เข้าถึงผู้ประสบอุทกภัย

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 October 2010 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3370

เมื่อไม่กี่วันก่อน เกิดฝนตกหนักในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นวงกว้าง น้ำฝนที่ตกลงมา ถ้าไม่ถูกดินดูดซับไว้ ก็จะไหลลงที่ต่ำตามธรรมชาติ บ้านเรือนชาวบ้านเทือกสวนไร่นาที่ตั้งอยู่ใกล้น้ำ ก็มีความเสี่ยงแบบนี้อยู่เป็นธรรมดา

สำหรับปีนี้ อุทกภัยใหญ่ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดขึ้น อ.บางระกำ พิษณุโลก ซึ่งรับน้ำจากอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ก็ท่วมมาสองเดือนกว่าแล้ว! ในขณะที่เขียนนี้ ลุ่มน้ำป่าสักก็ล้นตลิ่ง บนลุ่มเจ้าพระยาน้ำเหนือกำลังไหลบ่าลงมาเช่นกัน

น้ำท่วมคราวนี้ มีผลกระทบมาก ข้าวอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยว ที่นาซึ่งอาจใช้เป็นพื้นที่แก้มลิงได้ชั่วคราว คราวนี้ก็ใช้ไม่ได้ ขืนเอาน้ำเข้าไปเก็บในนา จะเก็บเกี่ยวพืฃผลได้อย่างไร ถึงเกี่ยวข้าวได้ ความชื้นจะสูงปรี๊ด ราคาตกหัวทิ่มอีกต่างหาก — ซึ่งถ้าน้ำท่วมนาเอง อาการยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ นั่นหมายความว่าปริมาณน้ำมีมหาศาลจริงๆ

ถ้าจะให้น้ำลดเร็ว ก็ต้องทำสองอย่างครับ คือทำให้น้ำไหลออกจากพื้นที่เร็วขึ้น (คือมีแก้มลิงเฉลี่ยน้ำออกไป) และชะลออัตราที่น้ำฝนตกใหม่ไหลลงมา (เช่น ร่องดักน้ำฝน) ถ้าจะทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างหนึ่งนั้น ก็จะขึ้นกับธรรมชาติว่าจะปราณีขนาดไหนครับ

อ่านต่อ »


ข้อมูลน้ำจากระบบโทรมาตรของกรมชลประทาน

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 October 2010 เวลา 0:05 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 4584

กรมชลประทานได้ติดตั้งระบบโทรมาตร 200 แห่งกระจายกันอยู่ทั่วประเทศครับ ระบบโทรมาตร (telemetry) แปลว่าระบบวัดอะไรบางอย่าง แล้วส่งข้อมูลการวัดไปไกลๆได้ ไม่ต้องไปอ่านผลการวัดที่เครื่องวัด

ผมรู้สึกดีใจที่งบประมาณที่ลงไปนั้น ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับมา ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลของระดับน้ำเมื่อเทียบกับระดับตลิ่ง ดูแล้วเราก็รู้ได้ว่าน้ำท่วมในบริเวณนั้นหรือไม่ ถ้าระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งแปลว่าน้ำท่วมแล้ว เว็บนี้เขียนไว้ว่า “บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมรายงานผลของการวัดค่าทั้งระดับน้ำ ปริมาณน้ำฝน และคุณภาพอากาศ” หมายความว่าดูได้ ไม่ปิดบังครับ

ทีแรกผมคิดว่าบางทีอาจจะปรับปรุงได้ในแง่ที่ว่า แทนที่จะแสดงสถานะของเครื่องวัด ก็น่าจะแสดงสถานการณ์น้ำมากกว่า

ตอนนี้มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ก็คิดว่าไม่รอดีกว่าครับ ยิ่งให้ข้อมูลแก่สาธารณชน ชาวบ้านก็ยิ่งเตรียมตัวได้ดี เพราะเห็นว่าทางต้นน้ำ(น้ำที่จะไหลมาเพิ่ม)/ปลายน้ำ(น้ำที่จะระบายออกไป)เป็นอย่างไร จะได้เตรียมตัวให้เหมาะสม

