สำเร็จ ล้มเหลว

อ่าน: 2914

พจนานุกรมแปลคำว่าสำเร็จไว้ว่า ว. ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่แปลคำว่าล้มเหลวไว้ ถึงกระนัั้นก็อนุมาณได้ว่าความหมายตรงกันข้ามกับสำเร็จ

มีอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าคนไทยเราไม่ค่อยสังเกตเกี่ยวกับสองคำนี้ คือมันเป็นคำวิเศษณ์ที่ชี้บ่งถึงความเป็นอดีต คือว่าต้องมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีตแล้ว จึงจะบอกได้ว่าสำเร็จหรือล้มเหลว ซึ่งตัดสินได้ยากหากไม่มีเกณฑ์ที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ในกรณีหลังนี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลว ขึ้นอยู่กับมุมมอง

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว เรื่องก็ผ่านไปแล้ว จะไปเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้แล้ว การที่เคยสำเร็จ ไม่ได้รับประกันว่าจะสำเร็จอีกในอนาคต จำเป็นต้องอ่านสถานการณ์ตามความเป็นจริง เตรียมตัว ปรับเปลี่ยนตามความจำเป็นเพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จอีกในอนาคต ส่วนความล้มเหลวที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะล้มเหลวอีกตลอดไป หากรู้จักเรียนรู้ ปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาด

ไม่มีใครจะสำเร็จหรือล้มเหลวตลอดไปหรอกนะครับ อย่าไปติดกับมันนานนัก หลังจากความสำเร็จ เรานำเอาความภูมิใจติดตัวไปได้ แต่ไม่ควรปลื้มกับความสำเร็จนานเกินไปจนไม่ทำอะไรใหม่ (จึงไม่มีความสำเร็จอันใหม่) แล้วหลังจากความล้มเหลว เราก็นำเอาบทเรียนติดตัวไปได้ อย่าทำผิดพลาดซ้ำสอง

อ่านต่อ »


สถานการณ์น้ำในเขื่อน

อ่าน: 3300

วันนี้ไปหาหมอมา ไม่มีอารมณ์เขียน จึงขอทดข้อมูลสั้นๆ แต่สำคัญแทนครับ คือปริมาณน้ำในเขื่อนที่ดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ปรับปรุงข้อมูลทุกวัน

ควรดูปริมาณ “น้ำไหลเข้าอ่าง” ยกเว้นเขื่อน “ท่าทุ่งนา” ซึ่งเป็นเขื่อนท้ายเขื่อนศรีนครินทร์ ดังนั้นน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนท่าทุ่งนา ก็จะใกล้เคียงกับน้ำที่เขื่อนศรีนครินทร์ปล่อยออกมา

ถ้าน้ำไหลเข้าอ่าง น้อยกว่าน้ำที่ปล่อยออก ก็แปลว่าเขื่อนขาดทุนน้ำ


แล้งเพราะทำตัวเอง

อ่าน: 2531

เมื่อเช้านี้ ผมไปพบผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งทำงานเรื่องน้ำ มีข้อมูลแปลกโผล่มาซึ่งไม่ได้ขอให้เชื่อหรอกนะครับ ให้ลองคิดดูเฉยๆ

  • ปีที่แล้วฝนไม่ได้น้อยเลย แต่ระบบชลประทานขาดทุนน้ำสองพันล้านลูกบาศก์เมตร เพราะพืชผลการเกษตรราคาสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว) จึงต้องปล่อยน้ำออกไปช่วย
  • ปีนี้แล้งจัดและร้อนจัดมาตั้งแต่ต้นปี แต่เพราะราคาข้าวสูงเมื่อปีที่แล้ว จึงมีชาวนาทำนามาก ควรจะทำนาปรัง 6 ล้านไร่ กลับทำ 12 ล้านไร่ และทำสองครั้งด้วย จึงยิ่งมีความต้องการน้ำมหาศาล
  • ถึงตอนนี้ น้ำไม่พอ นาล่มอยู่ดี เงินที่คิดว่าจะได้ก็ไม่ได้ ทุนก็ลงไปแล้ว
  • ยังไงก็ไม่เปลี่ยนไปทำพืชผักอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่ามาก เช่น พริก
  • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ใช้งบทำเรื่องการจัดการน้ำ (บ่อ สระ คลอง ร่องน้ำ) 2.15% แต่ใช้งบแก้ไขเรื่องน้ำ (ท่วม+แล้ง) 7.9%
  • ทางเหนือ มีพื้นที่ในเขตชลประทาน 15% อีสานเก็บน้ำฝนไว้เพียง 3% แต่ชุมชนไม่เตรียมตัวช่วยเหลือตัวเอง (ขุดบ่อเอง ฯลฯ) เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่รัฐต้องมาช่วย — สงสัยว่าถ้าปริมาณมากมายอย่างนี้ รัฐจะช่วยไหวได้อย่างไร [เพิ่งเขียนบันทึกเรื่องน้ำไม่มี] ในพื้นที่อีสานยิ่งหนักไปกันใหญ่
  • อ่านต่อ »


