วิธีก่อสร้างและความแข็งแรงของโดม

อ่าน: 2989

โครงสร้างรูปโดมมีความแข็งแรง ทนต่อน้ำหนักของตัวเอง ทนต่อแรงที่กระทำจากภายนอก และทนต่อแรงสั่นสะเทือน จึงสามารถทนต่อแรงพายุและแผ่นดินไหวได้ดี

โดมที่สร้างอยู่ชายทะเล สามารถทนต่อพายุเฮอริเคนได้ในขณะที่บ้านเรือนลักษณะอื่นๆ พังไปหมด ดังนั้น FEMA จึงออกประกาศเป็นความรู้ให้ผู้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเสี่ยงต่อพายุได้ทราบทั่วกัน การที่โดมสามารถทนต่อแรงพายุและแผ่นดินไหวได้ ก็เนื่องจากผิวโค้งของโดม กระจายแรงออกไปทั่วผิวพื้น และเนื่องจากการใช้ผิวโค้งนี้เอง ทำให้การก่อสร้างโดมทำได้ไม่ง่ายนัก

อ่านต่อ »


เครื่องยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมัน

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 December 2011 เวลา 16:29 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3016

เวลาน้ำท่วม น้ำมันและแกสในพื้นที่ก็ไม่มีขายครับ ดังนั้นจึงเป็นง่อยกันหมด อาหารและน้ำสะอาดก็ต้องขนมาจากที่อื่น ในเมื่อผู้ประสบภัยออกไปไหนไม่ได้ ก็ต้องรอความช่วยเหลืออย่างเดียว ซึ่งจะมาหรือไม่มาก็กะเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย เรื่องพวกนี้เตรียมการได้ครับ

คลิปนี้เป็นตัวอย่าง ซึ่งผู้มีความรู้ก็รู้อยู่แล้วว่าเมื่อเอาก๊าซเชื้อเพลิงใส่เข้าไปในเครื่องยนต์เบนซิน เครื่องยนต์ก็ทำงานได้ เพียงแต่ว่าต้องปรับองศาการจุดระเบิดก่อน แต่เรื่องพวกนี้เตรียมการล่วงหน้าได้ครับ

อ่านต่อ »


บ้านดินโครงไม้ไผ่

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 December 2011 เวลา 14:47 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6224

บ้านดินมีข้อจำกัดที่น้ำหนักของตนเองครับ จึงเอามาทำโครงสร้างใหญ่โตโดยไม่เสริมความแข็งแรงของตัวเองไม่ได้

มีงานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย ใช้เวลาสร้าง 6 เดือนครับ มีคลิปยาว 1:49 นาทีมาให้ดู วัสดุก่อสร้าง หาเอาในท้องถิ่นทั้งหมด ที่จริงดูเหมือนบ้านไม้ไผ่ผนังดินมากกว่าครับ (ที่จริงเป็นโครงไม้ไผ่มุงแฝกนะครับ)

สร้างเป็นศาลาการเปรียญ ศาลาประชาคม หรือศูนย์อบรมก็ไม่เลวนะครับ


ใกล้ไกลกระทบถึงกันหมด

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 17 December 2011 เวลา 13:00 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 2624

เมื่อเร็วๆ นี้ หอดูดาวขนาดใหญ่มากของสหภาพยุโรปที่ตั้งอยู่ในชิลี ได้ศึกษาหลุมดำขนาดใหญ่ที่มีมวลประมาณสี่ล้านเท่าของดวงอาทิตย์และอยู่ที่ใจกลางกาแลกซีทางช้างเผือก(ของเรา) พบว่ามีหมอกก๊าซไฮโดรเจนที่มีมวลขนาดสี่เท่าของโลก กำลังเคลื่อนเข้าไปใกล้สู่หลุมดำมากด้วยความเร็วซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าแล้วในเวลาเจ็ดปีที่ผ่านมา อาการอย่างนี้กลุ่มก๊าซนี้ คงจะเหวี่ยงตัวเองอ้อมหลังหลุมดำโดยมีบางส่วนถูกดูดเข้าไป

อ่านต่อ »


