ถ้าจะทำ ก็อย่ายอมแพ้ต่อข้อจำกัด

อ่าน: 5310

ในเมื่อจะปลูกผักกิน ก็อย่ายอมให้ข้อจำกัดเรื่งพื้นที่มาขัดขวางนะครับ

ในกรณีที่บ้านไม่มีที่ดินจะขุดแปลงผักเลย  ทำไมต้องขุดดินด้วย??

แทนที่จะขุด เราใช้วิธีก่อ “กระถาง” ขึ้นมาแทนได้ เรียกว่าเป็นสวนแบบยก (Raised bed garden) วิธีนี้ใช้กับคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนท์ อาคารพานิชย์ หรือถนน (ซีเมนต์ ยางมะตอย อิฐ แม้แต่กระเบื้อง) ก็ได้

ปูนเมื่อโดนแดดเผาก็จะร้อน ทำอันตรายต่อรากพืช ดังนั้นเราก็ก่อหรือเรียงอิฐขึ้นมาบนพื้นปูนนั่นแหละ เอาฉนวนความร้อนปูไว้ชั้นล่างๆ แล้วชั้นบนเป็นดินให้รากต้นไม้โตได้ (ยกต้นไม้ขึ้นสูงหนีความร้อน) วิธีนี้เหมาะกับพืชผักล้มลุกซึ่งมีรากฝอยไม่ลึกนักเช่นผักสวนครัวต่างๆ

เมื่อรดน้ำ น้ำบางส่วน(น้อย)จะซึมออกที่พื้น บางส่วนจะเป็นความชุ่มชื้นอยู่ในดินให้รากต้นไม้เอาไปใช้ได้

อ่านต่อ »


อบแห้งพลังแสงแดด

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 April 2012 เวลา 22:13 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5351

ถ้าเรื่องนี้จะเป็นโครงงาน ก็น่าจะเป็นโครงงานระดับประถม การทำให้เกิดข้นนั้นไม่ยากหรอกครับ แต่การทำให้ดีนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ

อ่านต่อ »


เก็บน้ำฝนในป่า

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 April 2012 เวลา 3:55 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 7218

คนในเมืองอาจมองว่าฝนเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่ในที่ที่ไม่มีน้ำประปานั้น ฝนเปรียบเหมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกาย เพราะน้ำคือชีวิต

น้ำฝนคือน้ำกินน้ำใช้ เมื่อฝนตกลงมา ถ้าปล่อยทิ้งไปก็เหมือนไม่รู้ค่าของน้ำ เมื่อเรานึกถึงการรองน้ำฝนไว้ใช้ ก็มักจะนึกถึงหลังคาและรางน้ำฝน แต่รางน้ำฝนก็มีราคาแพงมาก ไปช็อบปิ้งกับครูบาเจอรางน้ำฝนไวนิลราคาเมตรละสามร้อยกว่าบาท เอื๊อก ไม่ได้บอกว่าแพงหรอกนะครับ แต่ว่าซื้อไม่ไหวเหมือนกัน หลังคาของโรงเตาเผาถ่านยาว 100 เมตร เทลงทั้งสองด้าน ดังนั้นหากติดรางน้ำฝน ก็จะเป็นเงินหกหมื่นกว่าบาท

บรรยากาศข้างเตาเผาถ่านนั้นร่มรื่นมาก นอกจากไปตั้งกระต๊อบตรวจการณ์ไว้หลังหนึ่งแล้ว ครูบาคิดว่าจะย้ายลานกิจกรรมจากลานไผ่ (ลานลำไย) มาอยู่ในป่า จะสร้างห้องน้ำไว้ในป่าด้วยเพื่อความสะดวก ในเมื่อจะมีลานกิจกรรมอันใหม่ ก็ทำให้นึกไปถึงข้อจำกัดของลานกิจกรรมดั้งเดิม แม้จะมีม้าหินนั่ง แต่เป็นพื้นที่เปิด แดดร้อน ฝนตกยังเปียกอีกด้วย ดังนั้นผมก็คิดจะหาผ้าใบคลุมสิบล้อมากาง เป็นผ้าใบสีขาว ขนาด 6 x 9 เมตรโดยเอาปลายผูกไว้กับต้นไม้สูงในป่า (ผืนละ 390 บาท ซื้อเยอะน่าจะมีลด เคยซื้อมาแล้ว 6 ผืนแต่แจกไปหมดแล้ว 6×9.in.th)

