ผลลัพท์หลังงานเสร็จ

อ่าน: 7204

เมื่อสองอาทิตย์ก่อน นิสิตแพทย์มาอบรม ให้ปั้นพระดินเหนียว มีลูกเล่นอยู่ในแบบฝึกหัดนั้นมากมาย

มีอยู่อันหนึ่งซึ่งยังไม่ได้อธิบาย คือการไม่ตัดสินทันทีที่ปั้นพระเสร็จครับ

รูปซ้ายคือพระที่ปั้นทิ้งไว้หนึ่งคืน รูปขวาคือสองอาทิตย์ให้หลัง
24042010205.jpg 05052010239.jpg
อ่านต่อ »


เรื่องที่อยากป่วน

อ่าน: 3604

หนังสือเรื่องที่อยากป่วน เขียนโดยคุณหมอจอมป่วน (นพ.สุธี ฮั่นตระกูล) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครพิษณุโลก และอื่นๆ อีกมากมาย คุณหมอทำเรื่องสิ่งแวดล้อมมา 15 ปี ทำโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาสังคมเป็นอย่างมาก เดินสายอบรมคนมาทั่วประเทศมาแล้วหลายรอบ

คุณหมอรวบรวมประสบการณ์การอบรมอันยาวนาน แล้วยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการที่กระบวนกร (ทีมงานอบรม หรือ facilitator) อาจนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการอบรม ได้คุยกับคุณหมอ ท่านบอกว่าไม่เขียนพวกกระบวนท่า แต่เป็นเรื่องกำลังภายในเสียมากกว่า

หมอเริ่มบันทึกเรื่องราวในลานปัญญา มีนักการอิ่มและนักการเมี่ยง ซึ่งร่วมทำงานด้านนี้กันมายาวนาน แถมช่วยรวบรวมบันทึกต่างๆ จนได้หนังสือมาหนึ่งเล่ม ซึ่งหมอเขียนเกี่ยวกับหนังสือไว้ว่า

อ่านต่อ »


รดน้ำต้นไม้

อ่าน: 6795

ผมไม่รู้ว่าใครรดน้ำต้นไม้อย่างไรหรอกนะครับ ต่างคนก็ต่างจิตต่างใจ มีแบบอย่างที่ไม่เหมือนกัน

พืชรับน้ำและสารอาการจากระบบราก ซึ่งดูดเข้าได้มากผ่านรากฝอย แม้จะเป็นเส้นเล็กจิ๋วแต่มีปริมาณมาก เมื่อรวมกันแล้ว ก็สามารถหล่อเลี้ยงพืชให้เจริญเติบโตได้

รากที่ทะลวงไปในดิน มีปลายราก (root cap) เป็นเหมือนหัวเจาะ จะมีการออสโมซิสเอาน้ำและสารอาหารผ่านรากเข้าสู่แกนราก ซึ่งจะถูกส่งผ่านลำต้นไปสังเคราะห์แสงยังใบ

ดังนั้น รากแผ่ไปถึงไหน ก็ต้องรดน้ำถึงนั่นครับ — ไม่ใช่รดที่โคนต้นเฉยๆ

ปัญหาคือรากอยู่ในดิน จะไปรู้ได้อย่างไรว่าแผ่ไปถึงไหน ก็มีหลักประมาณการง่ายๆ คือกิ่งใบแผ่ไปถึงไหน รากก็แผ่ไปประมาณนั้น

แต่ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ในเมื่อเรารดน้ำที่ผิวดิน กว่าน้ำจะไปถึงราก ยังขึ้นกับว่าดินนั้นให้น้ำซึมลงไปมากน้อยแค่ไหน ดูดน้ำเอาไว้เท่าไร (เหลือให้รากและละลายสารอาหารในดินมากน้อยแค่ไหน)