เตามือถือ

อ่าน: 3275

เมื่อไรที่อากาศหนาว ก็ต้องมาเขียนเรื่องเตาทุกที

ที่เขียนเรื่องนี้ซ้ำซาก เพราะเหตุสองอย่างครับ (1) การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดควัน ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับผู้ที่ไปนั่งผิงไฟ และ (2) ถ้าไม่ทำอะไรเลย ชาวบ้านก็ไปตัดฟืนมาก่อกองไฟ ต้นไม้ใช้เวลาเป็นสิบปี แต่พอตัดเอาเป็นฟืนมาเผา ไม่ถึงชั่วโมงก็มอดหมดแล้ว

เราจะไปบอกชาวบ้านว่าอย่าตัดต้นไม้มาก่อกองไฟโดยไม่มีวิธีแก้หนาวให้นั้น พูดกันไม่รู้เรื่องแน่ เพราะเวลาอยู่กันตามชนบท ไม่เหมือนอยู่ในห้องปรับอากาศตามเมืองต่างๆ

ผมเอาคลิปของเตาที่พัฒนาแล้วมาให้ดูก่อนก็แล้วกันครับ

อ่านต่อ »


ถนนที่น้ำซึมผ่านได้

อ่าน: 3647

เมื่อฝนตกหนักในพื้นที่เมืองซึ่งเต็มไปด้วยคอนกรีต น้ำไม่มีทางอื่น นอกจากไหลไปตามท่อระบายน้ำ แต่เมื่อน้ำไหลมาตามท่อจากทุกทิศทุกทาง ระบบท่อระบายน้ำอาจรับไม่ไหว ทำให้น้ำเอ่อขึ้นท่วมผิวการจราจร เป็นปัญหาหนักสำหรับเมือง

ในกรณีเช่นนี้ จะดีกว่าหรือไม่หากที่จอดรถคอนกรีตหรือยางมะตอย จะเปลี่ยนเป็นพื้นที่รับน้ำหนักได้สูง แต่น้ำซึมผ่านลงสู่ดินเบื้องล่างได้

วันนี้มีมาเสนอสองไอเดียครับ แบบแรกเว้นช่องในคอนกรีตไว้ปลูกหญ้า ช่องว่างนี้ทำให้น้ำซึมลงดินได้ สร้างโดยใช้พลาสติก(รีไซเคิล)บางวางเป็นแบบ วางเหล็กรีบาร์ในช่องว่าง เทคอนกรีตทับ (ประหยัดคอนกรีตได้ 25-50%) เมื่อคอนกรีตแห้งแล้ว ก็เอาไฟพ่นไปบนพลาสติก ทำให้พลาสติกละลายออกไป จากนั้นจึงเอาดินหรือทรายเกลี่ยใส่ช่องว่าง แล้วก็ปลูกหญ้า

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (8)

อ่าน: 5017

วันนี้เอาเตาเผาถ่าน Biochar ในลักษณะของถังกลมมาให้ดูอีกสามแบบครับ

แต่หลักการยังคงเดิม คือเผาให้ความร้อนแก่ไม้ (หรือ biomass) จะเกิด gasification แล้วเอาก๊าซนั้นมาเผาให้ความร้อน วิธีการนี้ จึงประหยัดเชื้อเพลิงในการเผาถ่านมาก แถมได้ถ่าน Biochar เอาไปปรับปรุงดินด้วย

อ่านต่อ »


กลับสู่ความคุ้นเคยเก่าๆ

อ่าน: 3237

หลังจากที่พาพ่อแม่อพยพไปอยู่หัวหินเสีย 44 คืน วันนี้ก็อพยพกลับบ้านแล้วครับ

ที่ต้องอพยพไปก็เพราะพ่อแม่ผมอายุมากแล้ว สองท่านอายุรวมกัน 155 ปีแล้วครับ ดังนั้นจึงไม่ควรเอา สว.มาเสี่ยงกับน้ำท่วมด้วย จริงอยู่ แม้ว่าที่บ้านจะไม่ท่วม แต่ก็ต้องเผชิญกับความขาดแคลนและความไม่สะดวกทั้งปวง ไปหัวหินคราวนี้ ที่จริงพ่อแม่ยังไม่อยากกลับ แต่เผอิญผมมีงานในวันที่ 8 ธค. แล้วไม่อยากให้พ่อกับแม่อยู่กันตามลำพัง เลยพากันกลับบ้านก่อนดีกว่า ถ้าจะกลับไปอีกค่อยหาเวลาเหมาะๆ อีกที

