคันดินและแนวกระสอบทราย ไม่ใช่รอลุ้นว่าเมื่อไหร่มันจะพังครับ

อ่านต่อ »


สัญญาณน้ำ

อ่าน: 2438

น้ำท่วมกรุงเทพ ก็เป็นการศึกษาภูมิศาสตร์อีกแบบหนึ่ง คือสื่อสารมวลชนแทบจะอุทิศเนื้อที่ทั้งหมดให้กับข่าวนี้

แต่การศึกษาที่ดีนั้น ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก หรือฟันธงว่าถูกหรือผิด เราโตๆ กันแล้ว ไม่ได้กำลังทำข้อสอบอยู่นะครับ การศึกษาที่นำไปสู่ความรู้นั้นไม่ใช่แค่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่จะต้องเข้าใจความหมายจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อีกด้วย

บันทึกนี้ผมมีบางประเด็นจะเสนอ

  1. เขื่อนต่างๆ ที่แตกแล้ว และได้พิจารณาแล้วว่าน้ำปริมาณมากจะไม่บ่ามาเพิ่มอีก ตัวคันดินและกระสอบทรายจะกักน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำลดช้าและนิ่งจนเน่าเสีย ดังนั้นหากคันดินแตกแล้วจนน้ำด้านนอกและด้านในแนวป้องกันมีระดับที่เท่ากัน จะดีกว่าหรือไม่หากจะรื้อคันดินออก เปิดทางให้น้ำไหลออกได้สะดวก กระสอบทรายที่น้ำล้นข้ามมาแล้ว ควรย้ายไปเสริมหลังแนวกำแพงบริเวณแม่น้ำหรือส่วนที่ยังทานอยู่ดีไหม ในช่วงน้ำท่วมเครื่องมือกลเข้าพื้นที่ไม่ได้ ข้อเท็จจริงก็คือมันก็ไม่ง่ายที่จะรื้อออกหรอกครับ แต่ก็ยังน่าพิจารณาอย่ดี
  2. น้ำที่ไหลข้ามถนน น่าจะเป็นตัวชี้บ่งถึงปริมาณน้ำที่กำลังมาได้ ยกตัวอย่างเช่นระดับน้ำที่ไหลข้ามถนนสายเอเซีย (ขึ้นเหนือผ่านอยุธยา) หรือถนนรังสิต-สระบุรีแถววังน้อย หรือระดับน้ำบนถนนสายอื่นๆ… ไม่น่ายากที่จะทำไม้วัดระดับน้ำสักอัน ปักไว้กับดิน ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้เทียบกับระดับน้ำทะเลานกลาง เช่นบนนถนนหนึ่ง วันนี้ระดับ +10 ซม. ถ้าพรุ่งนี้เหลือ +5 ซม. ก็แปลว่าน้ำมาลดลงแล้ว ข้อมูลที่ไม่เป็นวิชาการอย่างนี้ ใครก็ทำได้ ไม่มีต้นทุน แต่ส่งสัญญาณสำคัญเพื่อให้การจัดการปั๊มน้ำ วางแผนได้ดียิ่งขึ้น… ถ้าน้ำไม่ข้ามถนนจากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาทาง อ.วังน้อย (โรงไฟฟ้าวังน้อยของ กฟผ.) หรือ อ.คลองหลวง (หน้าธรรมศาสตร์รังสิต) ก็แปลว่าแรงกดดันต่อคันดินและกำแพงกระสอบทรายต่อคลองรังสิต จะลดลงมหาศาล
  3. ควรจะมีการจัดตั้งเครือข่ายเตือนภัยในภาคประชาชน หากระดับน้ำสูงขึ้นผิดปกติ ผู้ที่อยู่เหนือน้ำ สามารถแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำไปยังผู้ที่อยู่ใต้น้ำได้ ให้ระวังคันดิน/กระสอบทรายที่มีอยู่ อาจจะต้องเสริมความสูงหรือความแข็งแรง เพื่อที่ว่าผู้ที่อยู่ทางใต้น้ำ จะได้มีโอกาสสูงขึ้น วิธีที่ดีที่สุดคือถ่ายรูปแล้วทวิตบอกครับ ติดแท็ก #thaiflood ด้วยเสมอ ส่วนจะติด tag อื่นด้วย ก็ติดไปตามสบายครับ
  4. น้ำทะเลหนุนสูงสุดวันที่ 30 นี้ จากนั้นก็จะค่อยๆลดลง แต่จะหนุนสูงสุดอีกครั้งหนึ่งประมาณกลางเดือนหน้า ดังนั้นจะทำอะไรก็รีบทำซะครับ น้ำเหนือยังมีอีกมาก ไม่ใช่ว่าผ่านรอบนี้ไปแล้วจะจบ
  5. ถ้ายังไม่ได้อ่านบันทึกที่แล้ว ลองไปอ่านดูนะครับ อ่านทุกลิงก์ในบันทึก สอนวิธีทำอีเอ็มเพื่อใช้บำบัดกลิ่นน้ำเน่า จะต้องใช้เวลาหมักน้ำอีเอ็ม 7 วัน ดังนั้นยิ่งเริ่มเร็วก็ยิ่งดี ใช้ขวดพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท (ขวดน้ำหรือขวดน้ำอัดลม) ใช้น้ำตาลทรายแดง ใช้น้ำที่ท่วมอยู่นั่นแหละ และหัวเชิ้ออีเอ็มที่ราคาไม่แพง ผสมในสัดส่วนที่ถูกต้อง ตั้งทิ้งไว้ในร่ม 7 วัน — หัวเชื้อ 1 ลิตร หมัก 7 วันได้ 100 ลิตร ถ้าเอาอีเอ็ม 100 ลิตรนี้ไปหมักต่อ อีก 7 วันกลายเป็นหมื่นลิตร แล้วถ้ายังทนเหม็นได้ไม่ยอมเอาไปใช้ ก็หมักต่อ อีก 7 วันกลายเป็นล้านลิตร


ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 October 2011 เวลา 20:23 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2677

วันนี้เน็ตแน่นมาก มีคนเพิ่งจะอพยพมาสมทบอีกเยอะแยะ คงไม่เขียนอะไรยาวยืดนะครับเพราะค้นข้อมูลไม่สะดวก

มานั่งคิดดู รู้สึกขำมาก ตอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ตอนนั้นทุกคนดูจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์กันหมด ตอนนี้น้ำท่วม ผู้อพยพใหม่ ดูจะเป็นผู้รู้กันซะเหลือเกิน อิอิ… ถ้าป้ารู้จริงทำไมเพิ่งมา

วันนี้ผมก็นั่งรอเน็ตเรื่อยเปื่อย มีผู้อพยพใหม่เดินทางมา โบ้งเบ๊งเสียงลั่นว่าหาน้ำดื่มไม่ได้… โธ่ น้ำประปาดื่มไม่เป็นหรือยังไง

คนเมืองนึกว่าตัวเจ๋ง แต่อพยพมาจะมาหาสิ่งของจำเป็นเอาเบื้องหน้า ไม่รู้หรอกครับว่านี่เป็นสถานการณ์ที่เงินซื้อของที่ต้องการไม่ได้ (เรื่องเก่า เคยบ่นแล้ว) แค่รู้ตัวว่าไม่รู้อะไร ก็ฉลาดมากแล้ว ฮาๆๆๆ

คิดว่าสิ่งที่ส่งเข้าไปช่วยกรุงเทพได้ดีที่สุด คือน้ำดื่มครับ เคยบ่นแล้วเหมือนกันว่าประหลาดที่สุดที่คิดขนน้ำดื่มไปครึ่งประเทศเพื่อช่วยผู้ประสบภัย อันนี้ไม่ใช่ว่าน้ำดื่มไม่จำเป็น แต่ขนจากพื้นที่ใกล้เคียงได้ดีกว่าขอจากกรุงเทพ

ควรหาโรงงานผ้าใบตัดเย็บถุงขนาดใหญ่ บรรจุน้ำดื่มบรรทุกสิบล้อจากจังหวัดใกล้เคียง คันละ 15 คิว (ถุง 5 คิวสามถุง) นำไปกระจายในพื้นที่ที่คนยังออกมาไม่ หมด ให้คนละไม่เกิน 10 ลิตร/รอบ (15 คิว แจกได้ 1,500 คน ต่อสิบล้อหนึ่งคัน) ต้องยอมให้มีการเวียนเทียนบ้าง ดีกว่าให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เด็ก ออกมารับของด้วยตัวเองซึ่งอันตราย

อ่านต่อ »


ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 October 2011 เวลา 0:54 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3476

เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น โดยนิยามภัยพิบัติเกินกำลังการจัดการของท้องถิ่น และจะต้องมีความช่วยเหลือจากภายนอกส่งเข้าไปช่วย

เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นทั่วประเทศ กรุงเทพและปริมณฑลเป็นฐานกำลังสำคัญในการส่งความช่วยเหลือออกไปยังพื้นที่ประสบภัย แม้กระทั่งส่งน้ำดื่มซึ่งทั้งหนักและกินปริมาตรบรรทุกมากไปครึ่งประเทศก็ยังทำกัน อันนี้เป็นเรื่องที่สมควรอยู่แล้วเนื่องจากกรุงเทพมีกำลังมากทั้งทางเศรษฐกิจและคน ยังไม่รวมการจัดการแบบรวมศูนย์จากส่วนกลางอีก

แต่เมื่อกรุงเทพและปริมณฑลประสบภัย ความช่วยเหลือจากต่างจังหวัดนั้นจะยากลำบาก (ไม่ได้บ่น) เพราะว่าประชากรของกรุงเทพและปริมณฑลนั้นมีมากมายเหลือเกิน ทั้งที่อยู่ในทะเบียนและไม่อยู่ อีกทั้งกำลังที่ส่งเข้ามาช่วยนั้นกระจัดกระจายแตกกระสานซ่านเซ็น ไม่สามารถรวมพลังกันได้

ดังนั้นคนกรุงเทพและปริมณฑลตามทะเบียนบ้าน ประมาณ 10.3 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด จึงควรยอมรับความจริงว่าต้องช่วยตัวเองก่อนรอให้ใครมาช่วย

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีหลายลักษณะ แต่โดยหลักการจัดการภัยพิบัติแล้ว ไม่ควรจะตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภัยซ้ำซ้อน ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อทุกคนในศูนย์ เตี้ยอุ้มค่อมไม่เวิร์คแน่ ถ้าไม่ติดการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ ก็คงเข้าใจนะครับว่าศูนย์กลางความช่วยเหลือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัยนั้น ส่งอะไรเข้าไปช่วยไม่ได้ เอาอะไรออกมาช่วยคนก็ไม่ได้เหมือนกัน — อาจจะมีจุดกระจายความช่วยเหลือตั้งอยู่ใน- หรือใกล้กับพื้นที่ประสบภัยได้ หากการคมนาคมขนส่งและการติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างสะดวก

อ่านต่อ »



Main: 0.21456503868103 sec
Sidebar: 0.40864896774292 sec