เตรียมตัวเป็นไหม

อ่าน: 2952

ชื่อบันทึกนี้ เป็นคำถามที่ผมไม่ต้องการคำตอบ แต่มุ่งให้ผู้อ่านแต่ละท่าน ถามตัวเอง ตอบตัวเอง และกระทำสิ่งที่สมควร

รูปข้างบนเป็นหน้าแรกของหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ ชื่อ ready.gov ด้านล่าง ขึ้นแบนเนอร์ของสามเว็บไซต์ ซึ่งที่จริงแล้ว ทั้งสามก็เป็นเว็บของ FEMA (องค์กรจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ) ทั้งหมด FEMA เองเคยล้มเหลวเรื่องการจัดการภัยพิบัติมาหลายครั้ง แต่เขาเรียนรู้และปรับปรุง คราวนี้ดูดีกว่าเก่าเยอะครับ

อ่านต่อ »


การประชุมกับ CSR โคราช

อ่าน: 3333

วันนี้ประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชที่เขาใหญ่ ที่บ้านคุณเหน่งแม่ยกของกลุ่ม เริ่มประชุมตอนบ่ายสองโมง กลับออกจากเขาใหญ่เกือบสามทุ่ม จากการที่ได้พูดคุยเป็นเวลานาน พบว่ากลุ่มนี้ตั้งใจและทำงานจริงครับ (ถึงจะไม่เชื่อว่าผมถือศีล ๕ ซึ่งไม่ค่อยขาด ก็ขอให้เข้าใจด้วยว่าผมไม่ต้องอวยใครนะครับ อิอิ)

ไปโคราชคราวนี้ @iwhale ชวนไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มกลุ่มเครือข่ายเพื่อสังคมโคราช หรือเรียกง่ายๆ ว่ากลุ่ม CSR โคราช — เช่นเดียวกับในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มที่มีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นนั้นมีกันอยู่มากมาย กลุ่ม CSR โคราชทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยไม่ได้แอ๊บประชาสัมพันธ์ธุรกิจหรือตัวบุคคล มีโครงสร้างจากหลากหลายกลุ่มย่อย มาร่วมกันทำงานพัฒนาท้องถิ่น; ถ้าหากกลุ่มต่างๆ ในท้องถิ่นสามารถรวมตัวกันเป็นภาคี (หมายความว่าทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน แต่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน) ก็จะเกิดการรวมพลังพัฒนาท้องถิ่นได้ โดยไม่ต้องแบ่งแยกว่าใครใหญ่ ใครดัง ผลงานของใคร

งานของกลุ่ม CSR โคราช ทำเรื่องเด็กและเยาวชนกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ที่ผมได้ข่าวคราวของกลุ่มนี้มาครั้งแรก ก็เป็นเมื่อตอนน้ำท่วมโคราชเมื่อปีที่แล้ว เขาระดมสรรพกำลังมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทั้งรถออฟโรดที่เข้าพื้นที่ห่างไกล โครงการกู้นาฝ่าวิกฤตที่จัดการเรื่องพันธุ์ข้าวหลายสิบตันสำหรับนาที่ล่ม เจอกันในเวทีของภาคประชาชนหลายครั้ง ได้รับโอกาสเข้าไปเสนอ “โคราชโมเดล” ใน คชอ. เป็นต้น ตลอดจนเมื่อสถานการณ์ของโคราชพ้นวิกฤตแล้ว ก็ยังส่งความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ประสบภัยอื่นๆ ด้วย มีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือภาคประชาชนกันเอง เมื่อตอนน้ำท่วมโคราช ชาวสุราษฎร์ยกมาช่วย เมื่อคราวน้ำท่วมสุราษฎร์ ชาวโคราชก็ยกไปช่วย ฯลฯ

อ่านต่อ »


jDrones

อ่าน: 3401

ตั้งแต่น้ำท่วมกลางปีที่แล้ว ผมตีฆ้องร้องป่าวเรื่องแผนที่สถานการณ์มาตลอด แต่ไม่มีหน่วยงานใดทำสักแห่ง

แล้วการบรรเทาทุกข์ก็เหมือนใช้คนตาฝ้าฟางทำ มีทั้งซ้ำซ้อน น้อยไป มากไป ถี่ไป ห่างไป สารพัดปัญหา แต่ไม่มีความพอดีเลย ทั้งนี้เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร ที่ไหน ด้วยปริมาณเท่าไหร่ เรื่องนี้ บ่นไปก็เท่านั้นล่ะครับ เหมือนเอาน้ำรดหิน ถ้าหากจะทำอะไรให้มีประสิทธิผลมากขึ้น คงต้องทำเอง พอทำแล้วก็จะมีปอบมาขโมยงานเหล่านี้ไป แต่ไม่เป็นไรหรอกครับ เพราะว่าเราได้ทำในสิ่งที่สมควรทำแล้ว