ข้อมูลที่วัด ส่วนใหญ่เป็นการวัดระดับน้ำ เป็นความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (ย่อว่า รทก.) บางทีก็มีเครื่องวัดปริมาณฝน แต่ผมคิดว่ารูปในแต่ละหน้าของลานซักล้างนี้ (ซึ่งมาจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร) น่าจะดูได้ง่ายกว่านะครับ

สำหรับข้อมูลจากระบบโทรมาตรของกรมชลประทาน ดูได้ที่นี่ครับ ซูม/แพนดูบริเวณที่สนใจได้เองครับ


อิฐกระดาษ อิฐต้นไม้

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 October 2010 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8361

บ้านดินนั้น ใช้เนื้อดิน(เหนียว) พอกไฟเบอร์ซึ่งหาได้ง่ายและเป็นโพลีเมอร์ที่มีอยู่มากที่สุดในโลก (คือเซลลูโลส) อาทิ หญ้าแห้ง เยื่อไม้ กก ต้นข้าว อ้อย ฯลฯ เมื่อพอกดินลงบนไฟเบอร์ รอจนแห้ง ไฟเบอร์ก็จะยึดดินไว้ด้วยกันด้วยพันธะไฮโดรเจนในเซลลูโลส… เออ อธิบายไป ก็เท่านั้นแหละ

เอาเป็นว่าเราเอาดินพอกพวกหญ้าแห้ง ก็จะยึดดินให้รวมกันได้ เอาไปสร้างเป็นผนังได้ครับ เป็นหลักการธรรมดาของการสร้างบ้านดิน

ทีนี้ถ้าเราไม่ใส่ไฟเบอร์/เซลลูโลสลงไปเลย ก็ยังโอเคนะครับ แต่ว่าต้องปรับนิดหน่อยเพราะความแข็งแรงต่ำลง ถึงกระนั้น เราก็ยังสามารถปั้นเป็นก้อนอิฐ  แล้วจึงเอาก้อนอิฐมาเรียงเป็นบ้านอีกทีได้เหมือนกัน

อ่านต่อ »


โลกเปลี่ยน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 October 2010 เวลา 21:45 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 2680

โลกเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยล่ะครับ แผ่นดินที่เห็นว่าหยุดนิ่ง ที่จริงแล้วก็ค่อยๆ ขยับทีละน้อย

วิดีโอชุดนี้เป็นเรื่องทางธรณีวิทยา แสดงตำแหน่งของทวีปต่างๆ ที่เคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงไประหว่าง 400 ล้านปีที่แล้วไปจน 250 ล้านปีในอนาคต

650 Million Years In 1:20 Min.
Uploaded by xchristox. - Technology reviews and science news videos.

อ่านต่อ »


หลังคาสีขาว

อ่าน: 3748

บันทึกนี้เป็นเรื่องโลกร้อนครับ

โลกโดนดวงอาทิยต์เผาอยู่ชั่วนาตาปี แม้ไม่มีมนุษย์ยุคอุตสาหกรรมกำเนิดขึ้นในโลก ต่อให้ไม่มีการค้นพบเชื้อเพลิงฟอสซิล โลกก็มีการเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศเป็นช่วงๆ ตลอดมา ทั้งอุณหภูมิเฉลี่ย ทั้งระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ต่างเปลี่ยนแปลงขึ้นลงช้าๆ ทำให้เกิดยุคน้ำแข็งเป็นระยะๆ ด้วยน้ำนี่ล่ะครับ น้ำที่เป็นไอและเป็นละออง เป็นตัวที่กั้นไม่ให้ความร้อนที่แผ่ทะลุลงมาถึงผิวโลก สะท้อนกลับออกไปสู่อวกาศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้

และเนื่องจากพื้นผิวโลก เป็นน้ำอยู่ถึงสามในสี่ เมื่อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้น้ำระเหยเป็นไอได้ดีขึ้น เกิดเป็นการป้อนกลับแบบบวก คือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะมีเมฆมากขึ้น ซึ่งไปกั้นไม่ให้ความระอุที่โดยแสงแดดเผา แผ่ทะลุบรรยากาศออกไป

