ข้อสังเกตรัฐไทย

อ่าน: 2820

คำว่ารัฐนั้น สำหรับผมคือองค์กรที่ดูแลประชาชน จัดการ เตรียมการเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ดูแลทิศทาง ดูแลความมั่นคงปลอดภัย เรื่องการต่างประเทศ แก้ปัญหาข้อพิพาทด้วยความเป็นธรรม ตรงไปตรงมา จะไม่ตรงกับนิยามในวิชารัฐศาสตร์ ก็ช่างเถิดครับ รัฐมีรายได้จากภาษีอากร ซึ่งประชาชน และกิจการเสียให้ ตามกติกาของสังคม (กฏหมายและประมวลรัษฎากร)

รัฐ (ที่ไม่ใช่รัฐบาล) เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีงบประมาณประมาณร้อยละยี่สิบของรายได้ประชาชาติ จึงจัดได้ว่าเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุดในประเทศ เป็นเป้าหมายอันหอมหวลสำหรับผู้ที่ต้องการครอบงำ

ส่วนอีกร้อยละแปดสิบของรายได้ประชาชาตินั้น เกิดจากกิจการต่างๆ ในภาคเอกชน ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย แข่งขันกันอย่างอุตลุด โกง ติดสินบน เอาเปรียบ ฯลฯ แต่ก็ทำให้เราอยู่รอดได้จนวันนี้ แต่ว่าภาคเอกชน ก็แบ่งย่อยจนละเอียดเป็นเบี้ยหัวแตก จะทำอะไรก็ไม่มีกำลังพอ มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง แต่ก็เป็นไปเมื่อมีประโยชน์ร่วมกัน และมักเป็นไปในทางดิ่งตามผมประโยชน์ ส่วนการรวมกลุ่มในทางขวาง-ข้ามความรู้ความชำนาญเฉพาะทางนั้น กลับไม่ค่อยปรากฏ

อ่านต่อ »


3 x 3 x 3 กับความเป็นนาย

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 August 2010 เวลา 21:38 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 3406

มี quick management tips จาก harvard business review มาฝากครับ ที่จริงสำหรับแต่ละหัวข้อ มีแนวทางมากกว่าสามข้อ แต่แค่สามข้อสำหรับแต่ละหัวข้อนั้น ทำให้หมดก็ยากแล้วครับ

ห้ามศึกระหว่างทีม

  1. ตัดไฟแต่ต้นลม — เข้าไปแทรกแทรงก่อนจะลุกลาม คงต้องอาศัยความละเอียดอ่อน รู้จักคน รู้จักทีมจนเห็นสิ่งที่ไม่ได้เขียน ได้ยินในสิ่งที่ไม่ได้พูด รู้สึกถึงความอึดอัดคุกรุ่น จึงจะสัมผัสถึงความผิดปกติได้
  2. เป้าหมายร่วม — ต่างฝ่ายต่างก็ปรารถนาดีล่ะครับ แต่วิธีการไม่เหมือนกัน เพราะมุมมองไม่เหมือนกัน แล้วก็มาทะเลาะกันว่าซ้ายหรือขวา ถ้ายืนประจันหน้ากัน แล้วฝ่ายหนึ่งบอกว่าซ้าย อีกฝ่ายบอกว่าขวา ที่จริงก็จะถูกทั้งคู่ล่ะครับ แต่ก็ไร้สาระทั้งคู่เช่นกัน เพราะติดอยู่แค่ใครถูกใครผิด ทั้งๆ ที่พูดถึงสิ่งเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างคิด
  3. หาสิ่งที่ตกลงร่วมกันให้ได้โดยเร็ว — เวลาเกิดความระหองระแหง ทั้งสองฝ่ายต่่าง “คิด” ย้ำอยู่บนความแตกต่าง แต่ว่าที่จริงไม่มีอะไรตรงกันข้ามร้อยเปอร์เซ็นต์ แบบขาวและดำหรอกครับ ในความแตกต่างจะมีความเหมือน แม้ในความเหมือนก็มีความแตกต่าง ถ้าเอาอารมณ์และอัตตามาเป็นที่ตั้ง มักจะมองข้ามความเหมือนไป ความเหมือนเป็นข้อพิสูจน์อย่างรวดเร็วว่าทั้งสองฝ่าย ไม่ได้ต่างกันอย่างสิ้นเชิงเหมือนอย่างที่คิด

อ่านต่อ »


บำรุงรักษา

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 August 2010 เวลา 20:08 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3153