เช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ย แหงล่ะครับไม่ใช่ราดเอาไว้บนผิวดิน โดยปกติเราก็จะพรวนดินนำปุ๋ยลงไปหารากด้วย แต่ก็มีปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือการพรวนดินอาจไปโดนราก แทนที่จะช่วยกลับทำลาย

อ่านต่อ »


อากาศพลศาสตร์ สำหรับรถบัส

อ่าน: 3417

เช่นเดียวกับอากาศพลศาสตร์แบบชาวบ้าน สำหรับรถกระบะ รถเมล์ รถโค๊ช รถลาก ฯลฯ ที่มีรูปร่างตัน ต้านอากาศ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานแม้แต่จะรักษาความเร็วให้คงที่ครับ

อาจจะทำอะไรมากมายนักกับรูปร่างก็ไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าไม่สามารถจะทำอะไรได้

ส่วนหน้าของรถ ใช้ nose cone ผลักอากาศข้ามลำตัวไป ไม่ให้เกิดการปะทะตรงๆ หรือเกิดลมหมุนวน ด้านล่าง ก็เกิดลมวนได้เช่นกัน และเช่นเดียวกับรถกระบะ ส่วนด้านหลัง เกิดลมวนซึ่งฉุดรถเอาไว้ทำให้เปลืองน้ำมันมากกว่าที่ควรจะเป็น

อ่านต่อ »


สวนกล่อง

อ่าน: 5404

มีคนมากมายที่บอกว่าการปลูกต้นไม้ ดีอย่างโน้น ดีอย่างนี้ บางคนก็ว่ากินผักปลอดสารพิษ โดยไม่เข้าใจเลยว่าการที่สินค้าเคลมว่าปลอดสารพิษนั้น ไม่ได้หมายความว่าปลอดสารพิษจริง

อย่างนี้ก็ต้องลองกันครับ ยกเอาข้อจำกัดออกก่อน

นาย Mel Bartholomew เขียนหนังสือขายดีชื่อ Square foot Gardening (อ่านบางส่วนได้ที่นี่) โดยทำแปลงดินขนาด 1×1 ฟุต หลายๆชุด ยกมาใส่ในกล่อง เขาอ้างว่ามีต้นทุน 50% ใช้พื้นที่ 20% ใช้น้ำ 10% และใช้เมล็ดพันธุ์พืชเพียง 5% และใช้แรงงานแค่ 2% ของการปลูกลงดินตามปกติ เหตุที่เป็นเช่นนี้ได้ อยู่บนหลักการง่ายๆ คือสร้างสภาวะแวดล้อมที่ควบคุมได้ เช่นถ้าดินไม่ดี แทนที่จะปรับปรุงดินทั้งแปลง ก็เพียงแต่หาดินที่ดีมาใส่ในกล่อง(พื้นที่เล็กๆ) ถ้าไม่มีน้ำ ก็รดน้ำแค่ในกล่องเล็กๆ น้ำที่รดแล้ว ก็อยู่ในดินซึ่งอยู่ในกล่องนั่นแหละ จะประหยัดน้ำ ก็ใช้ชลประทานน้ำหยดได้ง่ายเนื่องจากอยู่ในพื้นที่จำกัด ฯลฯ

สวนกล่องเป็นความพยายามที่จะปลูกพืชในแนวตั้ง เนื่องจากกล่องบรรจุดินอยู่แล้ว ไม่ต้องวางอยู่กับดิน จะแขวน จะห้อย จะวางอยู่กับคอนกรีตก็ได้

อ่านต่อ »


อากาศพลศาสตร์แบบชาวบ้าน สำหรับรถกระบะ

อ่าน: 3730

อาจจะไม่มีประโยชน์ที่จะไปอธิบายอากาศพลศาสตร์ให้ชาวบ้านฟังครับ แต่ถ้าบอกว่ามีวิธีดัดแปลงรถให้ประหยัดน้ำมันได้มาก บางทีอาจถึง 11-12% อย่างนี้น่าสนใจกว่า