สมมุติฐานที่ว่าใช้หลังคาสีอ่อน จะสะท้อนความร้อนออกไปได้นั้น เป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่เคยมีใครศึกษาจนสุดทาง จนกระทั่งห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Lawrence Berkeley (LBNL) ได้ประกาศว่าหากเปลี่ยนสีของหลังคาในเมืองทั้งหมดเป็นสีขาว จะเหมือนเป็นการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ถึง 300 ล้านคัน

อ่านต่อ »


Global Disruption

อ่าน: 3289

Dr. John Holdren นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐ (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำเนียบขาว และเป็นประธานร่วมของคณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีโอบามา ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ในสมัยที่ยังอยู่ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้สัมภาษณ์กับเครือข่าย DemocracyNow.org เรื่อง Global Disruption ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


ความคิดที่ดีมาจากไหน

อ่าน: 4242

“ความคิด” ในที่นี้ หมายถึงแนวทางการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ต่อตนเองและต่อผู้อื่น — มีความคิดที่ไม่สร้างสรรค์เหมือนกันครับ เช่นอกุศลเจตสิก แต่ไม่อยู่ในขอบเขตของบันทึกนี้

ในสังคมฉาบฉวยอย่างในปัจจุบัน มักจะให้ความสำคัญแก่คนผู้ที่ประกาศว่าเป็นผู้คิด หรือประดิษฐ์อะไรใหม่ๆ คือคนที่ร้องยูเรก้านั่นล่ะครับ บางทีถึงขนาดขโมยมาก็มี — ถึงแม้ว่าเป็นผู้คิดได้จริง แต่ถ้าหากมีเวลามองลึกลงไป ก็จะพบว่าความคิดทุกอย่างในโลกปัจจุบัน ตั้งอยู่บนรากฐานของความคิดอื่นๆ ทั้งนั้น ดังนั้นการเชื่อมโยงความคิดอันเป็นกุศล ร่วมกันเรียนรู้ ให้อภัยต่อความโลภ-โกรธ-หลงชั่วขณะ (ใครบ้างล่ะจะไม่เคยพลาดเลย!)

เครือข่ายสังคมและชุมชนในลักษณะต่างๆ หรือแม้แต่ KM ซึ่งเคยเป็นคำที่ฮิตอยู่ระยะหนึ่ง สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าใช้เป็นนะครับ — การใช้เป็น ไม่ใช่แค่ใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร แต่เป็นความเข้าใจและและการสร้างบรรยากาศของ Collective learning ร่วมกันเรียนรู้

อ่านต่อ »


“350 ppm” ขีดปลอดภัยสำหรับมนุษยชาติ

อ่าน: 6295

บน Facebook คืนนี้ อ.วรภัทร์ โพสต์ลิงก์ไปที่บทความจากกรุงเทพธุรกิจ เป็นเรื่องที่ อ.อาจอง ชุมสาย อยุธยา บรรยายพิเศษในงาน สัมมนาโลกร้อน : ผลกระทบของชาวเชียงใหม่ ที่โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ข่าวนี้เป็นข่าวที่ผมกำลังหาอยู่พอดี นอกจากงานทางสังคมที่ทำอยู่แล้ว ก็มีความสนใจส่วนตัวอยู่ด้วย และมีข้อมูลเรื่องนี้อยู่พอสมควร ดูได้จากบันทึกเก่าๆ ที่เคยเขียนตลอดหลายปีที่ผ่านมา

เมื่อมองในแง่ข้อมูลนะครับ ถึงแม้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ก็มีเหตุผลอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นน่าฟังและเข้าเค้า ส่วนเรื่องการทำนายเวลา อาจจะต้องอ้างอิงสถิติ ยังไม่น่าจะแม่น (สงครามเย็นเลิกไปโดยไม่ได้ทำลายโลกหรือเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ปี 2000 Y2k โลกไม่แตก ปี 2012 ยังมาไม่ถึง ฯลฯ) แต่ถ้าถามว่ามีปัญหาโลกร้อนจริงหรือไม่ ผมเชื่อว่าจริงครับ เพียงแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงระดับวินาศ จะมีผลรวดเร็วรุนแรงแค่ไหน แต่คงแรงแน่