ผ้าใบนี้จะเป็นร่มเงาบังแดดบังฝนได้ แสงสว่างทะลุลงมาได้ ต้นไม้ใต้ผ้าใบสังเคราะห์แสงต่อไปได้ แต่ไม่ร้อน ในเมื่อผ้าใบมีสภาพเหมือนหลังคา จึงสามารถใช้รองน้ำฝนได้ ผ้าใบขนาด 6 x 9 เมตร ผูกเป็นเพิงหมาแหงนให้หย่อนตรงกลางเล็กน้อยเพื่อที่ว่าน้ำฝนและเศษใบไม้จะได้มารวมกันตรงกลาง แล้วเทลงมาใส่กรวยซึ่งเอามุ้งลวดไปกรองเศษใบไม้ไว้ ก้นกรวยต่อกับท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ปกติก็ยาวท่อนละ 4 เมตร แต่เราตัดให้ยาว 2.5 เมตรก็พอ ก้นท่อพีวีซีปิดไว้

อ่านต่อ »


ป่นละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 March 2012 เวลา 0:35 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3782

ทีแรกจะหาวิธีป่นอลูมินัมฟอล์ยให้เป็นผง (ปั่นไป 5 วัน 5 คืนจะกลายเป็นผงละเอียด) หรือปั่นหินก็จะลบขอบคมๆ ได้จึงไปเจอวิธี Ball Milling

แต่คิดไปคิดมาเอาใบมะรุมไปตากแห้งในร่ม แล้วค่อยเอามาป่นละเอียดด้วยวิธีนี้ จะกินเนื้อที่เก็บน้อยกว่า การป่นละเอียดแบบนี้น่าจะดีกว่าปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า ซึ่งแม้จะแหลกละเอียดแต่ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำลายคุณค่าทางอาหารไป

อ่านต่อ »


แกล้งบ้านให้ร้อน

อ่าน: 5204

ไปเจอการออกแบบแปลกประหลาดอันหนึ่งในเขตหนาว ที่สร้างเรือนกระจกไว้ในบางส่วนของบ้าน บังคับให้ลมร้อนลอยขึ้นข้างบน แล้วนำลมเย็นจากอีกส่วนหนึ่งของบ้านให้พัดเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม แนวคิดก็แปลกดีครับ เค้าเรียกว่า Earthship

เรือนกระจกอยู่ทางด้านใต้ เนื่องจากบ้านเราอยู่ทางซีกโลกเหนือดังนั้นพระอาทิตย์จึงอ้อมทางใต้ เรือนกระจกนั้นก็ปลูกต้นไม้ล้มลุกที่ไม่โตนักเอาไว้บังแสง แต่เรายอมให้แสงตกกระทบพื้นในบริเวณเรือนกระจก

รอบๆ บ้าน ใช้ดินกลบผนังไว้สามด้าน เป็นฉนวนความร้อนและความเย็น โดยเดินท่ออากาศเข้ามาจากด้านเหนือ ท่ออากาศนี้อยู่ใต้ดิน อากาศที่ออกมาก็จะมีความเย็นกว่าอุณหภูมิในบ้าน ในช่วงกลางคืนดินและพื้นของเรือนกระจกจะคายความร้อนออกมา ซึ่งความร้อนลอยขึ้นสูง ดูดเอาความเย็นจากท่อฝังดินเข้ามา ทำให้บ้านนี้มีการพาความร้อนที่ดี และเกิดการถ่ายเทลมตามธรรมชาติโดยไม่ใช้หน้าต่าง

