เมื่อปี 2459 มีบทความทรงอิทธิพลชื่อ Crowdsourcing ตีพิมพ์ใน Wired
ลักษณะ 5 อย่างของ
“ฝูงชน” ที่สร้างสรรค์: |
1. มีความหลากหลาย อย่าคาดหวังว่าคนจะเป็นเหมือนกันหมดเหมือนสินค้าอุตสาหกรรม
2. มีความสนใจสั้น จำเป็นต้องกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง
3. มีความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกัน อย่ามองข้ามแม้แต่ประเด็นเล็กๆ
4. แม้ส่วนใหญ่สร้างงานที่ “ไม่ดีพอ” ฉาบฉวย ตื้นเขิน ไม่มีคุณภาพ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีสิ่งดีปะปนอยู่เลย แค่สิ่งที่ดีเพียงหนึ่งหรือไม่กี่เรื่อง ก็สามารถจะเป็นเรื่องใหญ่ได้
5. เสาะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดเอง ให้ฝูงชนคัดสรรงานกันเอง |
บทความนี้ ชี้ถึงลักษณะที่เปลี่ยนไปของการสร้างสรรค์งานซึ่งเปลี่ยนไป จากยุคอุตสาหกรรมการผลิตที่พยายามสร้างขุมกำลัง “จากภายใน” อันเป็นประสบการณ์จากสงครามโลก “บริหารอย่างเหี้ยมโหด” (สำนวนของอาจารย์วรภัทร์) สร้างบรรษัทขนาดใหญ่ ผลิต ทำลายคู่แข่งและยึดครอง รวย รวย รวย รวยอยู่คนเดียว เปลี่ยนเป็นการให้อิสระแก่ “ฝูงชน” จำนวนมาก
ตัวอย่างเช่น บรรดาเว็บที่เป็นตลาดรวมสำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ อย่าง tarad.com ebay.com หรือแม้แต่จะออกแนวเฉพาะตัวมากๆ อย่าง turbosquid.com ที่ขาย 3D model paypal.com ซึ่งรับจัดการเรื่องการชำระเงิน ทำตัวเป็นเครื่องมือของร้านค้าอื่นๆ
และอันที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแม้ไม่ได้ขายอะไรเลยคือ wikipedia.org
ในปี 2535 เมื่อสหภาพโซเวียตแยกเป็นประเทศเล็กๆ กลุ่ม “โลกเสรี” ต่างตีฆ้องร้องป่าว ถึงความสำเร็จของการแข่งขันเสรี และเรียกร้องให้โลกเปิดการค้าเสรีให้มากขึ้น ความคิดในแนวนี้ เป็นการด่วนสรุปจากเหตุการณ์และความเชื่อในเวลานั้น
ในขณะที่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เรียกร้องประเทศต่างๆ ตัวเองกลับกีดกันทางการค้า — ในเนื้อแท้แล้ว ทรัพยากรที่มีอยู่ในโลก ไม่ได้มีอะไรเพิ่มขึ้นยกเว้นพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งเผาโลกครึ่งหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากประเทศหนึ่งประสบความสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจ ก็จะมีประเทศที่ไม่ประสบความสำเร็จเสมอ เป็น Zero-sum อีกทั้งความสำเร็จที่วัดเป็นตัวเงินนั้น มีเงินเฟ้อมาเป็นตัวลดทอน ดังนั้นหากได้ดุลย์การชำระเงิน ล้านล้านบาทเท่ากันในปีที่แล้วกับปีนี้ ปีนี้จะ เงิน ล้านล้านบาทจะมีค่าน้อยลง รวยน้อยลง มีกำลังน้อยลง จึงจะต้องแสวงหามากขึ้นไปอีก หากยังคิดกันตามแนวทางนี้
อ่านต่อ »