มีงานวิจัยมากมายในสหรัฐ บางอันทำโดยนาซ่า อีกหลายอันทำโดยมหาวิทยาลัย ทั้งหมดเท่าที่ตรวจสอบมา ให้ตัวเลขเดียวกันคือ 11-12% จากการบังคับอากาศที่มาปะทะกับรถยนต์ให้ไหลผ่านรถไปอย่างรวดเร็ว เมื่อไหลผ่านรถไปแล้ว บังคับไม่ให้เกิดลมวน ซึ่งจะดูดรถเอาไว้ทำให้ต้องใช้พลังงานในการขับเคลื่อนมากขึ้น

คลิปแรกเป็นกระแสอากาศ ซึ่งไหลผ่านกระบะปกติ สังเกตลมหมุนวน (turbulence) ทั้งด้านบนและด้านล่างของรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่ออากาศไหลผ่านเก๋งของคนขับไปแล้ว

อ่านต่อ »


ฉลาด…ได้อีก!

อ่าน: 4448

เมื่่อเย็นวาน ครูบาหอบเอาพืชผักสดมาฝากจากสวนป่าหนึ่งลัง แล้วตามตัวไปเลี้ยงฉลองเนื่องในโอกาสที่ลาออก กราบขอบพระคุณด้วยครับ ที่จริงเรื่องนี้เป็นการก้าวไปตามจังหวะชีวิต ไม่มีความจำเป็นจะต้องฉลองเลย แต่ผมรู้ว่าผักของสวนป่าสด สะอาด และอร่อยมาก จึงไม่ควรจะลีลามากนัก คาดว่าครูบาคงมีเรื่องอยากคุยด้วย ก็เลยไป ปรากฏว่ามีของแถมเป็นหนังสือ “ฉลาด…ได้อีก!” ของ ดร.วรภัทร์​ ภู่เจริญ กำลังอยากอ่านอยู่พอดี

กลับถึงบ้านอ่านทันที และอ่านจบเมื่อคืนนี้ (คงต้องอ่านอีกหลายรอบ) อยากจะแนะนำคนคอเดียวกันให้ลองหามาอ่านบ้าง เชื่อว่าท่านจะต้องชอบแน่

ข้อมูลจากสำนักพิมพ์

ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม - 6 เมษายน 2553 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาตสิริกิติ์ อ.วรภัทร์บอกจะแวะไปที่บูธ N42 โซน C บจก.อริยชน ในวันเสาร์และอาทิตย์ ใครผ่านไปแถวนั้น อย่าพลาดของดีก็แล้วกันครับ

อ่านต่อ »


สร้างเมฆอีกที

อ่าน: 3867

ปัญหาเรื่องความแห้งแล้งในช่วงนี้ เป็นเรื่องจริงจังในระดับ ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา ชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองไทยขึ้นกับลมฟ้าอากาศ เรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตนั้นดูค่าเฉลี่ยไม่ได้ แต่จะต้องทำให้แน่ใจว่าทุกพื้นที่สามารถอยู่ได้ ไม่เฉพาะในเขตชลประทานหรือเขตเมืองเท่านั้น

ภาพแสดงการทำฝนเทียมพระราชทานมีองค์ความรู้และงานวิจัย ตลอดจนการทดลองเรื่องการสร้างเมฆอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเรื่องการทำฝนหลวงด้วย

จากการพิจารณาขั้นตอนของการทำฝนเทียม สถานการณ์ในปัจจุบันคงไม่เอื้ออำนวยเท่าไร เครื่องบินเริ่ม “ก่อกวน” ให้เมฆรวมตัวกันที่ระดับความสูงหมื่นฟุตซึ่งเป็นระดับเมฆชั้นกลาง (6,000-10,000 ฟุต) ปัญหาคือไม่มีเมฆชั้นกลาง (และไม่มีเมฆชั้นต่ำซึ่งเป็นระดับของการเกิดฝน) ทั้งนี้เป็นเพราะอากาศร้อนจัด