อ่านต่อ »


เตาเผาถ่านไร้ควัน

อ่าน: 13824

เรื่องนี้ ที่จริงควรจะอยู่ในชุด ผลิต Biochar อย่างจริงจัง แต่เนื่องจากกรณีนี้ เป็นกรณีของสวนป่า จึงแยกออกมาเขียนนะครับ

เรื่องนี้ได้ยินมาจากครูบาซึ่งเพิ่งเล่าให้ฟังเมื่อตอนผมถามเรื่องเตาเผาถ่าน สวนป่ามีเตาเผาถ่านขนาดใหญ่อยู่ 5 เตา เตาเล็กอีกต่างหาก ก็ตามประสาคนไม่รู้เรื่องละครับ ผมถามว่าเวลาเผาถ่านในเตาใหญ่ใช้เวลากี่วัน ถ้าผมจำไม่ผิด ครูบาว่า 14 วันกว่าจะมอดสนิท แต่ครูบายังเล่าเพิ่มเติมว่าพอจุดเตาไปได้สักพัก ก็จะมีควันที่เหม็นมาก เรียกว่าควันบ้า มีอยู่คราวหนึ่ง จุดทั้ง 5 เตา แล้วควันบ้าเกิดออกมาพร้อมกัน เหม็นตลบอบอวลไปทั้งป่า ขนาดที่อยู่สวนป่าไม่ได้ ต้องชวนแม่หวีหนีเข้าไปในอำเภอ

เรื่องนี้ซีเรียสครับ ควันบ้า ที่มีสี มีกลิ่น แสดงถึงการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ดูจากลักษณะของเตาก็คาดว่าเป็นอย่างนั้น ก๊าซที่ออกมานี้น่าจะเป็นก๊าซพิษด้วยซ้ำไปนะครับ ร่างกายจึงบอกว่าเหม็นเพื่อที่จะไปให้พ้น แต่ไม่ร้ายเท่าน้ำมันดิน (tar) ที่ออกมาพร้อมกันควัน จะยิ่งทำให้ไอ

ดังนั้น น่าจะดีกว่าที่จะสร้างเตาเผาถ่านอีกสักเตาหนึ่ง แต่ดูให้เป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ คือไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ซึ่งในบันทึก [ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.] มีการทดลองเผ่าถ่าน Biochar เป็นที่สนุกสนาน เป็นถ่านคุณภาพดี แล้วใช้เวลาไม่นาน เราใช้ความร้อนเผาถังซึ่งบรรจุเศษไม้เอาไว้ เมื่อเศษไม้ในถังได้รับความร้อน ก็จะคายควันออกมา แล้วควันนี้ติดไฟได้ ก็ให้ความร้อนเผาถังอีกเป็นลูกโซ่ ดังนั้นการเผาถ่านในลักษณะนี้ ใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าการเผาถ่านปกติ

แต่ว่าการเผาถัง ก็จะได้มากได้น้อยก็แล้วแต่ขนาดของถัง (ซึ่งอย่างเก่ง ที่หาได้มักเป็นถัง 200 ลิตร) แล้วจะได้ถ่านประมาณหนึ่งในสามของปริมาตรถัง ถ้ามีไม้จะเผาเยอะ ก็ต้องเผาหลายครั้ง แต่ทีนี้ถ้าหากเราสามารถเผาไม้ได้ทีละตันหรือตันครึ่ง สัดส่วนของไม้ที่เป็นเชื้อเพลิงก็จะน้อยลงมา ซึ่งเมื่อเผาถ่านแล้ว จะได้ถ่าน 300-500 กก.ภายในเวลา 8-10 ชั่วโมง (แทนที่จะเป็นสองอาทิตย์) สัปดาห์หนึ่งเผาสามครั้ง — เผาวันหนึ่งตอนกลางวัน ส่วนคืนนั้นก็ปล่อยให้เย็น เช้าขึ้นเอาถ่านออก เย็นๆก็ขนไม้ลงไปในเตา รุ่งเช้าเผาอีก รอบละสองวัน สัปดาห์หนึ่งเผาไม้สามตัน ได้ถ่านหนึ่งตัน จ้างคนงานหกวันต่อสัปดาห์ จ้างผู้ใหญ่วันเว้นวันในวันที่ขนถ่านขนไม้เข้าออกจากเตา และจ้างเด็กวันเว้นวันสำหรับเอาถ่านใส่กระสอบ

