ผ่าฟืนโดยใช้ยางรถยนต์

อ่าน: 3428

ไม่ได้เอายางรถยนต์ไปผ่าฟืนหรอกครับ

แต่ในการผ่าฟืนที่ใช้ขวานผ่านั้น ฟืนมักจะกระเด็นออกทั้งสองด้าน… จะเป็นหนุ่มแน่น หรือ ส.ว.ผ่า ถ้าหากผ่าแล้วจะต้องเดินไปเก็บฟืนที่กระเด็นไปทุกครั้ง หลังคงแย่ แล้วจะเสียเวลามาก

แทนที่จะผ่าแบบโครมคราม หรือนั่งผ่าแบบแรงน้อยค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม เราก็เอาฟืนไปใส่ไว้ในยางรถยนต์เก่า แล้วก็เอาขวานสับสุดแรงเลย เศษฟืนจะไม่กระเด็นไปไหน เพราะว่ายางกันอยู่ครับ


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (9)

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 January 2012 เวลา 15:07 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5029

วิดีโอคลิปอันนี้ คล้ายกับการทดลองที่สวนป่าครับ เป็นเตาเผาถ่าน biochar อย่างง่าย ซึ่งสร้างได้เอง

อ่านต่อ »


สร้างดินคุณภาพดีโดยเลียนแบบธรรมชาติ

อ่าน: 3919

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าดินจากก้นคลองมีคุณภาพดี ปลูกอะไรก็งาม แต่เราเคยถามตัวเองหรือเปล่าว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

วิดีโอคลิปข้างล่าง อธิบายไว้อย่างน่าสนใจครับ

อ่านต่อ »


ปั๊มลม

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 January 2012 เวลา 10:34 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3858

เรื่องปั๊มลมนี้ คาอยู่ในใจมานานแล้วครับ

ปั๊มลมที่สร้างแรงดัน สามารถจะปล่อยอากาศลงไปในท่อ ทำให้ท่อ/สายยางยกน้ำข้ามคันได้ เป็นการระบายน้ำขัง/น้ำค้างทุุ่งได้ดี จะระบายน้ำออกได้เร็วแค่ไหน ขึ้นกับปริมาตรอากาศที่ปล่อยออกไป [ปั๊มน้ำที่ใช้อากาศ]

บันทึกนี้ เอาวิธีสร้างกระบอกลูกสูบที่ทำด้วยไม้มาให้ดู การทดลองของเค้ากลับกับที่เราต้องการ กล่าวคือเค้าเอาลมจากเครื่องดูดฝุ่นมาเป่าลูกสูบเพื่อให้เกิดการหมุนเพลา แต่เราจะเอากำลังกลหมุนเพลาเพื่อให้ลูกสูบเคลื่อนที่แล้วปั๊มลมออกมา

อ่านต่อ »


ฟืนเทียม

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 January 2012 เวลา 6:11 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3036

พอไม่เขียนบันทึกทุกวัน ก็มีถามถึง

จากการที่ทดลองสร้างเตาเผาถ่าน biochar แบบง่ายๆ ที่สวนป่า โดยประสบความสำเร็จอย่างน่าชื่นชมตัวเอง ได้ความร้อนสูงโดยใช้ไม้เชื้อเพลิงน้อย [ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.] ก็เกิดคำถามตามมาว่าความร้อนเหล่านี้ จะเอาไปทำอะไรดี

ถ้าจะให้ดี ควรใช้ Cogeneration (CHP) หรือ กระบวนการแปลง syngas เป็นสารคล้ายน้ำมัน (Fischer-Tropsch process) แต่รู้สึกว่าจะไปกันใหญ่ ช่างมันก่อน เก็บเรื่องนี้ไว้แล้วหันมาดูเรื่องเชื้อเพลิงดีกว่าครับ