ในเบื้องแรก ถึงขนาดต้องไป “ขอความร่วมมือ” กับผู้เชี่ยวชาญการถ่ายภาพทางอากาศ ได้ภาพน่าตื่นตาตื่นใจ แต่ช่วงนั้นไม่มีภัยจึงไม่ได้ทำแผนที่สถานการณ์ — ต่อมาภายหลังพอเกิดภัยขึ้น เราเชิญผู้เชี่ยวชาญไป ทีนี้มีค่าใช้จ่าย คือว่าเขาต้องบินกลับเข้ามาในเมืองไทยก่อนกำหนด และการทำอย่างนี้ก็เป็นวิชาชีพปกติของเขา เตรียมเครื่องมือ ระบบสำรอง ประกันภัย ทีมงาน ฯลฯ ค่าจ้างบินถ่ายรูป (kapook.com เป็นสปอนเซอร์ควักให้) อาจพอซ่อมบ้านได้สักโหล หรือสร้างใหม่ได้สักหลังสองหลัง

อ่านต่อ »


EM ในคลอง

อ่าน: 3934

ใครบอกว่าคนที่ไม่ทำงานประจำแล้วจะว่าง ไม่จริงหรอกครับ

บ่ายวานนี้ ผมลืมไปว่าอาสาดุสิต มีภารกิจครั้งที่ 5 ของโครงการคืนชีวิตให้แม่น้ำ โดยไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนธนินทรวิทยา เขตดอนเมือง [แผนที่] ไม่ไกลจากโรงเรียนนี้ เป็นคลองเปรมประชากร ซึ่งเน่าเสียอย่างเรื้อรังมานาน เนื่องจากโรงเรียนอยู่ห่างบ้านไม่เกินเก้ากิโลเมตร ผมก็เลยบึ่งไปเลย

การอบรมครั้งนี้ อาจารย์พัฒน์พงษ์ บุญเลิศ จากมูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาบรรยายให้เด็กชั้น ป.4 ป.5 และ ป.6 ฟัง หลังจากบรรยายแล้ว ก็ลงมือปั้น EM Ball กันอย่างสนุกสนาน

หัวน้ำหมัก EM ที่ใช้นี้ ไม่ใช่ EM ที่เอามาหมักเศษอาหารนะครับ แล้วก็ไม่ใช่ปุ๋ยหมักชีวภาพด้วย (แม้ว่าจะเอาไปทำได้) แต่ EM นี้ ผ่านการคัดเลือกพันธุ์ออกจากแล็ป และควบคุมคุณภาพโดยโรงงานผลิตแถวอยุธยา ทำธุรกิจในลักษณะเป็น social enterprise

อ่านต่อ »


ความสำเร็จไม่มีทางลัด

อ่าน: 4803

สำนักงานใหญ่ของ Facebook ย้ายไปอยู่เมือง Menlo Park ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน Belle Haven Middle School กลาง Silicon Valley ทางโรงเรียนจึงเชิญ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก มากล่าวอะไรสักหน่อยในโอกาสที่เด็กเรียนจบชั้น Grade 8 (ม.2)

อ่านต่อ »


น้ำหมักจุลินทรีย์ (EM)

อ่าน: 6533

สำหรับผู้รู้ ก็รู้แล้วนั่นแหละครับ ใน 6 วันที่ผ่านมา ผมใช้เวลากับเรื่อง EM Ball ถึง 4 วัน แต่มันก็ยังเป็นความรู้มือสองอยู่ดี

วันนี้จึงไปซื้อหัวน้ำเชื้อ EM และน้ำตาลทรายแดงมาลองหมักเล่นดูบ้าง บอกเด็กในบ้านเก็บน้ำซาวข้าวใส่ขวดน้ำอัดลมให้มากที่สุด มีขวดกี่ขวด เก็บไว้ให้หมดเลย อีกเจ็ดวันรู้เรื่องครับ

สำหรับวิธีหมัก EM มีในบันทึกที่แล้ว ซึ่งคนที่ดูจบทุกตอนคงมีไม่มาก

เพื่อไม่ให้เสียเวลาดู ก็จะเขียนวิธีทำไม้ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