วันนี้เอารถไปเช็คตามระยะครับ เตรียมรถเพื่อเดินทางไปสวนป่าในวันที่ 5 ด้วย แต่ดันมีการเชิญประชุมคณะกรรมการชุดใหม่อีกในตอนเช้าวันที่ 5 ก็เลยต้องออกเดินทางหลังเที่ยงนะครับ คงจะไปถึงเย็นๆ นัดล่วงหน้าสามวันนี้นับเป็นความก้าวหน้าแล้ว ที่ผ่านมาตลอดหลายปี กระทรวงนี้นัดล่วงหน้า 24 ชั่วโมงเท่านั้นเอง

รถมีการใช้งาน ถึงจะใช้ไม่เยอะ ก็ต้องมีการตรวจสอบว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี

บล็อกก็เช่นกัน มีการบำรุงกำลัง เติมเชื้อไฟโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วันนี้ได้คุยกับแฟนบล็อกท่านหนึ่ง ซึ่งอ่านอย่างเดียวโดยไม่เคยเขียนอะไรกลับมา ได้ฟีดแบ็คว่าเขียนเรื่องน่าสนใจหลายเรื่อง (อันนี้รู้อยู่แล้วเพราะผมเขียนเรื่องที่ผมสนใจ เขียนแล้วทิ้งไว้เฉยๆ คนอ่านคลิกมาเองทั้งนั้น ไม่ได้ไปบังคับให้ใครคลิกเลย) ไม่ยากเกินไป อ่านแล้วเอ๊ะหลายบันทึก (แปลว่าผมเขียนถ่ายทอดความคิดแล้วมีคนรู้เรื่องแฮะ) น่าจะหาเวลานัดกันไปเที่ยว

แล้วสังคมกับองค์กรก็เป็นแบบเดียวกันครับ ถ้าหากใช้ทรัพยากรทุกอย่างตะลุยไปแบบถึกๆ ถือว่าเป็นหน้าที่ก็ทำไป ไม่มีน้ำใจต่อกัน แบบนี้รวมกันอยู่ยาก ถ้าไม่มีน้ำใจมาหล่อลื่น การเอาคนที่แตกต่างกันมาอยู่ร่วมกัน มีแต่การกระทบกระทั่งเสียดสี สึกหรอและพังไปในที่สุด ไม่มีฝ่ายชนะ มีแต่แพ้ทั้งคู่ สังคมและองค์กรนั่นแหละแพ้

การแสดงน้ำใจต่อกันนั้น ไม่ใช่การประจบสอพลอ ป้อยอด้วยคำหวาน ผิดก็ว่าถูก ไม่ดีกลับว่าดี เพราะนั่นคือการหลอกลวงนะครับ การมีน้ำใจต่อกันนั้น แสดงออกได้หลายวิธี ที่ง่ายที่สุดแต่ไม่ค่อยทำกัน คือเชื่อใจกัน(บ้าง) ฟังเขาบ่อยๆ ยอมรับเขาแบบที่เขาเป็น ไม่ใช่เปลี่ยนเขาให้เป็นแบบที่เราต้องการ คนเราไม่เหมือนกัน จะทำอย่างไรก็แตกต่างอยู่ดี ควรมองให้ชัดและใช้ความแตกต่างนั้นให้เป็นประโยชน์ที่สุดต่อทุกคน

อ่านต่อ »


แผนกับการปฏิบัติ

10 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 June 2010 เวลา 18:30 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3850

คนเคยเป็นนักบริหารมาแล้ว ถึงอย่างไรก็ต้องวางแผนเป็น และเข้าใจด้วยว่าแผนกับการปฏิบัตินั้นเป็นคนละเรื่องกันครับ

ถ้าวางแผนแล้วคิดว่าอะไรๆ จะต้องเป็นอย่างนั้น ก็ไม่เรียกว่านักบริหาร แต่เรียกว่านักฝัน เพราะนักบริหารเข้าใจเรื่องข้อจำกัด และจะพยายามอย่างที่สุด ที่เอาชนะข้อจำกัดเหล่านั้น ถึงที่สุดแล้ว เมื่อไม่ได้ มันก็เป็นอดีตไปแล้ว ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า