การใช้กิ่งไม้แห้งซึ่งไม่มีค่ามาเป็นเชื้อเพลิงนั้นก็ดีอยู่ กิ่งไม้เล็กๆ ไม่ต้องตัดต้นไม้ แค่เก็บเอากิ่งที่หักจากลม หรือหักตามอายุก็พอแล้ว หรือไม่ก็ตัดแต่งกิ่งซึ่งยิ่งตัดก็ยิ่งแตก สร้างร่มเงาให้กับดินทำให้ดินไม่เสื่อมสภาพเร็วนัก

แต่ถ้าไปเก็บกิ่งไม้เอาตอนที่จะจุดไฟ มักไม่ทันการแล้ว หมายความว่ากิ่งไม้ต้องเก็บไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งก็มีปัญหาการเก็บอีก เพราะกิ่งไม้เล็กมักจะหงิกงอไม่เป็นระเบียบ ถ้ามีผงถ่านหรือเผาถ่านแล้วแตกหักเสียหาย เราสามารถเอาถ่านมาอัดใหม่เป็นก้อนได้ (เรียกว่า charcoal briquette) จะเป็นเบ้าเหล็กกระทุ้งให้ถ่านเข้าไปอัดกันก็ได้ หรือว่าจะใช้เครื่องอัดก็ได้ มักรวมเศษถ่านเป็นถ่านก้อนใหญ่ออกมา

แต่ยังมี briquette อีกแบบหนึ่งซึ่งนำเยื่อไม้มาอัด โดยไม่ต้องเผาถ่าน เปลือกไม้และเนื้อไม้เป็นเซลลูโลสทั้งนั้น เมื่อนำมาทุบแล้วเอาไปแช่น้ำ ก็จะมีลักษณะยุ่ย จากนั้นจึงนำไปอัดรวมกันครับ

อ่านต่อ »


ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.

อ่าน: 4200

ระหว่างวันที่ 6-8 ที่ผ่านมา ผมชวนทีมบริหาร thaiflood (เว็บไซต์) และทีมบริหารกลุ่มอาสาดุสิตประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม (เว็บไซต์) ไปถ่ายทำความรู้เกี่ยวกับชีวิตที่สวนป่า ยกทีมกันไปสิบสองคน

ความจริงทีมนี้เป็นทีมบริหารโครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ ซึ่งทำงานทั้งป้องกัน เฝ้าระวัง รับมือและบรรเทา ตลอดจนฟื้นฟูเหตุจากสถานการณ์ภัยพิบัติ (2P2R)

กิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ ที่เราเห็นกันโดยทั่วไป มักเป็นการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน แต่โครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ เป็นการรวมรวมความรู้ประสบการณ์และทำงานเพื่อช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถรับมือและผ่านภาวะวิกฤตได้ดีกว่านั่งรอความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างเดียว

พอไปถึง ก็ชวนไปดูต้นเอกมหาชัยก่อนเลย เอกมหาชัยเป็นไม้พันธุ์มะกอก เมล็ดให้น้ำมันคุณภาพดี (แบบเดียวกับน้ำมันมะกอก ซึ่งใช้แทนน้ำมันพืช และใส่เครื่องยนต์ดีเซลได้) แต่จุดสำคัญคือต้นเอกมหาชัยมีระบบรากที่แข็งแรงมาก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ฝนตกหนัก เติบโตได้ดีในพื้นที่ลาดเอียง ดังนั้นหากปลูกต้นเอกมหาชัยไว้ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อดินถล่ม ก็น่าจะลดความเสี่ยงของดินถล่มได้ และอาจใช้ได้ทั้งภาคใต้และภาคเหนือ ทางสวนป่ากำลังเร่งขยายพันธุ์อยู่

อ่านต่อ »


เตรียมตัวไปสวนป่า

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 December 2011 เวลา 20:01 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 2845

วันที่ 6-8 มกราคมนี้ ผมจะพาเพื่อนไปสวนป่า ไปหาครูบาเพื่อถ่ายชุดความรู้เกี่ยวกับชีวิต ซึ่งจะทำการเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป

แต่ไม่เท่านั้นหรอกครับ ที่จริงแล้วเป็นโอกาสอันดีของคณะที่ไป ที่จะได้เรียนรู้สิ่งที่แตกต่างออกไปจากชีวิตประจำวัน มี (iwhale+เรือพ่วง) (น้องปูอาสาดุสิต+คุณแม่) (น้องบีอาสาดุสิต+เรือพ่วงอีกสาม) ที่เหลือพวกหนุ่มๆ มีให้อีกสองห้องครับ อาราธนา’จานปูผู้อพยพพันธุ์ก๊ากไปนอนกับแม่หวี

นอกจากผลิตชุดความรู้แล้ว ก็ต้องใช้เวลาที่อยู่ที่สวนป่าให้คุ้มค่า เลยคิดกันว่าจะทดลองขึ้นโครงสร้าง star dome ดูเล่นสักหลัง น่าจะใช้เวลาสัก 3 ชั่วโมง ยังไม่ต้องทำผนังก็ได้ star dome เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ใช้ซีกไม้ไผ่ 17 ท่อน มางอให้เป็นรูปครึ่งวงกลม แล้วขัดกันไว้ ก็จะได้โครงสร้างรูปครึ่งทรงกลมที่มีความแข็งแรง ทนพายุ ทนฝนหนัก มีอากาศถ่ายเทดี

แต่ว่าเผอิญผมเป็นพวกนอกตำรา ถ้าใช้ไม้ไผ่ทำ สวนป่ามีไม้ไผ่เยอะแยะครับ ทิ้งวิธีคำนวณไว้ เอามาสร้างค้างให้ถั่วหรือน้ำเต้าไต่ก็ได้ จะทำเป็นโรงเพาะเห็ดเพาะถั่วงอกก็ได้ จะเป็นที่ศาลากลางป่าก็ได้ หรือว่าเป็นที่พักให้กางเต้นท์ในโดมก็ได้ ผมคิดจะขึ้นโครงของ star dome ด้วยสายยางอากาศของตู้ปลา เสี่ยงเหมือนกันนะครับเนี่ย เพราะว่าสายยางมันอ่อนมาก แต่ว่าถ้ามัดจุดเชื่อมต่อให้แน่น เผลอๆ ก็น่าจะขึ้นรูปได้ แล้วเราก็ทิ้งเอาไว้ ดูสิว่าจะพังหรือไม่

แต่ว่าช่วงสิ้นปี ร้านค้าก็ปิดกันเป็นส่วนใหญ่ วันนี้ออกไปหาซื้อของ ยังได้ไม่ครบครับ ก็ดีไปอย่างคือต้องแสวงเครื่องเอาซึ่งสนุกดี

ถ้าสายยางอ่อนเกินไป ผมคิดจะสอดลวด(ราวตากผ้า)เข้าไปให้มันแข็งขึ้น

สัปดาห์หน้าก็รู้เรื่อง ชิมิ


หลังคาโค้งระบายอากาศ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 December 2011 เวลา 1:40 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3938

Buckminster Fuller (1895-1983) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์ geodesic dome อันดังเปรี้ยงปร้าง

เขาได้รับสิทธิบัตร 25 ชิ้น และเมื่อ geodesic dome เกิดเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าความร้อนภายในโดม ไม่ว่าจะมากน้อยแค่ไหน ก็จะลอยขึ้นสูง ไปรวมกันที่ยอดโดม (ฟูลเลอร์เรียกว่า “dome effect”) ทีนี้หากเปิดเป็นช่องระบายอากาศที่ยอดโดม อากาศร้อนลอยออกไป อากาศเย็นก็จะไหลเข้ามาตามช่องเปิดต่างๆ แทนที่อากาศร้อนที่ลอยออกไปแล้ว เป็นเหมือนการบังคับให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ โดยไม่ต้องใช้พลังงานอื่นนอกจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ในช่วงสงครามโลก กองทัพบกสหรัฐจ้างฟูลเลอร์ให้ออกแบบที่พักทหารสำหรับเขตอากาศร้อนทารุณ (ของอ่าวเปอร์เซีย) ซึ่งการออกแบบนี้ ใช้ “dome effect” โดยปักเสาต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง จากนั้นใช้สลิงจากยอดเสา ยึดโครงสร้างน้ำหนักเบาเอาไว้ ดูไปดูมาก็คล้ายๆ กับร่มเหมือนกัน แต่เรียกว่า Dymaxion house