กู้วิกฤตแม่น้ำเจ้าพระยา

อ่าน: 4334

บันทึกนี้ นอกจากจะ open source แล้ว ยัง open thought ด้วย

กรณีเรือบรรทุกน้ำตาลขนาด 2,400 ตัน ล่มตั้งแต่เช้าวันที่ 2 มิถุนายนที่บริเวณใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เรือจมค่อนมาทางตลิ่ง กระแสน้ำที่พัดมาเจอเรือที่ขวางทางน้ำอยู่ ก็แยกอ้อมเรือไปทั้งด้านกลางแม่น้ำและด้านริมตลิ่งด้วยความเร็ว ทำให้เซาะตลิ่งพังไป กระทบต่อบ้านเรือนชาวบ้าน; ตามข่าวบอกว่าสูบน้ำตาลออกจากเรือได้หมดเมื่อวันที่ 3 แล้ว

แต่ที่เกิดเป็นภัยก็คือน้ำตาลที่รั่วลงน้ำ ทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (dissolved oxygen หรือ DO) ลดลงสู่ระดับวิกฤต บางช่วงต่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร (ต่ำกว่า 2-3 มก./ลิตร หรือ 2-3 ppm ก็เรียกว่าน้ำเน่าแล้ว) สัตว์น้ำที่หากินอยู่แถวผิวน้ำ อาจจะยังพอขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้ แต่ปริมาณ DO ที่ต่ำนั้น กระทบต่อสัตว์น้ำที่หากินอยู่แถวผิวดินก้นแม่น้ำ (ซึ่งปลาเหล่านี้มีลักษณะทางกายภาพแตกต่างออกไป) ตายเสียเป็นส่วนใหญ่เช่น กระเบนราหู ปลาลิ้นหมา ปลาม้า ปลากดคัง ตัวละ 10-30 กก. — น้ำตาลเป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ พอจุลินทรีย์ยิ่งโต ยิ่งแบ่งตัว ก็ยิ่งใช้ DO ในน้ำ ทำให้ DO ลดลงต่ำมากจนสัตว์น้ำอื่นหายใจไม่ได้และตายยกแม่น้ำ

อ่านต่อ »


หมู่บ้านโลก (2)

อ่าน: 2918

ปลายเดือนก่อน เขียนเรื่อง [หมู่บ้านโลก] ไป ปรากฏว่ามีผู้สนใจความคิดนี้คุยต่อหลังไมค์กันพอสมควรครับ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (เดิมชื่อวิทยาลัยเกษตรกรรม) น่าจะเหมาะที่สุดเรื่องการใช้เทคโนโลยีชาวบ้าน สร้างเครื่องมือเอนกประสงค์สำหรับงานเกษตรกรรมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพื่อให้มีเครื่องมือที่ใช้งานได้ในราคาที่ถูกมาก สร้าง ซ่อม และบำรุงรักษาได้เอง เลิกนิสัยซื้อแหลก อาจจะมีโอกาสตั้งตัวได้เสียที… แต่เอาเข้าจริง ไม่มีอะไรอย่างนั้นหรอกครับ

จากที่เคยไปเที่ยวดูที่แถวสะแกราช [คนเมืองแบบคนป่า คนป่าแบบคนเมือง] วันนี้มีโอกาสคุยกับคุณน้องคนที่พาไปเที่ยวอีก เขามีที่ดินที่ให้ชาวบ้านเช่าไปปลูกเป็นไร่มัน เป็นเนินเขา ¼ ลูกและเป็นที่ราบอีกส่วนหนึ่ง เป็นสัญญาเช่าปีต่อปี น่าเสียดายที่ดินนี้ แม้อยู่ในที่ที่อากาศดี มีลำธารไหลผ่านข้างที่ การคมนาคมสะดวก น้ำไฟหาได้ไม่ยาก และไม่ใช่โซนที่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าหญ้า — แต่ถ้ามองแบบคนเมืองแล้ว คงคิดว่าน่าจะทำรีสอร์ตมากที่สุด ซึ่งผมเห็นด้วยบางส่วนครับ ว่าที่นี้สวยจริงๆ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำรีสอร์ตกันทั้งอำเภอได้อย่างไรเหมือนกัน เหมือนทำอะไรก็ทำตามกันไปหมด

คราวที่แล้ว ไปยุให้คุณน้องและคุณหน่อยทำโรงปลูกเห็ด รายได้ดี มีคนมารับซื้อถึงที่ แถมผลิตไม่พอด้วยซ้ำไป มีรายได้ประจำเพิ่มขึ้นเดือนละหลายหมื่น ก็เอามาโปะเป็นค่าใช้จ่ายประจำในกรณีที่เขาจะทำที่พักแถวโน้น (ซึ่งเหมาะกว่าแถวนี้)