I. พอพี่ครูอึ่งรู้ว่าจะมาบรรยายที่เชียงใหม่ แต่อยากจะนอนลำพูน ก็ชวนไปนอนที่บ้าน (1) ผมเกรงใจจึงต้องปฏิเสธไป (2) อีกอย่างหนึ่งคือผมรู้ตัวดีว่ายังปรับเวลานอน+ตื่นไม่ได้ พักอยู่ในโรงเรียนก็เกรงจะไม่สะดวก (3) ยิ่งกว่านั้นผมรู้ว่ายังเตรียมตัวสำหรับการบรรยายไม่พร้อม จึงต้องการการเข้าถึงเครือข่าย โดยในการนี้ ผมวางแผนจะยกคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทุกวันขึ้นมาด้วย (แต่ไม่ได้บอกใคร — นี่เป็นเหตุผลที่เขียนบันทึกนี้ได้ และยังออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมงเช่นเดิมครับ)

II. วันนี้วางแผนจะออกจากบ้าน 7:30น. แต่เพราะเมื่อคืนไม่ได้นอน (I.3) จึงเริ่มหอบสมบัติตั้งแต่ 6:30 และออกเดินทางได้ล่วงหน้าหนึ่งชั่วโมง เกือบบ่ายโมงก็มาถึงลำปางแล้ว วางแผนใหม่ทันที ขืนขับไปลำพูน จะโดนรุมประนามว่าทำไมมาเร็ว แล้วยิ่งถ้ารู้ว่าไม่ได้นอนมาด้วยละก็​ โหย ไม่อยากคิด แวะกินข้าว แล้วไปเที่ยววัดศรีชุมซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว เป็นโบราณสถานศิลปะพม่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

อ่านต่อ »


เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 June 2010 เวลา 16:14 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 6429

ถูกใจประโยคที่ว่า เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง มานานแล้ว ไม่รู้ใครคิดขึ้น แต่ก็อยากขอบคุณครับ

ประโยคนี้ ตรงกับสภาพของจิตที่รับอารมณ์ได้ทีละอย่าง หรือไม่ก็อยู่เฉยๆ ได้เท่านั้น (เหมือนระบบไบนารี่) แต่จิตมีความไวสูง บางทีถ้าเราไม่ละเอียดพอ ก็จะไปคิดว่าเราคิดอะไรได้ทีละหลายๆ อย่าง พอไม่สังเกตเรื่องนี้เข้านานๆ ด้วยความเคยชิน ก็มักจะคิดว่าคนเก่งสามารถทำอะไรได้ทีละหลายๆ อย่าง พร้อมๆ กัน ซึ่งขัดกับธรรมชาติของจิต

ด้วยความไม่เข้าใจ และด้วยความฉาบฉวยเร่งด่วนของสังคมปัจจุบัน เราก็มักให้คุณค่ากับคนที่ทำอะไรได้สำเร็จ-รวดเร็ว-หลายอย่างพร้อมกัน จนคนเหล่านั้น กลายเป็นกระโถนรองรับความคาดหวังของคนรอบข้าง โดยไม่ยอมเรียนรู้ถึงเคล็ดลับในการทำอย่างนั้น ว่าเป็นเรื่องของการวางแผน วางจังหวะที่จะทำงานแต่ละอย่างอย่างพอเหมาะ เพื่อให้เกิดงานโดยไม่มีการรอ (เป็น pre-emption)

คนที่ทำงานสำเร็จนั้น ทำทีละอย่างครับ พิจารณาให้ชัดก่อนลงมือทำ ไม่รีบร้อนลงมือทำโดยไม่รู้ว่าจะทำอะไร

หากปริมาณงานหรือปริมาณปัญหาที่ต้องแก้ไข มี 10 ปัญหา ปัญหาละ 10 หน่วย ก็ต้องการกำลังสำหรับการทำงาน 100 หน่วยงาน จะมาคิดว่าคนที่ทำอะไรก็สำเร็จ เป็นคนบ้าพลัง ทำอะไรก็ได้นั้น มันไม่ถูกหรอกครับ คนแต่ละคนอาจจะมีกำลังไม่เท่ากัน อาจจะมีจุดแข็งจุดอ่อนไม่เหมือนกัน

อย่างไรก็ดี งาน 100 หน่วย ก็ต้องการกำลังในการทำงาน 100 หน่วย บางทีอาจมากกว่านั้นเสียอีกในกรณีที่มีความสูญเปล่าในกระบวนการ (เช่นความขัดแย้ง หรือการเมือง ซึ่งนับเป็น overhead หรือ loss)

ซึ่งก็เหมือนกับความพยายามแก้ปัญหาอันซับซ้อนของสังคมไทย นะจ๊ะ หมักหมมมาหลายสิบปี จะแก้ให้หายแบบชั่วข้ามคืน เมพไปหรือเปล่า??