อ่านต่อ »


กาลักน้ำ รดน้ำต้นไม้

อ่าน: 4938

ในการรดน้ำต้นไม้นั้น มีน้ำที่สูญเสียไปเยอะครับ

ต้นไม้ไม่ได้ดื่มน้ำเหมือนคน แต่ต้นไม้ใช้ความชื้นในดินทำให้ดินอ่อนเพื่อที่รากจะโตได้ และใช้น้ำในการดูดซึมอาหาร เวลาเรารดน้ำต้นไม้ เราก็เพียงแต่ต้องการทำให้ดินชุ่มชื้นเท่านั้น และไม่ได้ต้องการให้ดินที่ผิวหน้าเท่านั้นที่ชุ่มชื้น แต่ต้องการให้ดินที่ระดับของรากชุ่มชื้น [ให้น้ำที่ปลายราก]

โดยปกติ เราก็เอาสายยางรดดินจนชุ่ม (หวังว่าน้ำจะซึมผ่านดินชั้นบนลงไปหาราก) แม้ว่าจะเพิ่งผ่านเหตุการณ์มหาอุทกภัยมาก็ตาม น้ำก็เป็นทรัพยากรที่มีค่าอยู่ดี จึงมีคำถามว่าทำไมเราต้องสิ้นเปลืองน้ำรดต้นไม้มากมายขนาดนั้น

ผมมาคิดถึงเรื่อง [กาลักน้ำ] แล้ว คิดว่าน่าจะมีทางที่ให้น้ำในระดับของปลายรากและไม่ใช้พลังงาน โดยทำรางน้ำเอาไว้ตามแนวปลูกพืช ปล่อยน้ำเข้าไปในรางแบบเดียวกับคลองส่งน้ำ จากนั้นก็เอาเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว (ปอ ป่าน หรืออะไรที่อุ้มน้ำก็ได้) ผูกกับหินก้อนเล็กๆโดยทิ้งปลายออกสองด้านให้ยาว เอาหินวางไว้ในราง ส่วนปลายของเศษผ้านั้น ฝังเอาไว้ในดินครับ

ถ้ายกรางนี้ไว้เหนือดินสักคืบเดียว ผ้าที่ผูกกับหินซึ่งวางเอาไว้ในราง ก็จะพาน้ำปีนพ้นจากรางน้ำได้ และเมื่อน้ำพ้นขอบของรางน้ำมาแล้ว ก็จะไหลลงที่ต่ำตามธรรมชาติ โดยไหลไปตามเส้นใยผ้าซึ่งมีแรงต้นทานต่ำ เราก็เพียงแต่เอาปลายผ้าฝังลงไปในดิน ก็จะเป็นวิธีที่ทำให้ดินชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องใช้สายยาง ไม่ต้องใช้แรงดันน้ำ ไม่ต้องใช้พลังงาน

อ่านต่อ »


ปุ๋ยชีวภาพ

อ่าน: 2674

สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสปอนเซอร์การผลิตวิดีทัศน์การศึกษาอันนี้

เป็นวิธีการทำน้ำหมักอีเอ็มครับ ใช้รดต้นไม้ ให้จุลินทรีย์ปรับปรุงดิน เพื่อที่รากต้นไม้จะได้ทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

อ่านต่อ »



Main: 0.084572076797485 sec
Sidebar: 0.25565505027771 sec