Lapse rate มีค่า 6.5°C/1000m หมายความว่าที่ความดันบรรยากาศปกติ ถ้าระยะสูงขึ้น 1 กม. อุณหภูมิที่ความสูงระดับนั้นก็จะลดลงประมาณ 6.5°C

ถ้าอุณหภูมิที่พื้นผิวเป็น 40°C การที่จะเริ่มกระบวนการสร้างเมฆแบบเย็น (ทำเมฆจากไอน้ำที่เย็นยิ่งยวด Supercool Liquid Water หรือ SLW) ก็จะต้องทำที่ระดับความสูงที่มีอุณหภูมิ -12°C ซึ่งคือ 52/6.5 ≈ 8 กม. หรือ ความสูงกว่าสองหมื่นหกพันฟุต

ซึ่งที่ความสูงระดับนั้น อากาศเบาบางแล้ว สงสัยว่าจะไม่สามารถใช้เครื่องบินทำฝนหลวงแบบของกระทรวงเกษตรได้(มั๊ง)

อ่านต่อ »


ผู้เชี่ยวชาญเตือนอภิมหาสึนามิบนรอยแยกเดิม

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 March 2010 เวลา 16:13 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 6821

เมื่อต้นปีนี้ ศ.ดร.จอห์น แม็คคลอสคีย์ ได้ออกมาเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดสึนามิขนาดใหญ่*ใต้*เกาะสุมาตรา จุดนี้เป็นจุดเดียวกับที่ ศ.ดร.เคอรี่ ซีห์ เคยชี้ไว้ — ที่จริงระบุจุดเสี่ยง ว่าเป็นบริเวณเมืองปาดังทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งหากเกิดขึ้นตรงนี้จริง ก็ไม่น่าจะกระทบกับเมืองไทยเพราะเกาะสุมาตราบังอยู่

ความเสี่ยงนี้ เกิดจากการมุดตัวของเพลต Indian and Australian Plate ลงใต้เพลตเอเซียหรือบางทีก็เรียกเพลตซุนดรา Sundra Plate ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวใหญ่ในรอยแยกบริเวณนี้ (Sundra Megatrust) ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนจนดีดตัวเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อนำการเคลื่อนของแผ่นดิน (ส่วนใหญ่วัดด้วย GPS) มาพล็อตลงแล้ว พบว่ายังมี “ช่องว่าง” อยู่ตรงเมืองปาดัง

อ่านต่อ »


คลายร้อน

อ่าน: 4811

อากาศไม่ได้ร้อนด้วยตัวเองหรอกครับ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่แผ่มาให้โลกอย่างทั่วถึง

ปีนี้เอลนินโญ่รุนแรง ทำให้อากาศบริเวณอุษาคเนย์ (mainland southeast asia) มีอุณหภูมิสูงขึ้น พอนานๆ ไป ก็เข้าขั้นร้อนตับแตก

เพราะเราไม่ทำอะไร จึงปล่อยให้เสียความชุ่มชื้นในบรรยากาศไป พอความชื้น(สัมพัทธ์)ในบรรยากาศลดลง เมฆก็ไม่รวมตัวกัน แสงแดดทะลุลงมากระทบพื้นผิวโลกได้ แถมเราทำลายป่าไปจนจะโกร๋นหมดแล้ว เมื่อดินโดนแดดเผา อากาศร้อนก็ลอยสูงขึ้นไปไล่เมฆที่อาจจะหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่ว่าจะมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่เท่าไหร่ อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้นทำให้อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน dew point เมฆก็สลายตัว ทำให้แสงแดดส่องลงมาได้มากขึ้น ร้อนหนักเข้าไปใหญ่ วนเวียนไปเป็นวัฏจักร

อ่านต่อ »



Main: 0.04351806640625 sec
Sidebar: 0.15659809112549 sec