อ่านต่อ »


หลังคาโค้งคาตาลัน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 February 2012 เวลา 7:15 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4228

หลังคาโค้งคาตาลัน เป็นเทคนิคการก่อสร้างโบราณซึ่งว่ากันว่ากำเนิดในอียิปต์โบราณแต่ไม่สามารถยืนยันได้ ใช้กันอย่างแพร่หลายในแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวคาตาโลเนียในสเปน

ต่อมาเมื่อเทคนิคการก่อสร้างสมัยใหม่เริ่มใช้เหล็กซึ่งมีความแข็งแรง หลังคาโค้งก็เริ่มหมดความหมายไปเนื่องจากสามารถก่อสร้างหลังคาที่กว้างและยาวมากๆ ได้ ทำให้ช่างก่อสร้างและสถาปนิกลืมวิธีการก่อสร้างหลังคาโค้งไปหมด กลายเป็นเทคโนโลยีที่สูญหาย (ที่จริง เห็นอยู่ว่ามีจริงแต่สร้างไม่เป็นต่างหาก)

จนเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 นาย Raphael Guastavino ได้ทำการศึกษา ปรับปรุง และจดสิทธิบัตรในสหรัฐถึงวิธีการก่อสร้างหลังคาโค้งแบบคาตาลัน โดยเขาใช้กระเบื้องหรืออิฐมอญเชื่อมด้วยปูน วางไปบนไม้แบบโค้ง จากนั้นก็วางกระเบื้องชั้นที่สองซ้อนไปบนกระเบื้องชั้นแรกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ก็สามารถจะสร้างหลังคาโค้งขึ้นมาได้ มีการนำหลังคาโค้งนี้มาศึกษาใหม่ทั้งในสหรัฐ (โดย MIT) และยุโรป (โดย ETH Zürich)

หลังคาโค้ง เริ่มน่าสนใจมากขึ้นด้วยเหตุผลหลายอย่าง รูปทรงกลมจะมีพื้นผิวน้อยกว่ารูปทรงอื่นๆ เมื่อปิดล้อมปริมาตรเท่ากัน เช่นครึ่งทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เมตร (สูง 4 เมตร) จะมีพื้นผิวน้อยกว่ากล่องสี่เหลี่ยมที่มีปริมาตรเท่ากัน สูง 4 เมตร กว้างและยาว 5.78 เมตรอยู่ ¼ เมื่อพื้นผิวน้อยกว่า ก็หมายความว่า ใช้วัสดุน้อยกว่า เบากว่า ถูกกว่า แต่แข็งแรงกว่าเนื่องจากผิวโค้งกระจายน้ำหนักของโครงสร้างออกไปทั่ว ทำให้ทนแผ่นดินไหว และพายุได้ดีกว่าสักษณะของกล่องมาก

งานวิจัยของ ETH-Z ใช้กระดาษลูกฟูกขึ้นแบบ (รูปที่ 9-12,15) ซึ่งน่าจะถูกกว่าการใช้ไม้แบบอยู่พอสมควร

อ่านต่อ »


โรงเพาะเห็ด

อ่าน: 5872

คืนนี้ครูบาโพสต์รูปเห็ด แล้วบอกว่า “เกิดทั่วไปแล้วตอนนี้ ขอเพียงมีความชื้นพอดี เห็ดก็เกิดได้ทั้งปี เห็ดทำหน้าที่อะไรบ้าง มนุษย์ยังรู้ไม่หมด เป็นเครื่องมือวัดความชื้นในอากาศในดินได้ด้วย”