อ่านต่อ »


ศาสตร์แห่งการกระตุ้น

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 June 2010 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การบริหารจัดการ #
อ่าน: 4129

เมื่อปีที่แล้ว Dan Pink ที่ปรึกษาด้านอาชีพการงาน พูดที่ TED เรื่อง The surprising science of motivation ซึ่งทั้งตลกและมีสาระ

ถ้าภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง เลือก Subtitle หรือจะอ่านจาก transcript ได้นะครับ

อ่านต่อ »


คำถามโดนก้านคอ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 May 2010 เวลา 18:02 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 3689

ในชีวิตหนึ่ง แต่ละคนคงไม่น่าจะเจอคำถามแบบนี้บ่อยหรอกนะครับ

ลูกน้องผมคนหนึ่ง มาสัมภาษณ์เมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมเข้าไปนั่งสังเกตการณ์กับกรรมการสัมภาษณ์ด้วย แต่ไม่ได้แสดงตัวว่าเป็นอะไรในบริษัท ฟังคำถามสัมภาษณ์ก็เป็นคำถามพื้นๆ ทั่วไป เมื่อใกล้จบ กรรมการสัมภาษณ์หันมาถาม(ด้วยความเกรงใจ)ว่ามีอะไรจะเพิ่มไหม

เนื่องจากไม่รู้จักกันมาก่อน ทำให้ไม่รู้ว่าจะเหมาะกับบริษัทหรือไม่ เหมาะกับอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร (ไม่ใช่เรื่องผิดที่รู้จักกันมาก่อน แต่ “เด็กเส้น” คืออาการที่รับเข้ามาทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่เหมาะ ซึ่งก็ไม่ใช่กรณีนี้) ผมก็ถามไปว่า นั่งคุยกันสิบห้านาทียังไม่รู้อะไรเลย ลองช่วยบอกกรรมการสัมภาษณ์หน่อย ว่าทำไมจึงควรรับเข้ามาทำงานในบริษัท

เธอตอบมาโดยควรคุมอารมณ์สุดๆ ซึ่งบริษัทก็รับเธอเข้าทำงาน และทำอยู่ต่อมาอีกสิบกว่าปี แต่เธอก็มาสารภาพในภายหลังว่าปรี๊ดแตกเหมือนกัน รู้สึกเหมือนโดนดูถูก (คิดไปเอง เป็นมานะ คือความถือตัว, ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่) ซึ่งการควบคุมอารมณ์นั้นก็เป็นสิ่งที่ผมอยากดูครับ แถมยังได้เห็น self-perception อีกด้วย อันนี้เป็นคำถามโดนก้านคอครับ

อ่านต่อ »


ประสบการณ์การสร้างหอคอย [ทีม]

อ่าน: 5118

ผมคิดว่า session นี้จาก TED สนุกดีครับ

เรื่องเริ่มที่โจทย์ง่ายๆ ว่าให้คนกลุ่มละ 4 คน ร่วมกันสร้างหอคอยที่มีก้อน marshmallow อยู่ที่ยอด (คือโครงสร้างหอคอยรับน้ำหนักด้วย) โดยให้เวลา 18 นาที ใช้แท่งสปาเก็ตตี้ที่ยังไม่ต้ม 20 แท่ง เทปกาว 1 เมตร เชือก 1 เมตร ไม่จำเป็นต้องใช้ให้หมดทุกอย่าง

ผลการศึกษาค่อนข้างสอดคล้องกันว่า กลุ่มที่มักทำได้แย่ คือนักศึกษาที่เพิ่งจบจากโรงเรียนบริหารธุรกิจ (ฮาาา) แล้วกลุ่มที่มักจะทำได้ดีคือ เด็กอนุบาล (ฮาาา) — นักศึกษาบริหารธุรกิจ มักตบตีแย่งกันเป็นผู้นำก่อน แล้วผู้นำก็ “คิดว่า” รู้ทางออกที่ดีที่สุดและจะสั่งเลย! จะรู้ได้ยังไงว่าดีที่สุดในเมื่อยังไม่เคยทำสักอย่าง? ในขณะที่เด็กอนุบาลใช้วิธีลองไปเรื่อยๆ ไม่มีกรอบ

โดยเฉลี่ย กลุ่มต่างๆ ทำได้ 20 นิ้ว นักศึกษาบริหารธุรกิจทำได้ครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ย เด็กอนุบาลมักทำได้ดีกว่าผู้ใหญ่ ส่วน CEO ก็ทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยนะ! แต่ถ้าเพิ่มเลขาผู้บริหารเข้าไป ผลงานกลับดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ​ (ฮาาา) แปลว่าอะไรเนี่ย?