นอกจากแผลที่ได้มากจากหัวหินแล้ว การไปอยู่หัวหินก็ยังเขียนบันทึกอยู่สม่ำเสมอ (เขียนเป็นวรรคเป็นเวร และอ่านยาก) เหมือนเดิม ผมเขียนเพราะรู้สึกว่ามีประเด็นที่ควรจะเขียน หัวหินมี 3G เมื่อกลับมาบ้านแล้วจึงพบว่าที่บ้านก็มี 3G แล้วเหมือนกัน (ก่อนไปยังไม่มี) แต่ถึงหัวหินจะมี 3G มี Wifi ก็ยังไม่จุใจเหมือนใช้เน็ตที่บ้านหรอกครับ

เรื่องสำคัญคือได้ไฟเขียวอ่อนๆ ว่าไปอยู่สวนป่าและทำอย่างที่อยากจะทำได้ แผนเดิมของสวนป่าคือหมู่บ้านเฮ ซึ่งยังไม่ได้เรียนปรึกษาครูบาอย่างเป็นกิจลักษณะ แต่ก็เข้าใจว่ารู้กันอยู่ในที ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมก็พยายามชี้ความเสี่ยงต่อการดำรงชีวิตเท่าที่นึกออก [ความมั่นคงสามแนวทาง] ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ แต่หลังจากเกิดอุทกภัยใหญ่ในปีนี้ ผมคิดว่ามีเงื่อนไขของความไม่ปกติเกิดขึ้นมาก จนคิดว่าไม่ควรปล่อยเวลาให้เนิ่นนาน ควรหาสถานที่ที่ดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืนอย่างจริงจังได้แล้ว พ่อแม่อายุมากแล้ว ไม่อยากให้ไปลำบากในบั้นปลายของชีวิต แต่บรรดาผู้ที่ยังพอมีกำลังวังชาอยู่และตั้งใจจะฟื้นฟูบ้านเมือง ก็ควรจะดำรงชีวิตต่อไปได้

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (7)

อ่าน: 3743

บ่ายนี้มีโทรศัพท์มาแสดงความเห็นว่า บันทึกชุด ผลิต Biochar อย่างจริงจัง น่าจะมีนัยอะไรบางอย่าง

มีครับ ผมไม่ใช่คนมีลับลมคมนัยอะไรหรอก แต่มักไม่บอกอะไรตรงๆ เหมือนเขียนตำรา ถ้าไม่ได้เอาไปพิจารณา ก็คงไม่ได้อะไรไป ถึงแม้คิดไปผิดทาง ก็ยังได้คิด ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ เหมือนถูกจูงจมูก แต่หากคิดได้ดีกว่าผม ก็ดีเลย ผมจะได้เรียนไปด้วย

ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่ม “พัฒนาประเทศ” ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างมโหฬาร เละกันไปทั่วทุกหัวระแหง ตั้งแต่การศึกษา อุตสาหกรรม​ … ไปยันความเป็นมนุษย์

ทางด้านการเกษตร นอกจากเปลี่ยนไปเป็นพืชเชิงเดี่ยวซึ่งทำลายความหลากหลายของพืชพันธุ์แล้ว ยังมีการเร่งผลผลิตด้วยปุ๋ยเคมีอีก ปุ๋ยนี้มีการกำหนดสูตรว่าจะต้องอยู่ในสัดส่วนของธาตุอาหารสำคัญของพืชสามอย่างคือ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และ โปแตสเซียม(K) ธาตุอาหารของพืชนั้นมีมากกว่าสามชนิดนี้ แล้วยังมี ค่า pH ความร่วนซุยของดิน ความชื้นในดิน และจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งต่างทำหน้าที่สอดประสานกับรากพืช ลำเลียงธาตุอาการผ่านระบบรากไปสร้างเป็นความเจริญเติบโตให้แก่ต้นไม้