ศาสตร์แห่งการกระตุ้น

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 June 2010 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การบริหารจัดการ #
อ่าน: 4116

เมื่อปีที่แล้ว Dan Pink ที่ปรึกษาด้านอาชีพการงาน พูดที่ TED เรื่อง The surprising science of motivation ซึ่งทั้งตลกและมีสาระ

ถ้าภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง เลือก Subtitle หรือจะอ่านจาก transcript ได้นะครับ

อ่านต่อ »


น้ำค้าง

อ่าน: 3323

รายการน้ำค้าง เป็นรายการทางช่อง 13 ของฟุ๊คดุ๊ค ซึ่งคงต้องบอกว่าเป็นรายการคุณภาพ แต่อยู่นอกกระแสครับ

แม้ว่าเดี๋ยวนี้ กระแสการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมาแรง แต่ต้องไม่ลืมว่ามันยังเป็นเพียงแค่กระแสเท่านั้น รายการน้ำค้างเสนอความรู้และประสบการณ์สู่ผู้ชมอย่างไม่ฉาบฉวย มีรายละเอียดเพียงพอที่ผู้ชมจะทดลองได้ หรือหากว่ายังไม่แน่ใจ ก็ยังหาข้อมูลเพิ่มจากแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยเอาไว้ด้วย

ขอยกย่องและให้กำลังใจผู้ผลิต พร้อมทั้งสปอนเซอร์ของรายการนะครับ

อ่านต่อ »


ปลูกต้นไม้โดยอาศัยความรู้ที่ศึกษาจากธรรมชาติ

อ่าน: 3532

หากเรียกมนุษยชาติว่ามีความก้าวหน้า มีความรู้แล้วไซร้ เราควรเข้าใจและหาทางทำสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าปล่อยไปตามยถากรรม

การปลูกต้นไม้ก็เช่นกัน จะทำให้ดี ไม่ใช่เพียงแต่เพาะเมล็ด รดน้ำ แล้วรอ

ธรรมชาติสร้างสัตว์เป็นนักปลูกต้นไม้ โดยเมล็ดพืชที่สัตว์กินเข้าไป ผ่านระบบย่อยอาหารในลำไส้ของสัตว์ จะทำให้เปลือกแข็งของเมล็ดหลุดออก จะถูกถ่ายออกมาพร้อมกับมูลในที่ที่ไกลออกไปจากต้นแม่ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาพร้อมเมล็ดทำหน้าที่ป้องกันความชื้นจากดินระเหย ทำให้อัตราการงอกสูงขึ้นโดยธรรมชาติ นอกจากนั้น เมล็ดพืชก็ใช้ความชื้นจากมูลสัตว์และจากดินช่วยในการงอก

Capillary Water น้ำในท่อจิ๋วในดิน

อ่านต่อ »


จับตา “ภัยพิบัติ”

อ่าน: 3287

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. มีรายการ Post Script รู้จริง รู้ทัน ทางช่อง TNN24 ทางรายการได้เชิญ​ ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผ่นดินไหว

ผมดูแล้วก็ชอบใจ อาจารย์อธิบายง่ายๆ ตรงไปตรงมา จึงขอให้มูลนิธิโอเพ่นแคร์ ติดต่อทางรายการเพื่อขออนุญาตนำเทปรายการมาเผยแพร่ ซึ่งก็ได้รับอนุญาตเรียบร้อย แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 7 นาที ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


รอยเลื่อนมีพลัง ในประเทศไทย

อ่าน: 22112

บนทวิตเตอร์ ผมไม่ค่อยตามใครหรอกครับ ส่วนใหญ่เป็น automated feeds เสียด้วยซ้ำไป แต่ก็มีบางคนที่ผมตาม เช่น ดร.วรภัทร์​ ภู่เจริญ @jattaro เมื่อคืนนี้ อ.วรภัทร์ ส่งต่อ (RT) ข้อความน่าสนใจ 4 อัน

RT @top10thai: ดร.อานนท์ ปี49บอกว่ามีภูเขาไฟใต้ทะเล4ลูกเกาะภูเก็ต แต่อธิบดีกรมทรัพย์เถียงว่าแค่ภูเขาโคลน –ปี53 เชื่อมอแกนดีกว่า^-^