อ่านต่อ »


ช้อนกับชายพเนจร

อ่าน: 3753

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีผู้ชายคนหนึ่งเดินเข้าไปในคฤหาสน์ที่สวยงามของเศรษฐีผู้หนึ่งเพื่อที่จะขอดูรูปที่วิจิตรสวยงาม เมื่อชายคนนั้นขอเศรษฐีเข้าไปในบ้าน เศรษฐีก็ยอมให้ชายคนนั้นเข้าไปในบ้านแต่มีข้อแม้ว่า เขาต้องถือช้อนที่มีน้ำมันไว้ ถ้าทำน้ำมันหกเขาจะต้องออกจากบ้านทันที

ชายพเนจรมองที่ช้อนน้ำมันด้วยใจจดจ่อ เมื่อเดินผ่านมาครึ่งมาห้องก็มีเสียงลึกลับพูดว่า “ถ้าเจ้ามัวสนใจแต่ช้อนน้ำมัน ก็จะพลาดโอกาสที่จะดูสมบัติของเศรษฐีน่ะสิ”

ชายพเนจรมองไปรอบๆห้องก็รู้ว่า เสียงพูดนั้นมาจากรูปปั้นหินปูนนั่นเอง ชายคนนั้นจึงครุ่นคิด “เราจะทำอย่างไรจึงจะได้มองรูปภาพและถือช้อนน้ำมันในเวลาเดียวกันได้นะ”

ในที่สุดเขาก็คิดได้ว่าถ้าดูแต่น้ำมันก็จะไม่ได้ดูรูป เขาจึงตัดสินใจว่า “ช่างมัน เราควรสนใจในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งก็คือรูปภาพในคฤหาสน์ของเศรษฐีนั่นเอง ส่วนการที่เรากลัวว่าน้ำมันจะหกก็คือการที่เรากลัวกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ถ้ามัวคำนึงกับสิ่งที่จะเกิดในอนาคตก็จะพลาดสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน”

พอคิดได้ดังนั้นเขาก็สนใจแต่รูปภาพ น่าแปลกใจที่น้ำมันกลับไม่หก นั่นก็เพราะว่าเขาไม่ได้กังวลจนเกินไป มือจึงไม่สั่น น้ำมันก็เลยไม่หก

ในที่สุด เขาก็เดินมองดูรูปภาพในคฤหาสน์จนครบ และจากไปอย่างมีความสุข

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ควรกังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะว่าจะทำให้ทำปัจจุบันได้ไม่ดี เราจึงควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)

อ่าน: 7827

บันทึกนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)] ซึ่งใช้กระถางดินเผา ที่เรียกแบบโก้ว่า ceramic filter มาเป็นตัวกรองสารแขวนลอย แล้วใช้ silver colloid หรือซิลเวอร์นาโนในเครื่องซักผ้าบางยี่ห้อ มาฆ่าเชื้อโรค — วิธีการดังกล่าว ถึงดูดีมีสกุล แต่ก็ดูจะเกินเอื้อมของชาวบ้าน บันทึกนี้ จึงเสนอความคิดแบบง่ายๆ ชาวบ้านสร้างเองได้ เรียกในภาษาต่างประเทศว่า Biosand filter

Biosand filter เป็นเครื่องกรองน้ำชนิดกรองช้า ให้น้ำค่อยๆ ไหลผ่านเครื่องกรองซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติเป็นตัวกรอง มีทราย กรวด ถ่าน เป็นเครื่องกรองสารแขวนลอย และใช้เมือกชีวภาพ Schmutzdecke ซึ่งเป็นเมือกของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ (แบคทีเรีย รา โปรโตซัว โรติเฟอรา) คอยจับกินเชื้อโรคอื่นๆ ที่ปนเปื้อนมาในน้ำ

เมือกชีวภาพ biofilm ที่เรียกว่า Schmutzdecke ต้องอาศัยเวลา 20-30 วัน จึงจะเติบโตเป็นชั้นหนาพอที่จะกรองเชื้อได้ ดังนั้น หากต้องการน้ำดื่มในปัจจุบันทันด่วน ก็ต้องมีมาตรการอื่นมาเสริมด้วย เช่นเอาตากแดดไว้วันหนึ่ง [แสงแดดฆ่าเชื้อโรค] [อีกด้านหนึ่งของน้ำ]

อ่านต่อ »



Main: 0.12310600280762 sec
Sidebar: 0.63455200195312 sec