แต่การใช้ปุ๋ยเคมี (และยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า) มาเป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้ดินเสื่อมสภาพ ดินชั้นบนแข็ง แล้วเพื่อเร่งผลผลิต เราก็ถางแหลก ต้นไม้ใหญ่หายไปหมด เมื่อร่มเงาหายไป ดินก็ถูกแดดเผาโดยตรง ยิ่งไปเร่งอาการดินแข็งดินแตก เลนและบ่อปลักกลายเป็นดินดาน ยิ่งทำให้ความชื้นในดินต่ำ

เมื่อดินแข็ง น้ำซึมจึงผ่านได้ยาก ทำให้ความชุ่มชื้นในดินต่ำ รากพืชที่อยู่ต่ำลงไป ก็ไชไปหาอาหารได้ลำบากขึ้น นำอาหารไปเลี้ยงลำต้นได้ลำบาก

น้ำท่วมใหญ่คราวนี้ มีฝนตกลงมามาก แต่ที่เราไม่ค่อยฉุกใจคิดกันก็คือฝนที่ตกลงมา ซึมลงไปในดินได้น้อย เพราะดินเราแข็ง ฝนตกลงมาเจอดินแข็ง แทนที่จะซึมลงไปข้างล่างเป็นต้นน้ำลำธาร ก็ไหลไปทางข้างๆ บ่าลงมา หลายหุบ หลายแก่ง รวมกันเป็นน้ำป่าทะฃักเข้าท่วมบ้านเรือนไร่นา

ยิ่งกว่านั้นยังมีพื้นที่เป็นจำนวนมากที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานานหลายเดือน จริงอยู่ที่ดินผิวหน้าอิ่มน้ำ ทำให้น้ำซึมลงไปข้างล่างได้ลำบาก แต่ก็น่าคิดเช่นกันว่าทำไมชั้นดินที่อิ่มน้ำ (½~1 เมตร) จึงไม่ถ่ายน้ำลงไปข้างล่าง

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (6)

อ่าน: 4675

มีการทดลองใช้ Biochar ปรับปรุงดินในแปลงปลูกข้าวโพดที่มหาวิทยาลัยแห่งมลลัฐอิลินอยส์ ได้ข้อสังเกตว่า

… Scientists at the Illinois Sustainable Technology Center (ISTC) are exploring an innovative way to off-set fossil fuel use and greenhouse gas emissions: using pyrolysis at low temperatures to convert waste biomass into valuable products. Pyrolysis is a thermochemical conversion process where waste biomass is heated in the absence of oxygen to produce a series of energy products such as bio-oil, syngas, and biochar. Bio-oil and syngas can be captured and used as energy carriers. Also, bio-oil can be used at petroleum refineries as a feedstock that is greenhouse-gas-neutral and renewable.

Biochar

Biochar can be used as a fuel or as a soil amendment. When used as a soil amendment, biochar can boost soil fertility, prevent soil erosion, and improve soil quality by raising soil pH, trapping moisture, attracting more beneficial fungi and microbes, improving cation exchange capacity, and helping the soil hold nutrient. Moreover, biochar is a more stable nutrient source than compost and manure. Therefore, biochar as a soil amendment can increase crop yields, reduce the need for chemical fertilizers, and minimize the adverse environmental effects of agrochemicals on the environment.

Another potentially enormous environmental benefit associated with biochar used in soil is that it can sequester atmospheric carbon. In the natural carbon cycle, plants take up CO2 from the atmosphere as they grow, and subsequently CO2 is emitted when the plant matter decomposes rapidly after the plants die. Thus, the overall natural cycle is carbon neutral. In contrast, pyrolysis can lock up this atmospheric carbon as biochar for long periods (e.g., centurial or even millennial time scales). Therefore, the biochar approach is an attractive solution to alleviating global warming concerns. James Lovelock, famous for his Gaia hypothesis, is now advocating biochar as “One last chance to save mankind“. …

อ่านต่อ »



Main: 0.070842981338501 sec
Sidebar: 0.20054793357849 sec