รอยเลื่อน ระนอง+คลองมะรุ่ย// @pomramida >คอนเฟิร์มข่าวค่ะส่วนเรื่องน้ำร้อนขึ้นและมีฟองอากาศผุดรอผลตรวจสอบค่ะ แนวนั้นมีรอยเลื่อน

RT @news1005fm ชาวมอแกนพบกระแสน้ำด้านล่างมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนลงดำน้ำไม่ได้ เชื่อเป็นลางบอกเหตุร้ายว่าอาจเกิดพิบัติภัยเร็วนี้

RT @bkk001 15 พ.ค.ข่าวไม่เป็นทางการ ปลาตายจำนวนมากที่ทะเลระนอง นัีกทดสอบสมุทรศาสตร์ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำเพิ่ม อาจมีภูเขาไฟใต้ทะเล

เรื่องภูเขาไฟ/ภูเขาโคลน(ร้อน)ใต้ทะเล เคยได้ยินข้อถกเถียง ไม่ว่ามันเป็นอะไรก็ไม่น่าจะใช่พื้นทะเลปกติ — ส่วนทางระนอง ถ้าอุณหภูมิของน้ำ อยู่ดีๆ ร้อนขึ้นได้ ก็คงเป็นเพราะความร้อนใต้พิภพขึ้นมาถึงผิวโลกได้ ตามรอยแยก/รอยเลื่อน ปัญหาคือว่ามีรอยแยกอยู่แถวนั้นหรือเปล่า สันนิษฐานว่ามีโดยสังเกตได้จากการมีบ่อน้ำร้อน [บันทึกเก่า: ภูเขาไฟใกล้ตัว] ก็เลยต้องค้นหาหลักฐานมาชั่งน้ำหนัก แล้วก็ได้เรื่องเลย

อ่านต่อ »


มองสื่อ

อ่าน: 2860

บล็อกนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองครับ ถ้ามีหลุดไปบ้างก็ไม่ได้ตั้งใจ เพราะผมมีช่องทางอื่นที่จะเขียนเรื่องอื่นครับ

ผมไม่ได้มีวิชาชีพสื่อสารมวลชน แต่เป็นผู้ที่บริโภคสื่อหลายทางหลายมุม จากเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย มีข้อสังเกตดังนี้
อ่านต่อ »


กระสุนข้าว

อ่าน: 3561

สักสองสัปดาห์ก่อน ผมได้รับอีเมลจากพี่ที่นับถือกัน ซึ่งรู้จักกันบน soc.culture.thai เมื่อสักยี่สิบปีที่แล้ว-ก่อนเมืองไทยมีอินเทอร์เน็ต ผมอยู่บริษัทฝรั่งจึงมีใช้ ในขณะนั้น พี่ทวิชเป็นวิศวกรนาซ่า ปัจจุบันท่านสอนอยู่ มทส.

พี่ทวิช เสนอวิธีการปลูกข้าว ที่

  1. ไม่เพาะกล้า ซึ่งต้องไปดำนา ไม่ค่อยเหมาะกับปัจจุบันเนื่องจากแรงงานเข้าไปอยู่ในโรงงานหมด
  2. ไม่หว่าน เนื่องจากดินนาไม่ได้สมบูรณ์

พี่แกว่าเอา’ดินดี’มาปั้นเป็นกระสุน ใส่เมล็ดข้าว 4 เมล็ด เอากระสุนนี้ไปดำด้วยเครื่อง การดำคือการฝังลงไปในดิน ด้วยความลึกและระยะห่างที่ได้ทดลองศึกษาบอกเล่ากันมาหลายชั่วอายุคน ใช้เครื่องดำทำเองได้ครับ (ไม่ใช้น้ำมัน เข็นเครื่องไป พอล้อหมุนไปได้ระยะ ก็ฝังกระสุนลงไปในดิน และดำแห้งๆ ได้ ปล่อยน้ำเข้าทีหลัง)

‘ดินดี’ที่เอามาปั้นกระสุน มีความหมาย เพราะเป็นสารอาหารแรกที่กล้าข้าวใช้สร้างโครงสร้างสำหรับการเติบโตต่อไป — ไม่ได้ใช้เยอะนะครับ

มีแปลงนาสาธิตอยู่โคราช พี่ทวิชรู้จัก อ.หลิน และรู้จักครูบาด้วย ปากเหมาะเคราะห์ดี จะไปขอความรู้เรื่องกังหันลมครับ

Posted by Wordmobi



Main: 0.129399061203 sec
Sidebar: 0.3522469997406 sec