ลองดูกันเองก็แล้วกันครับ สนุกดี

อ่านต่อ »


เปิดบท CEO สอนน้อง

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 April 2010 เวลา 0:29 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4482

หนังสือ CEO สอนน้อง โดยคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ผมได้มาเมื่อปี 2551 จากพี่ที่เคารพนับถือกัน

เมื่อวานนี้ไม่สบาย จึงหยิบมาอ่านอีกที; วันนี้หายแล้ว คืนนี้จึงนำสิ่งที่เห็นมาบันทึกไว้ เป็น quote คำเปิดของแต่ละบท

อ่านแล้ว ชอบก็ใช้(เมื่อถึงเวลา) ไม่ชอบก็ไม่เป็นไร แล้วไม่ต้องเอาไปเทียบกับใครหรอกนะครับ ก็เหมือนกับเราทุกคนนั่นแหละ ผู้บริหารมีสไตล์ต่างกัน บางคนเราชอบ บางคนก็ไม่ชอบ

1. คำภีร์บริหารจากภูมิปัญญาจีน

การเป็นหัวหน้าคนที่จริงแล้วเป็นเรื่องน่าเห็นใจอย่างยิ่ง เพราะมักจะตกที่นั่งลำบากเพราะลูกน้องของตนอยู่เสมอ เป็นเช่นนี้มาตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และคงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคต

2. ผู้นำเซเว่นฯ พร้อมเป็นผู้ให้

ผมอยากจะเปรียบเทียบผู้นำกับจรวดลำหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของความรับผิดชอบและความเสียสละ มีความรักเป็นพลังงานผลักดัน และมีคุณธรรมเป็นเครื่องควบคุมทิศทางให้เที่ยงตรง

3. จาก “ไซซี” ถึง “ดีหมู”

รูป C.P. 7-Eleven มุ่งสู่ TQA

4. ประกาศ…เลิกทาสในองค์กร

เวลานำการประชุม แทนที่จะกระตุ้นให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุด กลับถือความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป ใช้อำนาจบาตรใหญ่บังคับที่ประชุมให้คล้อยตามความต้องการของตนในทุกเรื่อง นานวันเข้า คนที่มีความคิดดีๆ ก็เริ่มขี้เกียจอกความเห็น

อ่านต่อ »


4 กลยุทธจัดการความชงักงัน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 April 2010 เวลา 0:14 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4186

Prof Rosabeth Moss Kanter แห่ง Harvard Business School แนะนำการจัดการความชงักงันไว้ง่ายๆ 4 อย่าง ฟังดูง่าย แต่ก็มีอะไรที่ต้องทำเยอะแยะ

ความชงักงัน (disruption) เป็นคำฮิตในวงการธุรกิจสมัยใหม่ ในองค์กรบางแห่ง แทนที่จะพยายามรักษาธุรกิจเก่าๆ เอาไว้ กลับเจตนาสร้างความชงักงันขึ้นมาในองค์กรเอง เช่น Apple เคยขายฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ “สวย” และราคาแพง กลับสร้างไอพ็อต ไอโฟน และไอแพด เป็นอุปกรณ์ราคาถูก พกพาไปไหนมาไหน นำติดตัวไว้ได้ตลอดโดยไม่ต้องเอาตัวล่ามไว้กับกำแพงด้วยสายไฟ และสายอินเทอร์เน็ต เป็นการสร้างตลาดใหม่ สร้างความต้องการใหม่ เป็นความชงักงันที่ควบคุมได้

บางกรณีการชงักงันเกิดจากคู่แข่งขันตอบสนองเปลี่ยนแปลง แต่อีกส่วนหนึ่ง อยู่ดีๆ ก็เกิด เช่นภูเขาไฟระเบิดทำให้ต้องปิดน่านฟ้าเพื่อความปลอดภัยในการบิน ธุรกิจการบินถูกผลกระทบไปหมด

ตามคณะบริหารธุรกิจ จะพูดถึงแบบแรกกัน เพราะเป็นสิ่งที่ “ผู้บริหาร” ควบคุมได้ จนบางทีลืมนึกกันไปว่ายังมีการชงักงันแบบอื่นอีก กิจการที่ติดอยู่กับ(ความสำเร็จใน)อดีต “จบ” ไปแล้วครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.081957101821899 sec
Sidebar: 0.20559787750244 sec