เมื่อเชื่อแนวโน้มแล้ว ไม่ควรตั้งอยู่ในประมาท พยายามแก้ไข+เตรียมตัว ถ้าโลกไม่แตกก็ดีไป แก้ไขอัตราการทำลายโลกเสียวันนี้ ลูกหลานคงจะลำบากน้อยลง เรื่องอย่างนี้ ไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าเสียใจซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครอยู่ฟังแล้ว มีแต่ทำในตอนนี้หรือไม่ทำเท่านั้น

จากบันทึกเหลืออีกเท่าไหร่ ปริมาณน้ำจืดต่อหัวประชากรของโลก จะต่ำกว่าระดับที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปี 2025 อีก 15 ปีเท่านั้น พืชผักอาหารจะทำอย่างไรกัน แล้ววันนี้ทำอะไรกัน

อ่านต่อ »


ขั้นบันไดชะลอน้ำฝน

อ่าน: 6692

มนุษย์มักไม่ค่อยพอใจในสิ่งที่มี หลังจากแล้งหนักมาแปดเดือน ตอนนี้เป็นช่วงที่ฝนตกหนัก ภูเขาก็กลายเป็นภูเขาหัวโล้นไปหมด เมื่อฝนตกหนัก น้ำฝนไหลลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วง แต่ว่าภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ เมื่อปริมาณน้ำไหลลงมารวมกันในร่องน้ำ ก็จะเป็นปริมาณน้ำมหาศาล ซึ่งเมื่อลงมาสู่ถิ่นที่อาศัยของคนซึ่งอยู่ด้านล่าง น้ำก็ระบายออกไม่ทันเนื่องจากน้ำปริมาณมหาศาล ไหลมาพร้อมๆ กัน บ้านเรือนเทือกสวนไร่นาทรัพย์สินเสียหาย

เรื่องอย่างนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ฝนจะตก ก็ต้องตก ปริมาณน้ำที่จะไหลมา ยังไงก็ไหลมาตามร่องน้ำเดิม โครงการแก้มลิง ในลักษณะที่เป็นแหล่งน้ำของชุมชน สามารถแก้ปัญหาได้สองอย่างคือ เป็นที่เก็บกักน้ำในเวลาที่มีน้ำมาก และแก้ไขความแห้งแล้งในเวลาที่มีน้ำน้อย แต่ทว่าแก้มลิงต้องการปริมาตรบรรจุน้ำมหาศาลเพื่อหน่วงน้ำไว้ ไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของชาวบ้าน เนื่องจากที่ดินมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการทำโครงการแก้มลิง จึงต้องทำโดยรัฐซึ่งมีกำลังสูงกว่าใครทั้งนั้น

ในลุ่มน้ำน่านซึ่งไม่มีเขื่อน โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ความจุ 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตรได้รับการต่อต้านมาก แม้จะมีประโยชน์แต่อาณาบริเวณของเขื่อน 74,000 ไร่ จะท่วมป่าสักทองแหล่งสุดท้ายของเมืองไทย จึงมีโครงการสร้างฝายล้านฝายแทนเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งชาวบ้านให้การตอบรับเป็นอย่างดี โครงการอย่างนี้ประสานประโยชน์เรื่องการจัดการน้ำ โดยช่วยลดความขัดแย้งทางความคิดลง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสร้างฝายจำนวนมากมาย (ตัวเลขล้านแห่งเป็นเพียงการเปรียบเทียบ) ก็ยังเป็นพื้นที่หน่วงน้ำตามทางน้ำเท่านั้น จะเป็นพื้นที่เล็กๆ เก็บกักน้ำไว้ตามลำธารที่น้ำไหล

อ่านต่อ »


เปลี่ยนพลาสติกกลับเป็นน้ำมันดิบ

อ่าน: 3894

เมื่อปีที่แล้ว มีข่าวนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ประดิษฐ์เตาที่เปลี่ยนพลาสติกให้กลับเป็นน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายจนน่าทึ่ง

คลิปเรื่องนี้ กลับไปปรากฏอีกครั้งหนึ่งใน United Nations University ซึ่งได้รับความสนใจมากอีกครั้งหนึ่ง

อ่านต่อ »



Main: 0.12241196632385 sec
Sidebar: 0.47119808197021 sec