เมื่อสามปีครึ่งที่ผ่านมา ไปเที่ยงงานพฤกษาสยามแล้วไปเจอระบบให้น้ำฝอยพร้อมทั้งกระโจมเพาะเห็ดครับ [เที่ยวงานพฤกษาสยาม (2)] ด้วยความที่เราไม่รู้เรื่องก็ต้องศึกษาไปทั่ว พบคำแนะนำหลายอย่าง แต่สองเรื่องซึ่งดูจะสำคัญที่สุดคือ ความชื้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์

ชาวฟาร์มเห็ดให้ความสำคัญกับความชื้น แต่ไม่ค่อยสนใจตัวหลัง ดังนั้นกระโจมเห็ดจึงมักตั้งอยู่กับพื้น อัดละอองน้ำเยอะๆ ให้ชื้นเข้าไว้


(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)

อ่านต่อ »


มุมมองผู้บริโภคและพลเมืองต่อแผนแม่บทฯ กสทช.

อ่าน: 3963

สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน กสทช.) จะจัดเวทีสัมนาและรับฟังความคิดเห็นในวันพฤหัสบดีที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. เป็นเรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทฯ 3 ฉบับ มีเวลารับฟังความคิดเห็น 35 45 และ 30 นาที ตามลำดับสำหรับร่างแผนแม่บททั้งสามฉบับ ซึ่งคงมีผู้เชี่ยวชาญไปปล่อยของเยอะแยะ คงไม่เหลือเวลาสำหรับผู้บริโภคและพลเมืองคนหนึ่งซึ่งไม่ได้ทำธุรกิจนี้อีกแล้วมั๊งครับ (รู้ว่าคิดไปเอง…แต่ก็คิดอยู่ดี)

อย่างไรก็ตาม ทั้งในฐานะของผู้บริโภคและพลเมือง ผมก็มีความคิดเห็นต่อบางส่วนของแผนแม่บทดังกล่าวบ้างเหมือนกัน อยากจะใช้พื้นที่ตรงนี้เขียนเอาไว้ โดยมองจากบางประเด็นซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้เผยแพร่เอกสารไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง (ร่าง) แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม (พ.ศ. 2555-2559)

อ่านต่อ »


วิธีก่อสร้างโดมอย่างรวดเร็ว

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 January 2012 เวลา 10:10 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8225

ดีใจที่ไม่เลิกศึกษาเรื่องโดมครับ วันนี้เจอของดีสองอย่าง แต่เขียนอย่างเดียวก่อนตามเวลาว่างก็แล้วกัน

คือว่ามีสิทธิบัตรอันหนึ่งในสหรัฐ ออกมานานแล้ว (คงหมดอายุไปแล้ว) พูดถึงวิธีก่อสร้าง Monolithic dome (โดมแบบครึ่งทรงกลม) ซึ่งมีความแข็งแรงมาก สามารถทนพายุในระดับที่แรงที่สุดได้ ทนต่อแผ่นดินไหว ด้วยการกระจายแรงไปทั่วผิวโค้ง และด้วยความรู้ทางคณิตศาสตร์ เราก็รู้อีกว่าผิวของโดมจะเป็นพื้นผิวที่น้อยที่สุดที่ครอบคลุมปริมาตรสูงสุด หมายความว่าถ้าต้องการห่อหุ้มปริมาตรเท่ากันโดมจะใช้วัสดุน้อยที่สุด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าด้ว้วยวัสดุที่มีอยู่เท่ากัน สร้างโดมแล้วจะครอบคลุมปริมาตรสูงสุด

ด้วยโครงสร้างโค้งที่มีความแข็งแรง เราสามารถเอาดินมาคลุมโดมอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ดูเหมือนเนินมากกว่าสิ่งปลูกสร้าง

อ่านต่อ »



Main: 0.068809032440186 sec
Sidebar: 0.12904214859009 sec